วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ดำเนินการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลการวิจัย และนวัตกรรมเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพ ของบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกรมควบคุมโรค และองค์กรอื่น ๆ รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการติดต่อ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวกับโรคและภัย<br />สุขภาพ </span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><strong>ISSN 2985 - 1858 (print) , ISSN 2985 - 1866 (online) </strong></span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">โดยตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และ<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</span></span></p> <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt;"><strong>ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นตอน</strong></p> th-TH <p>บทความที่พิมพ์ในวารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ถือว่าเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัยและวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ความเห็นของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง หรือคณะบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน&nbsp;</p> training10iudc@gmail.com (Kritpisut Maitongngam, M.D.) training10iudc@gmail.com (กลุ่มฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี) Sun, 08 Dec 2024 10:39:41 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การสำรวจสถานะสุขภาพของแรงงานข้ามชาติพื้นที่กรุงเทพมหานคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/269656 <p> </p> <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในสถานประกอบการ ตลาดและในชุมชน ในพื้นที่ 5 เขตของกรุงเทพมหานคร คือ เขตบางเขน เขตคลองสามวา เขตพญาไท เขตคลองเตย และเขตจอมทอง จำนวน 1,458 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ</p> <p>ผลการสำรวจข้อมูลส่วนบุคคลพบว่าแรงงานข้ามชาติ เป็นเพศชาย ร้อยละ 63.80 อายุอยู่ระหว่าง 21-40 ปี ร้อยละ 82.60 เป็นสัญชาติพม่า ร้อยละ 75.00 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 61.10 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและมีรายได้แบบรายวันร้อยละ 88.00 อยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 1-5 ปี ร้อยละ 61.70 และส่วนใหญ่ฟังและพูดไทยได้ร้อยละ 44.00 พักอาศัยในห้องเช่า/บ้านเช่า ร้อยละ 83.00 โดยพักอาศัยในห้องพักเดียวกันมากที่สุดจำนวน 2 คน สถานที่พบปะของแรงงานคือตลาดนัดและวัดร้อยละ 20.90 และ 20.40 ตามลำดับ</p> <p>สำหรับข้อมูลด้านสิทธิการรักษาและพฤติกรรมสุขภาพพบว่า แรงงานข้ามชาติไม่มีสิทธิการรักษามากถึงร้อยละ 56.00 หากมีอาการเจ็บป่วยจะไปคลินิกและซื้อยารับประทานเอง ประวัติการได้รับวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 2 ร้อยละ 45.30 ประวัติโรคประจำตัวพบว่าร้อยละ 95.00 ไม่มีโรคประจำตัว ส่วนที่พบโรคประจำตัวพบเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานถึงร้อยละ 27.00 และ 23.00 ตามลำดับ พฤติกรรมการออกกำลังกายพบว่าออกกำลังกายน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ร้อยละ 75.00 พฤติกรรมการสูบบุหรี่และสุราพบว่าไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุราหรือนาน ๆ ดื่มครั้ง ร้อยละ 86.00 และ 83.00 ตามลำดับ</p> <p> จากการวิเคราะห์ผลการสำรวจ พบว่าแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ทำอาชีพรับจ้างทั่วไปมีรายได้เป็นรายวัน มีภาระค่าใช้จ่ายในการยังชีพ ค่าเช่าบ้าน ค่าใช้จ่ายในการซื้อบัตรประกันสุขภาพ หรือบัตรประกันสังคม แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานไม่เคยตรวจสุขภาพ คิดว่าตนเองไม่มีปัญหาเรื่องโรคและภัยสุขภาพ จึงไม่เห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค ซึ่งการเข้าไม่ถึงสวัสดิการด้านสุขภาพทั้งระบบประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพส่งผลให้แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่เผชิญกับปัญหาการเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ถึงแม้ประเทศไทยจะมีนโยบายและผลักดันให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิด้านสุขภาพ แต่ยังมีช่องว่างที่ยังไม่สามารถทำให้แรงงานเข้าสู่ระบบที่ได้ออกแบบไว้เท่าที่ควร การผลักดันผ่านสื่อหรือสร้างช่องทางที่เหมาะสมผ่านแกนนำที่เป็นแรงงานชาติเดียวกันจะทำให้เกิดความไว้วางใจและสามารถสื่อสารสิ่งที่เป็นประโยชน์กับแรงงานได้อย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อนำไปสู่การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคในระดับพื้นที่และในระดับประเทศ</p> แก้วใจ มาทอง, ธารทิพย์ เหลืองตรีชัย, นิติรัตน์ พูลสวัสดิ์; อมรชัย ไตรคุณากรวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/269656 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 การเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี: บทบาทพยาบาลวิชาชีพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/270431 <p>ปัญหาการจมน้ำยังคงเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ถึงแม้สาเหตุของการจมน้ำร้อยละ 85 เป็นปัญหาที่ป้องกันได้ แต่ก็ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทย บทความนี้ได้วิเคราะห์กรณีศึกษาการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 25665- 2566 พบว่า จุดอ่อนที่พบทั้ง 4 รายกรณีศึกษา คือ ระบบการคุ้มครองดูแลที่ปล่อยให้เด็กเล่นตามลำพัง ไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล และยังพบจุดอ่อนด้านอื่น ๆ เช่น สภาพสถานที่เกิดเหตุที่มีความเสี่ยงและโอกาสเกิดซ้ำสูง ไม่มีการเตือนภัยบริเวณที่อันตราย พฤติกรรมการเล่นน้ำของเด็กที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น ดังนั้น การเรียนรู้สาเหตุ และแนวทางป้องกันเพื่อให้คำแนะนำล่วงหน้าแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น บิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก รวมถึงการรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญ และร่วมมือกันเพื่อไม่ให้เด็กต้องประสบปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ หรือการสูญเสียใด ๆ อันเป็นผลมาจากการได้รับอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุจากการจมน้ำ พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุในเด็ก รวมทั้งการดูแล และฟื้นฟูสุขภาพเด็ก เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่</p> ไมลา อิสสระสงคราม Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/270431 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบต่อพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/271695 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อพยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร ที่ทำงานในตำแหน่งควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลทำหน้าที่ควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล และให้บริการผู้ป่วย คัดกรองหรือ ดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงที่มีการระบาดของโรค จำนวน 49 คน ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผลกระทบต่อตนเองทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจในระดับมาก ไม่ว่าจะเป็น การพักผ่อน ความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงาน การปรับตัวในสถานการณ์การระบาด มีความหวาดกลัวต่อการติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลกระทบต่อที่ทำงาน อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก เนื่องจากในบางกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นมาจากภาวะปกติ เช่น การให้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 การใส่อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากภาระค่าใช้จ่ายในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคของตนเอง และสมาชิกในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ส่วนผลกระทบต่อครอบครัวอยู่ในระดับน้อย เนื่องจากครอบครัวมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ สำหรับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ ยังมีบางส่วนป้องกันตัวเองไม่ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด อาจเกิดมาจากข้อจำกัดของจำนวนอุปกรณ์ป้องกัน เนื่องจากภาวะระบาดของโรคที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ กำลังการผลิตในขณะนั้นอาจไม่ทันกับความต้องการหรืออาจเกิดจากตัวผู้ปฏิบัติงานยังขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการป้องการตนเอง ดังนั้น การได้รับดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ และดูแลเมื่อได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่เป็นสิ่งที่สำคัญ นอกจากนี้การสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานช่วงภาวะวิกฤตด้วยการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานจะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการสร้างขวัญกำลังสำหรับคนทำงานมีได้หลากหลายรูปแบบผู้บริหารควรพิจารณาตามความเหมาะสม</p> บังเอิญ ภูมิภักดิ์, จอมเทียน พรมทอง, สมจิตต์ สุขสง Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/271695 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยและพฤติกรรมการขับขี่จักรยานยนต์บนท้องถนน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272419 <p>การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยและพฤติกรรมการขับขี่จักรยานยนต์บนท้องถนน ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาอาชีววิทยาลัยแห่งหนึ่ง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 195 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับฉลาก และใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการขับขี่จักรยานยนต์ที่ปลอดภัยบนท้องถนน เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ไคสแควร์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยบนท้องถนน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยบนท้องถนน ผลการศึกษา พบว่าระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยบนท้องถนนของนักศึกษาอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 34.40 เมื่อจำแนกองค์ประกอบเป็น 5 ทักษะ พบว่า ทักษะการเข้าถึงข้อมูล ทักษะการไต่ถาม และทักษะการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 35.90, 42.60 และ 36.40 ตามลำดับ ส่วนทักษะการเข้าใจอยู่ระดับที่ดีมาก ร้อยละ 35.90 ความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยและพฤติกรรมการขับขี่จักรยานยนต์บนท้องถนน ไม่มีความสัมพันธ์กัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้นักศึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยบนท้องถนน คือ การสื่อสารที่ชัดเจนโดนใจผู้รับ ต้องเข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล เข้าใจบริบทของครอบครัว สังคม วัฒนธรรมของสถานศึกษาที่บุคคลนั้นอยู่ แล้วนำปัจจัยดังกล่าวมาเป็นปัจจัยนำเข้าในการกำหนดเนื้อหา กิจกรรม ที่จะสื่อไปยังนักศึกษาแต่ละบุคคล</p> ณัฐวุฒิ แดงสวัสดิ์, ธัญญา รอดสุข Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272419 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 ระบาดวิทยาของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2564 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/269764 <p>โรคไข้หวัดใหญ่พบได้ทุกกลุ่มอายุและกระจายอยู่ในทุกจังหวัดของประเทศไทย ลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มีความสำคัญเนื่องจากจะเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังโรค กำหนดแนวทาง และวางแผน รวมทั้งการใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรค การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาไข้หวัดใหญ่ ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2564 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากระบบเฝ้าระวังโรค (รง. 506) และข้อมูลการเฝ้าระวังเชื้อก่อโรคไข้หวัดใหญ่ทางห้องปฏิบัติการของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษา พบว่ามีการรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2564 รวมทั้งสิ้น 1,236,299 ราย เสียชีวิต 296 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.02 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1:1.03 พบผู้ป่วยมากที่สุดในอายุต่ำกว่า 5 ปี (ร้อยละ 21.26) รองลงมาคืออายุ 5 - 9 ปี (ร้อยละ 18.91) พบอัตราป่วยสูงสุดในปี พ.ศ. 2562 เท่ากับ 606.00 ต่อประชากรแสนคน (396,363 ราย) ส่วนในปี พ.ศ. 2557 พบอัตราป่วยตายพบสูงสุด คือ ร้อยละ 0.12 (91 ราย) รารรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มลดลงอย่างมากในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับการกระจายเชิงพื้นที่ พบว่าพื้นที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือในเขตภาคกลาง ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ระยอง เชียงใหม่ พะเยา และจันทบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง 2562 พบผู้ป่วยมากที่สุดในเดือนกันยายน และจากการเฝ้าระวังเชื้อก่อโรคไข้หวัดใหญ่พบว่าสัดส่วนของการตรวจพบเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เป็นประจำทุกปี การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ป่วยตามกลุ่มอายุ ตามพื้นที่ และตามช่วงเวลามีการรายงานโรคแตกต่างกัน การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะให้เน้นการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กวัยเรียนคือ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 9 ปี เนื่องจากเป็นกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด พื้นที่ที่ควรมีการเฝ้าระวังเชิงรุก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ระยอง และเชียงใหม่ เพื่อกำหนดมาตรการ แนวทางและการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นหรือจังหวัดที่เป็นศูนย์รวมของเศรษฐกิจดังกล่าว ช่วงเวลาของปีคือในเดือนกันยายนจึงควรมีมาตรการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ก่อนจะถึงฤดูฝนเนื่องจากพบผู้ป่วยสูงสุดเพื่อการตรวจจับการระบาดและควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายจากโรคไข้หวัดใหญ่ต่อไป</p> อ้อยทิพย์ ยาโสภา, พรทิพย์ จอมพุก, นนท์ธิยา หอมขำ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/269764 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 การใช้แบบจำลอง ARIMA พยากรณ์จำนวนผู้ป่วยวัณโรคของประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศจีน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/270437 <p>วัณโรคก็ยังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับวงการสาธารณสุขไทย การควบคุมวัณโรคเน้นที่การค้นหาผู้ป่วยให้ได้ในระยะเริ่มแรกและการรักษาผู้ป่วยให้หายป่วยตามกำหนดให้ได้มากที่สุด การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยวัณโรคของประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศจีน เป็นข้อมูลสำคัญในการบริหารจัดการป้องกันและควบคุมวัณโรค แบบจำลอง ARIMA ตามวิธีบ๊อกซ์และเจนกินส์ได้ถูกนำมาใช้ทั้งในประเทศจีน มาเลเซีย และเคนยา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยวัณโรคของประเทศจีน กัมพูชา พม่า ลาว มาเลเซีย และไทย ด้วยแบบจำลอง ARIMA โดยใช้ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยปี พ.ศ. 2563 ถึง 2566 จากฐานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ผลการวิจัยพบว่า ค่าพยากรณ์รายเดือนจากแบบจำลอง ARIMA(p,d,q)(P,D,Q)m ที่สอดคล้องกับข้อมูลมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายปีแล้ว ปี พ.ศ. 2567 จะมี ร้อยละของจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2566 จำนวน 2 ประเทศ คือ จีน +8.15 และมาเลเซีย +1.11 ประเทศที่ลดลงคือ กัมพูชา -1.81 ลาว -9.22 และไทย -2.30 ส่วนประเทศพม่า ปี พ.ศ. 2566 เพิ่มจากปี พ.ศ. 2565 ถึง +23.33 และอัตราการติดเชื้อต่อประชากร 100,000 คน ปรากฏดังนี้ พม่า 252.28 กัมพูชา 166.23 ไทย 106.72 ลาว 105.49 มาเลเซีย 76.02 และ จีน 33.40 </p> สุกัลยา ศรัทธาธรรมกุล, วัฒนา ชยธวัช Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/270437 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับภาวะทางการแพทย์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจร และความคิดเห็นต่อการตรวจสุขภาพในปัจจุบันเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่ในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/271392 <p>อุบัติเหตุจราจรยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย โรคทางการแพทย์สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างมากโดยการบั่นทอนความสามารถในการขับขี่ การประเมินความพร้อมทางการแพทย์ในการขับขี่เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนน วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อตรวจสอบการรับรู้ความเสี่ยงของประชาชนของอุบัติเหตุที่เกิดจากโรคทางการแพทย์ทั้งในด้านโอกาสเกิดและในด้านความรุนแรง และความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบปัจจุบันของการตรวจสุขภาพเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่ การสำรวจออนไลน์แบบภาคตัดขวางดำเนินการในกลุ่มตัวอย่าง 410 คนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั้งในกลุ่มผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร แบบสอบถามประเมินการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของอุบัติเหตุจากโรคทางการแพทย์หรือภาวะทางสุขภาพ 11 ประเภท ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพเพื่อขอใบอนุญาต ระดับการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงที่สูงถึงสูงมากสำหรับโรคทางการแพทย์ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการชัก ความผิดปกติของการนอนหลับ ผลข้างเคียงจากยา และโรคหัวใจ ความบกพร่องทางการมองเห็นและการได้ยิน แต่ภาวะเรื้อรังอย่างโรคเบาหวาน และวัยสูงอายุถูกรับรู้ว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความเสี่ยงที่สูงขึ้น ได้แก่ รายได้ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การขับขี่ และการมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุก่อนหน้านี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เห็นด้วยมากถึงเห็นด้วยมากที่สุดกับการเพิ่มการตรวจสุขภาพเพื่อขอใบอนุญาตและคัดค้านการยกเลิกการตรวจตาบอดสี วัณโรค และโรคอื่น ๆ สำหรับผู้ขับขี่ส่วนบุคคลและผู้ขับขี่สาธารณะการรับรู้ความเสี่ยงที่สูงในหมู่ประชาชนสอดคล้องกับหลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบของโรคทางการแพทย์ต่อความปลอดภัยในการขับขี่ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของการตรวจโรคบางอย่าง ความพยายามในการสื่อสารความเสี่ยงควรมุ่งไปที่การปรับปรุงความเข้าใจและการยอมรับของสาธารณชนต่อนโยบายที่อิงตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์</p> ภาสวิชญ์ ดุษฎีวิจัย, บุษบา ศุภวัฒน์ธนบดี Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/271392 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดนครปฐม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/271575 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคไข้เลือดออก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 140 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนในแต่ละอำเภอ ซึ่งแบบสอบถามประกอบด้วย ส่วนที่ 1 คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 คือ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคไข้เลือดออก และส่วนที่ 3 คือ แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (CVI) อยู่ในช่วง 0.67-1.00 และผลการทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือพบว่า แบบสอบถามส่วนที่ 2 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 และส่วนที่ 3 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย จำนวน, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ของความรอบรู้กับพฤติกรรมสุขภาพป้องกันควบคุมโรค โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่า ภาพรวมของความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้ายในจังหวัดนครปฐม ส่วนใหญ่อยู่ใน ระดับสูง (ร้อยละ 65.70) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก (r = 0.166, p-value = 0.025) และองค์ประกอบด้านทักษะการประยุกต์ใช้ข้อมูล (r = 0.183, p-value = 0.015) ตามลำดับ จากผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและเผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการระบาดของโรคต่อไป</p> มลศิกาญจ์ จุลสวัสดิ์, วชิราภรณ์ วนิชนพรัตน์ , วิรุฬ ลิ้มสวาท, ไผท สิงห์คำ, กฤษณ์ ประสิทธิโชค Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/271575 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาคุณภาพอากาศภายในห้องผ่าตัด คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/271666 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพอากาศภายในห้องผ่าตัด คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยตรวจวัดจำนวนอนุภาคฝุ่นละอองขนาด 0.5 และ 5.0 ไมครอน อัตราการหมุนเวียนอากาศ ความดันอากาศสัมพัทธ์ อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ ห้องละ 1 ชั่วโมง ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาพบว่า จำนวนอนุภาคฝุ่นละอองขนาด 0.5 ไมครอน อยู่ในช่วง 231.0-5,577.0 อนุภาคต่อลูกบาศก์ฟุต จำนวนอนุภาคฝุ่นละอองขนาด 5.0 ไมครอน อยู่ในช่วง 5.0-67.0 อนุภาคต่อลูกบาศก์ฟุต อัตราการหมุนเวียนอากาศ อยู่ในช่วง 12.0-30.0 ความดันอากาศสัมพัทธ์ มีค่าอยู่ในช่วง 2.0-54.1 ปาสคาล อุณหภูมิ อยู่ในช่วง 15.8-22.2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ มีค่าอยู่ในช่วง 54.0-82.5 เมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ พบว่า ร้อยละ 100.0 ของจำนวนอนุภาคฝุ่นละออง 0.5 และ 5.0 ไมครอน ร้อยละ 94.4 ของอัตราการหมุนเวียนอากาศ ร้อยละ 97.2 ของความดันอากาศสัมพัทธ์ ร้อยละ 52.7 ของอุณหภูมิ และร้อยละ 2.8 ของความชื้นสัมพัทธ์ อยู่ในค่าอ้างอิง นอกจากนี้ยังพบว่า จำนวนอนุภาคฝุ่นละอองขนาด 0.5 ไมครอน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับจำนวนอนุภาคฝุ่นละอองขนาด 5.0 ไมครอน (r<sub>s</sub> = 0.358 , P&lt; 0.05) และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราการหมุนเวียนอากาศ (r<sub>s</sub> = -0.347 , P&lt; 0.05) การศึกษานี้ส่วนใหญ่พบว่ามีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จึงเสนอแนะให้มีการปรับปรุงเรื่องระบบปรับอากาศและระบบควบคุมความชื้น เช่น เครื่องลดความชื้น (Dehumidifier) หรือ ฮีตเตอร์ดักท์ (Duct Heater) เป็นต้น และควรมีแผนการบำรุงรักษาระบบปรับอากาศและระบายอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และช่วยป้องกันการเกิดการติดเชื้อในห้องผ่าตัด อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบปรับอากาศในห้องผ่าตัดได้</p> ปิยทัศน์ บำรุงเวช, ชัชชัย ธนโชคสว่าง, กุณฑลีย์ บังคะดานรา, ปรียานุช สมร่าง Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/271666 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 การปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรคของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/271688 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของการปฏิบัติและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรคของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตบางแค และเขตบางเขน จำนวน 420 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า มีระดับของการปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรคที่ดีอยู่ในระดับสูงในผู้สูงอายุ ร้อยละ 63.1 โดยมีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับวัณโรค การป้องกันวัณโรค อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 70.5 และร้อยละ 80.5 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรค ได้แก่ ระดับการศึกษา (OR<sub>adj</sub> =3.22, p-value =0.006) ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค (OR<sub>adj</sub> =2.38, p-value &lt;0.001) และทัศนคติเกี่ยวกับวัณโรคและป้องกันวัณโรค (OR<sub>adj</sub> =2.26, p-value =0.002) ซึ่งพบว่า มีร้อยละของการปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรคอยู่ระดับสูง และพบว่าระดับการศึกษาที่สูงการมีความรู้เกี่ยวกับวัณโรคในระดับสูง และมีทัศนคติเกี่ยวกับวัณโรคและป้องกันวัณโรคในระดับสูงมีผลต่อการปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรคที่ดี</p> วิดาภา วรรณศรี, จิตติ หาญประเสริฐพงษ์, พัชราภรณ์ ไกรนรา, อรรถพล ชีพสัตยากร, วัฒน์ชัย จรูญวรรธนะ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/271688 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 ต้นตอของความสูญเสียอนาคตของชาติ ช่องว่างแห่งการป้องกันที่ล้มเหลว กรณีศึกษา การสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/271872 <p>การวิจัยต้นตอของความสูญเสียอนาคตของชาติ ช่องว่างแห่งการป้องกันที่ล้มเหลว กรณีศึกษาการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทย กลุ่มอายุน้อยกว่า 20 ปี รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การสอบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ (investigation) และการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุเชิงลึกในด้านมนุษย์ปัจจัย (Human Factor) ในความผิดพลาดในระดับบุคคล ความผิดพลาด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านกฎระเบียบ ด้านยานพาหนะ ด้านถนนและสิ่งแวดล้อม ด้านผู้ขับขี่ และด้านคนใช้รถใช้ถนนร่วมกัน และวิเคราะห์ข้อมูลช่องว่างของปัญหาเชิงระบบโดยใช้ Swiss Cheese Model 4 ระดับ ได้แก่ 1) การกระทำที่ไม่ปลอดภัย 2) เงื่อนไขที่ไม่ปลอดภัย 3) การกำกับดูแล และ 4) ปัจจัยด้านองค์การ ทั้งด้านนโยบายการทำงานของภาครัฐและสถานศึกษา เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาในกลุ่มเด็กและเยาวชน </p> <p>ผลการศึกษาวิจัย พบว่า อุบัติเหตุเกิดในกลุ่มอายุ 15-19 ปีมากที่สุด จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ส่วนใหญ่เริ่มฝึกหัดขับขี่รถจักรยานยนต์ ในช่วงอายุ 13-15 ปี เรียนรู้การขับขี่รถจากพ่อแม่ ญาติ เพื่อนหรือไปฝึกหัดขับเอง โดยไม่ผ่านการฝึกอบรมที่มีคุณภาพ จากการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงระบบโดยใช้ Swiss Cheese Model พบว่า ในระดับการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) ที่มาจากตัวของผู้ขับขี่เองมากที่สุด รองลงมาเป็นระดับสภาพเงื่อนไขที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Conditions) จากปัจจัยสภาพเงื่อนไขด้านถนนและสิ่งแวดล้อม และระดับการกำกับดูแลที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Supervision)</p> <p>ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการสนทนาในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ เสนอให้กลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ควรเร่งดำเนินการแก้ไข มีการกำหนดเป้าหมาย และการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรการฝึกประสบการณ์ ทักษะการคิดวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ การรับรู้อันตรายและความเสี่ยง (Hazard Perception) ทักษะการประเมินความเสี่ยงและความตระหนักรู้ (Situation Awareness) และทักษะการตัดสินใจ (Decision Making) รวมถึงการพัฒนาศักยภาพครูและวิทยากร ให้จัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์, ชาญยุทธ วิหกโต, พานนท์ ศรีสุวรรณ, ยลดา มูลทอง, ศศิกานต์ นนทะนำ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/271872 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 การสำรวจความรู้ และทัศนคติต่อการใช้สมาร์ทวอทช์ และแอปพลิเคชันสุขภาพเพื่อการจัดการโรคเรื้อรังในประชาชนคนไทยอายุ 15-70 ปี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272145 <p>โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย การใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพในการจัดการโรคเรื้อรัง มีบทบาทสำคัญในการจัดการโรคเรื้อรัง แบบเรียลไทม์ซึ่งมีผลสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของผู้ใช้งาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชัน ดูแลสุขภาพในการจัดการโรคเรื้อรัง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ทำการเก็บ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม - 30 เมษายน พ.ศ. 2567 จากประชากรในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอายุ ระหว่าง 15-70 ปี ซึ่งสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 356 คน เป็นการสุ่มโดยใช้แบบสอบ ถามออนไลน์ผ่านแบบฟอร์ม Google ซึ่งได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และมีค่า IOC เท่ากับ 1.0 การศึกษาพบว่า มีอาสาสมัครจำนวน 718 คน เข้าร่วมการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพในการจัดการโรคเรื้อรัง ในการจัดการโรคเรื้อรังอยู่ในระดับปานกลางที่ ร้อยละ 75.91 และมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้งานที่ ร้อยละ 78.41 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อทัศนคติในการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพ ในการ จัดการโรคเรื้อรัง ได้แก่ ความรู้และเพศ (Beta=0.253, p&lt;0.01 และ Beta=0.151, p&lt;0.01 ตามลำดับ) การใช้งาน สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพมักเกี่ยวข้องกับการเฝ้าติดตามสุขภาพ และกิจกรรม การออกกำลังกายผู้ที่ไม่มี โรคเรื้อรังหรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างจริงจังมักจะไม่เห็นความจำเป็นในการใช้สมาร์ทวอทช์ ในขณะที่ผู้ที่มีปัญหา สุขภาพ หรือออกกำลังกายอย่างจริงจังมักเห็นประโยชน์ในการใช้สมาร์ทวอทช์ในการติดตามและดูแลสุขภาพของตนเอง ควรส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพผ่านการอบรมและสื่อการเรียนรู้ โปรโมทประโยชน์ในการเฝ้าติดตามสุขภาพและการออกกำลังกาย โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ สร้างความตระหนักผ่านการเผยแพร่ข้อมูลและเรื่องราวความสำเร็จ พัฒนาฟีเจอร์ให้ใช้งานง่ายขึ้น เพื่อกระตุ้นความสนใจและการยอมรับ และเน้นการใช้สมาร์ทวอทช์ในการติดตามสุขภาพทั่วไป เช่น การนอนหลับและการวัดความเครียด</p> นภณัฐ ลิขสิทธิ์ธนานนท์, ณัฐดนัย พิศาลชัยยงค์ , ปัณณวิชญ์ พึ่งสุนทร, นภัทร ก่อสินเจริญ , วฤณภา ตันติภาสน์ , ปภาดา สุขรังสรรค์ , ณิชาภา บัณฑิตมหากุล, รดา มกรพันธ์ , ณัฏฐกร คนเจน, ปวริศวร์ พูลพิพัฒน์ , Sujimon Mungkalarungsi Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272145 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 แรงจูงใจในการป้องกันโรคและพฤติกรรมการใช้ทรายเคลือบสารทีมีฟอสเพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลาย ของครัวเรือนในจังหวัดนครราชสีมา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272276 <p> โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น การควบคุมพาหะนำโรคเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการป้องกันโรคไข้เลือดออก การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและพฤติกรรมการใช้ทรายเคลือบสารทีมีฟอสเพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลายของตัวแทนครัวเรือนในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 488 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์แบบถดถอยลอจิสติก ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและการใช้ทรายเคลือบสารทีมีฟอสอยู่ในระดับเพียงพอ (ร้อยละ 47.1) และมีพฤติกรรมการใช้ทรายเคลือบสารทีมีฟอสเพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลายอยู่ในระดับที่เหมาะสม (ร้อยละ 66.8) โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคไข้เลือดออกมากที่สุด (ร้อยละ 69.7) นอกจากนี้ ยังพบว่าพฤติกรรมการใช้ทรายเคลือบสารทีมีฟอสเพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลายมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคไข้เลือดออก (AOR = 2.45; 95%CI: 1.47-4.10; P-value &lt;0.01) การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคไข้เลือดออก (AOR = 7.32; 95%CI: 3.90-13.74; P-value &lt;0.01) ความคาดหวังในประสิทธิผลการป้องกันโรคไข้เลือดออก (AOR = 2.16; 95%CI: 1.33-3.52; P-value &lt;0.01) และความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคไข้เลือดออก (AOR = 4.59; 95%CI: 2.76-7.65; P-value &lt;0.01) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแรงจูงใจในการป้องกันโรค มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการใช้ทรายเคลือบสารทีมีฟอสเพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลาย จึงควรสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขนำข้อมูลไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมเสริมสร้างเแรงจูงใจ โดยมุ่งเน้นการสร้างการรับรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน</p> นครินทร์ สีสาสีมา, รชานนท์ ง่วนใจรัก Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272276 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จำนวนการรับวัคซีน การติดเชื้อโควิด 19 และคาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อของผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานสื่อสารบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272304 <p>การศึกษาเชิงพรรณนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จำนวนการรับวัคซีน การติดเชื้อโควิด 19 ของผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานสื่อสารบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (Covid 19) ยังคงเกิดขึ้นสม่ำเสมอและได้มีการแพร่ระบาดมากขึ้นอีกครั้งหลังจากมีการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพบปะสังสรรค์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน มีการท่องเที่ยวตามสถานที่ซึ่งมีผู้คนจำนวนมาก ทำให้การเว้นระยะห่างและการป้องกันมีความเข้มงวดลดลงจากเดิม หลังเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 พบจำนวนผู้ติดเชื้อ โควิด19 เพิ่มมากขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ แบบสอบถามที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนของข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถาม และส่วนของคำถามที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยรวม 6 ส่วน ส่งให้ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานสื่อสารบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติระหว่าง เดือน มกราคม ถึง เมษายน 2567 เพื่อตอบแบบสอบถามและนำผลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในแง่มุมต่าง ๆ โดยผู้ตอบแบบ สอบถามเป็นชายจำนวน 47.27% และหญิงจำนวน 52.73% ผลการสำรวจพบว่ากลุ่มคนเหล่านี้ได้รับวัคซีนแล้วคิดเป็น 99.00% และส่วนใหญ่เคยติดเชื้อโควิด 19 แล้วจำนวน 70.00% ยังไม่เคยติดเชื้อ 30.00% โดยระยะเวลาในการติดเชื้อประมาณ 3.5 วัน อาการขณะติดเชื้อคล้ายหวัดธรรมดา โดยส่วนใหญ่ใส่หน้ากากเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 คิดเป็น 95.00%และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ส่วนการเดินทางนั้นเดินทางด้วยรถส่วนตัวมากกว่ารถสาธารณะ จากการทำนายจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในอนาคตด้วยฟังก์ชัน forecast ใน Microsoft Excel โดยนำข้อมูลจำนวนการติดเชื้อในปีที่ผ่านมาของบุคคลกลุ่มนี้มาอ้างอิง พบว่าในปี 2567-2569 กลุ่มคนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อโควิด 19 เพิ่มขึ้น คิดเป็น 53.80%, 16.60% และ 15.70% ตามลำดับ</p> ชญานิศ ภูพวก Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272304 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 ความชุกของภาวะ microalbuminuria ในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรุงเทพมหานคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272356 <p>ภาวะ microalbuminuria สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้อาการเริ่มแรกของการเป็นโรคไตในคลินิกโรคเบาหวาน วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาความชุกของภาวะ microalbuminuria ในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางโดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและนำมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ จากข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน ระหว่างเดือนมกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 257 ราย</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของภาวะ microalbuminuria คิดเป็น ร้อยละ 45.52 โดยเพศชายและเพศหญิง คิดเป็น ร้อยละ 23.34 และ 22.17 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบภาวะ macroalbuminuria คิดเป็น ร้อยละ 21.40 และภาวะ normoalbuminuria คิดเป็น ร้อยละ 33.07 เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มของ HbA1c &lt; 6.50% และ HbA1c ≥ 6.50% พบระดับ Creatinine, Cholesterol, Triglyceride, LDL-C, Glucose และ eGFR มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) และพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีโอกาสที่จะเจอ HbA1c ≥ 6.50% สูง บ่งชี้ได้ว่ากลุ่มตัวอย่างไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในระดับเริ่มต้น</p> <p>ดังนั้น ความชุกของภาวะ microalbuminuria ในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีมีอัตราความชุกค่อนข้างสูง จึงควรตระหนักและจำเป็นในการตรวจคัดกรองภาวะดังกล่าว เพื่อลดโอกาสการเป็นโรคไต</p> เสาวณีย์ สุวรรณสินธุ์, วรินทร์ดา ไกรเทพ, สุรสิทธิ์ สุวรรณสินธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272356 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272390 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วย วัณโรคในชุมชน และเพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 – 31 มีนาคม 2567 ดำเนินการ 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และกลับเป็นซ้ำที่ขึ้นทะเบียนรักษาในระบบฐานข้อมูล โปรแกรม NTIP ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ในเขตพื้นที่อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้รับผิดชอบงานวัณโรค จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 คนโดยมีวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นคำถามแบบมีโครงสร้างศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อหาข้อสรุป 2) แบบสอบถามผู้ป่วยวัณโรค โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยด้วยสถิติ pair t-test ผลการวิจัยพบว่า 1)ระยะเตรียมการ ศึกษาสถานการณ์และปัญหาการดูแลผู้ป่วยวัณโรค 2)ระยะดำเนินการ โดยจัดประชุมทบทวนแนวทางปฏิบัติ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ประชุมกลุ่มย่อยระดมสมอง และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค การเยี่ยมบ้านผู้ป่วย และ 3) ระยะประเมินผล ประกอบด้วย การประเมินผลความรู้เรื่องวัณโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ผลการประเมินความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนและหลังการดำเนินงานผู้ป่วยมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการรักษาสำเร็จของผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมาร้อยละ 86.67</p> ปิยะพร มนต์ชาตรี, กัลยาณี จันธิมา Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272390 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 ประเมินความพร้อมระบบ กลไกการจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่เทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272405 <p>รูปแบบการศึกษาใช้วิธีการแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อประเมินความพร้อมระบบ กลไก การจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่เขตเทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3 และเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางในการดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เขตเทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3 พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ พื้นที่เขตเทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3 เก็บข้อมูล ระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน 2566 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลเป็น จำนวน ร้อยละ และข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลประเมินความพร้อมระบบ กลไก การจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่เขตเทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3 พบว่า ความพร้อมระบบ กลไก การจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง(𝑥̅= 3.54, SD = 0.50) มีการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ครบทั้ง 6 ประเด็น</p> <p>จากการศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรมีการสนับสนุนบุคลากรแก่เทศบาลเมืองทั้งด้านจำนวนและความรู้ ทักษะ เพื่อสนับสนุนให้การปฏิบัติการด้านป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองดีขึ้น 2) หน่วยงานด้านสาธารณสุขควรสนับสนุนระบบสารสนเทศด้านสุขภาพในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างเทศบาลเมืองและหน่วยบริการเอกชนในพื้นที่ 3) ควรมีการพัฒนายกระดับคุณภาพการบริหารจัดการเตรียมความพร้อมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพให้เพิ่มขีดความสามารถให้มากขึ้น โดยมุ่งเน้นโดยเฉพาะ องค์ประกอบด้านกำลังคนด้านสุขภาพด้านการป้องกันควบคุมโรค ด้านสื่อองค์ความรู้/เทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านการป้องกันควบคุมโรค และระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ</p> นายศราวุธ โภชนะสมบัติ, นเรศน์ ฐิตินันทิวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272405 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และสร้างทักษะเพื่อการดูแลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ด้วยตนเองโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ผ่านช่องทางออนไลน์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272578 <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และสร้างทักษะในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ โดยใช้สื่อออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ผู้ดูแล บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่สนใจ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสื่อความรู้ที่สามารถศึกษาด้วยตนเอง มีแหล่งความรู้ที่ถูกต้อง ให้สถานพยาบาลมีเครื่องมือการให้ความรู้ในรูปแบบออนไลน์สอดคล้องกับการจัดบริการยุคใหม่แบบ New normal ช่วยลดภาระของทีมแพทย์ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในคลินิกโรคเรื้อรัง ในการให้คำปรึกษา ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจและปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง สามารถจัดการตนเองได้ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย</p> <p> จากการทบทวนองค์ความรู้ทางวิชาการ สื่อเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้สรุปและรวบรวมเนื้อหาที่มีความสำคัญและเป็นเนื้อหาที่ควรรู้ จำนวน 7 เรื่องในการจัดทำสื่อวีดิทัศน์การบริการในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงผ่านสื่อวีดิทัศน์ (VDO Clip) “การให้ความรู้และสร้างทักษะเพื่อการดูแลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง” ประกอบด้วย(1)เลือกทานกันสักนิด พิชิตเบาหวานและความดันโลหิตสูง,(2)ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง...ออกกำลังกายอย่างไรให้ปลอดภัย,(3)เคล็ดลับขจัดความเครียด เคลียร์ความกังวล,(4)รู้เรื่องยารักษาเบาหวาน,(5)เข้าใจยาความดันฯ พร้อมกันใน 5 นาที,(6)รู้ค่า...รู้ความเสี่ยง ประเมินตนเองได้ ห่างไกลโรคแทรกซ้อน และ(7)นาทีฉุกเฉิน...รู้ไว้แก้ได้ (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ Website ช่อง YouTube กองโรคไม่ติดต่อ เพจกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคและสรุปผลการนำไปใช้ ผลความพึงพอใจต่อการใช้สื่อ (VDO Clip) พบว่า ผู้ตอบแบบประเมิน ฯ จำนวน 953 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 89.51 ผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในคลินิกโรคเรื้อรัง ร้อยละ 82.06 และเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 11.86 มีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อภาพรวมในระดับมาก ร้อยละ 92.24 โดยบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง มีความพึงพอใจในภาพรวมในระดับมาก ร้อยละ 91.57 และร้อยละ 95.32 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาโดยรวม ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอและด้านการนำไปใช้ พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้และสามารถใช้กับผู้ป่วยได้จริงมีประโยชน์ต่อประชาชน และการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์(VDO Clip) ช่วยในการให้ความรู้ผู้ป่วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ดูแลผู้ป่วย และบุคลากรสาธารณสุขสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลา บุคลากรสาธารณสุขสามารถใช้เป็นสื่อเรียนรู้ให้กับผู้ป่วยได้ การพัฒนาดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์แต่ยังพบข้อจำกัดในการดำเนินงานและการพัฒนาควรมีการพัฒนาเพิ่มเติมในประเด็น ปรับคำค้น ในการค้นหาให้ชัดเจน เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสื่อวีดิทัศน์ เพิ่มการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและควรมีการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพิ่มเติมในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ไม่ดีเพิ่มเติม</p> หทัยชนก เกตุจุนา, ขวัญชนก ธีสระ, เบญจมาศ นาคราช, จิตรา บุญโพก Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272578 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 การประเมินผลการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข กรณีการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272615 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังในช่วงการแพร่ระบาดของ<br />โควิด 19 ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงาน ตลอดจนมีข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงงรูปแบบการบริหารจัดการและออกแบบการเงินการคลังในภาวะฉุกเฉินของกรมควบคุมโรคสำหรับการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ตามกรอบแนวคิดการประเมินของ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ของกรมควบคุมโรคในช่วงตั้งแต่เริ่มการแพร่ระบาด ปี 2563 จนถึงการประกาศเป็นโรคประจำถิ่น ปี 2565 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา </p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมผลการประเมินทุกด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านผลลัพธ์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 3.98 และด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 3.78</p> <p>ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการจัดการงบประมาณที่สำคัญคือ ผู้บริหารมีการสั่งการที่ชัดเจนรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ และการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ปฏิบัติทำให้เกิดความคล่องตัวและเอื้อต่อการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรคได้แก่ กระบวนการบริหารงบประมาณยังคงดำเนินการตามระเบียบราชการตามปกติ แม้ว่าจะอยู่ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน ขั้นตอนและเอกสารมีความซับซ้อนทำให้เป็นภาระงานในการตรวจสอบเอกสาร ประกอบกับผู้ปฏิบัติงานไม่มีประสบการณ์และมีความกังวลกับหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติที่ถูกกำหนดขึ้นมาใหม่ รวมทั้งระบบสารสนเทศที่มีอยู่ยังไม่รองรับการบริหารจัดการงบประมาณในภาวะฉุกเฉินทำให้ผู้บริหารไม่สามารถนำข้อมูลไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายได้ ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา คือ นำข้อจำกัดที่ผ่านมาเป็นกรอบในการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานและระเบียบให้เกิดความคล่องตัวและเอื้อต่อการปฏิบัติงาน และควรกำหนดระเบียบด้านการเงินการคลังในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นการเฉพาะ รวมทั้งการเตรียมแหล่งงบประมาณหรือเงินทุนสำรองในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขในอนาคตให้เพียงพออย่างน้อยในระยะ 1 เดือน และพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการเงินการคลังรองรับการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน วางกรอบอัตรากำลัง และการหมุนเวียนบุคลากรที่ชัดเจนพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์ภายใต้กรอบ พ.ร.บ. โรคติดต่อปี 2558 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงพัฒนาระบบสารสนเทศให้รองรับการติดตามงบประมาณได้จากทุกแหล่งและมีข้อมูลแบบ Real time ในการตัดสินใจด้านการงบประมาณได้ในภาวะฉุกเฉิน</p> นันท์นภัส วงษ์พิรา, มัญชุรัศมิ์ เถื่อนสุคนธ์, กรสิยาห์ บัวติ๊บ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272615 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 การประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่ และเวชศาสตร์เขตเมือง รูปแบบ Onsite และ Online https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272730 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation Research) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่และเวชศาสตร์เขตเมือง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่และเวชศาสตร์เขตเมือง ทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online จำนวนทั้งสิ้น 100 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการเลือกแบบบังเอิญ ประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินตามรูปแบบของเคิร์กแพทริค 2 มิติ ได้แก่ 1) การประเมินปฏิกิริยา และ 2) การประเมินการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินด้านปฏิกิริยา และแบบประเมินด้านการเรียนรู้ ดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Google Form วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมร้อยละ 100.00 มีความต้องการเข้ารับการฝึกอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่และเวชศาสตร์เขตเมือง รูปแบบ Onsite และ Online เพื่อนำไปใช้ประยุกต์ในการปฏิบัติงาน ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 98.60 มีความคาดหวังต่อหลักสูตรนี้อยู่ในระดับมาก ผลสัมฤทธิ์หลังการอบรมพบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีปฏิกิริยาต่อโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด ในด้านการเรียนรู้ มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับมาก ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเห็นด้วยว่าการเข้าร่วมกิจกรรมมีประโยชน์มาก เป็นการเพิ่มความรู้ ทักษะ ให้สามารถปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าชุดหรือทีมปฏิบัติการในพื้นที่ได้ ด้านการจัดการโครงการและรูปแบบการอบรมพบว่า ขอบเขตของเนื้อหาที่ฝึกอบรมในแต่ละหัวข้อครบถ้วนตามที่หลักสูตรกำหนด มีการจัดลำดับของเนื้อหาได้อย่างเหมาะสม หลักสูตรมีประโยชน์คุ้มค่า แต่การดำเนินการครั้งต่อไปควรจัดการอบรมในรูปแบบของออนไซต์ เพราะจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต่อตัวผู้เรียนมากกว่าการประชุมทางไกล (Online) และการศึกษาในครั้งนี้เป็นการประเมินผลระหว่างเรียน และหลังเรียนทันที ควรจะมีการติดตามผลหลังอบรมเป็นเวลา 6 เดือน เพื่อประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของผู้เรียน ผลการประเมินสามารถพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครั้งต่อไปได้</p> จารุณี ระบายศรี, กนกรัตน์ ไพทูลย์, จุฑามาศ ลิ้มสมบูรณ์, กชามาส สินธุชัย, ชาโล สาณศิลปิน Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272730 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700