เกี่ยวกับวารสาร

ชื่อวารสาร : วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ                                                                                                                                  Journal Name : Journal of Health Sciences Scholarship

ISSN 1906-1919 (Print)
ISSN 2697-6412 (Online)

***************

นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์                                                                                                                                                                                 วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ ที่มีคุณภาพทางด้านสุขภาพ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ซึ่งนิพนธ์โดยพยาบาล แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด ฯลฯ ซึ่งปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข สาธารณสุขชุมชน อนามัยสิ่งแวดล้อม และบทความด้านการพยาบาลทั่วไป ทฤษฎีการพยาบาลและการวิจัยการพยาบาลขั้นสูงและการพยาบาลเฉพาะทาง โดยมีผู้นิพนธ์จากทั้งภายในและภายนอกสถาบัน  โดยทุกบทความผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสถาบันที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะการดำเนินการปกปิดชื่อของผู้วิจัย แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ (Double blinded) อย่างน้อยจำนวน 2 ท่าน  โดยตั้งแต่วารสารปีที่ 10 ฉบับที่ 2 วารสารมีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ 3 ท่านทุกบทความ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้ด้านการพยาบาล การแพทย์ และการสาธารณสุขที่เป็นประโยชน์ผ่านบทความวิชาการและผลงานวิจัย
  2. เพื่อเป็นแหล่งเสนอผลงานวิชาการสําหรับสมาชิกทางการพยาบาล การแพทย์ การสาธารณสุข และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในเชิงสุขภาพ
  3. เพื่อเสริมสร้างนักวิชาการที่ต่อยอดเป็นองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ทางการพยาบาล การแพทย์ การสาธารณสุข และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในเชิงสุขภาพ
  4. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการ และการติดต่อสัมพันธ์ของนักวิชาการในเชิงสุขภาพ

ประเภทของบทความที่รับพิจารณาเพื่อเผยแพร่

  1. บทความวิจัย (Research article) คือ รายงานผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือ การพัฒนาอย่างเป็นระบบ
  2. บทความวิชาการ (Academic articles) คือ งานเขียนซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นความรู้ใหม่ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางการแก้ปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูล
  3. บทความปริทัศน์ (Review Article) คือ บทความที่มีการผสมผสานแนวคิด และผลการวิจัยหลายๆ งานวิจัย โดยผู้เขียนจะสังเคราะห์แนวคิดเหล่านี้ ตลอดจนสังเคราะห์ผลการวิจัยจากงานวิจัยต่างๆ เพื่อประมวลเป็นข้อโต้แย้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยวัตถุประสงค์ของการเขียน บทความปริทัศน์ คือ เป็นการสรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ทั้งทางกว้างและทางลึกอย่างทันสมัยจากผลงานวิจัยอื่นๆ และ/หรือผลงานวิชาการอื่นๆจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการทบทวนการก้าวหน้าทางวิชาการของเรื่องนั้นๆ โดยให้ข้อวิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป

บทความที่่ส่งมาเพื่อขอรับการพิจารณากลั่นกรอง อาจเกี่ยวข้องกับสาขาใดสาขาหนึ่งดังต่อไปนี้                                                      1.การพยาบาลทั่วไป  รวมทั้งแนวคิดและทักษะพื้นฐาน ทางการพยาบาล
2.การพยาบาลขั้นสูงและการพยาบาลเฉพาะทาง  และการดูแลผู้ป่วยวิกฤติหรือฉุกเฉิน 
3.การใช้กระบวนการพยาบาล เช่น การประเมินสภาพ  การวินิจฉัยทางการพยาบาลการวางแผนการพยาบาล  เป็นต้น
4.การดูแลสุขภาพครอบครัวและชุมชน 
5.การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ รวมถึงการส่งเสริมภาวะผู้นำ และการจัดการ 
6. ทฤษฎีและการวิจัยทางการพยาบาลและการสาธารณสุข
7.การดูแลสุขภาพบุคคลตามช่วงวัย หรือ ตามปัญหาสุขภาพเฉพาะโรค ได้แก่ 

  • การผดุงครรภ์และการคลอด 
  • กุมารเวชศาสตร์ 
  • อายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ 
  • สุขภาพจิตและจิตเวช
  • พฤฒวิทยา 
  • โภชนาการและการกำหนดอาหารเพื่่อสุขภาพ 
  • การพยาบาลผู้เป็นโรคมะเร็ง 
  • เภสัชวิทยาทางการพยาบาล 
  • พยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาล 

กระบวนการ Review                                                                                                                                                                                                      บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสถาบันที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะการดำเนินการปกปิดชื่อของผู้วิจัย แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ (Double blinded) อย่างน้อยจำนวน 3 ท่าน  

      บทความในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือจะต้องผ่านการพิจารณาจริยธรรมวิจัยในคนและมีเลขที่รับรองก่อนตีพิมพ์

ภาษาที่รับตีพิมพ์                                                                                                                                                                                                        ภาษาไทย

กำหนดออก   วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี                                                                                                                                                                    - ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน                                                                                                                                                                               - ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม

 ผู้ให้การสนับสนุนการจัดทำวารสาร                                                                                                                                                                     - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง

************

คำแนะนำในการเตรียมบทความ และใบแสดงความประสงค์ของตีพิมพ์บทความและการชำระเงิน

  1. ชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เมื่อเข้าสู่กระบวนการ Review เรื่องละ จำนวน 4,000 บาท(ตามประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์) โดยการโอนเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาประตูชัย ชื่อบัญชี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง                                                 เลขที่บัญชี 636-1-11771-4
  2. กรอกแบบชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (ดาวน์โหลดแบบชำระค่าธรรมเนียมตีพิมพ์)
  3. ส่งหลักฐานการโอนเงินและแบบชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ในระบบ thaiJo
  4. กองบรรณาธิการวารสาร จะดำเนินการจัดส่งใบเสร็จรับเงิน (ออกใบเสร็จจากเจ้าหน้าที่การเงินของวิทยาลัยฯ)ให้กับผู้แต่งทางไปรษณีย์ไทย ตามรายละเอียดที่ผู้แต่งได้แจ้งไว้ในแบบชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

หมายเหตุ: เมื่อเข้าระบบ Review ผู้แต่งไม่สามารถขอรับเงินคืนไม่ว่ากรณีใดๆ 

*************

การเตรียมต้นฉบับ  Template Johss

         ทุกบทความทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการที่ส่งตีพิมพ์ที่วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือจะต้องไม่เคยได้รับการเผยแพร่ ตีพิมพ์ หรือได้ส่งไปพิจารณาคุณภาพบทความในวารสารอื่นๆ มาก่อน และขอให้ผู้นิพนธ์ทุกท่านปฏิบัติตามแนวทาง ประกาศ และนโยบายของวารสารฯ ในการส่งบทความมาตีพิมพ์เผยแพร่ เพื่อมาตรฐานและคุณภาพของวารสารต่อไป

รายละเอียดการเตรียมต้นฉบับ   

       ต้นฉบับหลัก: ต้นฉบับจะต้องมีเนื้อเรื่องสมบูรณ์  พิมพ์ต้นฉบับ ด้วยกระดาษ A4 หน้าเดียว เขียนเป็นภาษาไทยมีความยาวไม่เกิน 15-20 หน้า  และเว้นระยะขอบอย่างน้อย 2.5 ซม. ทางด้านซ้ายและด้านบนของหน้ากระดาษ  และเว้นระยะของ 2 ซม. ทางด้านขวาและด้านล่างของหน้ากระดาษ ให้ผู้นิพนธ์ใช้ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 ตลอดทั้งต้นฉบับ ยกเว้น Title ที่มีขนาดตัวอักษร 18

ต้นฉบับหลักควรประกอบด้วย:

  1. ชื่อเรื่อง/บทความ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต้องกะทัดรัดและสื่อเป้าหมายหลักของการศึกษา ไม่ใช้คำย่อ โดยแยกหน้าภาษาอังกฤษ 1 หน้า และภาษาไทย 1  หน้า (โดยให้หน้าภาษาอังกฤษขึ้นก่อน) ชื่อเรื่องควรกะทัดรัดไม่ยาวจนเกินไป ภาษาไทย TH SarabunPSK ขนาด 18 ตัวหนา และภาษาอังกฤษ TH SarabunPSK ขนาด 18 ตัวหนา
  2. ชื่อผู้นิพนธ์ โดยให้ระบุชื่อ-นามสกุลเต็มของผู้นิพนธ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษของแต่ละคนที่มีส่วนในงานวิจัยนั้นโดยเรียงตามลำดับความสำคัญ ขนาดตัวอักษร TH SarabunPSK 16 ระบุสถานที่ทำงาน (Affiliation) หรือหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในปัจจุบันและจังหวัด ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ไม่ใช้คำย่อ ทั้งนี้ในกรณีมีมากกว่าหนึ่งสังกัด ขอให้ระบุมาเพียงสังกัดเดียว เมื่อมีผู้เขียนหลายคน และอยู่คนละสังกัดให้ใช้สัญลักษณ์ต่อไปนี้ตามลำดับเพื่อแยกสังกัด *, ** โดยให้ระบุเป็นเชิงอรรถในหน้านั้นๆ           2.1 ชื่อผู้นิพนธ์ ไม่ใส่ตำแหน่งวิชาการ ยศ ตำแหน่งทหาร สถานภาพทางการศึกษา หรือ คำนำหน้าชื่อ หรือท้ายชื่อ เช่น นาย นาง นางสาว ผศ.ดร., Ph.D.., ร.ต.ต., พ.ต.ท. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.., ผู้อำนวยการ…, คณบดีคณะ…,         2.2 ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*,**,***,****) เป็นตัวยกกำกับท้ายนามสกุลของผู้แต่งทุกคน และ ตัวเลขกำกับตัวยก (1) เฉพาะผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author), อีเมล (E-mail Address) : ให้ใส่เฉพาะผู้ประพันธ์บรรณกิจ
  3. บทคัดย่อ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นเนื้อความย่อตามลำดับโครงสร้างของบทความ ได้แก่ ความเป็นมาและเหตุผล วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ บทคัดย่อภาษาไทยไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ และภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ เช่นเดียวกัน ใช้ภาษารัดกุม เป็นประโยคสมบูรณ์มีความหมายในตัวเองโดยไม่ต้องหาความหมายต่อ ไม่ควรมีคำย่อในภาษาอังกฤษและต้องเป็นประโยคอดีต
  4.  คำสำคัญ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษวางไว้ท้ายบทคัดย่อ และ Abstract
  5. บทนำ เป็นการแสดงถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ภูมิหลังและเหตุผล (background and rationale) เป็นส่วนของบทความที่บอกเหตุผลที่นำไปสู่การศึกษา ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา เป็นส่วนที่อธิบายให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหา ลักษณะและขนาดของปัญหาที่นำไปสู่ความจำเป็นในการศึกษาวิจัยให้ได้ผลเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่ตั้งไว้ หากมีทฤษฎีที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการศึกษาอาจวางพื้นฐานไว้ในส่วนนี้
  6. วัตถุประสงค์คำถามการวิจัย หรือ สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
  7. ขอบเขตงานวิจัย ประกอบด้วย 4 ด้าน 1) ด้านเนื้อหา คือ ตัวแปร หรือจะเป็นวัตถุประสงค์ 2) ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คร่าว ๆ 3) ด้านพื้นที่ที่ศึกษา....4) ด้านระยะเวลาทีศึกษา
  8. กรอบแนวคิด โดยกรอบแนวคิด ควรมีแนวคิดทฤษฏีที่นำมาใช้ในการศึกษาประกอบด้วย
  9. วิธีดำเนินการวิจัย ให้บอกรายละเอียดของสิ่งที่นำมาศึกษา เริ่มด้วยรูปแบบแผนการศึกษา (study design) เซ่น descriptive หรือ quasi-experiment                                                                      - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง เช่น การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายหรือแบบหลายขั้นตอน รวมถึงวิธีหรือมาตรการที่ใช้ศึกษา (interventions)                - เครื่องมือที่ใช้       -  การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การทดสอบความน่าเชื่อถือ วิธีการเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล        - การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ ซึ่งอาจเป็นวิธีการเชิงคุณภาพหรือวิธีการเชิงปริมาณขึ้นอยู่กับประเภทของการวิจัย
  10. การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ (Ethical committee approval) โปรดระบุว่าผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการชุดใดบ้างและเมื่อไร และให้ระบุเลขที่ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการวิจัยดังกล่าว
  11. ผลการวิจัย แสดงผลของการวิจัย และข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาวิจัยนั้นๆ อาจมีภาพ ตาราง และแผนภูมิประกอบให้ชัดเจน เข้าใจได้ง่าย ไม่ควรเสนอตารางเป็นภาพถ่าย
  12. อภิปรายผล เป็นการให้ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับผลการศึกษาที่เกิดขึ้น รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะบนพื้นฐานของผลงานวิจัย  รวมทั้งควรให้ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไปด้วย
  13. ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้
  14. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
  15. เอกสารอ้างอิง (Reference) เป็นการแสดงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ถูกนำมาอ้างอิงขึ้นมาใช้ในการวิจัย เพื่อเป็นการแสดงว่าไม่ได้นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง  รายการเอกสารอ้างอิงในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด หากเอกสารอ้างอิงมีต้นฉบับเป็นภาษาไทย  ผู้เขียนต้องเปลี่ยนรายการเอกสารอ้างอิงให้เป็นอังกฤษที่ตรงตามต้นฉบับและเพิ่ม “(in Thai)” ท้ายรายการอ้างอิงนั้นๆ ด้วย การเขียนเอกสารอ้างอิงให้ใช้การอ้างอิงระบบ APA (7th) edition style ให้เรียงลำดับตามตัวอักษร ตัวอย่างการเขียนรูปแบบอ้างอิงมีรายละเอียด ดังนี้

หนังสือ

ผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. ชื่อเมือง: สำนักพิมพ์.

ผู้แต่ง 1 คน 

Smith, J. D. (2019). Understanding Health: A Comprehensive Guide. New York, NY: Academic Press.

ผู้แต่ง 2 คน

Smith, J. D., & Johnson, A. B. (2019). Understanding Health: A Comprehensive Guide. New York, NY: Academic Press.

ผู้แต่งมากกว่าสามคน

Smith, J. D., Johnson, A. B., & Williams, C. D. (2019). Understanding Health: A Comprehensive Guide. New York, NY: Academic Press.

ไม่ปรากฏผู้แต่ง:

National Institute of Health. (2020). Healthy Living: A Guide to Wellness. Washington, DC: Author.ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์

Smith, J. D. (n.d.). Understanding Health: A Comprehensive Guide. New York, NY: Academic Press.

อ้างอิงตามรูปแบบ APA 7 จะต้องคั่นระหว่างข้อมูลแต่ละส่วนด้วยจุลภาค และระหว่างชื่อผู้แต่งกับปีจะใช้วงเล็บ หากมี DOI ควรใส่ URL ของ DOI ตามด้วย "https://doi.org/" และตัวเลข DOI โดยไม่ต้องใส่วงเล็บ.

 บทความวารสาร

ผู้เขียน. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, เล่ม(หมายเลขฉบับ), หน้าเริ่มต้น-หน้าสุดท้าย. DOI/URL

         Smith, J. D., & Johnson, K. L. (2022). Understanding the effects of social media on adolescent mental health. Journal of Adolescent Health, 40(3), 102-115. https://doi.org/10.1016/j.jadohealth.2022.02.015

Munsrakeat, K., Rawiworrakul, T., & Lagampan, S. (2019). Effects of Self-Management Program for Glycemic Control Among Insulin Depen-dent Type 2 Diabetes Patients. The Journal of Baromarajonani College of Nursing, Nakhon Ratchasima, 25(2), 87-103. http://journal.knc.ac.th/pdf/25-2-2562-6.pdf. (in Thai)

Kaewnete, T. (2023). The Effectiveness of Health Promotion Programs among Patients with

Uncontrolled Diabetes Mellitus. Science and Technology Journal of Sisaket Rajabhat University, 3(1), 54-67. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/259412/176457. (in Thai)

Williams, G. C., Freedman, Z. R., Deci, E. L. (1998). Supporting autonomy to motivate patients with diabetes for glucose control. Diabetes Care, 21, 1644-1651. doi: 10.2337/diacare.21.10.1644.

เว็บไซต์

ผู้เขียน/ชื่อผู้รับผิดชอบ. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง [รหัส]. ชื่อเว็บไซต์. URL

 

Smith, J. (2020). How to Bake the Perfect Chocolate Cake [Video]. Baking Tips.  https://www.bakingtips.com/perfect-chocolate-cake

 

yan, R. M., Williams, G. C., Patrick, M. H., & Deci, E. L. (2009). Self-determination theory and

physical activity: The dynamic of motivation in development and wellness. Hellenic Journal of Psychology, 6, 107-124. http://www.pseve.org/journal/Articlesview.asp?key=107

The Royal College of Physicians of Thailand. (2023). Clinical Practice Guideline for Diabetes

  1. https://www.dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/bukhlakr-thangkar-phaethy/cpg/naewthang-wech-ptibati-sahrab-rokh-bea-hwan-2567. (in Thai)

    หากไม่มีผู้เขียนที่ระบุในเว็บไซต์ สามารถใช้ชื่อของเว็บไซต์แทนได้ และหากไม่มีปีที่เผยแพร่ ให้ใช้ "n.d." (ไม่มีปี) แทน ตัวอย่างเช่น:

Baking Tips. (n.d.). How to Bake the Perfect Chocolate Cake [Video]. https://www.bakingtips.com/perfect-chocolate-cake