ฉบับปัจจุบัน

วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม - ธันวาคม 2566 กองบรรณาธิการได้รวบรวมและนำเสนอบทความทั้งหมด โดยได้รับการพิจารณากลั่นกรองแต่ละบทความก่อนตีพิมพ์เพื่อให้บทความมีคุณภาพสำหรับนักวิชาการและผู้อ่านที่สนใจทุกท่าน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาความรู้ในเชิงวิชาการ กองบรรณาธิการเคารพต่อผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ให้เกียรติในการพิจารณาคุณภาพ ตรวจสอบ และชี้แนะในแต่ละบทความ ที่ทำให้บทความนั้นมีประโยชน์ทางวิชาการ สุดท้ายนี้ต้องขอบคุณผู้นิพนธ์ทุกท่านที่สร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพและมีส่วนช่วยให้วารสารนี้ได้รับคุณค่าสูงสุดในเชิงวิชาการต่อไป
ด้วยความขอบคุณ
ผศ.ดร. ยงยุทธ แก้วเต็ม
บทความวิจัย
นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์
วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ ที่มีคุณภาพทางด้านสุขภาพและสาธารณสุข ซึ่งนิพนธ์โดยพยาบาล แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด ฯลฯ ซึ่งปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข สาธารณสุขชุมชน อนามัยสิ่งแวดล้อม และบทความด้านการพยาบาลทั่วไป ทฤษฎีการพยาบาลและการวิจัยการพยาบาลขั้นสูงและการพยาบาลเฉพาะทาง โดยมีผู้นิพนธ์จากทั้งภายในและภายนอกสถาบัน โดยทุกบทความทุกเรื่องผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง (Double blinded) อย่างน้อยจำนวน 2 ท่าน (และตั้งแต่ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เป็นต้นไปจะมีการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน) และในลักษณะเป็นการปกปิดรายชื่อผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
ประเภทของบทความที่รับพิจารณาเพื่อเผยแพร่
1. บทความวิจัย (Research article) คือ รายงานผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือ การพัฒนาอย่างเป็นระบบ
2. บทความวิชาการ (Academic articles) คือ งานเขียนซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นความรู้ใหม่ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางการแก้ปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูล
3. บทความปริทัศน์ (Review Article) คือ บทความที่มีการผสมผสานแนวคิด และผลการวิจัยหลายๆ งานวิจัย โดยผู้เขียนจะสังเคราะห์แนวคิดเหล่านี้ ตลอดจนสังเคราะห์ผลการวิจัยจากงานวิจัยต่างๆ เพื่อประมวลเป็นข้อโต้แย้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยวัตถุประสงค์ของการเขียน บทความปริทัศน์ คือ เป็นการสรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ทั้งทางกว้างและทางลึกอย่างทันสมัยจากผลงานวิจัยอื่นๆ และ/หรือผลงานวิชาการอื่นๆจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการทบทวนการก้าวหน้าทางวิชาการของเรื่องนั้นๆ โดยให้ข้อวิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป
กระบวนการ Review
บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน (และตั้งแต่ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เป็นต้นไปจะมีการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน) และในลักษณะเป็นการปกปิดรายชื่อผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
บทความในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือจะต้องผ่านการพิจารณาจริยธรรมวิจัยในคนและมีเลขที่รับรองก่อนตีพิมพ์ทุกบทความ
ภาษาที่รับตีพิมพ์
ภาษาไทย
กำหนดออก วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี
- ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน
- ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม
ผู้ให้การสนับสนุนการจัดทำวารสาร
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
*************************
คำแนะนำในการเตรียมบทความและใบแสดงความประสงค์ขอตีพิพม์บทความ Guideline&Declare form
การเตรียมต้นฉบับ Template Johss
ทุกบทความทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการที่ส่งตีพิมพ์ที่วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือจะต้องไม่เคยได้รับการเผยแพร่ ตีพิมพ์ หรือได้ส่งไปพิจารณาคุณภาพบทความในวารสารอื่นๆ มาก่อน และขอให้ผู้นิพนธ์ทุกท่านปฏิบัติตามแนวทาง ประกาศ และนโยบายของวารสารฯ ในการส่งบทความมาตีพิมพ์เผยแพร่ เพื่อมาตรฐานและคุณภาพของวารสารต่อไป
รายละเอียดการเตรียมต้นฉบับ
ต้นฉบับหลัก: ต้นฉบับจะต้องมีเนื้อเรื่องสมบูรณ์ พิมพ์ต้นฉบับ ด้วยกระดาษ A4 หน้าเดียว เขียนเป็นภาษาไทยมีความยาวไม่เกิน 15-20 หน้า และเว้นระยะขอบอย่างน้อย 2.5 ซม. ทางด้านซ้ายและด้านบนของหน้ากระดาษ และเว้นระยะของ 2 ซม. ทางด้านขวาและด้านล่างของหน้ากระดาษ ให้ผู้นิพนธ์ใช้ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 ตลอดทั้งต้นฉบับ ยกเว้น Title ที่มีขนาดตัวอักษร 18
ต้นฉบับหลักควรประกอบด้วย:
1. ชื่อเรื่อง/บทความ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต้องกะทัดรัดและสื่อเป้าหมายหลักของการศึกษา ไม่ใช้คำย่อ โดยแยกหน้าภาษาอังกฤษ 1 หน้า และภาษาไทย 1 หน้า (โดยให้หน้าภาษาอังกฤษขึ้นก่อน) ชื่อเรื่องควรกะทัดรัดไม่ยาวจนเกินไป ภาษาไทย TH SarabunPSK ขนาด 18 ตัวหนา และภาษาอังกฤษ TH SarabunPSK ขนาด 18 ตัวหนา
2. ชื่อผู้นิพนธ์ โดยให้ระบุชื่อ-นามสกุลเต็มของผู้นิพนธ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษของแต่ละคนที่มีส่วนในงานวิจัยนั้นโดยเรียงตามลำดับความสำคัญ ขนาดตัวอักษร TH SarabunPSK 16 ระบุสถานที่ทำงาน (Affiliation) หรือหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในปัจจุบันและจังหวัด ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ใช้คำย่อ ทั้งนี้ในกรณีมีมากกว่าหนึ่งสังกัด ขอให้ระบุมาเพียงสังกัดเดียว เมื่อมีผู้เขียนหลายคน และอยู่คนละสังกัดให้ใช้สัญลักษณ์ต่อไปนี้ตามลำดับเพื่อแยกสังกัด *, ** โดยให้ระบุเป็นเชิงอรรถในหน้านั้นๆ
2.1 ชื่อผู้นิพนธ์ ไม่ใส่ตำแหน่งวิชาการ ยศ ตำแหน่งทหาร สถานภาพทางการศึกษา หรือ คำนำหน้าชื่อ หรือท้ายชื่อ เช่น นาย นาง นางสาว ผศ.ดร., Ph.D.., ร.ต.ต., พ.ต.ท. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.., ผู้อำนวยการ…, คณบดีคณะ…,
2.2 ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*,**,***,****) เป็นตัวยกกำกับท้ายนามสกุลของผู้แต่งทุกคน และ ตัวเลขกำกับตัวยก (1) เฉพาะผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author), อีเมล (E-mail Address) : ให้ใส่เฉพาะผู้ประพันธ์บรรณกิจ
3. บทคัดย่อ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นเนื้อความย่อตามลำดับโครงสร้างของบทความ ได้แก่ ความเป็นมาและเหตุผล วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ บทคัดย่อภาษาไทยไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ และภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ เช่นเดียวกัน ใช้ภาษารัดกุม เป็นประโยคสมบูรณ์มีความหมายในตัวเองโดยไม่ต้องหาความหมายต่อ ไม่ควรมีคำย่อในภาษาอังกฤษและต้องเป็นประโยคอดีต
4.คำสำคัญ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษวางไว้ท้ายบทคัดย่อ และ Abstract
5. บทนำ เป็นการแสดงถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ภูมิหลังและเหตุผล (background and rationale) เป็นส่วนของบทความที่บอกเหตุผลที่นำไปสู่การศึกษา ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา เป็นส่วนที่อธิบายให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหา ลักษณะและขนาดของปัญหาที่นำไปสู่ความจำเป็นในการศึกษาวิจัยให้ได้ผลเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่ตั้งไว้ หากมีทฤษฎีที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการศึกษาอาจวางพื้นฐานไว้ในส่วนนี้
6. วัตถุประสงค์การศึกษา คำถามการวิจัย หรือ สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
7. ขอบเขตการศึกษา ควรระบุให้ครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาหรือตัวแปร ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ด้านพื้นที่และด้านระยะเวลา
8. นิยามศัพท์/กรอบแนวคิด (ถ้ามี) โดยกรอบแนวคิด ควรมีแนวคิดทฤษฏีที่นำมาใช้ในการศึกษาประกอบด้วย
9. วิธีดำเนินการวิจัย หรือ ระเบียบวิธีวิจัย ให้บอกรายละเอียดของสิ่งที่นำมาศึกษา เริ่มด้วยรูปแบบแผนการศึกษา (study design) เซ่น descriptive หรือ quasi-experiment แล้วระบุประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง เช่น การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายหรือแบบหลายขั้นตอน รวมถึงวิธีหรือมาตรการที่ใช้ศึกษา (interventions) เครื่องมือที่ใช้ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การทดสอบความน่าเชื่อถือ วิธีการเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ ซึ่งอาจเป็นวิธีการเชิงคุณภาพหรือวิธีการเชิงปริมาณขึ้นอยู่กับประเภทของการวิจัย
10.มาตรฐานจริยธรรมการวิจัยและการพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ (Ethical committee approval) โปรดระบุว่าผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการชุดใดบ้างและเมื่อไร และให้ระบุเลขที่ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการวิจัยดังกล่าว
11 ผลการศึกษา แสดงผลของการวิจัย และข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาวิจัยนั้นๆ อาจมีภาพ ตาราง และแผนภูมิประกอบให้ชัดเจน เข้าใจได้ง่าย ไม่ควรเสนอตารางเป็นภาพถ่าย
12 การอภิปรายผล เป็นการให้ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับผลการศึกษาที่เกิดขึ้น รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะบนพื้นฐานของผลงานวิจัย รวมทั้งควรให้ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไปด้วย
13 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) (ถ้ามี) มีย่อหน้าเดียวเป็นแจ้งให้ทราบว่ามีการช่วยเหลือหรือมีผู้สนับสนุนทุนการวิจัยที่สำคัญจากที่ใดบ้าง
14 เอกสารอ้างอิง (Reference) เป็นการแสดงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ถูกนำมาอ้างอิงขึ้นมาใช้ในการวิจัย เพื่อเป็นการแสดงว่าไม่ได้นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง รายการเอกสารอ้างอิงในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด หากเอกสารอ้างอิงมีต้นฉบับเป็นภาษาไทย ผู้เขียนต้องเปลี่ยนรายการเอกสารอ้างอิงให้เป็นอังกฤษที่ตรงตามต้นฉบับและเพิ่ม “(in Thai)” ท้ายรายการอ้างอิงนั้นๆ ด้วย การเขียนเอกสารอ้างอิงให้ใช้การอ้างอิงระบบ APA (6th) edition style ให้เรียงลำดับตามตัวอักษร ตัวอย่างการเขียนรูปแบบอ้างอิงมีรายละเอียด ดังนี้
หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
-Chumphon Provincial Public Health Office. (2012). Summary of preventive of chronic non-communicable diseases, 2012. Chumphon: Chumphon Printing and Design.(in Thai).
-Davis, Keith. (1967). Human Relation at Work: The Dynamic of Organization Behavior.New York: McGraw-Hill.
-Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
-Nunnally, J. (1978). Psychometric theory. New York: MacGraw-Hill
บทความในวารสาร
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่ (เดือน): เลขหน้า.
-Eiamsumang, P., Srisuriyavait, R., & Homsin, P. (2013). Risk factors of unintended repeat pregnancy among adolescents. The public health journal of Burapha University. 8(1), 55-67. (in Thai).
-Egloff, G. & Fitzpatrick, A. (1997). Vocationally Oriented Language Learning. Learning Teaching Journal. 30(1), 226-242.
-Radermacher, H., Feldman, S., & Bird, S. (2010). Food security in older Australians from different cultural backgrounds. Journal of Nutrition, Education and Behavior. 42(5),328-336.
เว็บไซต์
-Lynch, T. (1996). DS9 trials and tribble-actions review. Retrieved 15 June, 2009, from: http://www.bradley.edu/campusorg/psiphi.html.
**************************