ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน : การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม

Main Article Content

กมลชนก บุญมาก
สายทิพย์ สุทธิรักษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการเยี่ยมบ้านกับบริการตามปกติในโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ใช้วาร์ฟาริน วิธีการ: การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมครั้งนี้ทำในผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีภูมิลำเนาในเขตอำเภอภูผาม่าน ซึ่งได้รับการรักษาด้วยวาร์ฟาริน อย่างน้อย 1 ครั้ง และนานต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน ผู้ร่วมการวิจัย 56 คนถูกแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนกลุ่มละ 28 คน การศึกษาเก็บข้อมูล International Normalized Ratio (INR) และปัญหาจากการใช้ยาแบบไปข้างหน้าที่เวลาก่อนและหลังการศึกษาในเดือนที่ 1, 2 และ 3 นอกจากนี้ยังวัดเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับวาร์ฟารินในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการศึกษา 1 วัน หลังการศึกษาเดือนที่ 1, 2 และ 3 ผลการศึกษา: ก่อนการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไปของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อสิ้นสุดการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีค่า INR ตามเป้าหมายมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 75.00 และ 46.43 ตามลำดับ; P=0.029) คะแนนความรู้เฉลี่ยเกี่ยวกับวาร์ฟารินในกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (17.64±0.56 และ 16.61±1.17 คะแนน; P<0.001)  ร้อยละของค่า INR ตามเป้าหมายในช่วงเวลาที่ติดตาม (percent time in therapeutic range; %TTR) ในกลุ่มทดลองมีแนวโน้มสูงกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 59.52±34.38 และร้อยละ 51.19±41.06 ตามลำดับ; P=0.414) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ปัญหาจากการใช้ยามีแนวโน้มลดลงในกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองพบว่า ปัญหาด้านยาลดลงและคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001 ทั้ง 2 ค่า) และ INR ตามเป้าหมายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ สรุป: การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการเยี่ยมบ้านสามารถทำให้ผู้ป่วยมีค่า INR ตามเป้าหมาย และความรู้เกี่ยวกับการรักษาด้วยวาร์ฟารินมากขึ้น และสามารถลดปัญหาจากการใช้ยาวาร์ฟารินได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Heart Association of Thailand. Warfarin guideline [online]. 2010 [cited Jan 1, 2020]. Available from: www.thaiheart.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539252670&Ntype=5.

Health Administration Division, Ministry of Public Health. Service plan: warfarin clinic management. Nonthaburi: Bangkok; 2016

Chaiklang W. Drug therapy problems in outpatients using warfarin at Lumphun Hospital. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2014.

Katemateegaroon D, Jarensiripornkul N. Warfarin-related problems: Implementation of anticoagulation clinic. Srinagarind Medical Journal 2002; 17: 281-8.

Loharattanakong P, Ritthiboon P, Hongrinya Y, Chaichun M, Taksinachanekij S, Uchaipichat V. Warfarin using knowledge and international normalized ratio goal control in outpatients of Queen Sirikit Heart Canter of the Northeast. Srinagarind Medical Journal 2016; 31: 257-65.

Leekcharoen S, Anantachoti P. An evaluation of pharmacist counseling to patients receiving warfarin at Samutprakarn Hospital. Thai Pharma ceutical and Health Science Journal 2011; 6: 91-9

Office of the Council of State. Thai National Health Act 2002 [online]. 2002 [cited Jun 1, 2021]. Availa ble from: nih.dmsc.moph.go.th/law/pdf/031.pdf.

Stafford L, van Tienen EC, Bereznicki LR, Peterson GM. The benefits of pharmacist delivered warfarin education in the home. Int J Pharm Pract. 2012; 20: 384-9.

Saokaew S, Permsuwan U, Chaiyakunapruk N, Nathisuwan S, Sukonthasarn A. Effectiveness of pharmacist participated warfarin therapy manage ment: a systematic review and meta-analysis. J Thromb Haemostasis. 2010; 8: 2418-27.

Jackson SL, Peterson G, Vial J, Jupe D. Improving the outcomes of anticoagulation: an evaluation of home follow up of warfarin initiation. J Intern Med. 2004; 256: 137-44.

Sukanantachai B, Sapoo U, Supsinwiwat A, Pongrithsakda W, Tangsriseree N, Kanokhong S. Implementation and outcome evaluation of satellite network of anticoagulation clinics in Nakornratcha sima province, Thailand. Journal of Health Systems Research 2011; 5: 495-505

Maneekanlaya S. Family and community pharmacist practice learning 1 (FCPL 1). In: Chantakarn A. editors. Home visit project with pharmaceutical care in patients starting warfarin in hospital among Mueang Nakhon Sawan District; National Health Security Office; 2016. p 98-116.

Thaungsuwan W, Jedsadayanmata A. Effect of pharmacist participation in multidisciplinary yeam for home visit on blood pressure and drug adherence of stroke patients. Thai Journal of Phar macy Practice. 2016; 8: 48-57.

Hepler CD SL. Opportunities and responsibilities in pharmaceutical care. Am J Hosp Pharm. 1990; 47: 533-43.

Ningsanon T, Monthakarnkul P, Wanakmanee U, Suansanea T, Chatuporn T. Textbook of family pharmacist. Bangkok: Association of Hospital Pharmacy (Thailand); 2014.

Wangsook P, Kittiboonyakun P, Sookaneknun P. Evaluation of multidisciplinary health care program for patients using warfarin at Health Promotion Sub-District Hospitals. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2014; 6: 92-105.

Sittidach M, Muhammad P, Malanusorn M, Kiettanawattana P, Boonupathamkul T. Effect of pharmaceutical care on patients with mechanical prosthetic valve who received warfarin at Songkla nagarind Hospital. Songklanakarind Medical Jour nal 2012; 2: 63-73

Stafford L, Peterson GM, Bereznicki LR, Jackson SL, van Tienen EC, Angley MT, et al. Clinical outcomes of a collaborative, home-based postdis charge warfarin management service. Ann Pharma cother. 2011; 45: 325-34.

Holbrook AM, Pereira JA, Labiris R, McDonald H, Douketis JD, Crowther M, et al. Systematic overview of warfarin and its drug and food inter actions. Arch Intern Med 2005; 165: 1095-106.