https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/issue/feed วารสารเภสัชกรรมไทย 2024-03-17T11:05:33+07:00 Assoc Prof Sanguan Lerkiatbundit [email protected] Open Journal Systems <p> วารสารเภสัชกรรมไทยเป็นวารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วารสารฯ มีวัตถุประสงค์คือเป็นสื่อกลางเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิชาการระหว่างนักวิจัยด้านเภสัชกรรม เภสัชกร นักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ๆ ตลอดจนเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา</p> <p> วารสารเภสัชกรรมไทยเผยแพร่บทความที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรม ได้แก่การบริบาลทางเภสัชกรรม เภสัชกรรมสังคม การบริหารเภสัชกิจ เศรษฐศาสตร์ทางยา ระบาดวิทยาของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เภสัชสาธารณสุข เภสัชพฤติกรรมศาสตร์ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ นิติเภสัชกรรม จริยศาสตร์เภสัชกรรม นโยบายด้านยาและสุขภาพ การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางสังคมและการบริหารในการปฏิบัติงานเภสัชกรรม</p> <p> ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมไทย คือ บทความวิจัยต้นฉบับ บทความทบทวนวรรณกรรมทั้งแบบเชิงบรรยาย (review article) การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) </p> <p> ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 วารสารได้เพิ่มจำนวนเล่มจาก 2 เป็น 4 ฉบับต่อปี ดังนี้ เล่มที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) เล่มที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) เล่มที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) และเล่มที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม)</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/258262 ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาระหว่างการรักษาในระยะเข้มข้น 2022-09-05T07:48:07+07:00 สมบัติ สุวรรณนันท์ [email protected] สายทิพย์ สุทธิรักษา [email protected] รจเรศ นิธิไพจิตร [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาในระหว่างการรักษาในระยะเข้มข้น <strong>วิธีการ</strong><strong>: </strong>การศึกษาแบบกึ่งทดลองในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาในการรักษาระยะเข้มข้นครั้งนี้ ทำในโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ระหว่าง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 การศึกษาคัดเลือกผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาเข้าการศึกษาโดยวิธีนับเม็ดยาที่เหลือหลังจากผู้ป่วยรับประทานยา 14 วัน การแทรกแซง คือ การให้บริบาลทางเภสัชกรรมแบบปกติในโรงพยาบาล 3 ครั้ง คือ ในวันที่ 14, 28 และ 56 หลังเริ่มรับประทานยาและการลงเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกร 1 ครั้ง ในวันที่ 21 หลังเริ่มรับประทานยา การเยี่ยมบ้านใช้เครื่องมือ INHOMESS สอนการ DOT (direct observe treatment) แก่ผู้ดูแล ร่วมกับค้นหาและแก้ไข DRPs และให้ความรู้ด้านยาแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยวัณโรคปอดจำนวน 117 รายหลังได้รับยานาน 14 วันพบว่ามีผู้ที่ไม่ให้ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา 40 ราย (ร้อยละ 34.19) และถูกเชิญเข้าร่วมการศึกษาทุกราย การประเมินผลในวันที่ 28 และ 56 หลังการแทรกแซงพบว่า มีผู้ไม่ร่วมมือในการใช้ยาเหลือ 2 รายและ 1 ราย ตามลำดับ การเยี่ยมบ้านในวันที่ 21 หลังเริ่มรับประทานยาพบ DRPs 11 ครั้งในผู้ป่วย 11 คน ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ การเลือกใช้ยาที่ไม่เหมาะสม (5 ครั้ง) เช่น ผู้ป่วยกินยาชง ยาสมุนไพรแก้ปวด หรือยาแคปซูลจากร้านชำ การกินใบกัญชาต้ม การแก้ไขทำโดยจัดการที่ตัวผู้ป่วยมากที่สุด (7 จากทั้งหมด 11 ปัญหา) โดยการปรับทัศนคติในการรักษา ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เรื่องโรคการปฏิบัติตัวและการใช้ยาก่อนให้ความรู้ในวันที่ 14 และหลังการเยี่ยมบ้านในวันที่ 28 เฉลี่ย 9.68±2.17 และ 13.05 ± 1.20 คะแนน ตามลำดับ (P&lt;0.001) เมื่อสิ้นสุดระยะเข้มข้น ผลการตรวจพบเชื้อในเสมหะและเอ็กซเรย์ปอดพบเชื้อในเสมหะทั้งหมด 2 ราย และมีร่องรอยโรคที่ปอด จำนวน 3 ราย คนในครอบครัวช่วยกำกับดูแลการรับประทานยาเพิ่มจาก 22 รายก่อนการบริบาลทางเภสัชกรรมเป็น 35 รายหลังการบริบาลทางเภสัชกรรม<strong> สรุป</strong><strong>: </strong>การบริบาลทางเภสัชกรรมแบบปกติร่วมกับการเยี่ยมบ้านมีประสิทธิภาพที่ดีในการเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาต้านวัณโรคในระยะเข้มข้นของการรักษา</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/260171 ภาวะหมดไฟในการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานของเภสัชกรประจำโรงพยาบาล 2022-12-26T09:35:27+07:00 พชรอร วรรณภีระ [email protected] ปวีณา สนธิสมบัติ [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาระดับของภาวะหมดไฟและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะดังกล่าวในเภสัชกรประจำโรงพยาบาล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหมดไฟและความพึงพอใจในการทำงาน ตลอดจนแนวทางที่เภสัชกรรายงานว่าใช้เมื่อเกิดภาวะหมดไฟ <strong>วิธีการ</strong>: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางของเภสัชกรประจำโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปฏิบัติงานมาอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 1,400 คน การเลือกตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามเขตสุขภาพ ผู้วิจัยส่งจดหมายที่มีคิวอาร์โค้ดให้แก่กลุ่มตัวอย่างทางไปรษณีย์ เพื่อให้ตัวอย่างสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อตอบแบบสอบถามออนไลน์ การประเมินภาวะหมดไฟใช้แบบประเมินของ Mashlach และ Jackson หากพบภาวะหมดไฟอยู่ในระดับสูงอย่างน้อย 1 ด้านจะถือว่ามีภาวะหมดไฟ ความพึงพอใจในการทำงานใช้แบบประเมินของ Smith, Kendall และ Hulin การวิเคราะห์หาปัจจัยด้านการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานต่อภาวะหมดไฟในการทำงานใช้สถิติ logistic regression <strong>ผลการวิจัย</strong>: เภสัชกรร้อยละ 31.2 ตอบกลับแบบสอบถาม ซึ่งมีความสมบูรณ์สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 406 ราย เภสัชกรร้อยละ 29.6 มีภาวะหมดไฟโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ (ร้อยละ 23.4) ผู้ที่ปฏิบัติงาน 1-10 ปีและมีจำนวนชั่วโมงปฏิบัติงานนอกเวลามากกว่า 31 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเป็น 3.82, และ 2.26 เท่าของผู้ที่ไม่มีลักษณะดังกล่าว ขณะที่ความพึงพอใจในการทำงานลักษณะการบังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมของผู้บังคับบัญชาสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟที่ลดลง(odds ratio = 0.57) การผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบเป็นวิธีการลดภาวะหมดไฟที่ทั้งกลุ่มที่มีและไม่มีอาการหมดไฟ เลือกมากที่สุด <strong>สรุป</strong>: หนึ่งในสามของเภสัชกรโรงพยาบาลมีภาวะหมดไฟในการทำงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงานและจำนวนชั่วโมงที่ต้องปฏิบัติงานนอกเวลาเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะหมดไฟ ความพึงพอใจในการทำงานด้านลักษณะการบังคับบัญชาเป็นปัจจัยที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟ แนวทางที่เภสัชกรรายงานว่าเลือกใช้มากที่สุดเมื่อเกิดภาวะหมดไฟ คือ การผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/260242 แนวทางการพัฒนาร้านยาสู่มาตรฐานตามหลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนในจังหวัดอุดรธานี 2022-12-01T17:41:25+07:00 วาณี ธนสีลังกูล [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาร้านยาสู่มาตรฐานตามหลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (Good Pharmacy Practice: GPP) ในจังหวัดอุดรธานี และประเมินผลของการใช้แนวทางดังกล่าวต่อความสามารถในการปฏิบัติตาม GPP และความพึงพอใจของผู้ประกอบการสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันต่อแนวทางฯ <strong>วิธีการ</strong>: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตัวอย่าง คือ ร้านขายยาแผนปัจจุบันทุกแห่งในจังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยใช้วงจรคุณภาพ 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (plan) โดยศึกษาบริบทและผลการตรวจประเมิน GPP จัดอบรมโดยเชิญวิทยากรจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามาถ่ายทอดความรู้ และเปิดเวทีสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญโดยผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยผู้ประกอบการสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันและพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคเพื่อกำหนดแผนพัฒนา และวางแผนสร้างแนวทางฯ 2) การดำเนินการตามแนวทางฯ (do) และการตรวจประเมินร้านยาตามมาตรฐาน GPP 3) การตรวจสอบ (check) ผลที่เกิดขึ้นเพื่อทบทวนแนวทางฯ และ 4) ปรับปรุงแนวทางฯ ตามปัญหาที่พบ (action) และนำมาดำเนินการเป็นวงจรต่อไป <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> แนวทางฯประกอบด้วย 1) การประชาสัมพันธ์ให้ร้านยาทราบเกณฑ์ GPP และให้ร้านยาทำแบบประเมินตนเองประกอบการตรวจร้านยาตามเกณฑ์ GPP การประเมินความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดการร้านยาในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และการเชิญชวนร้านยาเข้าร่วมโครงการนี้กับหน่วยงานรัฐ 2) การใช้ช่องทาง Line official เพื่อตอบข้อซักถามของผู้ประกอบการร้านยา และ 3) การสนับสนุนอุปกรณ์ เช่น คู่มือ GPP สติ๊กเกอร์ประกอบตามเกณฑ์ จากการใช้แนวทางฯ พบว่า ร้านยาทุกแห่งผ่านการประเมินตาม GPP ค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินมีดังนี้ หมวดที่ 1 สถานที่ (98.37±3.57) หมวดที่ 2 อุปกรณ์ (100±0.0) หมวดที่ 3 บุคลากร (98.36±4.29) หมวดที่ 4 การควบคุมคุณภาพยา (98.80±2.85) และหมวดที่ 5 วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (98.94±1.24) ผู้ประกอบการขายยาแผนปัจจุบันพึงพอใจต่อแนวทางฯ โดยรวมทุกด้านในระดับมากที่สุด (4.66±0.60 จากคะแนนเต็ม 5) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> แนวทางฯที่พัฒนาขึ้นเน้นการเตรียมความพร้อมให้ร้านยาทราบเกณฑ์ GPP ข้อกฎหมายและข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับร้านยาผ่านช่องทางที่เข้าถึงง่าย ทำให้สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันในจังหวัดสามารถปฏิบัติตาม GPP ได้ทุกแห่ง โดยไม่มีข้อใดได้รับการประเมินในระดับปรับปรุง แต่ยังมีประเด็นที่ต้องพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน พนักงานเจ้าหน้าที่ควรชี้แจงรายละเอียด ความสำคัญ และเจตนารมณ์ในการใช้แนวทางฯ แก่ผู้ประกอบการร้านขายยาแผนปัจจุบันในการพัฒนาสถานที่ อุปกรณ์ และส่งเสริมให้เกิดงานบริการทางเภสัชกรรมที่ดีในร้านยา การร่วมกันแก้ไขสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ต้องไม่เพิ่มภาระแก่ผู้ประกอบการมากนัก การดำเนินการนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้ร้านยาในจังหวัดอุดรธานีเข้าเป็นหน่วยบริการในระบบประกันสุขภาพต่อไป</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/260244 ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการจำหน่ายยาไม่เหมาะสม ของร้านชำในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 2022-12-06T07:05:43+07:00 เฉลิมพงษ์ ลิมสัมนาภรณ์ [email protected] คณิตา ดวงแจ่มกาญจน์ [email protected] นิวัฒน์ ศักดิ์สิทธิ์ [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อสำรวจความชุกและหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมในร้านชำของอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี <strong>วิธีการ:</strong> การศึกษานี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวางเชิงสำรวจ การศึกษาใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสำรวจเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการร้านชำจำนวน 400 แห่งในเขตอำเภอจอมบึง ที่เลือกมาด้วยวิธีการแบบสุ่มอย่างง่ายระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 2 กันยายน พ.ศ. 2565 ตัวแปรที่วัดได้แก่ ประเภทยาที่จำหน่าย ลักษณะต่าง ๆ ของผู้ประกอบการและร้านชำ และแรงจูงใจที่เกี่ยวกับการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสม ข้อมูลถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยโลจิสติก <strong>ผลการวิจัย: </strong>จำนวนร้านชำที่สำรวจทั้งสิ้น 250 ร้าน พบร้านชำที่จำหน่ายยาจำนวน 179 ร้าน โดยจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมหรือยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน จำนวน 136 ร้าน (ร้อยละ 75.98) ส่วนใหญ่จำหน่ายยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สมุนไพรขายทั่วไปโดยไม่มีใบอนุญาตขาย ร้อยละ 67.65, 57.35 และ 63.24 ตามลำดับ พบการจำหน่ายยาอันตรายกลุ่มยาปฏิชีวนะ กลุ่มยา NSAIDs และยาชุดในร้านชำร้อยละ 12.50,10.29, และ 5.15 ตามลำดับ พบยาหมดอายุในร้านชำร้อยละ 12.29 แหล่งที่มาของยาที่ไม่เหมาะสมคือ ร้านขายยาแผนปัจจุบัน ร้อยละ 75.74 รองลงมาคือ ร้านขายส่งร้อยละ 13.97 แหล่งที่มาส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอจอมบึง (ร้อยละ 79.41) ความต้องการของคนในชุมชนเป็นแรงจูงใจในการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านชำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=4.25, 95%CI=1.23-14.71; P=0.022) ปัจจัยอื่นที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่ ระยะทางระหว่างร้านชำถึงร้านยา (OR=0.92, 95%CI=0.85-0.99; P=0.044) <strong>สรุป: </strong>ร้านชำในอำเภอจอมบึงมีความชุกสูงในการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยาได้ การจำกัดหรือแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และภาครัฐทั้งการดำเนินของเชิงรับและเชิงรุก</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/260270 กระบวนการตัดสินใจซื้อยาสมุนไพรและอาหารที่มีการแสดงสรรพคุณ เป็นยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 2022-12-09T06:24:23+07:00 วรรษมน สัจจพงษ์ [email protected] ศราวุฒิ อู่พุฒินันท์ [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อยาสมุนไพรและอาหารที่แสดงสรรพคุณเป็นยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม <strong>วิธีการวิจัย</strong><strong>:</strong> การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 14 คนในตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ที่เคยซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ จำนวน 1 ครั้งขึ้นไปใน 3 เดือนที่ผ่านมา การเก็บข้อมูลดำเนินการตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2562 ถึงมกราคม 2563 <strong>ผลการวิจัย: </strong>กระบวนการตัดสินใจซื้อยาสมุนไพรและอาหารที่มีการแสดงสรรพคุณเป็นยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังนั้นมี ปัจจัยที่ส่งผลกระทบดังต่อไปนี้ ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้ โรคประจำตัว อาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ และความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับยาสเตียรอยด์ ส่งผลต่อการตัดสินใจในขั้นตอนการตระหนักถึงปัญหา การประเมินผลทางเลือก และการตัดสินใจซื้อ กลุ่มอ้างอิงหรือบุคคลอื่นในสังคมรอบตัว ได้แก่ เพื่อน เพื่อนบ้าน คนใกล้ชิด และกลุ่มคนที่ให้สัมภาษณ์ในรายการวิทยุหรือโทรทัศน์นั้น ส่งผลต่อขั้นตอนการค้นหาข้อมูลและประเมินผลทางเลือก แรงจูงใจ ความเชื่อ และประสบการณ์ตรงที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบันมีผลต่อขั้นตอนสุดท้าย คือ การตัดสินใจซื้อ สิ่งกระตุ้นทางการตลาดด้านการโฆษณามีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อมากที่สุดทั้งในขั้นตอนการค้นหาข้อมูลและการประเมินผลทางเลือก <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>ควรมีการสร้างเสริมความรู้และความเชื่อที่ถูกต้องในด้านการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปลอดภัย อีกทั้งภาครัฐควรพัฒนาสื่อการให้ความรู้และความตระหนักในด้านการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงปรับเปลี่ยนรูปแบบของสื่อเป็นรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่สื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงการดำเนินการด้านกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสมและผู้ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพภายในชุมชน</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/260329 ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของนิสิตปริญญาตรี ในรายวิชาฉลาดบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2022-12-18T19:17:14+07:00 สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล [email protected] อิสรา จุมมาลี [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนิสิตในรายวิชาฉลาดบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong>การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้เก็บข้อมูลกับนิสิต จำนวน 166 คน โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ Spearman rank-order correlation coefficient เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคฯ <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนิสิตหญิง (ร้อยละ 57.8) อายุเฉลี่ย 19.59±1.07 ปี <em>มีคะแนน</em>ความรอบรู้ด้านสุขภาพเฉลี่ย 71.95±12.24 (เต็ม 88 คะแนน) <em>และคะแนน</em>พฤติกรรมการป้องกันโรคฯ เฉลี่ย 27.31±3.91 (เต็ม 33 คะแนน) ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันโรคฯ <em>อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ </em>(r<sub>s</sub> = 0.345, P&lt;0.001) <em> </em><em><strong>สรุป</strong></em><em>: การสร้างเสริมให้นิสิตมี</em>พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่าง<em>เหมาะสมนั้น ควรทำโดยพัฒนานิสิตให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านกิจกรรมหรือสื่อช่องทางต่าง ๆ </em></p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/260447 การประเมินโครงการ NCD Delivery โรงพยาบาลพานในมุมมองของผู้ให้บริการ 2022-12-22T15:05:11+07:00 วราภรณ์ โชติธนานุรักษ์ [email protected] อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อประเมินความคิดเห็นในมุมมองของผู้ให้บริการที่มีต่อโครงการ NCD delivery โรงพยาบาลพานตามกรอบแนวคิดของ CIPP<sub>IEST</sub> Model <strong>วิธีการ</strong><strong>: </strong>โครงการ NCD delivery หรือโครงการของโรงพยาบาลพานที่ส่งยาให้กับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึงบ้านเป็นรายบุคคล โดยนำส่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อประสานต่อให้อาสาสมัครทางสาธารณสุขประจำพื้นที่จัดส่งยาไปให้ผู้ป่วยแต่ละคนตามบ้าน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยการศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามชนิดที่ตอบด้วยตนเองในผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพาน 58 คน ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 41 คน ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพาน 16 คน ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 7 คน และอาสาสมัครสาธารณสุข 7 คน ข้อมูลที่เก็บ คือ ความคิดเห็นที่มีต่อโครงการตามกรอบแนวคิด CIPP<sub>IEST</sub> Model ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงความรู้ <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>ผลการสำรวจด้วยแบบสอบถามพบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านประสิทธิผลมีค่าสูงที่สุด (3.92<u>+</u>0.79 จากคะแนนเต็ม 5) ซึ่งสอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์เชิงลึกที่กล่าวว่าเป็นโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้รับบริการ และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างดีเยี่ยม ในขณะที่ความเหมาะสมด้านกระบวนการมีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด (3.31<u>+</u>0.84 จากคะแนนเต็ม 5) ซึ่งสอดคล้องกับการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งพบว่า ควรปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานให้รัดกุมและชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ปัญหาหลักในด้านกระบวนการปฏิบัติงานคือผู้ป่วยไม่ได้รับยา จึงควรมีการถอดบทเรียนเพื่อเรียนรู้ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>ผู้ให้บริการเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า NCD delivery เป็นโครงการที่เกิดประโยชน์สูงสุดและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างดีเยี่ยม แต่ต้องปรับปรุงโดยเฉพาะด้านกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/260450 การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่เหมาะสมในร้านชำภายในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 2022-12-26T09:52:23+07:00 เพิ่มพรรณ์ ธนะภาส [email protected] อรวรรณ บุญเรือง [email protected] อนันต์ ยอดสวัสดิ์ [email protected] วิทัศนีย์ พวงแก้ว [email protected] อัจฉรียา ฟองศรี [email protected] ชัญญาภัค สิริธันธน [email protected] ปาริชาติ สุขมาก [email protected] มาริสา เพชรกระ [email protected] อำพรพันธุ์ จันทกูล [email protected] นคร กาเหย็ม [email protected] สริดา อับดุลกะเดช [email protected] ฮาบีบ๊ะห์ บิลหมาด [email protected] ณัฐธิดา คงขำ [email protected] อภิรัฐ มาราสา [email protected] รุสนา เต๊ะหมาน [email protected] รีต้า เจะหมีน [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการจัดการปัญหาการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในร้านชำภายในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา <strong>วิธีการ</strong><strong>: </strong>การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนาที่จัดการปัญหาการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในร้านชำ 53 ร้านในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยนำรูปแบบการจัดการปัญหาที่ชื่อว่า PERMMPAN GROCERY MODEL 1.1 มาทดลองใช้ในหนึ่งหมู่บ้านที่มีร้านชำทั้งหมดสามร้าน แล้วนำไปขยายผลในพื้นที่ใหญ่ขึ้นครอบคลุมทั้งอำเภอรัตภูมิใน 11 หมู่บ้านซึ่งมีร้านชำทั้งหมด 50 ร้าน PERMMPAN GROCERY MODEL 1.1 มีองค์ประกอบหลักได้แก่ P (Participation) หรือความร่วมมือกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง E (Evaluation) หรือการประเมินมาตรฐานร้านชำ R (Recommendation) หรือการให้ข้อเสนอแนะในประเด็นที่สำคัญ M (Motivation) หรือ การกระตุ้น M (MOU) หรือการทำข้อตกลงความร่วมมือ P (Practice) หรือการฝึกตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ A (Ability) หรือการพัฒนาศักยภาพ และ N (Network) หรือการมีเครือข่ายเฝ้าระวัง การประเมินผลทำในช่วงก่อนและหลังการแทรกแซง 1 เดือนโดยการวัดความรู้และการปฏิบัติเรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพของผู้ประกอบการร้านชำโดยใช้แบบสอบถาม การประเมินตามเกณฑ์ร้านชำติดดาว และชุมชนปลอดยาอันตราย <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> หลังใช้รูปแบบการจัดการปัญหาพบว่า ความรู้เรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำโดยรวมของผู้ประกอบการร้านชำเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 9.94±2.94 ในช่วงก่อนการวิจัยเป็น 12.82±2.78 (จากคะแนนเต็ม 16) ในช่วงหลังการจัดการฯ (P&lt;0.001) หากพิจารณาความรู้รายด้าน พบว่า ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้เรื่องการดูฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพเพิ่มขึ้นจาก 3.96±1.42 เป็น 5.04±1.21 (จากคะแนนเต็ม 6, P&lt;0.001) ความรู้เฉลี่ยเรื่องการดูวันที่ผลิตวันที่หมดอายุเพิ่มขึ้นจาก 0.86±0.76 เป็น 1.78±1.15 (จากคะแนนเต็ม 3, P&lt;0.001) ความรู้เฉลี่ยเรื่องกฎหมายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำเพิ่มขึ้นจาก 2.78±1.08 เป็น 3.32±0.91 (จากคะแนนเต็ม 4, P&lt;0.001) ความรู้เฉลี่ยเรื่องการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นจาก 2.34±0.63 เป็น 2.68±0.51 (จากคะแนนเต็ม 3, P&lt;0.001) การปฏิบัติเรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำโดยรวมของผู้ประกอบการร้านชำเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 5.4±2.78 ในช่วงก่อนการวิจัยเป็น 8.52±1.93 ในช่วงหลังการจัดการปัญหาฯ (จากคะแนนเต็ม 10, P&lt;0.001) หากพิจารณาการปฏิบัติรายด้านพบว่า ผู้ประกอบการร้านชำมีการปฏิบัติเฉลี่ยเรื่องการดูฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพเพิ่มขึ้นจาก 2.32±1.72 เป็น 3.90±1.42 (จากคะแนนเต็ม 5, P&lt;0.001) การปฏิบัติเรื่องการดูวันที่ผลิตวันที่หมดอายุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 72 เป็นร้อยละ 86 (P=0.07) การปฏิบัติเฉลี่ยเรื่องกฎหมายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำเพิ่มขึ้นจาก 1.74±0.96 เป็น 2.86±0.45 (จากคะแนนเต็ม 3, P&lt;0.001) การปฏิบัติเรื่องการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 62 เป็นร้อยละ 90 (P&lt;0.001) ร้านชำทั้งหมด 50 ร้านผ่านมาตรฐานร้านชำติดดาวเพิ่มขึ้นจาก 0 ร้าน เป็น 50 ร้านในช่วงหลังการจัดการฯ โดยผ่านมาตรฐานร้านชำติดดาวระดับ 3 ดาว, 4 ดาว และ 5 ดาว จำนวน 9, 20 และ 21 ร้าน ตามลำดับ ชุมชนผ่านเกณฑ์ร้านชำปลอดยาอันตรายเพิ่มขึ้นจาก 0 ชุมชน เป็น 11 ชุมชน สรุป: PERMMPAN GROCERY MODEL1.1 ทำให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้และมีการปฏิบัติเรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำดีขึ้น ร้านชำและชุมชนเป็นสถานที่ซึ่งมีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/260634 การพัฒนาและการประเมินระบบโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อช่วยในการอ่านฉลากยาสำหรับผู้สูงอายุ 2022-12-30T09:41:41+07:00 ณัฐกรณ์ ศรีบุรมย์ [email protected] วีรยุทธ์ เลิศนที [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์มือถือเพื่อช่วยในการอ่านฉลากยาสำหรับสูงอายุ และประเมินการใช้งานระบบ <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) การวิจัยพัฒนาระบบโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งประกอบด้วย 1.1) การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน 1.2) การออกแบบที่เชื่อมประสานระหว่างผู้ใช้งานกับระบบหรือผลิตภัณฑ์ 1.3) การออกแบบเชิงเทคนิค และ 2) การประเมินผล 2.1) การทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศทางสุขภาพจำนวน 5 ท่าน 2.2) การทดสอบโดยอาสาสมัครผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน เพื่อประเมินด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความพึงพอใจการใช้ระบบ <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> การศึกษานี้ใช้ระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลในการพัฒนาฉลากยาที่สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์มือถือ ระบบโปรแกรมประยุกต์อ่านฉลากยาออกเสียงสามารถใช้งานได้ตามที่กำหนดไว้ และผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศทางสุขภาพทั้ง 5 ท่าน ผลการประเมินการใช้งานโดยอาสาสมัครพบประสิทธิภาพแลประสิทธิผลในร้อยละ 85 (17 คนจาก 20 คน) จึงผ่านเกณฑ์การประเมิน ระยะเวลาใช้งานตั้งแต่เปิดโทรศัพท์จนถึงกดปุ่มสแกนเฉลี่ย คือ 4.09±3.21 วินาที และใช้ระยะเวลาตั้งแต่กดปุ่มสแกนจนถึงสแกน QR code สำเร็จ เฉลี่ย 3.56±3.61 วินาที ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 4.00 จากคะแนนเต็ม 5) ทั้งในด้านลักษณะของฉลากยา ความสะดวกในการใช้งาน และประโยชน์ที่ได้รับ <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ฉลากยาที่พัฒนาขึ้นสามารถสั่งพิมพ์จากระบบสารสนเทศโรงพยาบาลได้อัตโนมัติและสามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์มือถือที่พัฒนาขึ้นได้ โดยผู้สูงอายุสามารถใช้งานโปรแกรมประยุกต์เพื่อทบทวนความเข้าใจวิธีการรับประทานยาได้อย่างถูกต้องตรงตามฉลากยา</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/260829 ผลลัพธ์ทางสุขภาพของการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง: การศึกษาเวชปฏิบัติในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง 2022-12-30T08:37:07+07:00 อาทิตยา สินสุริยศักดิ์ [email protected] วรภัทร เชิงปัญญา [email protected] รัตนาภรณ์ รักชาติ [email protected] จาตุรันต์ เสียงดี [email protected] นภเกตน์ สิงห์คำ [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษาเบื้องต้นครั้งนี้เก็บข้อมูลย้อนหลังจากบันทึกทางการแพทย์ของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ ณ คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2563 ถึง 30 เมษายน พ.ศ.2565 ผลลัพธ์ที่ศึกษา ได้แก่ ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองซึ่งประเมินด้วย Palliative Performance Scale (PPS) ความรุนแรงรายอาการซึ่งประเมินด้วย Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) และคุณภาพชีวิตซึ่งประเมินด้วยแบบสอบถาม EQ-5D-5L โดยประเมินก่อน (สัปดาห์ที่ 0) และหลังการใช้สารสกัดกัญชา (สัปดาห์ที่ 4) <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยจำนวน 20 ราย อายุเฉลี่ย 60.95 ± 8.53 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 60 มีการใช้สารสกัดกัญชา 3 สูตร ได้แก่ THC:CBD (1:1) 9 ราย THC เด่น 13 mg/ml 9 ราย และ THC เด่น 17 mg/ml 2 ราย หลังใช้ในสัปดาห์ที่ 4 พบว่า ผู้ป่วยมีค่ามัธยฐานของคะแนนคุณภาพชีวิต (พิสัยของควอไทล์) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 0.76 (0.45, 0.89) เป็น 0.79 (0.61, 0.92) (P=0.017) และค่ามัธยฐานของอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 4 (2, 5.5) เป็น 2 (2, 3) (P=0.01) เมื่อวิเคราะห์แยกตามสูตรยาที่ตัวอย่างได้รับพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับสูตร THC:CBD (1:1) มีค่ามัธยฐานของคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 0.74 (0.64, 0.87) เป็น 0.86 (0.74, 0.91) (P=0.011) และมีค่ามัธยฐานของอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 4 (2, 6) เป็น 2 (1, 3) (P=0.012) การศึกษานี้พบผลข้างเคียงในผู้ป่วย 4 ราย อาการที่พบบ่อยคือ ปากแห้งคอแห้ง (ร้อยละ 10) และง่วงซึม (ร้อยละ 10) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การใช้สารสกัดกัญชามีผลลดอาการปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง ผลข้างเคียงที่พบไม่รุนแรง ได้แก่ ปากแห้งคอแห้ง และง่วงซึม</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/260838 การปรับตัวของเภสัชกรต่อการนำหุ่นยนต์ทางเภสัชกรรม มาใช้ในโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2023-01-05T16:47:57+07:00 วนิดา ขนาดนิด [email protected] รัตนาภรณ์ อาวิพันธ์ [email protected] เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์ [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: 1) เพื่อศึกษาการปรับตัวของเภสัชกรโรงพยาบาลต่อการใช้หุ่นยนต์ทางเภสัชกรรม และปัจจัยทำนายการปรับตัว และ 2) เพื่อศึกษาความเชื่อและทัศนคติของเภสัชกรโรงพยาบาลต่อการใช้หุ่นยนต์ในกลุ่มที่ยังไม่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ และปัจจัยทำนายความเชื่อและทัศนคติต่อการใช้หุ่นยนต์ <strong>วิธีการ</strong>: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ผู้เข้าร่วมการศึกษา คือ เภสัชกรโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 115 แห่งที่มีประสบการณ์และไม่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ให้เลือกตอบตามประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ ประกอบด้วยคำถาม 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ประเภทหุ่นยนต์ ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สมรรถนะทางวิชาชีพเภสัชกรรม การปรับตัว และความเชื่อและทัศนคติต่อการใช้หุ่นยนต์ แบบสอบถามพัฒนาจากแนวคิดของRoy ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และทดสอบความเที่ยง แบบสอบถามถูกส่งไปยังโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่งทั่วประเทศ <strong>ผลการวิจัย</strong>: ผู้ร่วมการวิจัยตอบแบบสอบถาม 283 ราย (อัตราการตอบกลับร้อยละ 49.22) กลุ่มที่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ 59 คน คะแนนเฉลี่ยการปรับตัวอยู่ในระดับปานกลาง (3.61±0.39 จากคะแนนเต็ม 5) ส่วนใหญ่ใช้หุ่นยนต์เครื่องนับเม็ดยา (ร้อยละ 60.3) และใช้ในงานห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน (ร้อยละ 55.2) กลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ 224 คน คะแนนเฉลี่ยเรื่องความเชื่อและทัศนคติต่อการใช้หุ่นยนต์อยู่ในระดับดีมาก (3.72 ± 0.38 จากคะแนนเต็ม 5) ร้อยละ 69.4 คาดว่าจะมีการนำหุ่นยนต์เครื่องนับเม็ดยามาใช้ และร้อยละ 64.2 จะนำหุ่นยนต์ไปใช้ในห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถทำนายการปรับตัวของกลุ่มที่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ (b=0.446, P&lt;0.05) และสามารถทำนายความเชื่อและทัศนคติต่อการนำหุ่นยนต์มาใช้ในกลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์ใช้หุ่นยนต์ (b=0.235, P&lt;0.05) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <strong>สรุป</strong>: ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถทำนายการปรับตัว ความเชื่อและทัศนคติต่อการใช้หุ่นยนต์ทางเภสัชกรรมของเภสัชกรโรงพยาบาล หากเภสัชกรได้รับการพัฒนาทักษะดังกล่าวอย่างเพียงพอ เภสัชกรจะสามารถปรับตัวได้ดีและมีความพร้อมและสามารถใช้หุ่นยนต์ในการพัฒนางานเภสัชกรรมได้ดี</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/260907 การสำรวจความคิดเห็นต่อระบบมาตรฐานการจัดการขนส่งสำหรับ โลจิสติกส์โซ่ความเย็นผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ในประเทศไทย 2023-02-10T08:41:09+07:00 มธุกร สายนาคำ [email protected] ชีวาพร ไชยพันธ์ [email protected] ขวัญฤทัย ศรีวงษ์ [email protected] อาทิตย์ อภิโชติธนกุล [email protected] จิราวรรณ เนียมสกุล [email protected] กสิณ รังสิกรรพุม [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อมาตรฐานการจัดการและแนวทางปฏิบัติสำหรับการขนส่ง การจัดเก็บ และการจัดเรียงสินค้าในกระบวนการโลจิสติกส์ ตลอดทั้งห่วงโซ่ความเย็นในประเทศไทยในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ <strong>วิธีการ: </strong>ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานจัดเก็บ ขนส่ง และกระจายยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ของประเทศไทยและจากต่างประเทศ และนำหัวข้อสำคัญจากมาตรฐานต่าง ๆ มาพัฒนาเป็นแบบสอบถามเพื่อรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบมาตรฐานฯ ดังกล่าวในประเทศไทย การศึกษาส่งแบบสอบถามในรูปเอกสารไปยังตัวอย่างจำนวน 332 คน ได้แก่ ผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์ ผู้รวบรวมและกระจายยา ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้แทนยา พนักงานขายและร้านขายยาค้าปลีก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และหน่วยงานในการกำกับดูแล <strong>ผลการวิจัย</strong>: ตัวอย่างร้อยละ 24.83 ไม่เคยรู้จักมาตรฐานเกี่ยวกับการจัดเก็บ ขนส่ง และกระจายผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ใดเลย ตัวอย่างในกลุ่มผู้ผลิตทั้งหมดไม่เคยทราบเกี่ยวกับมาตรฐานดังกล่าว ความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับระบบมาตรฐานการจัดการขนส่งผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ในประเทศไทยในด้านบุคลากร ด้านระบบเอกสาร ด้านการขนส่ง ด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์ ด้านการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ยา และด้านข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการคืนผลิตภัณฑ์ยา ยาปลอม รวมถึงการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ยา มีค่าเฉลี่ยในระดับสูง โดยมีพิสัยระหว่าง 4.52-4.83 (จากคะแนนเต็ม 5) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้เห็นแนวทางในการพัฒนาที่สำคัญ คือ การให้ความรู้เพิ่มเติม และเผยแพร่แนวปฏิบัติแต่ผู้ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังทำให้ทราบประเด็นในระบบมาตรฐานฯ ที่แต่ละภาคส่วนให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ <strong>สรุป</strong>: ตัวอย่างเห็นด้วยมากกับทุกประเด็นต่อแนวทางของการขนส่ง การจัดเก็บ และการจัดเรียงยาและเวชภัณฑ์ในกระบวนการห่วงโซ่ความเย็นในประเทศไทย ทำให้สามารถนำมาตรฐานฯ ดังกล่าวมาพัฒนาในระดับนโยบายสำหรับวางระบบมาตรฐานการจัดการขนส่งสำหรับโลจิสติกส์โซ่ความเย็นผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้นต่อไป</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261001 การพัฒนาคลินิกเติมยาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลระนอง 2023-01-17T17:36:55+07:00 คัทลียา ธัญญประยูร [email protected] จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์ [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนาคลินิกเติมยาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลระนอง <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและ/หรือโรคเบาหวานที่ควบคุมความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดได้ และไม่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรงร่วม จำนวน 39 คน ผู้ป่วยได้รับการเติมยาและการบริบาลเภสัชกรรมโดยเภสัชกรจากคลินิกเติมยาจำนวน 2 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 3 เดือน (เดือนที่ 0 และ 3) ผลลัพธ์ทางคลินิกที่ศึกษา ได้แก่ ค่าความดันโลหิต ค่าน้ำตาลในเลือด (fasting blood sugar; FBS) และความร่วมมือในการใช้ยาที่วัดจากการนับเม็ดยาเหลือและแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยา MTB-Thai (Medication Taking Behavior measure for Thai patients) ซึ่งถูกประเมินจำนวน 3 ครั้ง ในเดือนที่ 0, 3 และ 6 หลังจากเข้าร่วมการวิจัย นอกจากนี้ยังวัด HbA1c 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และ 6 ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการรับบริการในคลินิกเติมยาและคลินิกอายุรกรรมประเมินในเดือนที่ 3 และ 6 และความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการบริการคลินิกเติมยาซึ่งประเมินหลังจากเปิดให้บริการ 1 สัปดาห์ <strong>ผลการวิจัย:</strong> ในการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกจำนวน 3 ครั้ง พบค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว/คลายตัว 136.41 ± 12.11 / 78.87 ± 9.39, 135.56 ± 13.50 / 79.18 ± 10.48 และ 134.38 ± 14.18 / 76.21 ± 8.14 mmHg ตามลำดับ (P=0.60 และ 0.11 สำหรับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว/คลายตัว ตามลำดับ) ค่าเฉลี่ย FBS เท่ากับ 130.50 ± 13.81, 132.69 ± 12.34 และ 132.25 ± 13.10 mg/dl ตามลำดับ (P=0.74) และ HbA1c เดือนที่ 0 และ 6 เท่ากับ 7.16 ± 0.62 และ 6.98 ± 0.50% ตามลำดับ (P=0.17) ผลลัพธ์หลักทางคลินิกทั้งหมดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโดยวิธีการนับเม็ดยาเหลือ จำนวน 3 ครั้ง มีค่าร้อยละ 84.29 ± 6.00, 89.55 ± 3.09 และ 91.35 ± 3.08 ตามลำดับ (P&lt;0.001) และจากแบบสอบถาม MTB-Thai (เต็ม 24) มีคะแนน 23.35 ± 0.90, 23.79 ± 0.52 และ 23.97 ± 0.16 ตามลำดับ (P&lt;0.001) โดยรวมความร่วมมือในการใช้ยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยที่คลินิกเติมยาน้อยกว่าคลินิกอายุรกรรม (43.84 ± 1.59 และ 107.59 ± 6.48 นาที ตามลำดับ; P&lt;0.001) ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้บริการของคลินิกเติมยามากกว่าคลินิกอายุรกรรมแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (4.00 ± 0.65 และ 4.69 ± 0.52 ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 5, P=0.64) ส่วนบุคลากรทางการแพทย์มีความพึงพอใจและต้องการให้มีคลินิกเติมยาคู่กับคลินิกอายุรกรรมต่อเนื่อง <strong>สรุป:</strong> การให้บริการในคลินิกเติมยาโดยเภสัชกรสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ มีผลลัพธ์ทางคลินิกไม่แตกต่างจากคลินิกอายุรกรรม แต่สามารถทำให้ความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261192 ความสมเหตุผลของการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ: กรณีโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น 2023-02-01T08:05:56+07:00 กานต์ ชัยทอง [email protected] ณัฐกานต์ นากรุงศรี [email protected] เชิดชัย สุนทรภาส [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อหาความชุกของการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีบาดแผลสดจากอุบัติเหตุประเมินการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะดังกล่าวตามแนวทางการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และความชุกของการติดเชื้อของบาดแผลหลังการรักษา <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษาแบบไปข้างหน้าครั้งนี้ทำในผู้ป่วยที่มารับการรักษาบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ ณ โรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2562 ถึง 31 พฤษภาคม 2563 การศึกษาเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยอิเล็กทรอนิกส์และการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ข้อมูลลักษณะบาดแผล ข้อมูลการรักษาด้วยยา และผลลัพธ์ทางคลินิกที่ 14 วันถัดมา ได้แก่ ผลการรักษาและการติดเชื้อของบาดแผล <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วย 360 รายเข้าร่วมการศึกษา พบการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยร้อยละ 37.5 ยาปฏิชีวนะที่ใช้มากที่สุดร้อยละ 63.7 คือ dicloxacillin ระยะเวลาของการใช้ยาเฉลี่ย 5.1 ± 1.6 วัน การสั่งใช้ยามีความสมเหตุผลร้อยละ 30.8 การใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม 249 ครั้ง ประกอบด้วยการไม่สั่งใช้ยาที่จำเป็น ระยะเวลาไม่เหมาะสม การสั่งใช้ยาโดยไม่จำเป็น และชนิดของยาไม่เหมาะสม ในผู้ป่วยร้อยละ 54.6, 27.7, 16.1 และ 1.6 ตามลำดับ การศึกษาพบแผลติดเชื้อในผู้ป่วยร้อยละ 1.67 <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ร้อยละของการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยบาดแผลสดจากอุบัติเหตุของโรงพยาบาลผ่านเกณฑ์การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบที่กำหนดไว้ที่น้อยกว่าร้อยละ 40 แต่การสั่งใช้ส่วนใหญ่ไม่สมเหตุผลและอัตราการเกิดแผลติดเชื้อต่ำ</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261165 การพัฒนาสื่อวิธีใช้ยาสูดพ่นสำหรับโรคหอบหืดและ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2023-02-03T12:09:42+07:00 ศรินรัตน์ โตบารมีกุล [email protected] สรวง รุ่งประกายพรรณ [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อพัฒนาสื่อให้ความรู้เรื่องยาสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อ และความพึงพอใจของผู้ใช้งาน <strong>วิธีการ</strong>: ผู้วิจัยพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมด้วย ADDIE Model ด้วยโปรแกรม Unity3D และ Vuforia Engine สื่อประกอบด้วยความรู้เรื่องยาสูดพ่นชนิด MDI 8 หัวข้อ ผู้ใช้สามารถสแกนกล่องยาสูดพ่นชนิด MDI ผ่านกล้องของสมาร์ทโฟนเพื่อเข้าถึงสื่อให้ความรู้ สื่อได้รับการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 4 คน การประเมินประสิทธิผลของสื่อทำโดยผู้วิจัยประเมินความถูกต้องของขั้นตอนการใช้ยาและความรู้เรื่องยาสูดพ่นชนิด MDI ของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย 2 กลุ่มที่แบ่งกลุ่มด้วยการสุ่มแยกกลุ่ม เป็นกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำเรื่องการใช้ยาสูดพ่นชนิด MDI ผ่านสื่อ และกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร การประเมินทำทันทีหลังการดูสื่อหรือได้รับคำแนะนำ ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยกลุ่มที่ได้ดูสื่อเป็นผู้ประเมินความพึงพอใจต่อสื่อ <strong>ผลการวิจัย</strong>: สื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 85 ส่วนในด้านประสิทธิผล กลุ่มที่ใช้สื่อมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจวิธีและขั้นตอนการพ่นยาสูดพ่นชนิด MDI 11.33±1.44 จากคะแนนเต็ม 13 คะแนน ซึ่งไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร (11.60±0.67) กลุ่มที่ใช้สื่อมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับยาสูดพ่นชนิด MDI 8.87±1.07 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร (8.30±1.06) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อสื่อเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.50±0.12 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) โดยมีความพึงพอใจสูงสุดด้านความรู้เรื่องการใช้ยาสูดพ่น (4.67±0.61) <strong>สรุป</strong>: สื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมสำหรับให้ความรู้เรื่องยาสูดพ่นชนิด MDI ที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้เป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการใช้งาน ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ในการสร้างสื่อให้ความรู้เรื่องยาและสุขภาพอื่นต่อไป</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261217 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่เภสัชกรมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิโดยใช้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเป็นฐาน 2023-02-07T07:56:33+07:00 ปุณฑริกา อัครภูมิผล [email protected] พรชนก ศรีมงคล [email protected] จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์ [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่เภสัชกรมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ<strong> วิธีการ:</strong> การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 คือการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ โดยรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งไทยและต่างประเทศ ตั้งแต่เริ่มมีฐานข้อมูลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 การศึกษาคัดเลือกงานวิจัยทุกประเภทที่มีการแทรกแซงในผู้ป่วยจิตเภทโดยเภสัชกร หรือรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่เภสัชกรมีส่วนร่วม และต้องรายงานผลลัพธ์เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม หรือก่อนให้การดูแล ระยะที่ 2 คือ การสนทนากลุ่มในบุคลากรที่เกี่ยวข้องในประเด็นปัญหาและอุปสรรคของการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในรูปแบบเดิม โดยผู้วิจัยนำเสนอรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีจากการศึกษาในระยะที่ 1 เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ร่วมกับการรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสนทนาในการแก้ไขปัญหาการดูแลผู้ป่วยจิตเภท และพัฒนาเป็นรูปแบบการดูแลจิตเภทของโรงพยาบาลเทพสถิต <strong>ผลการวิจัย:</strong> การศึกษาระยะแรกพบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวม 20 เรื่อง เป็นงานวิจัยแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trials: RCT) และที่ไม่ใช่ RCT อย่างละ 10 เรื่อง รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดี มีทั้งการแทรกแซงโดยเภสัชกร เช่น การบริบาลทางเภสัชกรรม การให้ความรู้โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ และการดูแลผู้ป่วยเป็นทีมสหวิชาชีพ ระยะที่ 2 พบว่า สิ่งที่สามารถนำไปปรับใช้กับโรงพยาบาล ได้แก่ 1) ผู้ป่วยรายใหม่ทุกรายควรได้รับการจัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วย 2) ในผู้ป่วยที่รับยาต่อเนื่องควรให้ความรู้ ควรเฝ้าระวังอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและปรับขนาดยาตามความเหมาะสม และ 3) ในผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ทีมสหวิชาชีพควรเข้าไปดูแลผู้ป่วยร่วมกับชุมชน <strong>สรุป:</strong> การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของโรงพยาบาลเทพสถิต โดยใช้การทบทวนทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ร่วมกับการสนทนากลุ่ม ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่ผลลัพธ์ของการดูแลยังต้องประเมินผลต่อไป</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261459 การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง บนหอผู้ป่วยอายุรกรรมของโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2023-02-01T18:59:46+07:00 อริยะ วัฒนชัยสิทธิ์ [email protected] รจเรศ นิธิไพจิตร [email protected] ปาริฉัตร เกิดจันทึก [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>พัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมของโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยจำนวน 300 รายที่มีการทำงานของไตบกพร่องจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2559 ถึง 30 ก.ย. 2560 ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาคู่มือการปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง และการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรม ระยะที่ 3 เป็นการดำเนินการบริบาลทางเภสัชกรรมเต็มรูปแบบในผู้ป่วย 40 ราย<strong> ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ระยะที่ 1 พบปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา 254 ปัญหา ได้แก่ 1) ได้รับยารับยาที่ถูกต้อง แต่ขนาดมากเกินไป 77 ปัญหา 2) เกิดอันตรกิริยาระหว่างยา 75 ปัญหา 3) ไม่ได้รับยาที่ควรจะได้ 56 ปัญหา 4) ได้รับยาที่ไม่เหมาะสม 34 ปัญหา 5) เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 7 ปัญหา และ 6) ได้รับยาที่ถูกต้องแต่ขนาดน้อยเกินไป 5 ปัญหา การศึกษาในระยะที่ 2 ทำให้ได้คู่มือการปรับขนาดยาตามการทำงานไต และรูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมอย่างเต็มระบบบนหอผู้ป่วย ระยะที่ 3 พบปัญหาที่เกี่ยวกับยาทั้งหมด 42 ปัญหา จำแนกได้ดังนี้ 1) เกิดอันตรกิริยาระหว่างยา 16 ปัญหา 2) ได้รับยาที่ถูกต้องแต่ขนาดมากเกินไป 10 ปัญหา 3) ไม่ได้รับยาที่ควรจะได้ 5 ปัญหา 4) ไม่ได้รับยาตามแพทย์สั่ง 5 ปัญหา 5) ได้รับยาที่ไม่เหมาะสม 3 ปัญหา 6) เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 3 ปัญหา โดยทั้ง 42 ปัญหาได้รับการแก้ไขและติดตามโดยเภสัชกรตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล แพทย์หรือผู้ป่วยให้การยอมรับและปฏิบัติตามที่เภสัชกรแนะนำ คิดเป็นร้อยละ 61.90 ของคำแนะนำ แพทย์หรือผู้ป่วยให้การยอมรับแต่ปรับเปลี่ยนบางส่วนทำให้ปัญหาลดลง ร้อยละ 38.10 ของคำแนะนำ <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยเภสัชกร ส่งผลให้สามารถตรวจพบและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับยาได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ปลอดภัย และได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261487 การสำรวจสถานการณ์การปฏิบัติงานให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ ของบัณฑิตจากคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย 2023-02-14T11:37:25+07:00 เสถียร พูลผล [email protected] อดิณัฐ อำนวยพรเลิศ [email protected] ภัณฑิรา ปริญญารักษ์ [email protected] กรแก้ว จันทภาษา [email protected] กิติยศ ยศสมบัติ [email protected] ชวนชม ธนานิธิศักดิ์ [email protected] ทวีศักดิ์ มณีโรจน์ [email protected] ธิดารัตน์ มานะพัฒนเสถียร [email protected] ประสิทธิชัย พูลผล [email protected] ปวันรัตน์ ปัณณทัตพิทยุตม์ [email protected] วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์ [email protected] ศิราณี ยงประเดิม [email protected] สุชาดา สูรพันธุ์ [email protected] สุพรรณิการ์ พรวัฒนกวี [email protected] ภาณุมาศ ภูมาศ [email protected] ขัตติยะ มั่งคั่ง [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อสำรวจการให้บริการเลิกบุหรี่และหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้บริการเลิกบุหรี่ของบัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย <strong>วิธีการ:</strong> งานวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ เก็บข้อมูลจากบัณฑิตของคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย 19 แห่งที่จบการศึกษาในปีการศึกษา 2561 - 2563 จำนวน 358 คน การศึกษาเลือกตัวอย่างแบบตามความสะดวก การศึกษาเก็บข้อมูลในช่วง เม.ย.-พ.ค. 2565 ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 67.6) อายุเฉลี่ย 26.15 ± 1.73 ปี สำเร็จการศึกษาสาขาการบริบาลทางเภสัชกรรมร้อยละ 76.5 จบในปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 60.9 มีใบประกอบวิชาชีพร้อยละ 95.5 เป็นเภสัชกรโรงพยาบาลร้อยละ 41.9 และมีประสบการณ์การทำงาน 1-1.9 ปี (ร้อยละ 42.2) ส่วนใหญ่เคยเรียนเกี่ยวกับบุหรี่ (ร้อยละ 77.7) โดยเรียนเฉลี่ย 9.25 ± 7.29 ชั่วโมง และเคยให้บริการเลิกบุหรี่ระหว่างเรียนร้อยละ 60.9 หรือเฉลี่ย 3.14 ± 3.90 รายต่อปี หลังจบการศึกษาส่วนใหญ่ไม่เคยให้บริการเลิกบุหรี่ ไม่เคยอบรมเพิ่มเติม และไม่เคยเข้าร่วมโครงการที่ช่วยเลิกบุหรี่ (ร้อยละ 64.8, 84.6, และ 90.8 ตามลำดับ) ปัจจัยเอื้อที่ส่งผลต่อการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่มากที่สุดคือ ความสุขในการปฏิบัติงาน รองลงมาคือการที่ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญ การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และการวางระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (คะแนนเฉลี่ย 3.84±1.06, 3.74±1.13 และ 3.69±1.09 ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 5) ประสบการณ์ในการทำงาน การฝึกอบรมเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่หลังจบการศึกษาและการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ขณะกำลังศึกษา มีความสัมพันธ์กับการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> บทบาทการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ของเภสัชกรนั้นควรได้รับการเน้นย้ำถึงความสำคัญตั้งแต่การเรียนการสอนในคณะและการฝึกอบรมเพิ่มเติมหลังจบการศึกษา การที่หน่วยงานของเภสัชกรมีนโยบายและแผนการทำงานที่ชัดเจน และสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีเป็นปัจจัยเอื้อที่ทำให้เภสัชกรให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ให้กับประชาชน</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261717 ประสิทธิผลของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อคุณภาพชีวิตและปัญหาจากการใช้ยาใน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไตเรื้อรัง 2023-03-02T17:00:25+07:00 สุนันท์ชนก น้ำใจดี [email protected] อัมพรพรรณ ธีรานุตร [email protected] นันทวรรณ ภู่เนาวรัตน์ [email protected] อนุสรา นามสง่า [email protected] สุดาพร ไทยเทวรักษ์ [email protected] ดวงใจ อดิศักดิ์สดใส [email protected] ศุภลักษณ์ วงษ์มา [email protected] นวลอนงค์ สุดจอม [email protected] สุณี เลิศสินอุดม [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตและปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจากคลินิกโรคไตเรื้อรังโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยมีเภสัชกรให้คำแนะนำเรื่องยาและการดูแลตนเองเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรค ตลอดจนค้นหาปัญหาจากการใช้ยา <strong>วิธีการ:</strong> การศึกษาส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้าเพื่อรวบรวมปัญหาจากการใช้ยาและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตก่อนเข้ารับการดูแลจากคลินิกโรคไตเรื้อรัง การศึกษาส่วนที่สองเป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคไตเรื้อรังโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ตัวแปรหลักที่ใช้ในการศึกษา คือ ปัญหาจากการใช้ยาและคุณภาพชีวิตซึ่งวัดโดยแบบประเมิน EQ-5D-5L <strong>ผลการวิจัย:</strong> ตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จำนวน 234 คน อายุเฉลี่ย 64.53±10.12 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง พบปัญหาจากการใช้ยาทั้งสิ้น 134 ปัญหาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-2 ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ ผู้ป่วยใช้/รับประทานยาน้อยกว่าแพทย์สั่งหรือไม่ได้รับประทานยา (ร้อยละ 77.61) การศึกษาแก้ไขปัญหาที่ตัวผู้ป่วยหรือผู้ดูแลโดยการให้คำปรึกษาด้านยาเป็นหลัก ส่วนใหญ่คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาได้รับการยอมรับและดำเนินการตามทั้งหมด ผลลัพธ์ของการจัดการปัญหา คือ ปัญหาส่วนใหญ่ได้รับการแก้ไข ค่าเฉลี่ยคะแนนอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนเข้าร่วมการศึกษาเท่ากับ 0.9526±0.0617 ในเวลา 3 เดือน ผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 3a-3b และ 4-5 มีค่าอรรถประโยชน์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.044 และ &lt;0.001 ตามลำดับ) และที่ 6 เดือน ผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 4-5 ที่มีค่าอรรถประโยชน์ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.005) <strong>สรุป: </strong>การให้คำแนะนำดูแลผู้ป่วยโรคไตโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในคลินิกโรคไตเรื้อรังสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการใช้ยาและสามารถเพิ่มคะแนนอรรถประโยชน์ในผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 3-5 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262086 ความเหนื่อยล้าในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย 2023-03-02T16:41:51+07:00 เบญจลักษณ์ ศรีดี [email protected] หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษา 1) ระดับความเหนื่อยล้าในการทำงานและระดับความผูกพันต่อองค์กรของเภสัชกรในโรงพยาบาลเอกชน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเหนื่อยล้าในการทำงานและระดับความผูกพันต่อองค์กรของเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชน <strong>วิธีการ</strong><strong>: </strong>รูปแบบงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ เภสัชกรโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 690 คน การศึกษาเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์และออนไลน์ การวัดระดับความเหนื่อยล้าในการทำงานโดยใช้แบบวัด MBI-Human Services Survey ตามแนวคิดของ Maslach และ Jackson และวัดระดับความผูกพันต่อองค์กรโดยใช้แบบวัดตามแนวคิดของ Allen และ Meyer <strong>ผลการวิจัย: </strong>กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ เท่ากับ 19.83±11.09 การลดค่าความเป็นบุคคล เท่ากับ 3.80±4.51 และการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคล เท่ากับ 12.15±6.76 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ คือ สถานภาพสมรส โรคประจำตัว ขนาดโรงพยาบาล และการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน (R<sup>2 </sup>= 0.30) ปัจจัยที่มีผลต่อความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านการลดค่าความเป็นบุคคล คือ อายุและการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน (R<sup>2 </sup>= 0.26) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านการลดค่าความสำเร็จส่วนบุคคล คือ จำนวนผู้ป่วยใน และการรับรู้ต่อระบบบริหาร (R<sup>2 </sup>= 0.24) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ เท่ากับ 3.50±0.61 ด้านการคงอยู่ เท่ากับ 3.29±0.45 และด้านบรรทัดฐาน เท่ากับ 3.26±0.60 ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ คือ เพศ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน และการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน (R<sup>2 </sup>= 0.32) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านการคงอยู่ คือ อายุ ระดับการศึกษา ภาระครอบครัว การรับรู้ลักษณะงานที่รับผิดชอบ และการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน (R<sup>2 </sup>= 0.21) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรด้านบรรทัดฐาน คือ อายุ ขนาดโรงพยาบาล การรับรู้ลักษณะงานที่รับผิดชอบ และการรับรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในงาน (R<sup>2 </sup>= 0.20) <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>เภสัชกรโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่มีความเหนื่อยล้าโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ และมีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อทั้งความเหนื่อยล้าในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชน การลดหรือจัดการกับปัจจัยอย่างเหมาะสมจะนำไปสู่การลดความเหนื่อยล้าในการทำงานและเพิ่มความผูกพันต่อองค์กร</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262552 การพัฒนาและการประเมินแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร อย่างสมดุลสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชาวกัมพูชา 2023-04-07T06:46:36+07:00 เซยลา เฮียง [email protected] ทิพาพร กาญจนราช [email protected] ไพบูลย์ ดาวสดใส [email protected] ดุจฤดี ชินวงศ์ [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนาและประเมินแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอย่างสมดุล (the Knowledge Test on Balanced Diet Consumption: KTBDC) สำหรับนักศึกษาชาวกัมพูชาที่สร้างขึ้นจากคำแนะนำการการบริโภคอาหารอย่างสมดุลขององค์การอนามัยโลก <strong>วิธีการ:</strong> ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบวัดความรู้จากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างนักศึกษากัมพูชาแบบซึ่งหน้า แบบวัด KTBDC ที่พัฒนาขึ้นมีคำถามจำนวน 25 ข้อ ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมในประเด็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคำแนะนำในการบริโภคอาหารอย่างสมดุล การเปรียบเทียบแคลอรี่ และการประมาณปริมาณของคาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไฟเบอร์ในอาหาร คำตอบของคำถามแต่ละข้อเป็นแบบ 3 ตัวเลือก คือ “ใช่” “ไม่ใช่” และ “ไม่ทราบ” คำถามแต่ละข้อได้รับการประเมินความตรงเชิงประจักษ์ และความตรงตามเชิงเนื้อหาด้วยดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (item objective congruence index: IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน หลังจากนั้น นักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในกัมพูชาจำนวน 95 คนตอบแบบสอบถาม KTBDC การศึกษาคำนวณดัชนีความยาก (P<sub>i</sub>) และดัชนีอำนาจการจำแนก (D<sub>i</sub>) ของข้อคำถามรายข้อ และคำนวณดัชนีความยากและดัชนีอำนาจการจำแนกของภาพรวมของแบบวัด KTBDC จากค่าเฉลี่ยดัชนีความยากรายข้อ () และค่าเฉลี่ยดัชนีอำนาจการจำแนก () ตามลำดับ ความเที่ยงของแบบวัดความรู้ประเมินโดยค่า Kuder-Richardson 20 (KR-20) <strong>ผลการวิจัย</strong>: กลุ่มตัวอย่าง 50 ราย (ร้อยละ 52.6) เป็นเพศหญิง ค่าเฉลี่ยอายุของตัวอย่างเท่ากับ 22.3±1.9 (พิสัย:18-27) ปี ข้อคำถามทั้ง 25 ข้อมีค่า IOC &gt; 0.5 ดัชนีความยากโดยรวมของแบบวัด KTBDC อยู่ในระดับปานกลาง (: 0.49) และดัชนีอำนาจจำแนกโดยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ( &gt;0.67) ความเที่ยงเท่ากับ 0.92 <strong>สรุป</strong>: แบบวัด KTBDC มีความตรงตามวัตถุประสงค์ของการประเมินและความสม่ำเสมอของคำถามในแบบวัดอยู่ในระดับที่สูง ซึ่งบ่งชี้ว่า แบบวัดมีความตรงและความเที่ยงในการประเมินความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอย่างสมดุลในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยชาวกัมพูชา การศึกษาในอนาคตควรเน้นในเรื่องความสามารถขยายผลเพื่อนำแบบวัดไปใช้ในปะชากรกลุ่มอื่นและบริบทอื่น เพื่อให้มั่นใจว่า แบบวัดสามารถประยุกต์ใช้ได้ในวงกว้าง</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262250 ประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาต้านเชื้อราสำหรับป้องกันเชื้อราแคนดิดาในช่องปากและลำคอในผู้ป่วยเอชไอวี : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย 2023-04-02T11:53:50+07:00 นุจริน รัตนแสง [email protected] ภาณุมาศ ภูมาศ [email protected] ณัฐวัฒน์ ตีระวัฒนพงษ์ [email protected] ราตรี สว่างจิตร [email protected] <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาต้านเชื้อราในการป้องกันการติดเชื้อราแคนดิดาในช่องปากและลำคอของผู้ป่วยเอชไอวี <strong>วิธีการ:</strong> สืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ PubMed, EMBASE, CENTRAL, Web of Science, Scopus, ProQuest, ClinicalTrials.gov และThai Library Integrated System (Thai LIS) จนถึง 31 ธันวาคม 2565 โดยคัดเลือกงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่ศึกษาประสิทธิผลและ/หรือความปลอดภัยของการใช้ยาต้านเชื้อราทุกรูปแบบเพื่อป้องกันเชื้อราแคนดิดาในช่องปากหรือลำคอในผู้ป่วยเอชไอวีเข้าการศึกษา ผลลัพธ์หลัก คือ การป้องกันการติดเชื้อราแคนดิดาในช่องปากและลำคอครั้งแรกและการติดเชื้อซ้ำ ผู้วิจัยรวมขนาดผลลัพธ์ด้วยการวิเคราะห์อภิมานเครือข่ายตามหลัก frequentist framework โดยใช้การวิเคราะห์แบบสุ่ม และประมาณค่า Surface Under the Cumulative Ranking (SUCRA) โดยใช้สถิติแบบ Bayesian เพื่อจัดลำดับประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาต้านเชื้อราแต่ละชนิด <strong>ผลการวิจัย:</strong> มีงานวิจัย 15 ฉบับที่ศึกษาในผู้ป่วยเอชไอวี 3,597 รายอายุระหว่าง 18 – 70 ปี ถูกคัดเข้าการศึกษา ในทุกการศึกษา ผู้ป่วยมีค่า CD4 เฉลี่ยน้อยกว่า 200 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ส่วนมากศึกษาผลของยาต้านเชื้อราแบบรับประทานเทียบกับยาหลอก ระยะเวลาการให้ยาและติดตามผลอยู่ในช่วง 4-176 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย พบว่า การให้ยาต้านเชื้อราไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อราแคนดิดาครั้งแรกทั้งในช่องปากและในลำคอ แต่การใช้ยาฟลูโคนาโซลทั้งแบบรายวันและรายสัปดาห์ และยาไอทราโคนาโซลแบบรายวัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อราแคนดิดาซ้ำในช่องปากได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR=0.27, 95%Cl 0.16-0.44; RR=0.65, 95%Cl 0.47-0.90; RR =0.43, 95%Cl 0.25-0.75 ตามลำดับ) และการได้รับฟลูโคนาโซลทั้งสองรูปแบบนี้ ยังสามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำในลำคอได้ร้อยละ 83 และ 79 ตามลำดับเมื่อเทียบกับยาอมคลอไตรมาโซล รายงาน AEs ที่พบบ่อย ได้แก่ อาการในระบบทางเดินอาหาร และการเกิดผื่น <strong>สรุป:</strong> ยาต้านเชื้อราไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อราแคนดิดาครั้งแรกในช่องปากและลำคอของผู้ป่วยเอชไอวี แต่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อนี้ซ้ำ โดยยาที่มีประสิทธิผลดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อราแคนดิดาซ้ำในช่องปากและลำคอในผู้ป่วยเอดส์ คือ ยาฟลูโคนาโซลแบบรายวัน</p> 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262133 ปกและสารบัญ 2023-03-04T17:06:55+07:00 บรรณาธิการ วารสารเภสัชกรรมไทย [email protected] 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263598 บุคคลสำคัญ: เภสัชกรหญิงอิ่มศรี เกิดทรัพย์ศรี ตอนที่ 2: การพัฒนางานเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2023-05-11T14:37:24+07:00 บรรณาธิการ วารสารเภสัชกรรมไทย [email protected] 2024-03-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย