การพัฒนาคุณภาพการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
การดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต, การพัฒนาคุณภาพการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต, ผู้ป่วยเด็กบทคัดย่อ
ผู้ป่วยเด็กที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมักมีอาการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะวิกฤตได้ง่ายและรวดเร็ว ตลอดเวลา ดังนั้นการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยเด็กจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การศึกษาเชิงพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โดยใช้วงจร พี ดี ซี เอ (PDCA) ของเดมมิ่ง เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน (plan) การปฏิบัติ (do) การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (check) และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (act) ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการศึกษา ได้แก่ 1) แนวทางการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในหอผู้ป่วยโดยปรับปรุงจากเครื่องมือ ประเมินและเฝ้าติดตามอาการผู้ป่วยเด็กที่เริ่มมีอาการทรุดลง (Pediatric Early Warning Signs: PEWS) 2) แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ และ3) แบบบันทึกอุบัติการณ์ภายในหอผู้ป่วย ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (content validity index: CVI) ของแบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติในหอผู้ป่วย เท่ากับ 0.99 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (intraclass correlation coefficient : ICC) เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลมีการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวทางการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติของผู้ป่วยเด็กได้ถูกต้องครบถ้วน ร้อยละ 84.75 และไม่พบว่ามีรายงานผู้ป่วยเด็กเกิดอุบัติการณ์ ภาวะหายใจล้มเหลว การเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติโดยไม่ได้วางแผน และการเสียชีวิต ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ในช่วงระยะเวลาการเก็บข้อมูล
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการ พี ดี ซี เอ (PDCA) เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติของผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วย โดยทำให้ได้แนวทางในการดูแลผู้ป่วยเด็กก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติที่เหมาะสมและผู้บริหารควรส่งเสริมให้พยาบาลปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในระหว่างการดูแลก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติของผู้ป่วยเด็ก
References
Anomakul, K. (2020). Efficiency improvement blood delivery for emergency patients in private hospital. Sripatum University Press. (in Thai)
Gold, D. L., Mihalov, L. K., & Cohen, D. M. (2014). Evaluating the Pediatric Early Warning Score (PEWS) system for admitted patients in the pediatric emergency department. Academic Emergency Medicine, 21(11), 1249-1256. doi: 10.1111/acem.12514
Lambert, V., Matthews, A., MacDonell, R., & Fitzsimons, J. (2017). Pediatric early warning systems for detecting and responding to clinical deterioration in children: A systematic review. BMJ open, 7(3), e014497.
Nadsantia, P. (2020). Developing the clinical practice guideline of pediatric early warning system in Sakon Nakhon Hospital. Journal of Sakon Nakhon Hospital, 23 (1), 11-20. (in Thai)
Wongmasora, K. (2019). The attribute of color and lighting on preferences of women’s face: Case study of cosmetic Counter [Theses and Dissertations]. Chulalongkorn University. https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9745 (in Thai)
Wutphuang, S. (2020). Result of pediatric early warning score: PEWS on acute infectious disease surveillance in pediatric ward of Phaholpolpayuhasena Hospital, Mueang District, Kanchanaburi Province. Journal of Sciences and Technology Northern, 3(1), 36-40. (in Thai)
Tanaree, J. (2016). The efficacy of the Pediatric Early Warning Score: PEWS in the pediatric ward at Kamphaeng Phet Hospital. Thai Journal of Pediatrics, 55(3, 89-104. (in Thai)
Theeravitlearth, P. (2016). Effective focus group techniques. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 7(2), 284-289. (in Thai)
Thomas-Jones, E., Lloyd, A., Roland, D., Sefton, G., Tume, L., Hood, K., Huang, C., Edwards, D., Oliver, A., Skone, R., Lacy, D., Sinha, I., Preston, J., Mason, B., Jacob, N., Trubey, R., Strange, H., Moriarty, Y., Aimee Grant, A., . . . Powel, C. (2018). A prospective, mixed-methods, before and after study to identify the evidence base for the core components of an effective pediatric early warning system and the of an implementation package containing those core recommendations for use in the UK: Pediatric early warning system – utilization and mortality avoidance–the PUMA study protocol. BMC Pediatrics, 18(1), 1-13. doi:10.1186/s12887-018-1210-z
World Health Organization. (2021). Global patient safety action plan 2021-2030: Towards eliminating avoidable harm in health care. www.who.int/team/integrated- health-services/patient-safety
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด