วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ดำเนินการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลการวิจัย และนวัตกรรมเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพ ของบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกรมควบคุมโรค และองค์กรอื่น ๆ รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการติดต่อ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวกับโรคและภัย
สุขภาพ

ISSN 2985 - 1858 (print) , ISSN 2985 - 1866 (online) 

โดยตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม)

ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นตอน

ขอเชิญผู้ที่สนใจส่งบทความตีพิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

2022-08-30

วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ขอเชิญชวนท่านที่สนใจส่งบทความวิจัย/วิชาการ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
โดย กำหนดออกตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ คือ 
ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน (ส่งบทความภายในเมษายน หรือจนกว่าจำนวนบทความจะครบ 20 เรื่อง)
ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม (ส่งบทความภายในตุลาคม หรือจนกว่าจำนวนบทความจะครบ 20 เรื่อง)

ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (2024): มกราคม - มิถุนายน 2567

เผยแพร่แล้ว: 2024-06-27

โรคติดเชื้อมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลกและเครื่องมือวินิจฉัยเป็นสิ่งสําคัญในการตรวจหาการติดเชื้อ การเข้าถึงวิธีการตรวจเชื้อมาตรฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกลและไม่มีความพร้อมทางด้านเครื่องมือเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการตรวจเชื้อ ณ จุดดูแลผู้ป่วยจึงมีประสิทธิภาพ แม้ว่าการอ่านผลตรวจจะมีแนวโน้มที่จะไม่ถูกต้องและเสี่ยงต่ออคติ ดังนั้นจุดมุ่งหมายของบทความปริทัศน์นี้คือเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสําคัญของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence; AI) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อ ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีศักยภาพที่จะยกระดับการตรวจโรคและช่วยเหลือในการวิเคราะห์ผลได้ แม้ปัจจุบันจะมีข้อจํากัดอยู่ก็ตาม การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning ;ML) สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนั้นระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่อง (ML) มีบทบาทสําคัญในการวินิจฉัยทางการแพทย์ การรักษา และการประเมินโรค ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดบางประการ เช่น การข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนามีไม่พอ ความต้องการฟังก์ชันการทำงานที่เพิ่มขึ้น และการขาดความเข้าใจในการนำปัญญาประดิษฐ์ของบุคลากรทางการแพทย์มาใช้งานจริง โดยสรุปแล้วปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีความสามารถในการช่วยวินิจฉัยโรคติดเชื้อโดยใช้วิธีการเรียนรู้ของเครื่อง (ML) ที่ช่วยเพิ่มความแม่นยํา,ประสิทธิภาพและการเข้าถึงข้อมูลพร้อมศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติมในอนาคตได้

ศรัณยพงศ์ กุลภัทร์วัฒนา, ปิญชาณ์พัชร โพคะ, นิรดา แสงกิติโกมล , โปรดปราน คงชาตรี , นลิน องค์วุฒิธรรม, ศักรนันทน์ บูรณจิตร์ภิรมย์ , ดานิฌ ณ. เชียงใหม่, สิรวิชญ์ จิรวรรณาภรณ์

281-292

การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก โรงพยาบาลบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ปี พ.ศ. 2565

yuwadee kaewpradab, ทิพวรรณ อาสุระ, ชรัฐพร จิตพีระ, สมคิด ไกรพัฒนพงศ์, อ้อยทิพย์ ยาโสภา, ประวีณ บุญหนุน, มานิตา พรรณวดี

36-51

โรคไข้มาลาเรียในคน ชนิด Plasmodium knowlesi จังหวัดสงขลา ปี 2564 - 2565

คณาวุฒิ นิธิกุล, Surachart Koyadun, โสภาวดี มูลเมฆ

101-126

ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และพฤติกรรมการป้องกัน ในกลุ่มประชาชนอายุ 15-60 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร

ศุจิมน มังคลรังษี, ภูดิศ เสาเกลียว, ปฤม องค์วณิช, ศุภกร นิธิสิริ, นวพร ธนาธีรธร, โชทิ์ปัณณ์ ปานะกุล

127-143

ผลของโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่

วรรณศรี ชาญพนา, ภัทรา สัตยาพงศ์, ศักดิ์นรินทร์ หลิมเจริญ, ณัฐรดา แฮคำ

191-206

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพสมองและพฤติกรรมดูแลสุขภาพสมองของ เยาวชน อายุ 15-22 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร

พิชญาภา จรรยาเจริญ, วัชรเทพ สุขพานิช, ญาณิศรา มหัธนาคุณ, ปุริมปรัชญ์ เนียมน้อย, เชียรโชติ สาเรือง, รินรดา อัศวพรประดิษฐ์, กิรัชภาส ถาวร, บุณยานุช ไชยศุภนาถ, ภัคนันท์ วารีเกษม, บารมีย์ มานัสสถิตย์, พาทินธิดา มั่นคง, ชนุดม อิ้มพัฒน์, พชรกฤษฎิ์ สวัสดิสาร, ปฏิพล สุจิภิญโญ, ศุจิมน มังคลรังษี

221-240

โครงการสำรวจความครอบคลุมของการรับวัคซีนพื้นฐานและวัคซีน COVID-19 ในกลุ่มเด็กข้ามชาติอายุไม่เกิน 12 ปี ในพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC): ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา

Tuenjai Nuchtean, ภัสราภรณ์ นาสา , วนิดา สังยาหยา , แพรวนภา พันธ์โสรี , แสนสุข เจริญกุล, พนิดา ทองหนูนุ้ย, วาสินี ชลิศราพงศ์ , สุทัศน์ โชตนะพันธ์, ชุลีกร ธนธิติกร , คุณากร วงศ์ทิมารัตน์

261-280

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในประชากรไทย

Ranida Techasuwanna, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์, ดณิตา สุวิชชากุล, สุทัศน์ โชตนะพันธ์

313-330

การวิจัยปฏิบัติการ นี้ใช้วงจร PAOR : ขั้นวางแผน, ขั้นปฏิบัติ, สังเกตการณ์ และสะท้อนผล 4 ขั้นตอน มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และขยายผลการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สู่ชุมชนอื่น กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐบาล ชุมชนแผ่นดินทองอินดารุลมีนา และมูลนิธิอาสาหนองจอก (ศูนย์ราชพฤกษ์) จำนวน 22 คน ระยะเวลาศึกษา ระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามวงจร PAOR 4 ขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า การผลักดันและพัฒนานโยบายเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในพื้นที่โดยการพัฒนาศักยภาพครู และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำไปขยายผลถ่ายทอดให้กับประชาชน และเด็กในพื้นที่อื่น ๆ เป้าหมายเพื่อสร้างและพัฒนาทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำ ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และเกิดรูปแบบความสัมพันธ์ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จนเกิดเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือที่มีลักษณะ ดังนี้ 1. มีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายที่ตรงกัน 2. การใช้ทรัพยากรที่พึ่งพากันและกัน 3. การร่วมระดมความคิดและรวมวางแผนในการทำงานร่วมกัน 4. การใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกัน 5. โครงสร้างและกลไกการทำงานประสานการติดต่อสื่อสาร 6. การให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม และ7. การประเมินผลร่วมกัน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หน่วยงานภาครัฐบาล ควรสนับสนุนการใช้กลไกระดับชุมชนท้องถิ่นที่มีศักยภาพ เช่น มูลนิธิ สมาคม องค์กรสาธารประโยชน์ ผู้นำศาสนา และประธานชุมชน ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายเสริมการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนด้านอื่น ๆ ซึ่งบุคคลหรือองค์กรเหล่านี้มีบทบาทในการปฏิบัติการในพื้นที่เป้าหมาย เมื่อจะต้องอาศัยทรัพยากรสนับสนุนในการช่วยเหลือ

ไมลา อิสสระสงคราม, Uraiwan Nuttayothin, Sukanda Sulaiman

331-344

ดูทุกฉบับ

...เปิดแล้ว...รับบทความตีพิมพ์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (ธันวาคม 2567)

 

วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย
วิทยาการ นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคและสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ
ระหว่างนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในเขตเมือง

กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่  ปีละ 2 ฉบับ

ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน
ฉบับที่ 2 กรกฏาคม - ธันวาคม

 

ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นนตอน