ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูงอายุที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ไชยคำ โรงพยาบาลลำปาง
  • พรรณี ไพศาลทักษิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลําปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ความรู้ในการดูแลตนเอง, การรับรู้ความสามารถใน การดูแลตนเอง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูงอายุที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลลำปาง จำนวน 30 คน  เครื่องมือการวิจัย คือ 1) โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และ  2) เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 2.1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2.2) แบบสัมภาษณ์ความรู้ในการดูแลตนเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม 2.3) แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม  2.4) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม  ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาค่า IOC ระหว่าง .67 – 1.00  แบบสอบถามความรู้ มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร K-R 20 เท่ากับ .74  แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง  มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .84 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ สถิติ Wilcoxon signed Ranks Test   

          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยสูงอายุที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม  กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลตนเอง การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเอง สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 พยาบาลสามารถใช้แนวทางในการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน  เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดพฤติกรรมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดที่ดี และสามารถกลับไปปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด

 

References

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W. H. Freeman.

Cohen, J. (1992). Quantitative methods in psychology: A power primer. Psychological Bulletin, 112(1), 155–169.

Chaichalermsak, S., Jitramontree, N., & Leelahakul, V. (2019). Effect of the perceived self-efficacy promoting program on self-care behavior among older patients post laminectomy. Thai Red Cross Nursing Journal, 12(1), 144–160. (in Thai).

Chueybuddha, C., Sripaoraya, S., & Yowson, P. (2019). The effect of self-efficacy promotion program to re-fracture behavior in patients with femoral fractures receiving internal fixation. Krabi Medical Journal, 2(2), 9–16. (in Thai).

Eakwirojanasakul, J. (2019). Refracture prevention in elderly patients with previous hip fracture in Somdejprasangkharach 17th Hospital, Suphanburi. Region 4-5 Medical Journal, 38(1), 39–49. (in Thai).

Gunawan, J., Marzilli, C., & Aungsuroch, Y. (2021). Establishing appropriate sample size for developing and validating a questionnaire in nursing research. Belitung Nursing Journal, 7(5), 356–360.

Inpha, S. (2007). Self-care program for hip replacement patients. (Master’s thesis, Mahidol University). Siriraj Hospital. (in Thai).

Jaipiti, H., & Sasat, S. (2018). The effect of self-efficacy promoting program on fear of fall in postoperative total hip replacement older persons. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19, 109–117. (in Thai).

Jiewprasat, K. (2018). Rehabilitation after surgery for hip fracture in older persons: Challenge issue in nursing. Vajira Nursing Journal, 20(2), 51–65. (in Thai).

Katetanee, R., Sriruecha, C., & Sinsupan, N. (2023). The effectiveness of self-efficacy enhancement program with social support in caring of patients with hip replacement surgery at Maha Sarakham Hospital. Maha Sarakham Hospital Journal, 20(1), 134–150. (in Thai).

Kulwattanapun, P. (2024). Perioperative nurse’s role in taking care of geriatric hip fracture. Siriraj Medical Bulletin, 17(3), 231–236. (in Thai).

Lampang Hospital Medical Records Department. (2022). Statistics of hip fractures in the Orthopedic Department: Lampang. (in Thai).

Menendez-Colino, R., Alarcon, T., Gotor, P., Queipo, R., Ramirez-Martin, R., Otero, A., et al. (2018). Baseline and pre-operative 1-year mortality risk factors in a cohort of 509 hip fracture patients consecutively admitted to a co-managed orthogeriatric unit (FONDA cohort). Injury, 49(3), 656–661.

Poh, K. S., & Lingaraj, K. (2013). Complications and their risk factors following hip fracture surgery. Journal of Orthopaedic Surgery (Hong Kong), 21(2), 154–157.

Polit, D. F., & Gillespie, B. (2009). The use of the intention-to-treat principle in nursing clinical trials. Nursing Research, 58(6), 391–399.

Rattanathammawat, T., & Choowattanapakorn, T. (2018). The effect of the individual and family self-management promoting program on functional capacity among older persons with hip fracture. Journal of Police Nurses, 10(2), 288–297. (in Thai).

Sirited, P., & Thammaseeha, N. (2019). Self-efficacy theory and self-healthcare behavior of the elderly. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 20(2), 58–65. (in Thai).

Sripiman, S., Thiangchanya, P., & Purinthrapib, S. (2020). The effects of promoting self-care program to knowledge, self-efficacy, and self-care behaviors of patients with hip surgery at Orthopedics Ward, Songkhla Hospital. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 3(2), 149–165. (in Thai).

Suntivorabut, S., Tosakulkao, T., & Leelahaku, V. (2019). The effects of self-efficacy enhancement program on quality of recovery and activities of daily living among post-operative lumbar laminectomy patients. EAU Heritage Journal Science and Technology, 13(3), 159–172. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-08