วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP <p> วารสารเภสัชกรรมไทยเป็นวารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วารสารฯ มีวัตถุประสงค์คือเป็นสื่อกลางเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิชาการระหว่างนักวิจัยด้านเภสัชกรรม เภสัชกร นักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ๆ ตลอดจนเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา</p> <p> วารสารเภสัชกรรมไทยเผยแพร่บทความที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรม ได้แก่การบริบาลทางเภสัชกรรม เภสัชกรรมสังคม การบริหารเภสัชกิจ เศรษฐศาสตร์ทางยา ระบาดวิทยาของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เภสัชสาธารณสุข เภสัชพฤติกรรมศาสตร์ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ นิติเภสัชกรรม จริยศาสตร์เภสัชกรรม นโยบายด้านยาและสุขภาพ การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางสังคมและการบริหารในการปฏิบัติงานเภสัชกรรม</p> <p> ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมไทย คือ บทความวิจัยต้นฉบับ บทความทบทวนวรรณกรรมทั้งแบบเชิงบรรยาย (review article) การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) </p> <p> ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 วารสารได้เพิ่มจำนวนเล่มจาก 2 เป็น 4 ฉบับต่อปี ดังนี้ เล่มที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) เล่มที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) เล่มที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) และเล่มที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม)</p> คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ th-TH วารสารเภสัชกรรมไทย 3027-6136 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์&nbsp; บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ&nbsp;</p> ปกและสารบัญ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/268665 บรรณาธิการ วารสารเภสัชกรรมไทย Copyright (c) 2024 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-17 2024-09-17 16 4 คุณภาพชีวิตและรูปแบบบริการรับยาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการคงที่ : การวิเคราะห์เปรียบเทียบ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262981 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความสัมพันธ์กับรูปแบบบริการรับยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการคงที่ในโรงพยาบาลราชวิถี <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ เก็บข้อมูลจากผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสและมีอาการคงที่ ซึ่งมารับการรักษาและมีข้อมูลในเวชระเบียนในช่วง 1 มีนาคม ถึง 31 ธันวาคม 2565 รูปแบบบริการรับยาต้านไวรัสที่ศึกษามี 3 รูปแบบคือ 1) รับยาโดยพบแพทย์ 2) รับยาต่อเนื่องกับเภสัชกร และ 3) รับยาต่อเนื่องทางไปรษณีย์ เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิต คือ แบบวัดคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีฉบับย่อขององค์การอนามัยโลกฉบับแปลภาษาไทย <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้าร่วมการศึกษามีทั้งหมด 464 คน ประกอบด้วยผู้ป่วยรับยาโดยพบแพทย์ 161 คน (ร้อยละ 34.7) ผู้รับยาต่อเนื่องกับเภสัชกร 164 คน (ร้อยละ 35.3) และผู้รับยาต่อเนื่องทางไปรษณีย์ 139 คน (ร้อยละ 30.0) ตัวอย่างเป็นเพศชาย 320 คน (ร้อยละ 68.9) อายุเฉลี่ย 43.8±9.7 ปี มีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมเฉลี่ย 110.8±16.9 (คะแนนเต็ม 155) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในรูปแบบบริการรับยาต่อเนื่องทางไปรษณีย์มีคะแนนคุณภาพชีวิตสูงกว่าผู้ที่รับยาโดยพบแพทย์ 4.66 คะแนน (95%CI 0.58, 8.74) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.025) แต่พบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รับยาต่อเนื่องกับเภสัชกรมีคะแนนคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกันจากผู้ที่รับยาโดยพบแพทย์เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรกวน <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>คุณภาพชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการคงที่ซึ่งรับยาต่อเนื่องทางไปรษณีย์ มีระดับที่สูงกว่าผู้ที่รับยาโดยพบแพทย์ ดังนั้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการคงที่ควรรับยาต่อเนื่องทางไปรษณีย์</p> ขวัญดาว ศิลาทอง เดือนกาญจน์ สุทธิเวทย์ สุระรอง ชินวงศ์ ดุจฤดี ชินวงศ์ Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 913 928 บทบาทเภสัชกรชุมชนในการคัดเลือกและให้บริการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก: กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 10 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263442 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจและบทบาทของเภสัชกรเกี่ยวกับการคัดเลือกและการให้บริการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก (weight control dietary supplements: WCDS) ในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่ตั้งอยู่ในเขตสุขภาพที่ 10 <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ทำในกลุ่มเภสัชกรหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นเองเพื่อเก็บข้อมูลทั่วไป การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ และบทบาทของเภสัชกรในการให้บริการ WCDS ในระหว่างเมษายน – พฤษภาคม 2564 <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>อัตราการตอบกลับเท่ากับร้อยละ 42.9 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.5 มี WCDS วางจำหน่าย ในด้านกระบวนการตัดสินใจซื้อ WCDS มาวางจำหน่าย พบว่า ร้อยละ 45.3 ของตัวอย่างรับรู้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์จากการเรียกหาของลูกค้า ตัวอย่างร้อยละ 47.6 ค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากบล็อกเกอร์ที่ทบทวนการใช้ผลิตภัณฑ์บนโซเชียลมีเดีย และร้อยละ 65.6ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างร้อยละ 40.6 ไม่ได้ดำเนินการใดต่อหลังจากการซื้อ WCDS มาวางจำหน่ายในร้านยา ขณะที่ร้อยละ 29.7 ทบทวนยอดขายผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ ในด้านบทบาทเภสัชกรในช่วงก่อนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างร้อยละ 34.4 ประเมินดัชนีมวลกายของลูกค้า ตัวอย่างร้อยละ 25.4 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนและความเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และร้อยละ 13.1 ได้ประเมินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกับโรคประจำตัวของลูกค้า ในขณะที่หลังจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (ร้อยละ 51.6) ให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจและให้คำแนะนำเกี่ยวกับใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัย (ร้อยละ 30.2) และ ร้อยละ 18.2 ไม่ได้ทำกระบวนการใดเลย <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> เภสัชกรชุมชนมีบทบาทในการคัดเลือก WCDS ตลอดจนการให้ความรู้และการติดตามลูกค้าเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิผลให้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนหรือเสริมแรงจากทุกภาคส่วนเพื่อกระตุ้นให้เภสัชกรชุมชนได้แสดงบทบาทวิชาชีพมากขึ้นในเรื่องนี้ จะช่วยเป็นกลไกสำคัญในการเฝ้าระวังและสร้างความปลอดภัยของการใช้ WCDS ในชุมชน</p> เนตรติยา สนิทวัฒนากุล ศักดิ์สิทธิ์ ศรีภา จินตนา นภาพร Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 929 940 การวิเคราะห์ชุดข้อมูลมาตรฐานเพื่อพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลงานเวชศาสตร์ครอบครัว https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263740 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อวิเคราะห์ชุดข้อมูลและระบบสารสนเทศด้านงานบริการ และเสนอชุดข้อมูลมาตรฐานสำหรับงานบริการด้านเวชศาสตร์ครอบครัว <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> ผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดเชียงใหม่ จากศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลสุเทพ จำนวน 12 ท่าน และโรงพยาบาลนครพิงค์ จำนวน 14 ท่าน เพื่อศึกษากระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศ รวมถึงชุดข้อมูลทั้งหมดที่ใช้ด้านงานเวชศาสตร์ครอบครัว จากนั้น วิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อหาชุดข้อมูลมาตรฐานในระบบสารสนเทศสำหรับงานบริการ และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า <strong>ผลการวิจัย</strong>: งานเวชศาสตร์ครอบครัวในพื้นที่ที่ศึกษามีการใช้ระบบสารสนเทศ 6 โปรแกรม ได้แก่ JHCIS, SSB, LAB ONLINE, THAI COC, LTC สปสช. และ 3C กรมอนามัย พบว่าในแต่ละโปรแกรมมีความแตกต่างของชื่อข้อมูล โครงสร้าง และข้อมูลที่บันทึก เมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีทั้งหมด 789 ข้อมูลจาก 52 แฟ้ม เมื่อตัดข้อมูลซ้ำที่มีความหมายเหมือนกันออกไปในแต่ละแฟ้ม พบว่าเหลืออยู่ทั้งสิ้น 398 ข้อมูล เมื่อหาความเชื่อมโยงข้อมูลในแต่ละโปรแกรม พบการบันทึกข้อมูลซ้ำโดยมีความหมายเดียวกัน 278 ข้อมูล ใน 2 โปรแกรม คือ SSB และ JHCIS (ร้อยละ 69.85) แต่ขณะเดียวกันพบข้อมูลที่ไม่มีความจำเป็นต้องบันทึกในโครงสร้างมาตรฐานของกระทรวงฯ จำนวน 107 ข้อมูลจากทั้งสิ้น 398 (ร้อยละ 26.88) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ชุดข้อมูลจำนวนมากที่บันทึกในงานบริการด้านเวชศาสตร์ครอบครัวในแต่ละโปรแกรมมีความหมายเดียวกัน หากพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลงานบริการเวชศาสตร์ครอบครัวระหว่างหน่วยบริการให้ลดการทำงานซ้ำซ้อนอย่างไร้รอยต่อได้ จะเกิดประโยชน์ในการลดความสูญเสียเวลาในการทำงานของผู้ให้บริการ และลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลสำหรับผู้กำหนดนโยบายต่อไป</p> อัจฉรา แสนศรีสวัสดิ์ นพดล ชลอธรรม ปฐวี เดชชิต ธีรวัฒน์ วงศ์ตัน ผกาวรรณ บุญมา นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์ Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 941 953 ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับเทคนิคการฉีดอินซูลินที่ไม่เหมาะสม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263857 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับเทคนิคการฉีดอินซูลินที่ไม่เหมาะสม <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีอายุ 20 ปีขึ้นไปที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีดยาอินซูลิน ด้วยตนเองตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไปซึ่งมารับการรักษาจากสถานพยาบาลที่เป็นสถานที่วิจัยในช่วงมีนาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 294 ราย การเก็บข้อมูลทำโดยรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาจากเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ เทคนิคการฉีดอินซูลินประเมินจากการสังเกตและสอบถามกลุ่มตัวอย่างขณะสาธิตการฉีดอินซูลิน <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 67.3 อายุเฉลี่ย 57.89 ± 10.34 ปี ส่วนใหญ่มีภาวะโรคอ้วน (ร้อยละ 69.7) ระยะเวลาเป็นเบาหวานเฉลี่ย 13.95 ± 8.85 ปี และร้อยละ 85.7 มีระดับ HbA<sub>1C</sub> ≥ 7 ส่วนใหญ่ใช้ยาฉีดอินซูลินมากกว่า 5 ปี (ร้อยละ 50.7) ได้รับอินซูลินแบบกระบอกฉีดยามากสุดถึงร้อยละ 77.6 และเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าร้อยละ 50 ซึ่งการเกิดรอยช้ำบริเวณที่ฉีดยาพบมากที่สุด (ร้อยละ 44.5) ความชุกของเทคนิคการฉีดอินซูลินที่ไม่เหมาะสมเท่ากับร้อยละ 80.3 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับเทคนิคการฉีดอินซูลินที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ อายุ (P=0.008) ค่าดัชนีมวลกาย (P=0.036) ระยะเวลาเป็นเบาหวาน (P=0.008) และระยะเวลาใช้อินซูลิน (P=0.014) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> เทคนิคการฉีดอินซูลินที่ไม่เหมาะสมยังมีความชุกสูง บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าวและจัดให้มีการทบทวนเป็นประจำ ถึงแม้ผู้ที่เป็นเบาหวานจะใช้อินซูลินมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม เพื่อให้ฉีดอินซูลินได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมาย และลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงจากอินซูลิน</p> รัชนันท์ อุรุเอกโอฬาร อภิรักษ์ วงศ์รัตนชัย อัลจนา เฟื่องจันทร์ Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 954 969 โรคมือ เท้า ปากและวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263896 <p>โรคมือ เท้า ปากเป็นโรคที่มีการระบาดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยพบมากในฤดูฝน และมีสถานการณ์ระบาดที่รุนแรงในหลายประเทศ โรคนี้พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี สาเหตุของโรคเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในลำไส้หรือ Enterovirus ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและการเสียชีวิต มักพบจากการติดเชื้อ Enterovirus 71 (EV71) ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคนี้ จึงใช้การรักษาตามอาการแสดงและความรุนแรงของผู้ป่วย การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก นอกจากทำได้โดยการรณรงค์ในเรื่องการดูแลสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดี ยังมีวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ที่ได้รับอนุญาตให้จัดจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายที่ผลิตโดยการเพาะเลี้ยงใน human diploid cell วัคซีนนี้มีข้อบ่งใช้ในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิด EV71 โดยแนะนำให้ใช้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี การบริหารยาทำโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อทั้งหมด 2 เข็ม เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 เดือน ผลการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 3 และ 4 พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมือ เท้า ปากที่มีสาเหตุจากเชื้อ EV71 ได้ถึงร้อยละ 97.4 ป้องกันการนอนโรงพยาบาลจากการติดเชื้อ EV71 ได้ร้อยละ 88 และป้องกันโรคมือ เท้า ปากที่รุนแรงและเสียชีวิตจากเชื้อ EV71 ได้ร้อยละ 100 อาการไม่พึงประสงค์ที่พบจากวัคซีนไม่มีความรุนแรง อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถใช้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปากที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสชนิดอื่น แต่สามารถใช้ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตจากเชื้อไวรัส EV71 ได้</p> อภิชญา ศุภสิทธิกุลชัย ศุภวัฒน์ ตระกูลเตชะ ประภัสสร ทับทวี Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 970 983 ผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับแบบสอบถามพร้อมท์ที่มีต่อจำนวนปัญหาการใช้ยา ที่ค้นพบและอัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในผู้ป่วยนอกที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264147 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยนอกที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวต่อจำนวนปัญหาการใช้ยาที่ค้นพบ และอัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวกำเริบ ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับแบบสอบถาม PROMPT และกลุ่มที่ได้รับบริการตามมาตรฐานปกติของโรงพยาบาล<strong> วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษาเป็นการทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดทางเดียวในผู้ป่วยนอกที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ณ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 250 คน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงพฤษภาคม 2566 โดยสุ่มผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (ได้รับบริการตามมาตรฐานปกติของโรงพยาบาล) และกลุ่มศึกษา (ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับแบบสอบถาม PROMPT) ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง คือ ก่อนการแทรกแซงและหลังการแทรกแซงเมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ในครั้งถัดไปที่ระยะเวลา 3 เดือน <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> หลังจากได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม ในกลุ่มศึกษาพบจำนวนปัญหาจากการใช้ยาเฉลี่ยต่อรายมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.26 ± 0.54 และ 0.75 ± 0.79 ตามลำดับ, P &lt; 0.001) แต่จำนวนครั้งของการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวกำเริบต่อรายระหว่างสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (0.09 ± 0.43 และ 0.04 ± 0.19 ครั้ง ตามลำดับ, P = 0.180) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การให้บริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับแบบสอบถาม PROMPT ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถช่วยค้นหาปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยได้มากขึ้น </p> วรางคณา บุญญานุวัตร พรรณทิพา ศักดิ์ทอง Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 984 1000 การให้บริการเภสัชกรรมทางไกลสำหรับการทบทวนการใช้ยาทางโทรศัพท์ใน ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่ได้รับยาทางไปรษณีย์: การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264201 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาจำนวนปัญหาและประเภทของปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยารักษาภาวะสมองเสื่อมและอาการปัญหาด้านพฤติกรรมอารมณ์และจิตใจในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่ได้รับยารักษาภาวะสมองเสื่อมทางไปรษณีย์ผ่านการทบทวนการใช้ยาทางโทรศัพท์ <strong>วิธีการ:</strong> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง มกราคม 2566 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่ได้รับยารักษาภาวะสมองเสื่อมทางไปรษณีย์ ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยค้นหาปัญหาเกี่ยวกับยาในผู้ป่วยจากการทบทวนประวัติในเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ผู้ดูแลทางโทรศัพท์ การศึกษาแบ่งประเภทปัญหาเกี่ยวกับยาตามแบบประเมิน Pharmaceutical Care Network Europe (PCNE) version 5.01 <strong>ผลการวิจัย:</strong> จากการคัดกรองผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม 95 คน ได้ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 55 คน มีอายุเฉลี่ย 78.5±10.2 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 64.4) และมีภาวะสมองเสื่อมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 38.2) มีอาการปัญหาด้านพฤติกรรมอารมณ์และจิตใจในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 83.6 มีโรคที่เป็นร่วมเฉลี่ย 2.4±1.2 โรค และได้รับยาร่วมกันหลายชนิด (ร้อยละ 81.8) การทบทวนการใช้ยา พบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาในผู้เข้าร่วมการศึกษา 44 คน (ร้อยละ 80.0) คิดเป็น 76 ปัญหา ซึ่งปัญหาที่พบมากที่สุด คือ P4. ปัญหาจากการใช้ยาหรือการบริหารยา (ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา) (ร้อยละ 31.6 ของปัญหาทั้งหมดที่พบ) ปัญหารองลงมา คือ P1. ปัญหาอาการไม่พึงประสงค์จากยา (ร้อยละ 26.3) ถัดมา คือ P6. ปัญหาอื่น ๆ (ร้อยละ 19.7) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจาก P6.1 ผู้ป่วยไม่พึงพอใจในการรักษาแม้ว่าจะได้รับยาเหมาะสมแล้ว <strong>สรุป:</strong> การทบทวนการใช้ยาผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ทำให้พบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่ได้รับยาทางไปรษณีย์ เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ควรติดตามความร่วมมือในการใช้ยาและอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยเหล่านี้อย่างใกล้ชิด</p> กัญญ์วรา เศรฐศิลป์ วิดา ปิ่นทอง อดินาฏ เป็งวงศ์ อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ จันทร์นภัสสร์ ธราวิจิตรกุล Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1001 1016 ผลกระทบของการบริบาลเภสัชกรรมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรก ในช่วงการได้รับสูตรยาที่มียากลุ่มแทคเซนเป็นส่วนประกอบ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264337 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและระดับของความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกในช่วงที่ได้รับยาที่มียากลุ่มแทคเซนเป็นส่วนประกอบ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมกับกลุ่มที่ได้รับการบริการตามมาตรฐาน <strong>วิธีการ:</strong> การวิจัยนี้เป็นเป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกในช่วงที่ได้รับยาที่มียากลุ่มแทคเซนเป็นส่วนประกอบ ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ตัวอย่างได้รับการจัดสรรแบบสุ่มเข้ากลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม (กลุ่มศึกษา) และกลุ่มได้รับการบริการตามมาตรฐาน (กลุ่มควบคุม) ด้วยอัตราส่วน 1:1 การวัดคุณภาพชีวิตใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิต FACT-B version 4 ฉบับภาษาไทย และใช้เกณฑ์ CTCAE version 5 ประเมินความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา <strong>ผลการวิจัย</strong>: ผู้เข้าร่วมการศึกษา 49 รายเป็นกลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม 25 ราย และกลุ่มที่ได้รับการบริการตามมาตรฐาน 24 ราย หลังได้รับยาเคมีบำบัด พบว่า กลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมมีคุณภาพชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นจากระดับคุณภาพชีวิตเดิมอย่างมีนัยสำคัญ (99.71 ± 11.99 เทียบกับ 108.66 ± 12.73; P &lt; 0.001) และค่า Trial Outcome Index (TOI) ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (61.96 ± 8.18 เทียบกับ 68.40 ± 9.21; P &lt; 0.001) นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมพบการเกิดอาการชาตามปลายประสาทที่มีความรุนแรงระดับ 3 ขึ้นไปน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริการตามมาตรฐาน (ร้อยละ 0 เปรียบเทียบกับ ร้อยละ 16.7; P = 0.017) <strong>สรุป:</strong> การบริบาลทางเภสัชกรรมที่นำแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพมาเป็นเครื่องมือในการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกในช่วงได้รับยาเคมีบำบัดที่มีกลุ่มแทคแซนเป็นส่วนประกอบ</p> ปัญญาภรณ์ ทรงสุนทรวงศ์ ณัฏฐดา อารีเปี่ยม ตรัย ธารพานิช Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1017 1031 ประสิทธิภาพของบัญชีทางการของไลน์ในการตอบคำถามเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์กัญชาในกลุ่มผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ในสังคมออนไลน์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264355 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> 1. เพื่อพัฒนาบัญชีทางการของไลน์ผ่านระบบตอบกลับอัตโนมัติ Canna-Chatbot สำหรับการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กัญชา ตลอดจนรวบรวมข้อมูลการใช้และอาการไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์กัญชา และ 2. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ Canna-Chatbot และความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อบัญชีทางการของไลน์ดังกล่าว <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษามี 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนา Canna-Chatbot ประกอบด้วยการพัฒนาเครื่องมือเพื่อทดสอบการตอบกลับอัตโนมัติ พัฒนาฐานข้อมูลตามคำถามและผลข้างเคียงที่พบบ่อย เชื่อมต่อฐานข้อมูลกับระบบบัญชีทางการของไลน์และระบบตอบกลับข้อความของเว็บไซต์ ส่วนระยะที่ 2 เป็นการทดสอบ Canna-Chatbot ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 411 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบบังเอิญจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> ประสิทธิภาพของ Canna-Chatbot มีความรวดเร็ว สะดวก และง่ายในการใช้งาน โดยสามารถลดเวลาในการค้นหาข้อมูลและตอบกลับได้ภายใน 2 วินาที ความถูกต้องของเนื้อหาและการแปลผลอยู่ในระดับปานกลาง (2.53±0.53) ถึงมาก (4.47±0.51) (จากคะแนนเต็ม 5) อย่างไรก็ตาม หากคำถามมีความหลากหลาย ข้อมูลในฐานข้อมูลจะไม่เพียงพอต่อการตอบคำถาม ในด้านความสามารถในการตอบสนองผู้ใช้งาน พบว่าระยะเวลาตอบสนองต่อคำตอบและความเป็นธรรมชาติใกล้เคียงการสนทนากับมนุษย์อยู่ในระดับมาก (4.47±0.52 จากคะแนนเต็ม 5) ความพึงพอใจต่อการใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3.99±0.79 จากคะแนนเต็ม 5) ข้อมูลมีความทันสมัย ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย แต่ยังคงมีข้อจำกัดในด้านข้อมูลครอบคลุมตรงตามความต้องการ <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> บัญชีทางการของไลน์ผ่านระบบตอบกลับอัตโนมัติ Canna-Chatbot สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ช่วยลดระยะเวลาการรอคอยคำตอบ และลดภาระของผู้ปฏิบัติงาน จึงควรมีการพัฒนาต่อยอดเครื่องมือนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งเสริมให้มีการใช้อย่างกว้างขวางในอนาคต</p> คณัฐวุฒิ หลวงเทพ รับขวัญ เชื้อลี กิ่งแก้ว มาพงษ์ ภาณุ คำวงษ์ ชนม์ชนก ฉวีวงษ์ Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1032 1042 การศึกษาตัวชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับการประเมินผลการดำเนินงาน ของอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264360 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาตัวชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพร (อุตสาหกรรมฯ) โดยใช้กรอบตัวชี้วัดการดำเนินงานตามหลักการของ balanced scorecard (BSC) <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยคือผู้เชี่ยวชาญในบริษัทที่ผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพรในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตัวอย่างผ่านเกณฑ์การคัดเลือกด้วยวิธีการแบบเจาะจง การศึกษาเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเรื่องตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมฯ โดยใช้มุมมองตามหลักการของ BSC และเพิ่มมุมมองด้านคุณภาพของยา <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ผู้เชี่ยวชาญที่ตอบแบบสอบถามมีจำนวน 16 คน มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี 14 คน และดำรงตำแหน่งในระดับผู้จัดการ 5 คน มีประสบการณ์ทำงานอยู่ในช่วงระหว่าง 5 – 9 ปี ( 7 คน) และสังกัดหน่วยงานภาคเอกชน 15 คน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ตัวชี้วัดที่ควรนำมาใช้ประเมินในอุตสาหกรรมฯ อย่างยิ่งตามกรอบตัวชี้วัดการดำเนินงานใน 5 มุมมอง มีจำนวน 25 ตัวชี้วัดจาก 41 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดของมุมมองด้านลูกค้าและด้านคุณภาพของยาต้องนำมาเป็นตัวชี้วัดทุกตัว ตัวชี้วัดที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละมุมมอง มีดังนี้ มุมมองด้านการเงิน คือ ต้นทุนการจัดการโซ่อุปทานทั้งหมดและต้นทุนรวมสินค้าต่อหน่วย มุมมองด้านลูกค้า คือ ความพึงพอใจของลูกค้าด้านคุณภาพของสินค้า มุมมองด้านกระบวนการภายใน คือ ประสิทธิภาพการผลิต มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด คือ 1. มีนโยบายสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมหรือมีการร่วมมือระหว่างโรงงานและหน่วยงานอื่น 2. ด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน และ 3. ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบยาให้เหมาะสม และมุมมองด้านคุณภาพของยา คือ ความปลอดภัยของยา <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ตัวชี้วัดทุกตัวในมุมมองด้านลูกค้าและมุมมองด้านคุณภาพของยาควรนำมาเป็นตัวชี้วัดในอุตสาหกรรมฯ อย่างยิ่ง การพัฒนากรอบตัวชี้วัดการดำเนินงานตามหลักการของ BSC ควรเพิ่มมุมมองด้านคุณภาพร่วมด้วยเพื่อให้การผลิตยาแผนโบราณและสมุนไพรมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและผู้สั่งจ่ายยา</p> อริสรา จันทรโยธา ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1043 1056 การออกแบบแอปพลิเคชันสำหรับเครือข่ายเภสัชกรรมทางไกลศรีสะเกษ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264552 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันในการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลของเครือข่ายโรงพยาบาลและร้านยาชุมชนอบอุ่น จังหวัดศรีสะเกษ (แอปพลิเคชันฯ)<strong> วิธีการ</strong><strong>: </strong>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้รับบริการเภสัชกรรมทางไกลเพื่อรวบรวมข้อมูลความต้องการ ปัญหา และความคิดเห็นที่มีต่อระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล เพื่อใช้ในการสนทนากลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาแอปพลิเคชันฯ ซึ่งประกอบด้วยเภสัชกรโรงพยาบาลศรีสะเกษจำนวน 6 คนและเภสัชกรร้านขายยาจำนวน 1 คน <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาแอปพลิเคชันฯ มีดังนี้คือ ระบบการทำงานของแอปพลิเคชันฯ ควรเป็นรูปแบบที่สามารถทำงานให้คำแนะนำด้านยาก่อนและหลังผู้ป่วยรับบริการเภสัชกรรมทางไกลโดยเภสัชกรโรงพยาบาลและเภสัชกรร้านยาเครือข่าย แอปพลิเคชันฯ ต้องสามารถใช้เพื่อติดต่อกับผู้รับบริการได้เพื่อติดตามปัญหาจากการใช้ยา ผลข้างเคียงที่เกิดจากยา สามารถบันทึกข้อมูลผู้รับบริการได้ทุกรายและเป็นปัจจุบัน และต้องเป็นแอปพลิเคชันฯ ที่มีความปลอดภัยโดยการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลแก่เภสัชกรที่ทำหน้าที่ให้บริการเภสัชกรรมทางไกลของโรงพยาบาลศรีสะเกษและเภสัชกรร้านยาเครือข่ายเท่านั้น <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและเภสัชกรผู้มีส่วนร่วมในการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการส่งต่อข้อมูลระหว่างเครือข่ายเภสัชกรรมทางไกลศรีสะเกษได้ ทั้งใช้ในการติดตามความปลอดภัยด้านยาแก่ผู้รับบริการเภสัชกรรมทางไกล