ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30 - 70 ปี ในเขตความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครนนทบุรีที่ 2 สวนใหญ่
คำสำคัญ:
ความรู้, พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง, มะเร็งเต้านมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30-70 ปี ในเขตความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครนนทบุรีที่ 2 สวนใหญ่ โดยใช้กรอบแนวคิด PRECEDE Framework ของ Green & Kreuter กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุระหว่าง 30-70 ปี จำนวน 403 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตร KR-20 มีค่าเท่ากับ 0.85 และวิธีอัลฟาของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าไคสแควร์ และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรู้และการรับรู้อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้ประโยชน์การตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้อุปสรรคของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 42.18, 48.64, 52.85 และ 66.50 ตามลำดับ 2) ปัจจัยเอื้อด้านความสะดวกเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 67.00 3) ปัจจัยเสริมการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 39.36 4) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอหรือมีความถี่ในการตรวจเต้านมด้วยตนเองจำนวน 1 ครั้งต่อเดือนหรือมากกว่า ร้อยละ 30.63 5) อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปัจจัยความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.101, p<0.05) และปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.127, p<0.01) จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการวางแผนส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอและครอบคลุม
References
Chantachaloempong, S., Panyayai, P., & Thanakijtummakul, N. (2022). Health Literacy and Social
Support with Breast Cancer Screening Behavior Among Working-Age Women. Payap university. (in Thai)
Choitanong, W. (2022). Factors predicting breast self-examination behavior among reproductive age women at BO THAI sub-district, Phetchabun province [Master’s thesis]. Thai Library Integrated System (ThaiLis). https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=628908. (in Thai)
Green, L.W., & Kreuter, M.W. (1999). Health Promotion Planning and Education and Ecological Approach (3rd ed.). Mayfield Publishing Company.
In-Luang, P., Assawapalanggool, S., Surimuang, M., & Asawaplungkul, J. (2023). The effectiveness of an educational and skill training program on knowledge, breast self-examination skills, and satisfaction among female back-office personnel in a general hospital. Nursing Research and Innovation Journal, 29(1), 101-116. (in Thai)
Intanon, T., & Ampan, R. (2023). Factors related to breast self-examination behavior of women aged 30-70 years in the service area of Ban Prue Yai sub-district hospital, Khukhan district, Sisaket province. Sisaket Journal of Research and Health Development, 2(1), 113-124. (in Thai)
Jaikham, S. (2017). The effects of a program for the promotion of self-screening for breast cancer in women of reproductive age, in the responsibility area of buengbua health promoting hospital, promoting hospital, Wachirabaramee [Master’s thesis]. Thai Library Integrated System (ThaiLis). https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=507986. (in Thai)
National Cancer Institute. (2017). Clinical breast examination: CBE. Pornsup Printing. (in Thai)
National Cancer Institute. (2018). Recommendations on appropriate breast cancer screening in Thailand. Kosit Press. (in Thai)
National Cancer Institute. (2023). Definition of Service Plan Indicators: Cancer 2023 - 2027. National Cancer Institute Printing. (in Thai)
Ngamnimit, S., Danyuthasilpe, C., & Na-udom, A. (2022). Effect of a breast-examination promotion program on breast self-examination skills and breast self-care behavior among risk groups in Lomsak district, Phetchabun province. Nursing Journal CMU, 49(1), 148-159. (in Thai)
Nonthaburi Municipality. (2022). Local registration Nonthaburi Municipality area report 2022. Nonthaburi Municipality.
Ministry of Public Health. (2024). Health Data Center service. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=825c7fbfdbde936cf821a9b16dc4189b
Romyen, S. (2015). The Behavior of Breast Self-Examination on Thai Women Aged 30-70 years: Health Region 1. Lanna Journal of Health Promotion & Environment Health, 5(2), 65-77. (in Thai)
Pakkajeerasakul, P. (2016). Factors affecting breast self-examination behavior among Thai woman in Lampang province [Master’s thesis]. Thai Library Integrated System (ThaiLis). https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=579679. (in Thai)
Peyachun, P., Chamjareon, C., Rapeepornkul, S., & Makmaitree, S. (2021). Relationships between social support, motivation and breast cancer prevention behaviors of women using services in sub-district health promoting hospital, Pathumthani. Journal of Nursing Science Christian University of Thailand, 8(2), 1-16. (in Thai)
Pongsuwan, N. (2014). Factors predicting breast self-examination behavior among hill tribe women in Phetchabun province [Master’s thesis]. Thai Library Integrated System (ThaiLis). https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=461377. (in Thai)
Pongthavornkamol, K., Watthayu, N., & Khuhaprema, T. (2019). Breast cancer prevention and screening system in Thailand in health practitioners’ perspectives. Thai Cancer Journal, 39(3), 77-92. (in Thai)
Prommat, D., & Assawamaitee, S. (2021). Factors related to breast self-examination behavior among women aged 30-70 years in Bang Nam Phueng sub-district health promoting hospital, Phra Pradaeng district, Samut Prakan. The Journal of Pacific Institute of Management Science (Humanities and Social Science), 7(3) 14-26. (in Thai)
Teasamut, L. (2018). Survey of breast self-examination among female workers in university of phayao. Christian University Journal, 24(4), 600-612. (in Thai)
Wongjunlongsin, S., & Sumdaengrit, B. (2019). Causes of delayed treatment in Thai women with breast cancer in Ramathibodi hospital. Journal of Nursing and Health Care, 37(3), 201-210. (in Thai)
World Health Organization. (2022). Breast Cancer. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/breast-cancer
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด