ความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ขจิต บุญประดิษฐ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบมราชชนก
  • อรวรรณ ฤทธิ์มนตรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุวิชญา วิริยะศิริกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ทักษะชีวิต , ความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษา, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

         การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในการป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงทางด้านเพศของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 คำนวณหากลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 264 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย 1) แบบรวบรวมข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดความรอบรู้เรื่องเพศวิถีศึกษา และ 3) แบบวัดทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เครื่องมือผ่านการทดสอบคุณภาพด้านความตรงของเนื้อหาและความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าระดับความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาของนักศึกษาพยาบาลภาพรวมอยู่ในระดับดี และทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดี 8 ด้าน ได้แก่ ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิด ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ทักษะการเข้าใจผู้อื่น และทักษะการจัดการกับความเครียด และมี 2 ด้านทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับพอใช้ ได้แก่ ทักษะตระหนักรู้ในตน และทักษะการจัดการกับอารมณ์ และ ทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาพยาบาลภาพรวมอยู่ในระดับดี 

        ผลการศึกษานี้ให้ข้อมูลพื้นฐาน สำหรับอาจารย์พยาบาล บุคลากรสุขภาพ ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด เป็นแนวทางในการป้องกัน และส่งเสริมให้นักศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยได้อย่างมีความสุข เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เหมาะสม สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นพื้นฐานในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีคุณภาพต่อไป

 

References

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). Prentice Hall.

Bureau of Reproductive Health, Department of Health, Ministry of Public Health. (2017). National strategy for prevention and solution of adolescent pregnancy 2017-2026 under The Prevention and Solution of Adolescent Pregnancy Act B.E. 2559 (2nd ed.). Thepphen Wanin Press.

Division of Reproductive Health, Department of Health, Ministry of Public Health. (2017). National strategy for the prevention and resolution of teenage pregnancy 2017-2026 Teenage Pregnancy Prevention and Resolution Act B.E. 2559 (2nd ed.). Theppenwanit

Printing Press.

Hohmah, N. (2018). Health literacy for preventing unintended pregnancy among female students in the Faculty of Education, Yala Rajabhat University [Bachelor's thesis]. Yala Rajabhat University. (In Thai)

Inthakamhaeng, W. (2017). Health literacy: the principle and the practice [in Thai]. Health Education Division, Ministry of Public Health, Thailand.

Kittipichai, W., Phuwasuwan, N., Chamroonsawasdi, K., & Taechaboonsermsak, P. (2023). Sexual Health Literacy among Secondary School Students in Chonburi Province. Public Health Policy and Laws Journal, 9(1), 85–95. thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/262210

Mangkong, S. (2015). Life skills and sexuality education in secondary schools in Thailand. Journal of Education Studies, 43(1), 75-89.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2022). Essentials of nursing research: appraising evidence for nursing practice. (10th ed.). Wolters Kluwer.

Pracharna, S., & Hungsongkraisin, S. (2016). Stress management among upper secondary school students in Bangkok. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 61(1), 41-52.

Ratanaphan, J. (2020). Sexuality education: Impact on social institutions. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning, 10(2), 24-31.

Robinson, K. H., Smith, E., & Davies, C. (2017). Responsibilities, tensions and ways forward:Parents’ perspectives on children’s sexuality education. Sex education, 17(3), 333-347. https://doi.org/10.1080/14681811.2017.1301904

Sakulwaleetorn, U., Sananruangsak, S., & Theerarungsakul, N. (2018). Predictive factors of sexual risk prevention behaviors among female lower secondary school students. EAU Heritage Journal Science and Technology, 12(2), 253-264.

Sombat, S. (2020). Sexual literacy and life skills for adolescents aged 10-19 years. Bureau of Reproductive Health, Department of Health.

Somjaipeng W. (2023). The Relationship between Sexual Health Literacy and Sexual Behaviors of Teenage in a District of Suphanburi Province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 5(2), 101-106.

Subhaporn, S. (2020). Sexuality education and life skills for adolescents aged 10-19 years. https://rh.anamai.moph.go.th/th/newsanamai/download/?did=211675&id=98256&reload

Scull, T. M., Dodson, C. V., Geller, J. G., Reeder, L. C., & Stump, K. N. (2022). A media literacy education approach to high school sexual health education: Immediate effects of media aware on adolescents’ media, sexual health, and communication outcomes. Journal of Youth and Adolescence, 51(4), 708-723. https://doi.org/10.1007/s10964-021-01567-0

Tangnakul, P., Sananruengsak, S., & Theerarungsikul, N. (2019). The relationship between sexual health literacy and sexual behaviors among lower secondary school female students. Royal Thai Navy Medical Journal, 46(3), 607-620. (In Thai)

World Health Organization. (2022). Adolescent pregnancy. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy

World Health Organization. (2022). WHO guideline on sexuality education. World Health Organization. https://www.who.int/publications/i/item/9789240053601

Yamane, T. (1967). Statistics, an introductory analysis (2nd ed.). Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-17