ทำให้เพิ่มความสะดวกในการทำงาน แอปพลิเคชันฯ นี้ยังเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยเปิดบทบาททางวิชาชีพเภสัชกรรมชุมชนได้ รวมทั้งแบ่งเบาภาระงานของเภสัชกรโรงพยาบาลได้</p> รวิวรรณ ฉลาดล้ำ นุศราพร เกษสมบูรณ์ Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1057 1068 ความร่วมมือในการใช้ยาและความสัมพันธ์กับคุณลักษณะของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264559 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อประเมินความร่วมมือในการใช้ยาและหาความสัมพันธ์ระหว่างความร่วมมือในการใช้ยากับ คุณลักษณะของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ <strong>วิธีการ</strong><strong>: </strong>การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ทำในผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 152 คน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2566 การประเมินความร่วมมือในการใช้ยาใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยา Medication Taking Behavior Measure for Thai Patients (MTB-Thai) การเก็บรวมรวมข้อมูลทำโดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามด้วยตัวเองหรือผู้เก็บข้อมูลอ่านคำถามให้ฟัง และยังรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยร้อยละ 47.4 มีความร่วมมือในการใช้ยาระดับสูงโดยได้คะแนน MTB-Thai เต็ม 24 คะแนน คุณลักษณะของผู้ป่วยที่มีความสัมพันธ์ต่อความร่วมมือในการใช้ยา คือ สถานะภาพการจ้างงาน กลุ่มที่ไม่ได้ทำงานมีความร่วมมือในการใช้ยาสูงกว่ากลุ่มที่มีงานทำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt; 0.05) ส่วนคุณลักษณะ อื่น ๆ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน ปริมาณยาที่ใช้ต่อวัน อายุ และจำนวนโรคประจำตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยา <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ส่วนใหญ่มีความร่วมมือในการใช้ยาดี สถานะภาพการจ้างงานเป็นคุณลักษณะของผู้ป่วยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยา</p> นนทพัทธ์ สนสอาดจิต พรรณทิพา ศักดิ์ทอง Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1069 1079 การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับสหวิชาชีพในคลินิกกัญชา ทางการแพทย์แผนไทย ณ โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264663 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับสหวิชาชีพ ณ คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง (คลินิกกัญชาฯ) <strong>วิธีการ</strong>: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในระยะวางแผน โดยเริ่มจากเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาจากการใช้ยา (drug related problems: DRPs) จากแบบบันทึกการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยจำนวน 120 คนซึ่งเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง ณ คลินิกกัญชาฯ หลังจากนั้นผู้วิจัยคัดเลือกผู้ป่วยแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 19 คน เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมความร่วมมือในการใช้น้ำมันกัญชา หลังจากนั้นออกแบบขั้นตอนและรูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกันในทีมสหวิชาชีพโดยวิธีการสนทนากลุ่มกับบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องจำนวน 13 คน โดยนำข้อมูล DRPs ที่ได้จากผู้ป่วยมาพิจารณาพร้อมประยุกต์ใช้เครื่องมือลีนในการออกแบบ <strong>ผลการศึกษา</strong>: การศึกษาพบว่า DRPs ส่วนใหญ่ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัย คือ พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ผลการสัมภาษณ์ผู้ป่วยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาได้แก่ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ด้านยา ด้านบุคลากรทางการแพทย์และระบบบริการ ด้านโรคที่เป็น และด้านสังคมและเศรษฐศาสตร์ การปรับปรุงขั้นตอนและรูปแบบการให้บริบาลเภสัชกรรมโดยใช้แนวคิดระบบลีน มีการเพิ่มบทบาทของทีมสหวิชาชีพ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพทำหน้าที่ซักประวัติ คัดกรอง ประเมินภาวะเสพติด และให้ความรู้เรื่องโรคร่วมหรือโรคประจำตัวแก่ผู้ป่วย เภสัชกรมีหน้าที่ค้นหาและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา การประสานรายการยา การให้ความรู้เรื่องโรคและยากัญชาผ่านคลิปวิดีโอ การตั้งกลุ่มไลน์ระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรายงานและสอบถามอาการข้างเคียงจากยาได้อย่าง ท่วงทันเวลา และการโทรศัพท์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเชิงรุก แพทย์แผนไทยมีหน้าที่ตรวจรักษาและสั่งจ่ายน้ำมันกัญชาตามแนวทางการรักษาปัจจุบัน และแพทย์แผนปัจจุบันมีหน้าที่รับคำปรึกษาหรือรับส่งต่อผู้ป่วยกรณีผู้ป่วยมีโรคซับซ้อน โรคร่วมหลายโรค หรือใช้ยาน้ำมันกัญชามาแล้ว 6 สัปดาห์แล้วแต่ไม่ได้ผล <strong> </strong><strong>สรุป</strong>: ขั้นตอนและรูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกกัญชาฯ ที่ทีมสหวิชาชีพร่วมกันพัฒนาขึ้น ควรนำไปทดลองใช้จริงในผู้ป่วย โดยคาดว่าจะสามารถลด DRPs ทั้งระดับผู้ป่วยและระดับผู้สั่งใช้ยา ซึ่งน่าจะส่งผลให้ผู้ป่วยใช้น้ำมันกัญชาในการรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย</p> ศักดิ์ชาย ขัติยา นุศราพร เกษสมบูรณ์ Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1080 1097 การพัฒนาระบบการบริหารยาคงคลังที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรงพยาบาลเมืองพัทยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264625 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อพัฒนาระบบการบริหารยาคงคลังให้เหมาะสมกับโรงพยาบาลเมืองพัทยา <strong>วิธีการ</strong>: การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้คัดเลือกยา 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 รายการ ได้แก่ 1) ยากลุ่มที่มีมูลค่าการใช้สูง (ยากลุ่ม A ในการจัดกลุ่มยาแบบ ABC) และมีความสำคัญต่อการรักษามาก (ยากลุ่ม V ในการจัดกลุ่มยาแบบ VEN) หรือเรียกว่ายากลุ่ม AV 2) ยากลุ่มที่มีปริมาณการใช้มาก และ 3) ยากลุ่มที่ขาดคลังบ่อย การศึกษาจัดทำแบบจำลองสถานการณ์ที่มีการกำหนดปริมาณยาคงคลังต่ำสุดเพื่อเติมเต็มคลังยา โดยพารามิเตอร์ในแบบจำลองประกอบด้วยระยะเวลานำ ปริมาณการใช้ยาที่พยากรณ์จากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย 3 เดือนย้อนหลัง และระดับการให้บริการหรือความสามารถในการจ่ายยาให้ได้ครบตามจำนวนที่เบิก ผู้วิจัยเก็บข้อมูลราคาต้นทุนยา ปริมาณการใช้ยาจริง ปริมาณยาคงคลัง และค่าพยากรณ์ปริมาณการใช้ยาเฉลี่ยต่อเดือนโดยใช้ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีงบประมาณ การประเมินตัวชี้วัดประสิทธิภาพการบริหารยาคงคลังทำใน 3 ด้าน ได้แก่ มูลค่ายาคงคลังเฉลี่ยต่อเดือน อัตราหมุนเวียนยาคงคลังต่อปี และระดับการให้บริการ <strong>ผลการวิจัย</strong>: เมื่อเปรียบเทียบกับแบบจำลองสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ภายใต้แบบจำลองที่ใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย การบริการยาคงคลังมีการกำหนดค่าระดับยาคงคลังต่ำสุด โดยมีระยะเวลานำที่ 0.5 เดือน และระดับบริการที่ร้อยละ 100 เหมาะสมที่สุดสำหรับยาทั้ง 3 กลุ่ม โดยสามารถทำให้ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการบริหารยาคงคลังทั้ง 3 ด้านดีที่สุด โดยพบว่าทำให้มูลค่ายาคงคลังเฉลี่ยต่อเดือนลดลงร้อยละ 8.6-24.5 ด้านอัตราหมุนเวียนยาคงคลังเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4-32.8 ในยาทั้ง 3 กลุ่ม แต่อย่างไรก็ตาม ยากลุ่มที่มียาขาดคลังบ่อย เมื่อกำหนดระยะเวลานำที่ 0.5 เดือน พบว่า ปริมาณยาคงคลังต่ำสุดที่กำหนดไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้ยาส่งผลให้ระดับการให้บริการลดลงอยู่ที่ร้อยละ 97.22 <strong>สรุป</strong>: การประยุกต์นโยบายการบริหารยาคงคลังแบบต่อเนื่องร่วมกับการใช้เทคนิคการพยากรณ์ด้วยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย และระยะเวลานำที่ 0.5 เดือน มีความเหมาะสมสำหรับยากลุ่ม AV ยากลุ่มที่มีปริมาณการใช้มาก และยาที่มีการขาดคลังบ่อย วิธีนี้ทำให้ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการบริหารยาคงคลังดีขึ้น สามารถลดมูลค่ายาคงคลังเฉลี่ยต่อเดือน เพิ่มอัตราหมุนเวียนยาคงคลังเฉลี่ยต่อปี และรับประกันระดับการให้บริการที่ร้อยละ 100 สำหรับยากลุ่ม AV ยากลุ่มที่มีปริมาณการใช้มาก แต่อย่างไรก็ตามระดับการให้บริการของยากลุ่มที่ขาดคลังบ่อยลดลง เภสัชกรจึงควรพิจารณาข้อมูลของปริมาณการใช้ยาที่มากที่สุดในอดีตเพื่อนำมากำหนดปริมาณยาคงคลังต่ำสุดและสูงสุด</p> รวีณัฏฐกานต์ หาญรินทร์ สินีนาฏ กริชชาญชัย Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1098 1112 การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาการกระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวกับ การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของร้านขายยาในจังหวัดชลบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264695 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อแก้ไขปัญหาการกระทำผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของร้านขายยาในจังหวัดชลบุรี <strong>วิธีการ</strong><strong>: </strong>การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ดำเนินการโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ในผู้ประกอบการร้านขายยาแผนปัจจุบันในจังหวัดชลบุรี จำนวน 120 แห่ง ในขั้นตอนการวางแผน (P) เป็นการสนทนากลุ่มในผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ 18 คนซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายยา และมีประสบการณ์ในด้านนี้มากกว่า 10 ปี เพื่อร่วมกันวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ออกแบบกิจกรรม และวางแผนในการแก้ไขปัญหา ในขั้นการปฏิบัติ (D) เป็นการจัดกิจกรรมตามที่ได้ระบุในขั้นตอนการวางแผน และใช้แบบสอบถามวัดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ความรู้ฯ) ทัศนคติเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้อง (ทัศนคติฯ) และความตระหนักถึงผลกระทบจากการโฆษณาที่ไม่ถูกต้อง (ความตระหนักฯ) โดยวัดก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้วิจัยเยี่ยมร้านขายยาเพื่อตรวสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการโฆษณาหลังการจัดกิจกรรม 2 สัปดาห์ ในขั้นการตรวจสอบ (C) เป็นการจัดสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ 18 คนเหมือนในขั้นตอนการวางแผน เพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นกับวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ สะท้อนปัญหาและเสนอแนวทางในการแก้ไขในวงรอบการทำงานต่อไป ขั้นการปรับปรุงการดำเนินงาน (A) เป็นการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่พบระหว่างการดำเนินตามขั้นตอน PDC เพื่อให้กระบวนการมีความสมบูรณ์ และนำไปขยายผลในพื้นที่ต่อไป <strong>ผลการวิจัย</strong>: สิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการกระทำผิดประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1) การขาดความรู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ประกอบการ และ/หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการของร้านขายยา 2) การมีทัศนคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายการโฆษณา และ 3) การขาดความตระหนักถึงผลกระทบจากการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ แนวทางการแก้ไขการกระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายยา คือ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมการเสริมสร้างความรู้ฯ 2) กิจกรรมปรับเปลี่ยนทัศนคติฯ 3) กิจกรรมสร้างความตระหนักถึงผลกระทบจากการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ 4) กิจกรรมปฏิบัติการปรับปรุงแก้ไขการโฆษณาของร้านขายยา ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมผู้ประกอบการมีคะแนนความรู้ฯ ทัศนคติฯ และมีความตระหนักฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) การประเมินร้านขายยาทุกแห่งไม่พบการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การแก้ไขปัญหาการกระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายยาด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นสิ่งที่ได้ผล ทำให้ผู้ประกอบการร้านยาสามารถโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย</p> พงษ์ณุวัฒน์ สมบัติภูธร ญาดา เรียมริมมะดัน โปรดปราน ทาศิริ กนกกาญจน์ เสรีขจรจารุ สุภนัย ประเสริฐสุข Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1113 1123 ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมประยุกต์ไลน์เพื่อจัดการด้านยา ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมอาการไม่ได้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264720 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้โปรแกรมประยุกต์ไลน์เพื่อจัดการด้านยา (โปรแกรมประยุกต์ไลน์ฯ ) ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมอาการไม่ได้ <strong>วิธีการ</strong><strong>: </strong>การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นขั้นพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ไลน์ฯ จากกรอบแนวคิดการให้ข้อมูลด้านโรค การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ (Information, motivation, behavioral skills model) ร่วมกับการสนทนากลุ่มระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ระยะที่ 2 เป็นการประเมินผลลัพธ์ของโปรแกรมประยุกต์ไลน์ฯ ผู้วิจัยสุ่มแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 66 คน กลุ่มทดลองได้รับบริการมาตรฐานโรงพยาบาลร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ไลน์ฯ กลุ่มควบคุมได้รับบริการมาตรฐานโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว การศึกษาติดตามระดับความดันโลหิตและความพึงพอใจหลังจากเข้าร่วมการศึกษา 3 เดือน <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> ในระยะที่ 1 ผู้วิจัยนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ไลน์ฯ ที่พัฒนาขึ้นต่อผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและสื่อพบว่า คุณภาพเนื้อหามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54±0.50 จากคะแนนเต็ม 5 และระบบสนับสนุนระบบสารสนเทศโปรแกรมประยุกต์ไลน์ฯ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพเท่ากับ 4.48±0.68 จากคะแนนเต็ม 5 ระยะที่ 2 หลังจากเข้าการศึกษาเป็นเวลา 3 เดือนพบว่า ค่ามัธยฐาน (พิสัยควอไทล์) ของความดันซิสโตลิกในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (136 (5.25) และ 144 (7) mmHg ตามลำดับ, P &lt;.001) และความดันไดแอสโตลิก ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (77 (6.50) และ 80 (7.25) mmHg ตามลำดับ, P =0.002) กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมประยุกต์ไลน์ฯ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40±0.55 จากคะแนนเต็ม 5 <strong>สรุป</strong>: โปรแกรมประยุกต์ไลน์ฯ ทำให้ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ มีระดับความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ผกากรอง ผาสุข วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์ Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1124 1137 ประสิทธิผลและความปลอดภัยของยา sofosbuvir/velpatasvir และอุปสรรคในการเข้าถึง ยา sofosbuvir/velpatasvir ในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง: การศึกษาเชิงพรรณนา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264854 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของยา sofosbuvir/velpatasvir (SOF/VEL) ในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง และค้นหาอุปสรรคในการเข้าถึงยา SOF/VEL <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษาประกอบด้วยการวิจัยเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังจำนวน 288 คนที่ได้รับยา SOF/VEL ซึ่งมีอายุ 18-70 ปี และได้รับการรักษา ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่หรือโรงพยาบาลนครพิงค์ ในช่วงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 ประสิทธิผลของ SOF/VEL ประเมินจากผลการตรวจปริมาณไวรัสตับอักเสบซีในเลือดหลังจากหยุดการรักษาไปแล้ว 12 สัปดาห์ (SVR12) ความปลอดภัยของยาประเมินจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับยาโดยติดตามความปลอดภัยตั้งแต่วันที่เริ่มใช้ยาจนถึงวันที่ผู้ป่วยหยุดใช้ยา SOF/VEL การเก็บข้อมูลในการศึกษาใช้แบบเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่ไม่ได้รับยา SOF/VEL จำนวน 12 คน แพทย์จำนวน 4 คน และเภสัชกรจำนวน 3 คนในประเด็นอุปสรรคในการเข้าถึงยา SOF/VEL<strong> ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ในการศึกษาเชิงพรรณนา ผู้ป่วยรับการติดตามการรักษาจนครบจำนวน 272 คน (ร้อยละ 94.4) มีผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบไวรัสตับอักเสบซีในเลือดหลังจากหยุดการรักษาไปแล้ว 12 สัปดาห์ (SVR12) ร้อยละ 90.8 (95% CI, 87.4–94.3%) พบอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยร้อยละ 8.1 โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุดได้แก่ ผื่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดท้อง และคลื่นไส้ งานวิจัยเชิงคุณภาพพบอุปสรรคในการเข้าถึงยา SOF/VEL ทั้งหมด 17 ประการ โดยอยู่ภายใต้หมวดการมียา ความสามารถในการจ่าย การยอมรับการใช้ยา การเข้าถึงแหล่งบริการ และหมวดอื่น ๆ <strong>สรุป</strong>: ยา SOF/VEL เป็นยาที่มีประสิทธิผลและความปลอดภัยที่สูงโดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยเป็นอาการที่ไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามยังมีอุปสรรคหลายประการที่ควรได้รับการแก้ไขเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงยารักษาไวรัสตับอักเสบซีที่มากขึ้น และนำไปสู่การลดและกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในประเทศไทย</p> นนธนิท ชัยมงคล เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์ ศตวรรษ ทองสวัสดิ์ กัณวีร์ เทศเกตุ ชยกร แซวตระกูล Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1138 1153 การสำรวจความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมเกี่ยวกับสมรรถนะ ที่ควรใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/265157 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อสำรวจความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมเกี่ยวกับสมรรถนะที่ควรนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> ระยะที่ 1 ใช้เทคนิคเดลฟายในผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คนเพื่อสร้างแบบสอบถามที่ระบุสมรรถนะที่ควรนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาล ระยะที่ 2 เป็นการส่งแบบสอบถามที่ได้จากระยะที่ 1 ทางไปรษณีย์ไปยังหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง จำนวน 901 คนเพื่อสำรวจความเห็นด้วยต่อสมรรถนะที่ควรนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาล <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ตัวอย่างตอบกลับ 333 คน (ร้อยละ 37.0) ในสมรรถนะร่วมจำนวน 10 สมรรถนะมี 9 สมรรถนะที่หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมเห็นด้วยว่าควรนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาล (คะแนนเฉลี่ยของความเห็นด้วยมากกว่า 4.0 จากคะแนนเต็ม 5) เช่น ด้านวิชาชีพ คุณธรรม จรรยาบรรณ การบริการที่ดี การทำงานเป็นทีมและการสร้างสัมพันธภาพ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการสื่อสาร ส่วนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสมรรถนะร่วมที่มีคะแนนความเห็นด้วยน้อยกว่าสมรรถนะร่วมอื่น ๆ (3.78±0.67 จากคะแนนเต็ม 5) สมรรถนะสาขาเฉพาะด้านที่หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมเห็นด้วย (คะแนนมากกว่า 4) กับการนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาล ได้แก่ ด้านบริการเภสัชกรรม (14 ข้อ คะแนน 4.20-4.76) ด้านบริบาลเภสัชกรรม (12 ข้อ คะแนน 4.05-4.56) ด้านการบริหารเวชภัณฑ์ (10 ข้อ คะแนน 4.25-4.56) และเภสัชสนเทศ (9 ข้อ คะแนน 3.98-4.46) อย่างไรก็ตาม สมรรถนะด้านการผลิตจำนวน 10 สมรรถนะมีคะแนน 3.88-4.00 ซึ่งน้อยกว่าด้านอื่น แต่ถือว่าอยู่ในระดับที่ควรนำมาใช้ประเมิน หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมร้อยละ 82.58 เห็นว่าการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาลควรมีการประเมินสมรรถนะร่วมกับสมรรถนะตามสาขาร่วมกัน ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีการกำหนดน้ำหนักคะแนนแต่ละส่วน (ร้อยละ 87.69) โดยควรกำหนดผ่านการประชุมหัวหน้างานส่วนต่าง ๆ ในกลุ่มงานเภสัชกรรม (ร้อยละ 35.28) หรือกำหนดน้ำหนักคะแนนจากปริมาณงาน (ร้อยละ 27.05) ร้อยละ 42.04 เห็นว่าอัตราส่วนคะแนนระหว่างสมรรถนะร่วมและสมรรถนะตามสาขาควรเท่ากับ 40:60 <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>กลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลสามารถเลือกรายการสมรรถนะในงานวิจัยนี้เพื่อสร้างกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลและเป็นที่ยอมรับของเภสัชกรผู้ปฏิบัติงาน</p> ปิยะเนตร พรสินศิริรักษ์ อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1154 1168 ความหมายของยาในมุมมองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/265382 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อทำความเข้าใจความหมายของยาที่ใช้รักษาในมุมมองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง <strong>วิธีการวิจัย:</strong> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงอย่างน้อย 1 ปีและมีรายการยาที่ใช้รักษาประจำอย่างน้อย 2 รายการ ในเขตอำเภอบางกระทุ่มและอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจนเกิดความอิ่มตัวโดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 31 คน การศึกษาดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2565 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ (thematic analysis) <strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 74.19) อายุเฉลี่ยเท่ากับ 66.16 ± 8.90 ปี ระยะเวลาเจ็บป่วยเฉลี่ย 9.42 ± 4.87 ปี มีรายการยาที่ใช้ประจำ 5.13 ± 1.45 รายการ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่ให้ความหมายเกี่ยวกับยาผ่านประสบการณ์ การรับรู้ และความเชื่อของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ยาจึงหมายถึงตัวช่วยควบคุมอาการของโรค บรรเทาอาการเจ็บป่วย ความไม่สบายตัว ความผิดปกติของร่างกาย นอกจากนี้ความหมายของยายังเกี่ยวข้องกับการรับรู้ประโยชน์ ประสิทธิภาพของยา และความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้ยา ซึ่งล้วนแต่เป็นเหตุผลสำคัญที่ส่งผลพฤติกรรมการใช้ยา นับตั้งแต่การปรับขนาดยา โดยส่วนใหญ่มักเป็นการลดจำนวนเม็ดยา หรือปรับเวลาในการรับประทานยา และการแสวงหาวิธีการรักษาอื่น <strong>สรุป:</strong> การศึกษานี้ทำให้สามารถเข้าใจถึงมุมมองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกี่ยวกับนิยามความหมายของยาที่มีความแตกต่างจากมุมมองของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรทำความเข้าใจความหมายของยาและพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มากขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วยต่อไป</p> โฉมคนางค์ ภูมิสายดร กรแก้ว จันทภาษา Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1169 1182 ผลจากการรักษาเสริมของยากลุ่ม Sodium-Glucose Cotransporter 2 Inhibitors ต่อ อัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยาต้านระบบ Renin-Angiotensin https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264748 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงอัตราการกรองของไต (estimated glomerular filtration rate, eGFR) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยยากลุ่ม sodium-glucose cotransporter 2 inhibitors (SGLT2 inhibitors) ร่วมกับยาต้านระบบ renin-angiotensin (RAS blockers) เทียบกับกลุ่มที่ได้รับ RAS blockers <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ การศึกษาคัดเลือกผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 18 ปีขึ้นไป ระยะเวลาตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 เข้างานวิจัยจำนวน 350 ราย กลุ่มศึกษา คือ กลุ่มที่ได้รับยากลุ่ม SGLT2 inhibitors ร่วมกับ RAS blockers 175 ราย กลุ่มควบคุม คือ กลุ่มที่ได้รับยากลุ่ม RAS blockers 175 ราย ผลลัพธ์ของการศึกษา คือ ค่าอัตราการกรองของไต น้ำตาลสะสมฮีโมโกลบิน ความดันโลหิต และน้ำหนักตัวซึ่งวัด ณ เดือนที่ 0, 3, 6 และ 12 <strong>ผลการวิจัย:</strong> อัตราการกรองของไตระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมทั้งในเพศหญิงและเพศชายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีเพศหญิงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการกรองของไตที่ P=0.024 น้ำตาลสะสมฮีโมโกลบินของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีระยะเวลาการเกิดโรคเบาหวานและค่าน้ำตาลสะสมฮีโมโกลบินพื้นฐานเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าน้ำตาลสะสมฮีโมโกลบินที่ P=0.003 และ P&lt;0.001 ตามลำดับ น้ำหนักตัวของทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P=0.008 โดยมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวต่อปีในกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมเท่ากับ -1.62 และ -0.35 กิโลกรัม ตามลำดับ น้ำหนักตัวพื้นฐานเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวที่ P&lt;0.001 <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยากลุ่ม SGLT2 inhibitors ร่วมกับ RAS blockers ช่วยลดน้ำหนักตัวได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยา RAS blockers</p> พิมลพรรณ พงษ์กล่ำ ณัฏฐดา อารีเปี่ยม Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1183 1196 ผลของการพัฒนาระบบทบทวนคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยในโดยเภสัชกรในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/266137 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนาระบบทบทวนคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยใน โดยเพิ่มขั้นตอนการประเมินและวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาโดยเภสัชกร ก่อนเข้าสู่กระบวนการจัดและจ่ายยา และเพื่อประเมินอัตราและระดับความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาที่เภสัชกรสามารถตรวจจับได้ก่อนและหลังพัฒนาระบบฯ <strong>วิธีการ:</strong> งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1. การวิเคราะห์ปัญหาและการพัฒนาระบบทบทวนคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยใน 2. การดำเนินการพัฒนาระบบและกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงาน 3. การพัฒนาบุคลากรและโปรแกรมทบทวนคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยในเพื่อรองรับการขยายระบบ และ 4. การปรับขั้นตอนการทบทวนคำสั่งใช้ยาให้เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการทำงาน <strong>ผลการวิจัย:</strong> เภสัชกรสามารถตรวจจับความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาได้เพิ่มขึ้น จากเดิม 1.58 ครั้งต่อ 1000 วันนอน เป็น 4.32 ครั้งต่อ 1000 วันนอนในระยะแรกของการพัฒนาระบบฯ และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 5 เท่า เมื่อมีการขยายระบบทบทวนคำสั่งใช้ยามากขึ้นจนครอบคลุมใบสั่งยาผู้ป่วยในทุกใบ ประเภทของความคลาดเคลื่อนที่เภสัชกรสามารถตรวจจับได้ 3 อันดับแรก คือ การสั่งขนาดยาผิด การสั่งวิธีการใช้ยาผิด/ไม่ระบุ/ไม่ชัดเจน/ไม่สมบูรณ์ และการสั่งยาที่ผู้ป่วยเคยแพ้หรือเสี่ยงต่อการแพ้สูง ในช่วงหลังพัฒนาระบบ เภสัชกรสามารถป้องกันความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาไม่ให้ถึงผู้ป่วย (ระดับ B) ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 79.90 เป็นประมาณร้อยละ 87 - 95 <strong>สรุป:</strong> การพัฒนาระบบทบทวนคำสั่งใช้ยาผู้ป่วยในโดยมีเภสัชกรทำหน้าที่คัดกรองและประเมินความเหมาะสมก่อนเข้าสู่กระบวนการจัดและจ่ายยา ทำให้เภสัชกรสามารถตรวจจับความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาได้เพิ่มขึ้น และสามารถป้องกันไม่ให้ความคลาดเคลื่อนถึงผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น</p> เพียงใจ เกียรติธนวัฒนา Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1197 1208 ผลของการพัฒนาระบบการจัดการด้านยาของแผนกผู้ป่วยในต่อ ความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/265938 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> 1) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการด้านยาของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา (prescribing error: PE) และความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยา (pre-dispensing error: PDE) ในช่วงก่อนและหลังพัฒนาระบบการจัดการด้านยา <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนทางยาระหว่างช่วงก่อนการพัฒนาระบบ (มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565 รวมเวลา 9 เดือน) และช่วงหลังการพัฒนาระบบ (ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงมิถุนายน พ.ศ.2566 รวมเวลา 9 เดือน) ขั้นตอนการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการวางแผนประกอบด้วย ก) การรวบรวมข้อมูลทั่วไปของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน ขั้นตอนในการปฏิบัติงานของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน รวมทั้งข้อมูล PE และ PDE ก่อนพัฒนาระบบ ข) การวิเคราะห์ข้อมูล PE และ PDE ในช่วงก่อนพัฒนาระบบ และ ค) การกำหนดกระบวนการพัฒนาระบบการจัดการด้านยา 2) ขั้นการปฏิบัติตามแผน ขั้นตอนนี้เป็นการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาระบบในวงล้อที่ 1 ตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2565 3) ขั้นการสังเกตการณ์ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมผลการดำเนินงานหลังพัฒนาระบบในวงล้อที่ 1 ได้แก่ กระบวนการต่าง ๆ ที่ใช้พัฒนาระบบ ข้อมูล PE และ PDE 4) ขั้นการสะท้อนผลการปฏิบัติและการปรับปรุงแผน ประกอบด้วย ก) การประเมินผลการดำเนินงานหลังพัฒนาระบบวงล้อที่ 1 ข) การปรับปรุงแผนเพื่อดำเนินการต่อในวงล้อที่ 2 ตั้งแต่มกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2566 และวงล้อที่ 3 ตั้งแต่เมษายนถึงมิถุนายน พ.ศ. 2566 และ ค) การประเมินผลลัพธ์โดยเปรียบเทียบ PE และ PDE ระหว่างก่อนและหลังพัฒนาระบบ <strong>ผลการวิจัย</strong>: กระบวนการในการพัฒนาระบบการจัดการด้านยาเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา ได้แก่ 1. การประชุมและสร้างการมีส่วนร่วมจากการประชุมระดับต่าง ๆ คือการประชุม IPD talk โดยเจ้าหน้าที่ห้องจ่ายยาผู้ป่วยในทุกคน การประชุมคณะทำงานความคลาดเคลื่อนทางยาโดยตัวแทนของทุกหอผู้ป่วย และการประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดโดยผู้บริหาร เพื่อสร้างความรู้/ความเข้าใจในการแก้ไขความคลาดเคลื่อนทางยา 2. การพัฒนาระบบในเก็บรวบรวมและรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา 3. การปรับตารางการปฏิบัติงานประจำวันของเภสัชกร เจ้าพนักงานเภสัชกรรม และพนักงานประจำห้องยา 4. การพัฒนาระบบการคัดกรองใบสั่งยา 5. การประสานรายการยา 6. การกำหนดแนวทางปฏิบัติในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และ 7. การกำหนดมาตรการในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา หลังการพัฒนาระบบสามารถดักจับและแก้ไข PE ได้มากกว่าก่อนพัฒนาระบบ โดยค้นพบ PE เพิ่มขึ้นจาก 2.41 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน เป็น 4.61 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน (P&lt;0.001) หลังพัฒนาระบบพบว่า PDE ลดลงจาก 13.95 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน เหลือ 9.97 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน (P=0.022) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> หลังการพัฒนาระบบการจัดการด้านยา เภสัชกรสามารถดักจับและแก้ไข PE ได้มากกว่าก่อนพัฒนาระบบการจัดการด้านยา และ PDE มีอัตราที่ลดลง</p> หทัยกาญจน์ ก๋ำนารายณ์ นพรัตน์ คำภีระ Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1209 1227 รูปแบบการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนในชุมชนออนไลน์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/266440 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อสำรวจรูปแบบการใช้ยาของผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรนในชุมชนออนไลน์ <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) ครั้งนี้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่เผยแพร่ทางระบบสื่อสังคมออนไลน์ในช่วง 3 เดือน ตัวอย่าง คือ ผู้ที่ปวดศีรษะไมเกรนที่ผ่านการคัดกรองด้วย ID-Migraine™ questionnaire การศึกษาเก็บข้อมูลการรักษาด้วยยาของตัวอย่างและเปรียบเทียบปัจจัยต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไมเกรนในระดับไม่มี/น้อยมาก-น้อย (MIDAS grade I-II) และระดับปานกลาง-มาก (MIDAS grade III-IV) <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 281 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 90.0) อยู่ในช่วงอายุ 18-29 ปี (ร้อยละ 55.9) มีโรคประจำตัวเป็นอาการนอนไม่หลับสูงสุด (ร้อยละ 21.7) ส่วนใหญ่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนชนิดไม่มีอาการนำ (migraines without aura) ร้อยละ 72.2 และเป็นอาการปวดศีรษะไมเกรนเรื้อรัง ร้อยละ 16.4 ตัวอย่างมีอาการปวดศีรษะระดับปานกลาง-มากในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา โดยมีค่ามัธยฐานความปวด (ควอไทล์ล่าง, ควอไทล์บน) เท่ากับ 7.0 (6.0, 8.0) คะแนน (พิสัยที่เป็นไปได้ คือ 0-10) ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของอาการที่พบมากที่สุด คือ ความเครียด สำหรับรูปแบบการรักษาของตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ การดูแลรักษาด้วยตนเองหรือไม่เข้ารับการรักษา (ร้อยละ 59.4) ยาบรรเทาอาการที่ใช้สูงสุด คือ ยา paracetamol (ร้อยละ 54.8 ของผู้ใช้ยาบรรเทา) ส่วนใหญ่ไม่ใช้ยาป้องกันอาการ (ร้อยละ 65.1) ยาป้องกันอาการที่ใช้สูงสุด คือ ยากลุ่ม tricyclic antidepressants (ร้อยละ 25.5 ของผู้ใช้ยาป้องกัน) โดยมีพฤติกรรมการใช้ยาป้องกันอาการเฉพาะเวลามีอาการปวดศีรษะ ทั้งนี้ พบผู้ที่ได้รับผลกระทบระดับปานกลาง-มาก มีความปวดและรายการยามากกว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบระดับไม่มี/น้อยมาก-น้อย <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยโรคศีรษะไมเกรนส่วนใหญ่ในสังคมออนไลน์มีรูปแบบการรักษาด้วยตนเอง และยังพบรูปแบบการใช้ยาบรรเทาและยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนที่ไม่เหมาะสม บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ป่วยเพื่อให้การใช้ยามีประสิทธิภาพและปลอดภัย</p> นันทินี คงหนู รังสิมา เทพเทพา เรวดี เจนร่วมจิต สินธุ์วิสุทธิ์ สุธีชัย จันทร์นภัสสร์ ธราวิจิตรกุล Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1228 1241 ปฏิกิริยาระหว่างยา dolutegravir กับยาอื่นในการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/267119 <p>การติดเชื้อเอชไอวีเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลก ยาที่ใช้รักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องกินยาตลอดชีวิต ยา dolutegravir เป็นยารุ่นที่ 2 ของกลุ่ม INSTIs (integrase strand transfer inhibitors) และอยู่ในสูตรยาต้านไวรัสเอชไอวีที่แนะนำเป็นสูตรแรกในการรักษาในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากเป็นสูตรที่ได้ผลดีในการควบคุมไวรัส มีผลข้างเคียงน้อย อยู่ในรูปแบบยาเม็ดรวม และสามารถใช้ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ยา dolutegravir ยับยั้ง integrase enzyme ของเชื้อไวรัสเอชไอวี และป้องกันไม่ให้สารพันธุกรรมดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าเชื่อมต่อกับสายดีเอ็นเอของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD<sub>4</sub> ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี จึงมีผลทำให้เชื้อไวรัสเอชไอวีไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ กลไกการออกฤทธิ์ของยา dolutegravir เกิดจากการมีโครงสร้างทางเคมีที่สามารถจับกับ divalent metal cations คือ แมกนีเซียม ที่ active site ของ Integrase enzyme ของเชื้อไวรัสเอชไอวี การรับประทานยา dolutegravir ร่วมกับ divalent หรือ trivalent metal cation จึงมีผลลดการการดูดซึมยา dolutegravir ได้ ยา dolutegravir ยังเป็น substrate ของเอนไซม์ CYP3A4 และ UGT1A1 การใช้ยา dolutegravir ร่วมกับยา potent UGT1A หรือ CYP3A inducers เช่น efavirenz, etravirine, rifampicin, carbamazepine oxcarbazepine, phenytoin, phenobarbital เป็นต้น อาจส่งผลต่อระดับยา dolutegravir ได้ อีกทั้งยายังยับยั้ง OCT2 และ MATE1 การใช้ยา dolutegravir ร่วมกับยาที่ขับออกผ่าน OCT2 หรือ MATE1 เช่น metformin, dofetilide เป็นต้น อาจมีผลเพิ่มระดับยาในกระแสเลือดของยาเหล่านั้นได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ดังนั้นการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาเป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่ควรคำนึงในการเริ่มใช้ยาหรือการเปลี่ยนสูตรยาเป็น dolutegravir ร่วมกับการพิจารณาโรคร่วมและยาอื่น ๆ ร่วมทั้งประวัติการกินวิตามิน แร่ธาตุ และอาหารเสริมต่าง ๆ ของผู้ป่วย การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ป่วยมีความสำคัญในการป้องกันความล้มเหลวในการรักษาหรือการเกิดอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงจากการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาได้</p> ประภัสสร ทับทวี พีชญ์ฌา ฤทธิ์เดช ชนะเขต ไชยวัต อภิชาต มนัสเกษมศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1242 1256 การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรไทย ที่ได้จาก ChatGPT ผ่านมุมมองของเภสัชกร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/267830 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อประเมินความเหมาะสมของคำตอบที่เป็นภาษาไทยจาก ChatGPT เมื่อสอบถามเกี่ยวกับสมุนไพรไทยทั้งที่เป็นข้อมูลทั่วไปและวิธีการนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์ที่จำเพาะ <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษาเลือกสมุนไพรมา 5 ชนิดและตั้งคำถามกับ ChatGPT เกี่ยวกับสมุนไพรเหล่านั้น โดยเริ่มถามจากคำถามทั่วไป 1 ข้อที่เกี่ยวกับสรรพคุณ ข้อควรระวัง และวิธีใช้ของสมุนไพรแต่ละชนิดและขอคำตอบเป็นภาษาไทย 1 ครั้ง หลังจากนั้นจึงถามด้วยคำถามเกี่ยวกับการใช้ที่จำเพาะดังนี้ 1) ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะได้ไหม 2) เป็นโควิด กินฟ้าทะลายโจรอย่างเดียว หายไหม ปลอดภัยในคนท้องมั้ย 3) กินกระชายช่วยป้องกันโควิดได้ไหม 4) กินยาระบายมะขามแขกทุกวันเป็นอันตรายไหม 5) น้ำมันกัญชาปลอดภัยมั้ย ในส่วนนี้ผู้วิจัยขอให้ ChatGPT สร้างคำตอบเป็นภาษาไทยซ้ำ 3 ครั้ง จากนั้นให้เภสัชกรสองคนที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเภสัชเวทประเมินคำตอบที่ได้อย่างเป็นอิสระต่อกันในเรื่องความเหมาะสมใน 5 ประเด็น คือ ข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย การนำไปปฏิบัติตามได้ และความคุ้มค่า รวมถึงให้ผู้ประเมินวิเคราะห์คำตอบที่ได้ในประเด็นของการอ่านอย่างได้ใจความและความเป็นไปได้ในการนำข้อมูลไปใช้ในเชิงปฎิบัติ การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทำโดยใช้สเกลแบบ Likert 5 ระดับ <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ผลการประเมินคำตอบทั้งหมด 220 ครั้ง ((5 คำถามทั่วไป x 2 ผู้ประเมิน) + (5 คำถามเชิงประยุกต์ x 3 คำตอบทวนซ้ำ x 7 ประเด็นการประเมิน x 2 ผู้ประเมิน)) พบว่า ในทุกมิติของการประเมิน คำตอบที่ได้มีค่าคะแนนเฉลี่ยประมาณ 3 (สูงสุด 3.80 และต่ำสุด 3.07 จากคะแนนเต็ม 5) ซึ่งสามารถตีความได้ว่า คำตอบที่ได้ค่อนข้างคลุมเครือ นอกจากนั้นหากกำหนดให้คะแนนอย่างน้อย 4.0 คะแนนหมายถึงการที่คำตอบมีความเหมาะสมในประเด็นประเมิน พบว่ามีเพียงประเด็นเกี่ยวกับการอ่านได้ใจความเท่านั้นที่มีสัดส่วนของคะแนนอย่างน้อยเท่ากับ 4.0 อยู่ที่ 8 ครั้งใน 15 ครั้งของการประเมิน ในขณะที่การประเมินในประเด็นอื่น ๆ มีสัดส่วนดังกล่าวค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในแต่ละคำตอบพบว่า ไม่มีคำตอบใดที่ได้คะแนนอย่างน้อยเท่ากับ 4.0 ในทุกประเด็นการประเมิน <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ในขณะที่ทำการวิจัย ChatGPT ยังมีข้อจำกัดที่ชัดเจนในการตอบคำถามเกี่ยวกับสมุนไพรไทยเมื่อใช้ภาษาไทยและชื่อสมุนไพรไทยในการถามคำถามและสร้างคำตอบ</p> สุพัตรา ลิ่มสุวรรณโชติ อธิป สกุลเผือก นันทพงศ์ บุญฤทธิ์ แอชลีย์ เอ็ม ฮอปกินส์ วริทธิ์ เรืองเลิศบุญ Copyright (c) 2024 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1257 1276 การพัฒนาแบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับชาวไทยฉบับสั้น: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/268561 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดฉบับสั้นของแบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพ ชนิดรายการคำที่มีคำถามทดสอบความเข้าใจสำหรับชาวไทย (short version of the Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension: STHLA-W+) โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) <strong>วิธีการ:</strong> การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยในอดีตซึ่งใช้ THLA-W+ ในการสำรวจระดับความแตกฉานด้านสุขภาพ (health literacy: HL) ของประชาชน 7 จังหวัดภาคใต้จำนวน 1,310 คน เพื่อพิจารณาเลือกข้อคำถามจากค่าพารามิเตอร์ของข้อคำถามรายข้อตามหลักการของ IRT จากนั้นทดสอบความตรง ความเที่ยง และหาเกณฑ์คะแนนเพื่อใช้แปลผลระดับ HL ของ STHLA-W+ ในตัวอย่างกลุ่มใหม่ คือ ประชาชนจังหวัดยะลาจำนวน 200 คน <strong>ผลการวิจัย:</strong> ข้อคำถามทั้ง 48 ข้อผ่านเกณฑ์สมมติฐานเบื้องต้นของ IRT และมีความสอดคล้องกับ two-parameter logistic model การเลือกข้อคำถามตามเกณฑ์ค่าอำนาจจำแนก (a) ค่าความยาก (b) และตัดข้อคำถามที่มีการทำหน้าที่ต่างกัน (differential item functioning; DIF) จากอิทธิพลของวุฒิการศึกษาและอายุ ทำให้ได้แบบวัดฉบับสั้นที่มีข้อคำถามจำนวน 19 ข้อ การทดสอบ STHLA-W+ ในตัวอย่างกลุ่มใหม่พบว่า แบบวัดมีความเที่ยงที่ดี (Cronbach’s alpha = 0.808) มีความตรงโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนน STHLA-W+ กับตัวชี้วัด HL ชนิดอื่นมีความสัมพันธ์ในทางบวกอยู่ในช่วง 0.20 – 0.37 และผู้ที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่ามีคะแนน STHLA-W+ ที่สูงกว่า แบบวัดมีความสามารถปานกลางในการจำแนกผู้ที่มี HL ที่เพียงพอและไม่เพียงพอ (AUC = 0.67 – 0.73) จุดตัดคะแนนของ STHLA-W+ คือ 16 คะแนน นั่นคือผู้ที่ได้คะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 16 คะแนนจาก 19 คะแนนมี HL ที่ไม่เพียงพอ <strong>สรุป:</strong> การใช้ IRT พัฒนาแบบวัดฉบับสั้นทำให้ได้แบบวัดที่มีจำนวนข้อคำถามร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับแบบวัดฉบับเดิม แบบวัดใช้เวลาทดสอบเฉลี่ยไม่เกิน 4 นาที และสามารถใช้ประเมิน HL เบื้องต้นในประชาชน</p> วิชญาพร ไสยสิทธิ์ สงวน ลือเกียรติบัณฑิต พิมพ์วรา ตันเวชศิลป์ Copyright (c) 2024 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1277 1291 ยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ซึ่งเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง: ขนาดของปัญหาและสาเหตุ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/269612 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาขนาดและสาเหตุของการมียาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง <strong>วิธีการ:</strong> การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อหาสาเหตุของยาเหลือใช้ โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาล 5 ท่านและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 14 ท่าน ผู้วิจัยค้นหาสาเหตุของการมียาเหลือโดยสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ให้ข้อมูลทั้งสองกลุ่ม และยังใช้การสนทนากลุ่มในผู้ป่วย การศึกษาส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณเพื่อหาจำนวนยาเหลือใช้ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่รับการรักษาในโรงพยาบาลไม่เกิน 2 ปีเพื่อลดโอกาสการที่ผู้ป่วยทิ้งยาที่เหลือหรือหมดอายุ ผู้วิจัยการนับปริมาณยาของยาเหลือที่บ้านของผู้ป่วย 81 รายและสัมภาษณ์เพื่อประเมินการใช้ยาตามสั่ง ร่วมกับการพิจารณาประวัติการรักษาของผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อคำนวณหาปริมาณยาที่เหลือจำแนกตามสาเหตุต่าง ๆ <strong>ผลการวิจัย</strong>: การศึกษาส่วนที่ 1 พบว่า สาเหตุที่ก่อให้เกิดยาเหลือใช้ได้แก่ 1) ความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย เช่น การหยุดยาเนื่องจากอาการไม่พึงประสงค์จากยา การลืมรับประทานยา 2) การสั่งจ่ายยาในปริมาณที่มากกว่าที่ผู้ป่วยควรได้รับโดยไม่ตั้งใจ ได้แก่ การสั่งจ่ายยาเกินกว่าที่ต้องใช้จริงเกินกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป และการสั่งจ่ายยาซ้ำหรือที่ผู้ป่วยมีอยู่แล้วเนื่องจากขาดการตรวจสอบประวัติรักษา 3) การขาดระบบการจัดการยาเหลือใช้สะสมที่เกิดจากความตั้งใจของแพทย์ ได้แก่ การสั่งจ่ายยาเผื่อขาด และการเปลี่ยนแปลงการรักษา และ 4) การใช้บริการจากสถานพยาบาลมากกว่า 1 แห่ง เช่น ผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อการรักษาระหว่างสถานพยาบาล การรับยาตัวเดียวกันจากหลายสถานพยาบาล เป็นต้น การศึกษาส่วนที่ 2 พบว่า ผู้ป่วยมียาเหลือทั้งหมด 110.62±88.29 เม็ดต่อคนต่อปี หรือ 70.75±57.51 บาทต่อคนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 11.17 ของมูลค่ายาที่ได้รับทั้งหมด มูลค่ายาเหลือใช้ร้อยละ 53.74, 24.92 และ 8.27 เกิดจากความไม่ร่วมมือในการใช้ยา การได้รับยาเผื่อขาด และการสั่งยาเกินกว่าที่ผู้ป่วยต้องใช้จริงเกินกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป ตามลำดับ ผู้ป่วยในคลินิกโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลในขณะทำวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 2,820 คน มูลค่าความสูญเสียจากยาเหลือที่ประมาณการได้ คือ 199,515 บาทต่อปี <strong>สรุป:</strong> ข้อมูลมูลค่าของยาเหลือใช้สามารถช่วยเพิ่มความตระหนักในปัญหานี้แก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล สาเหตุและขนาดของยาเหลือใช้จากแต่ละสาเหตุทำให้สามารถสร้างแนวทางการจัดการปัญหาที่มุ่งเน้นไปที่สาเหตุหลักของปัญหา</p> ไมย์แนล หมัดบินเฮด สงวน ลือเกียรติบัณฑิต Copyright (c) 2024 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1292 1307 การศึกษาลักษณะการกระทำความผิดและการบังคับใช้กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ในจังหวัดสกลนคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/265437 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาลักษณะการกระทำความผิดและลักษณะการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ในจังหวัดสกลนคร ในปีงบประมาณ 2560 – 2565 <strong>วิธีการ: </strong>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง การศึกษาเก็บข้อมูลการดำเนินคดีจากบันทึกการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ของกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ในช่วงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 <strong>ผลการศึกษา: </strong>ในช่วง 6 ปีระหว่าง พ.ศ.2560-2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รวมจำนวน 138 คดี ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการประเภทบุคคลธรรมดา (ร้อยละ 75.4) การกระทำความผิดส่วนใหญ่เกิดขึ้น ณ สถานที่ผลิตอาหาร (ร้อยละ 96.4) สถานที่ผลิตอาหารที่ทำผิดกฎหมายเป็นสถานที่ผลิตที่ได้รับอนุญาตผลิตอาหาร (ร้อยละ 96.2) และไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน (ร้อยละ 74.4) ผู้กระทำความผิดส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการผลิตอาหารประเภทน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ร้อยละ 68.1) รองลงมาคือ น้ำแข็งบริโภค (ร้อยละ 17.4) อาหารพร้อมบริโภค (ร้อยละ 4.4) และนมโค (ร้อยละ 3.6) ลักษณะการกระทำความผิดที่พบมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ 1. ผู้ผลิตไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร หรือ GMP (ร้อยละ 59.5) 2. ผลิตอาหารผิดมาตรฐาน (ร้อยละ 27.5) และ 3. ฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องฉลากอาหาร (ร้อยละ 10.2) ส่วนใหญ่กระทำความผิดเป็นครั้งที่ 1 (ร้อยละ 76.8) การกระทำผิดถูกพบจากการตรวจเฝ้าระวัง (ร้อยละ 80.4) สำหรับการกระทำความผิดส่วนใหญ่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมีอำนาจเปรียบเทียบ (ร้อยละ 98.5) ผู้กระทำความผิดส่วนใหญ่ยอมรับสารภาพและยินยอมให้ทำการเปรียบเทียบ (ร้อยละ 94.2) คดีที่ดำเนินการเปรียบเทียบปรับ ส่วนใหญ่มีค่าปรับที่ถูกเปรียบเทียบเท่ากับ 1,000 บาท (ร้อยละ 34.6) โดยมี ค่ามัธยฐาน 3,000 บาท <strong>สรุป</strong>: ผู้กระทำความผิดส่วนใหญ่ผลิตอาหารประเภทน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ฐานความผิดที่พบส่วนใหญ่เกี่ยวกับสถานที่ผลิตไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ GMP และมีผลตรวจวิเคราะห์อาหารไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร จึงควรให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการผลิตอาหารเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ GMP และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตรวจติดตาม เฝ้าระวังเชิงรุก และบังคับใช้กฎหมายเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค</p> ไชยวิชิต ไชยสิทธิ์ Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-16 2024-09-16 16 4 1308 319