การประเมินระดับเสียงรบกวนและการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินการสัมผัสเสียงรบกวนของคนงานในโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ระดับเสียงรบกวน, การสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน, โรงสีข้าวชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับเสียงรบกวนในพื้นที่ในโรงสีข้าวชุมชนและประเมินการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินของคนทำงานในโรงสีข้าวชุมชน ข้อมูลส่วนส่วนบุคคล โดยใช้แบบสอบถาม วัดระดับเสียงรบกวนในพื้นที่ทำงานโดยใช้ Sound level meter และวัดสมรรถภาพการได้ยินโดยใช้ Audiometer ทำการเก็บตัวอย่างในระหว่างเดือนมกราคม -มิถุนายน พ.ศ. 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ binary logistic regression
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความดังเสียงรบกวนเฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงานของโรงสีข้าวชุมชนอยู่ในช่วงระหว่าง 85.2 – 93.5 เดซิเบล เอ กลุ่มตัวอย่างที่ทำงานในโรงสีข้าวชุมชน สูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน ร้อยละ 40.6 โดยสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินที่ความถี่ 4000 – 8000 Hz ร้อยละ 18.8 และ สูญเสียสมรรถภาพการได้ยินทั้งสองช่วงความถี่คือ สูญเสียสมรรถภาพการได้ยินที่ความถี่ 500 – 3,000 Hz และ 4000 – 8000 Hz ร้อยละ 21.8 และพบว่าการสูญเสียสมรรถภาพการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มที่ไม่ได้ทำงานในโรงสีข้าวปัจจัยที่มีผลต่อการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินพบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI = 1.11-10.61) ในขณะที่กลุ่มที่รับสัมผัสเสียงรบกวน โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ ไม่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน
References
Aarbaoui, El T., Méline, J., Brondeel, R., & Chaix, B. (2017) Short-term association between personal exposure to noise and heart rate variability: The RECORD Multi Sensor Study, Environmental Pollution,Vol 231(1). 703-711
Chaiyawong, P., Suggaravetsir, P. & Chaiklieng, S (2018). Factors Related to Hearing loss among Planting Farmers in Khon Kaen Province. Journal of the office of DPC 7 Khon Kaen, 25 (3), 88-98. (in Thai).
Department of Labor Protection and Welfare Announcement. (2018). Criteria and measurement methods and analysis of working conditions regarding levels of heat, light, or noise, including the duration and type of operations that must be performed. (2018, 12 March). Royal Gazette. Volume 135, Section 57 ng. 11-16. (in Thai)
Kalsirisilp, R., Aliusmanan, S. & Langkapin, J. (2019). Testing and Evaluation of Rice Milling Machine Based on Thai. Industrial Standard Research Journal Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Vol 18(2).1-16.ISSN: 1686-8420 (Print), 2651-2289 (Online) (in Thai)
Kitcher, E. D., Grace, O., Benjamin, G., A. & Alidu, A. (2014). Occupational hearing loss of market mill workers in the city of Accra, Ghana. Noise and Health. 16(70). 183-188
Lim, J., Kweon, K., Kim, H. W., Cho, S. W., Park, J., & Sim, C. S. (2018). Negative impact of noise and noise sensitivity on mental health in childhood. Noise & health, 20(96), 199–211. https://doi.org/10.4103/nah.NAH_9_18
Li X, Rong X, Wang Z., & Lin A. (2020). Association between Smoking and Noise-Induced Hearing Loss: A Meta-Analysis of Observational Studies. International Journal of Environmental Research and Public Health. 17(4), 1-14.
Ministry of Labor (2016). Ministerial regulations specify standards for administration, management, and operations to improve safety, occupational health, and the working environment regarding heat, light, and noise. (2016, 17 October). Royal Gazette. Volume 133, Section 91 k. 48-54. (in Thai)
Raktong, C. (2022). A study of the hearing test results of Trang Hospital at-risk staffs. Journal of the Phrae Hospital, 30 (1), 82-98. (in Thai).
Sela, C., Ratcha, M., & Surach, A. (2021). Noise level assessment and impacts of noise exposure among workers working in Bangkok bus terminal. Journal of Nursing and Health Science. Vol. 22 (2), 41-52. (in Thai).
Srijai, A. (2022). Effectiveness of Capital Plan Database Management System Program of Chiang Rai Provincial. Journal of Public Health Innovation Research and Development, 1(1), pp 1–13. (in Thai).
Wongkeereepiboon, N. & Chaimanee, A. (2022). NIOSH significant threshold shift and OSHA standard threshold shift criteria for early detection of noise-induced hearing loss. Dis Control J, Vol 48(2), 394-403. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-08-29 (5)
- 2024-08-29 (4)
- 2024-08-29 (3)
- 2024-05-30 (2)
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด