คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์
คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์
การส่งต้นฉบับ
ผู้นิพนธ์สามารถส่งต้นฉบับที่เตรียมขึ้นตามรูปแบบที่วารสารฯ กำหนดตาม template ของต้นฉบับ โดยส่งผ่านระบบ online-submission system ของวารสารฯ (ในหัวข้อส่งบทความ) ทั้งนี้ผู้ประสงค์จะส่งบทความต้องลงทะเบียนในระบบดังกล่าวก่อน (กรุณาศึกษารายละเอียดได้จาก https://docs.google.com/document/d/156ymhTbOukCgHHB-tmRT9qdHr4GtCUuz/edit?usp=sharing&ouid=102984997101351582622&rtpof=true&sd=true) หากท่านประสบปัญหาในการส่งบทความ กรุณาแจ้งที่ sanguan.L@psu.ac.th
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 วารสารได้เพิ่มจำนวนเล่มจาก 2 เป็น 4 ฉบับต่อปี ดังนี้ เล่มที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) เล่มที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) เล่มที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) และเล่มที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมไทย คือ บทความวิจัยต้นฉบับ บทความทบทวนวรรณกรรมทั้งแบบเชิงบรรยาย (review article) การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review)
วารสารเภสัชกรรมไทยเผยแพร่บทความที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรม ได้แก่การบริบาลทางเภสัชกรรม เภสัชกรรมสังคม การบริหารเภสัชกิจ เศรษฐศาสตร์ทางยา ระบาดวิทยาของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เภสัชสาธารณสุข เภสัชพฤติกรรมศาสตร์ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ นิติเภสัชกรรม จริยศาสตร์เภสัชกรรม นโยบายด้านยาและสุขภาพ การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางสังคมและการบริหารในการปฏิบัติงานเภสัชกรรม
ค่าธรรมเนียมและกระบวนการพิจารณาบทความ
วารสารมีค่าธรรมเนียมการพิจารณาบทความ 3,000 บาท เมื่อส่งบทความมายังวารสาร ขอความกรุณาอย่าโอนเงินค่าธรรมเนียมมายังวารสารก่อน แต่วารสารจะแจ้งให้ท่านโอนค่าธรรมเนียมหลังจากที่กองบรรณาธิการตรวจสอบคุณภาพของบทความเบื้องต้นแล้วพบว่า บทความมีคุณภาพเพียงพอที่จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาต่อไป ทุกบทความต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนที่วารสารจะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ซึ่งท่านสามารถโอนเงินค่าธรรมเนียมไปยังบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชื่อบัญชี “โครงการปริญญาโท สาขาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร” เลขที่บัญชี 565-266609-0 ประเภทบัญชีออมทรัพย์ พร้อมแนบหลักฐานการโอนเงิน (กรุณาดูใน template ของต้นฉบับ ที่ https://docs.google.com/document/d/156ymhTbOukCgHHB-tmRT9qdHr4GtCUuz/edit?usp=sharing&ouid=102984997101351582622&rtpof=true&sd=true)
ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ในทุกบทความ วารสารจะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาคุณภาพบทความอย่างน้อย 3 ท่านที่มีความเชี่ยวชาญตรงหรือเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาของบทความ และไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้แต่งบทความ การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นแบบ double blinded คือ มีการปกปิดชื่อเจ้าของบทความแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ และเจ้าของบทความไม่ทราบชื่อของผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการประเมินมี 4 แบบ คือ ตีพิมพ์ได้โดยไม่ต้องแก้ไข ตีพิมพ์ได้แต่ต้องแก้ไขตามคำแนะนำ ต้องแก้ไขตามคำแนะนำและผ่านการพิจารณาใหม่จากผู้ทรงคุณวุฒิอีกครั้งหนึ่ง และไม่ควรตีพิมพ์บทความ
ผู้เขียนจะได้รับแจ้งผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 6 สัปดาห์ หากผลการประเมิน คือ “ตีพิมพ์ได้แต่ต้องแก้ไขตามคำแนะนำ” ผู้แต่งจะต้องแก้ไขบทความให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันและส่งกลับมายังวารสาร หลังจากนั้นกองบรรณาธิการจะตรวจสอบบทความฉบับแก้ไข พร้อมทั้งจัดหน้าให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมที่จะเผยแพร่ภายใน 10 วัน วารสารจะส่งต้นฉบับที่จัดหน้าแล้วให้ผู้แต่งเพื่อตรวจสอบอีกครั้งให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน หลังจากนั้น วารสารจะดำเนินการออกจดหมายตอบรับการตีพิมพ์ให้แก่ผู้แต่งและเผยแพร่บทความทางเว็บไซต์ต่อไป
วารสารดำเนินการส่งเอกสารต่าง ๆ ให้แก่ผู้เขียนบทความในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม หากผู้แต่งบทความต้องการจดหมายจากทางวารสารในรูปของกระดาษ (เช่น จดหมายตอบรับในการตีพิมพ์) ทางวารสารยินดีออกจดหมายในรูปกระดาษให้โดยคิดค่าธรรมเนียมฉบับละ 200 บาท
คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์
ต้นฉบับควรเตรียมด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word เป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ ในลักษณะดังต่อไปนี้
ขนาดหน้า: กระดาษ A4
ตัวอักษร: Browallia New ขนาด 14 pt
ขอบกระดาษ: 1 นิ้วทุกด้าน
ระยะห่างระหว่างบรรทัด: 2 เท่า (double space)
ท่านสามารถดู template ของต้นฉบับได้จาก https://docs.google.com/document/d/156ymhTbOukCgHHB-tmRT9qdHr4GtCUuz/edit?usp=sharing&ouid=102984997101351582622&rtpof=true&sd=true ต้นฉบับควรพิมพ์เป็นคอลัมน์เดียว ผู้ส่งต้นฉบับไม่ต้องจัดพิมพ์เป็นสองคอลัมน์
ต้นฉบับต้องมีส่วนประกอบดังนี้
- ใบปะหน้าบทความระบุชื่อเรื่องภาษาไทยและอังกฤษ ชื่อและสถานที่ติดต่อของผู้นิพนธ์ทุกคนทั้งภาษาไทยและอังกฤษ พร้อมระบุว่าผู้นิพนธ์ท่านใดคือผู้ประสานงานบทความ หมายเลขโทรศัพท์ โทรสารและที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประสานงานบทความ
- บทคัดย่อสำหรับบทความวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 350 คำ ประกอบด้วยหัวข้อวัตถุประสงค์ วิธีการ ผลการวิจัย และสรุป ท้ายบทคัดย่อให้เขียนคำสำคัญไม่เกิน 6 คำ สำหรับบทความที่เป็นภาษาไทย ผู้แต่งสามารถเขียนเฉพาะบทคัดย่อภาษาไทย โดยไม่ต้องส่งบทคัดย่อฉบับภาษาอังกฤษมาขณะส่งบทความครั้งแรกก็ได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากบทความได้ผ่านการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารแล้ว ผู้แต่งบทความจะต้องจัดทำบทคัดย่อภาษาอังกฤษส่งกลับมาพร้อมบทความฉบับแก้ไข อย่างไรก็ตาม
บทความปริทรรศน์หรือการทบทวนวรรณกรรมควรมีบทคัดย่อด้วย โดยใช้รูปแบบตามความเหมาะสม
กรุณาอย่าระบุชื่อผู้นิพนธ์ในบทคัดย่อ ทั้งนี้เพื่อให้การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปแบบนิรนาม - ส่วนเนื้อหา
บทความวิจัยควรมีความยาวไม่เกิน 20-25 หน้า (รวมรูป ตารางและเอกสารอ้างอิง) โครงสร้างบทความมีดังนี้
3.1 บทนำ (ความยาวไม่ควรเกินสองหน้า)
3.2 วิธีการ ในส่วนนี้ หากงานวิจัยนั้นเป็นงานวิจัยในมนุษย์ ผู้แต่งบทความจะต้องแสดงข้อความว่า งานวิจัยนั้นได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยของ…(ระบุชื่อสถาบันหรือหน่วยงาน) หรือแสดงข้อความในทำนองเดียวกันนี้ นอกจากนี้ผู้แต่งบทความจะต้องสามารถแสดงหลักฐานว่า โครงการวิจัยของตนได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยหากผู้ทรงคุณวุฒิของวารสารต้องการให้แสดงหลักฐานดังกล่าว (แต่ไม่ต้องส่งหลักฐานดังกล่าวมายังวารสารในขณะที่ยื่นบทความให้วารสารพิจารณา)
3.3 ผลการศึกษาและการอภิปรายผล ผู้นิพนธ์สามารถแทรกรูปและตารางในเนื้อหาได้ตามความเหมาะสม
3.4 สรุปและข้อเสนอแนะ
3.5 กิตติกรรมประกาศ ผู้นิพนธ์ควรระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนงานวิจัยในกิตติกรรมประกาศ
3.6 เอกสารอ้างอิง (กรุณาเขียนรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความเป็นภาษาอังกฤษ แม้ว่าเอกสารที่อ้างอิงนั้นจะเป็นภาษาไทยก็ตาม ทั้งน้ีเพราะเป็นข้อกำหนดของการนำวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล Asean Citation Index)
3.7 ภาคผนวก (ถ้ามี)
ส่วนบทความปริทรรศน์จะมีหัวข้อย่อยอย่างไรก็ได้ตามความเหมาะสม และควรมีความยาวไม่เกิน 20-25 หน้า
กรุณาอย่าระบุชื่อผู้นิพนธ์ในบทความส่วนใด ๆ ทั้งนี้เพื่อให้การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปแบบนิรนาม
วารสารมีนโยบายไม่รับตีพิมพ์บทความที่มีลักษณะต่อไปนี้
-งานวิจัยเชิงสำรวจที่วัดตัวแปรและแปลผลของคะแนนโดยแบ่งคะแนนออกเป็นช่วงที่เท่า ๆ กัน แต่ไม่มีหลักฐานรองรับว่าการแบ่งดังกล่าวมีความเหมาะสม เช่น การสำรวจตัวแปรที่มีคะแนนระหว่าง 1-10 ซึ่งผู้วิจัยให้ความหมายของช่วงคะแนนว่า 1-4 หมายถึงน้อย 4.01-7 หมายถึงปานกลาง 7.01-10 แปลว่ามาก โดยมิได้แสดงหลักฐานว่าทำไมถึงแบ่งเกณฑ์คะแนนเช่นนั้น การรับไม่ตีพิมพ์บทความดังกล่าวเพราะการแบ่งคะแนนดังกล่าวก่อให้เกิดการแปลผลที่ไม่เหมาะสม เช่น จากตัวอย่างข้างต้น 6.98 ถือว่ามีระดับปานกลาง ส่วน 7.01 ถือว่ามีระดับมาก อย่างไรก็ตาม วารสารยินดีรับพิจารณาบทความเชิงสำรวจที่แปลผลคะแนนตามความหมายของสเกลที่ใช้วัด เช่น วัดตัวแปรบนสเกลจาก 1-5 (1=ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ถึง 5=เห็นด้วยอย่างยิ่ง) และผู้วิจัยแปลผลคะแนนที่วัดได้ตามที่กำหนดในสเกล นอกจากนี หากผู้วิจัยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่มีเกณฑ์แปลผลซึ่งได้รับการพิสูจน์ความตรงมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วารสารยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะรับพิจารณาบทความของท่าน
การอ้างอิง
การเขียนเอกสารอ้างอิงใช้รูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) กรุณาเขียนรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความเป็นภาษาอังกฤษ แม้ว่าเอกสารที่อ้างอิงนั้นจะเป็นภาษาไทยก็ตาม ทั้งน้ีเพราะเป็นข้อกำหนดของการนำวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล Asean Citation Index การอ้างอิงในเนื้อเรื่องให้ใส่ตัวเลขกํากับที่ท้ายข้อความโดยใช้ตัวเลขอารบิคอยู่ในวงเล็บ เช่น การฝึกงานมีผลต่อทักษะการจ่ายยาของนักศึกษา (1) ผลการวิจัยพบความแตกต่างของผู้ประกอบวิชาชีพ (2-4,9)
รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความขึ้นกับประเภทของเอกสารที่อ้างอิงดังนี้
1. การอ้างอิงบทความจากวารสาร
Deehan DJ, Bell K, McCaskie AW. Adolescent musculoskeletal injuries. J Bone Surg 2007;89:25-8.
กรณีผู้เขียนเกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้เขียน 6 คนแรก คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาคและตามด้วย et al. ชื่อวารสารให้ใช้ชื่อย่อ อย่างไรก็ตาม วารสารของประเทศไทยที่ไม่ปรากฎชื่อในฐานข้อมูลนานาชาติใด ๆ ให้ใช้ชื่อเต็ม เพราะการย่อชื่อมีความหลากหลายมาก เช่น ชื่อย่อที่ระบุในเว็บไซต์ของ TCI และการย่อตามหลักของ ISO มีความแตกต่างกันมาก
การเขียนแบบแวนคูเวอร์จะแสดงเฉพาะ ปีและเล่มที่ (volume) โดยไม่ต้องใส่เดือนและฉบับที่
2. การอ้างอิงคอลัมน์เฉพาะในวารสาร เช่น บทบรรณาธิการ จดหมาย หรืออ้างอิงบทคัดย่อทำดังนี้
Deehan DJ. Adolescent musculoskeletal injuries [editorial]. J Bone Surg 2007;89:25-8.
3. การอ้างอิงหนังสือทั้งเล่ม
Stafford I. Coaching for long-term athlete development. 2nd ed. Leeds: Coach Foundation; 2005.
4 การอ้างอิงบทหนึ่งของหนังสือ
Blake G. Radiation protection. In: Ring F, Hadsall R, editors. Bone densitometry. 2nd ed. Bath: National Osteoporosis Society; 1998. p.116-26.
5. การอ้างอิงบทความในหนังสือประกอบการประชุม
Bent M, Heim G. Dtecttion of privacy and security in medical care. In: Dunn C, Enhoff O, editors. Phartech 2009. Proceedings of the Federal Pharmacy Congress; 2009 Jan 7-11; Bangkok, Thailand. Bangkok: Uthaitip; 2009. p.101-9.
6. การอ้างอิงวิทยานิพนธ์
Kathrine S. Pharmacy home health care [dissertation]. St. Paul: University of Washington; 1995.
Kathrine S. Pharmacy home health care [master thesis]. St. Paul: University of Washington; 1995.
Kathrine S. Pharmacy home health care [independent study]. St. Paul: University of Washington; 1995.
7. การอ้างอิงเอกสารเว็บไซต์
Reshi L. Cancer: an introduction [online]. 2002 [cited Dec 9, 2009]. Available from: www.psumed.ac.th/cancer.htm.
8. การอ้างอิงพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง คำสั่ง
Cosmetic Act B.E. 2558. Royal Gazette No. 132, Part 86A (Sep 8, 2015).
Public Health Ministerial Declaration No. 256 in 2002 on drinking water in sealed containers (No 4). Royal Gazette No. 119, Part 54D special (May 10, 2002).
Directive of Consumer Protection Committee no 7/2553 on authorization of competent officers to settle the case according to of the Consumer Protection Act, B.E. 2522. (Jul 16, 2010).