วารสารเภสัชกรรมไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP <p> วารสารเภสัชกรรมไทยเป็นวารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วารสารฯ มีวัตถุประสงค์คือเป็นสื่อกลางเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิชาการระหว่างนักวิจัยด้านเภสัชกรรม เภสัชกร นักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ๆ ตลอดจนเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา</p> <p> วารสารเภสัชกรรมไทยเผยแพร่บทความที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรม ได้แก่การบริบาลทางเภสัชกรรม เภสัชกรรมสังคม การบริหารเภสัชกิจ เศรษฐศาสตร์ทางยา ระบาดวิทยาของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เภสัชสาธารณสุข เภสัชพฤติกรรมศาสตร์ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ นิติเภสัชกรรม จริยศาสตร์เภสัชกรรม นโยบายด้านยาและสุขภาพ การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางสังคมและการบริหารในการปฏิบัติงานเภสัชกรรม</p> <p> ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมไทย คือ บทความวิจัยต้นฉบับ บทความทบทวนวรรณกรรมทั้งแบบเชิงบรรยาย (review article) การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) </p> <p> ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 วารสารได้เพิ่มจำนวนเล่มจาก 2 เป็น 4 ฉบับต่อปี ดังนี้ เล่มที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) เล่มที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) เล่มที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) และเล่มที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม)</p> th-TH <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์&nbsp; บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ&nbsp;</p> sanguan.L@psu.ac.th (Assoc Prof Sanguan Lerkiatbundit) pakjira@pharmacy.psu.ac.th (Phakjira Kitipanasin ) Fri, 14 Jun 2024 08:12:46 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปกและสารบัญ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263747 บรรณาธิการ วารสารเภสัชกรรมไทย (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263747 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261539 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์<strong> วิธีการ</strong>: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกคนที่มารับบริการที่ รพ.สต. ห้วยสัตว์ใหญ่ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 การประเมินความร่วมมือในการใช้ยาใช้แบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับชาวไทย (Medication Adherence Scale in Thais หรือ MAST©) การประเมินความเครียดของผู้ป่วยใช้แบบวัด SPST-20 (Suanprung Stress Test 20) การประเมินความรู้ในเรื่องโรคและยาและแรงสนับสนุนจากสังคมใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม การศึกษาใช้การวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกแบบทวิเพื่อทำนายความร่วมมือในการใช้ยาโดยมีตัวแปรอิสระ คือ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ความสามารถในการควบคุมความดันโลหิต โรคร่วม และระยะเวลาการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ความเครียด ความรู้เรื่องโรคและยารักษาความดันโลหิตสูง และแรงสนับสนุนทางสังคม <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้ร่วมการวิจัยเป็นผู้ป่วย 79 คน อายุเฉลี่ย 65.56±10.99 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 75.95 ระยะเวลาเป็นโรคเฉลี่ย 7.68±4.12 ปี ตัวอย่างร้อยละ 79.75 ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ คะแนนความรู้เฉลี่ย 11.47±2.22 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 15) คะแนนแรงสนับสนุนทางสังคมเฉลี่ย 20.11±4.73 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 25) คะแนนความเครียดเฉลี่ย 25.34±4.62 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 100) คะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเฉลี่ย 36.10±4.02 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 40) ผู้ป่วยร้อยละ 78.5 มีระดับความร่วมมือในการใช้ยาในระดับที่เพียงพอ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพศชายมีโอกาสที่จะมีความร่วมมือในการใช้ยาที่เพียงพอมากกว่าเพศหญิง 8.6 เท่าตัวซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI ของ OR หรือ odds ratio = 1.02-72.48; P = 0.048) และคะแนนความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย สัมพันธ์กับโอกาสการมีความร่วมมือในการใช้ยาที่เพียงพอที่เพิ่มขึ้น 1.35 เท่าตัว (95%CI ของ OR = 1.02-1.77; P = 0.034) การวิเคราะห์พบ pseudo R<sup>2</sup> = 0.12 (P=0.007) <strong>สรุป:</strong> ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่เป็นเพศชายและที่มีคะแนนความรู้ที่สูงขึ้น มีโอกาสพบว่ามีความร่วมมือในการใช้ยาสูงกว่าเพศหญิงและผู้ที่มีคะแนนที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> สกนวรรณ พวงหอม, เฉลิม พวงหอม (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261539 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์งานของกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค : กรณีศึกษาในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261821 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> วิเคราะห์งานและความเพียงพอของอัตรากำลังคนในกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง และนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงประสิทธิภาพงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก <strong>วิธีการ</strong>: ผู้วิจัยศึกษาประเภทและปริมาณงานของเภสัชกรและเจ้าพนักงานเภสัชกรรมในวันและเวลาราชการ โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์บุคลากรในหน่วยงาน และการสังเกตการทำงาน การหาเวลามาตรฐานในการทำงานได้จากจากการทบทวนวรรณกรรม การใช้เทคนิคจับเวลาการทำงาน และความเห็นผู้เชี่ยวชาญสำหรับงานที่ไม่มีเวลามาตรฐาน การเก็บข้อมูลเป็นแบบไปข้างหน้าในช่วงเวลา 1 ตุลาคม 2562- 30 กันยายน 2563 และเป็นแบบย้อนหลังในช่วงเวลา 1 ตุลาคม 2561- 30 กันยายน 2562 หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความเพียงพอของอัตรากำลังคนในเงื่อนไขต่าง ๆ และดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน <strong>ผลการวิจัย</strong>: ปริมาณงานต่อปีของเภสัชกรและเจ้าพนักงานเภส้ชกรรม เท่ากับ 15,137.16 และ 10,846.12 ชั่วโมง เมื่อคิดเป็นอัตรากำลังจะได้ 9.01 และ 6.46 คน ตามลำดับ ขณะที่ปัจจุบันมีเภสัชกรและเจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงานจำนวน 8 และ 6 คน ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้ปฏิบัติงานจริงน้อยกว่าจำนวนที่ควรมีเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานโดยเลือกศึกษาในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก เนื่องจากเป็นงานที่ใช้อัตรากำลังมากที่สุดจากงานทั้งหมด โดยเน้นการลดระยะเวลารอคอยงานระหว่างขั้นตอนการทำงานลงให้เหลือน้อยที่สุด หลังดำเนินการปรับปรุงงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก สามารถลดเวลาที่ใช้รอคอยงานระหว่างขั้นตอนการทำงานลงจาก 27.83±16.75 นาที เป็น 12.59±8.90 นาที ร่วมกับการลดเวลาที่ใช้ทำงานลงจาก 5.40±2.77 นาที เป็น 4.81±2.40 นาที ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) ส่งผลให้เวลารอรับยาของผู้ป่วยลดลงจาก 33.23±16.98 นาทีเหลือ 17.39±9.44 นาที ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) <strong>สรุป:</strong> การศึกษางานเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลซึ่งควรดำเนินการหากพบว่า หน่วยงานมีปัญหาอัตรากำลังคนไม่เพียงพอ เพื่อนำข้อมูลมาหาวิธีปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการใช้อัตรากำลังเท่าที่มีอย่างเหมาะสมได้โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มอัตรากำลัง</p> เอวิกา บุญลิมปนะ, กุลจิรา อุดมอักษร (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261821 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ภาระงานของเภสัชกรชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261963 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อวิเคราะห์ภาระงานและหาเวลามาตรฐานในการทำงานของเภสัชกรชุมชน ตลอดจนคำนวณอัตรากำลังของเภสัชกรในร้านยา <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาที่เก็บข้อมูลแบบภาคตัดขวางจากเภสัชกรชุมชน ณ ร้านยาคุณภาพ 8 แห่งในกรุงเทพมหานคร การศึกษาเก็บข้อมูลการทำงานของเภสัชกรชุมชนโดยใช้เทคนิคการจับเวลา เภสัชกรชุมชนเป็นผู้จับเวลาที่ใช้ในการทำงาน 2 ประเภท คือ 1) การบริการเภสัชกรรมขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การจัดเตรียมและจ่ายยา การส่งต่อ การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ การให้บริการสารสนเทศ การบันทึกประวัติผู้ป่วย การผลิตยาตามใบสั่ง และ 2. การบริการเสริม ได้แก่ การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคจากเพศสัมพันธ์ และการให้บริการเลิกบุหรี่ <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>ร้านยาในงานวิจัยมีผู้ป่วยเข้ามารับบริการเฉลี่ย 65 คนต่อวัน กิจกรรมส่วนใหญ่ในงานของเภสัชกรชุมชน คือ การจัดเตรียมและจ่ายยา (1,283 กิจกรรมหรือร้อยละ 40.18) รองลงมา คือ การให้บริการสารสนเทศ (402 กิจกรรมหรือร้อยละ12.59) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับจำนวนรายการยาที่มากที่สุด คือ การจัดเตรียมและจ่ายยาเกี่ยวข้องกับยาเฉลี่ย 3.75 รายการต่อผู้ป่วย รองลงมาคือ การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกี่ยวข้องกับยาเฉลี่ย 2.25 รายการต่อผู้ป่วย เวลาที่ใช้ในการบริการเภสัชกรรมขั้นพื้นฐานโดยเฉลี่ย คือ 53 นาที 11 วินาที เวลาเฉลี่ยที่ใช้เพื่อให้บริการการส่งเสริมสุขภาพเฉลี่ย 54 นาที 39 วินาที ปริมาณภาระงานต่อปีของเภสัชกรชุมชนทั้งหมด 3,345 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ คือ ภาระงานการจัดเตรียมและจ่ายยา 814 ชั่วโมง รองลงมา คือ ภาระงานการส่งต่อ 559 ชั่วโมง <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> อัตรากำลังของเภสัชกรชุมชนต่อปริมาณงานเท่ากับ 1 คนต่อ 1 ร้านยาซึ่งเพียงพอในการดำเนินกิจกรรมการให้บริการ ณ ร้านยาที่เปิดบริการ 12 ชั่วโมง</p> รัฐภูมิ ไชยปัน, ระพีพรรณ ฉลองสุข (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/261963 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดการกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับอันตรายจากสเตียรอยด์ในอำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262230 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในอำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับสเตียรอยด์โดยเครือข่ายชุมชน (รูปแบบฯ) และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบดังกล่าว <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในระหว่างพ.ศ. 2561-2565 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีประวัติการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอมปนสเตียรอยด์ การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์การใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมจากการเยี่ยมบ้านของผู้ป่วยใน 7 กลุ่มโรคเรื้อรังและตรวจร้านค้าในชุมชน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบฯ และค้นหากลุ่มเสี่ยงฯ โดยเครือข่ายชุมชน เพื่อให้บุคลากรทางสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคัดกรอง และส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายเข้าสู่กระบวนการรักษาที่โรงพยาบาลสีชมพู ระยะที่ 3 การประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบฯดังกล่าว <strong>ผลการศึกษา:</strong> รูปแบบฯ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม คือ 1) การเสริมสร้างความรู้แก่ประชาชน 2) การค้นหากลุ่มเสี่ยงฯ 3) การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงฯ 4) การส่งต่อผู้ป่วยจากชุมชนสู่โรงพยาบาลตามแนวทางปฏิบัติ 5) การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากสเตียรอยด์ที่มีภาวะ Cushing และ 6) การการวัดผลลัพธ์การรักษาโดยใช้หลัก ECHO model การนำรูปแบบฯ ไปใช้ สามารถค้นหากลุ่มเสี่ยงฯ 353 ราย ซึ่งมาเข้ารับการคัดกรองและส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสีชมพู 240 ราย ทั้งนี้พบกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการเข้าเกณฑ์ภาวะ Cushing 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.75 ของกลุ่มเสี่ยงฯ การประเมินผลลัพธ์ด้านคลินิกหลังการรักษาพบว่า ผู้ป่วยหายจากภาวะ Cushing ทั้ง 9 ราย การประเมินผลลัพธ์ด้านความเป็นมนุษย์ พบว่า ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจต่อการรักษาในระดับมากที่สุด การประเมินผลลัพธ์ด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยคิดเป็นค่าใช้จ่ายทางตรง≥ 3,908 บาทต่อราย และค่าใช้จ่ายทางอ้อม ≥10,500 บาทต่อราย <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> รูปแบบการค้นหา คัดกรอง และส่งต่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายจากสเตียรอยด์เข้าสู่การรักษาทางการแพทย์ที่เหมาะสม ร่วมกับความร่วมมือจากเครือข่ายชุมชน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทันท่วงที หากสามารถพบกลุ่มเสี่ยงฯ ในเวลาอันรวดเร็วจะสามารถป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาได้</p> สุชาดา กาบิน (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262230 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของ ร้านขายยาในจังหวัดชลบุรีที่เคยมีประวัติการกระทำผิดดังกล่าว https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262322 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อสำรวจการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของร้านขายยาในจังหวัดชลบุรีที่เคยมีประวัติการกระทำผิดดังกล่าว <strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงสำรวจนี้ทำในร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 156 แห่งที่เคยมีประวัติการกระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายยา การศึกษารวบรวมข้อมูลจากผลตรวจประเมินวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564 การประเมินข้อความโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพว่าผิดกฎหมายหรือไม่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3 ท่าน <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>ร้านขายยาที่เคยมีประวัติการกระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณาฯ มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพจำนวน 129 แห่งจากทั้งหมด 156 แห่ง จัดเป็นการโฆษณาที่ไม่ถูกต้องจำนวน 120 แห่ง (ร้อยละ 93.02 ของร้านขายยาที่มีการโฆษณา) จำนวนข้อความการโฆษณาทั้งหมด 284 ข้อความ พบว่าเป็นข้อความที่โฆษณาไม่ถูกต้อง จำนวน 234 ข้อความ (ร้อยละ 82.39) กฎหมายที่ข้อความโฆษณาละเมิดมากที่สุด คือ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 โดยพบความผิด จำนวน 232 ครั้ง รองลงมาคือพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 โดยพบความผิด จำนวน 119 ครั้ง พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 โดยพบความผิด จำนวน 89 ครั้ง และพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 โดยพบความผิด จำนวน 24 ครั้ง ประเภทสื่อโฆษณาที่พบมากที่สุด คือสิ่งพิมพ์จำนวน 144 ชิ้น (ร้อยละ 50.70) แหล่งที่มาของสื่อส่วนใหญ่เป็นสื่อที่ผลิตขึ้นเองโดยผู้ประกอบกิจการ และ/หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำร้านขายยา จำนวน 174 ชิ้น (ร้อยละ 74.36) <strong>สรุป</strong>: ปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้องยังพบในร้านขายยาที่เคยมีประวัติการกระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคได้ ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ควรเพิ่มช่องทางการเข้าถึงระบบฐานข้อมูลทะเบียนผลิตภัณฑ์ การอนุญาตโฆษณา และข้อมูลรายละเอียดบนฉลากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตทั้งหมด เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาค ผู้ประกอบการร้านยา รวมถึงผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องและสะดวกรวดเร็ว</p> พงษ์ณุวัฒน์ สมบัติภูธร, ญาดา เรียมริมมะดัน, วรพจน์ ทำเนียบ, กนกพร ธัญมณีสิน (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262322 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 มุมมองของผู้ป่วยต่อผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาการพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาสมเหตุผลภายใต้แบบจำลองซิปป์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262341 <p> </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษามุมมองของผู้ป่วยต่อผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาการพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาสมเหตุผลด้วยแบบจำลองซิปป์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลการประเมินในมิติต่าง ๆ ได้แก่ มิติด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ กับมิติด้านผลผลิตในโรงพยาบาล 3 ระดับ ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 10 <strong>วิธีการวิจัย</strong>: การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสำรวจด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อการประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตในกลุ่มผู้ป่วยที่รับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังมากกว่า 1 ปี <strong>ผลการวิจัย</strong>: ในการวิจัยเชิงปริมาณ มีผู้ป่วยตอบแบบสอบถาม 523 คน ทุกมิติของการประเมิน ได้แก่ ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต มีค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความเหมาะสมในการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เป็น 3.88±0.48, 3.69±0.59, 4.01±0.64 และ 3.92±0.46 จากคะแนนเต็ม 5 ตามลำดับ ปัจจัยด้านบริบทมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.550, P&lt;0.001) ส่วนปัจจัยนำเข้าและกระบวนการมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.625, P=&lt;0.001; r=0.627, P&lt;0.001 ตามลำดับ) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ป่วย 15 คน ชี้ให้เห็นถึงความพึงพอใจของผู้ป่วย การเปลี่ยนแปลงทางบวกระดับบุคคล และระดับชุมชน แต่พบว่าผู้ป่วยยังมีความเข้าใจผิดต่อการใช้ยาสมเหตุผลในบางประเด็น และยังขาดความต้องการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยมีมุมมองต่อแผนพัฒนาฯ ว่าปัจจัยด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต มีความเหมาะสมในระดับมาก แต่ต้องพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง เช่น การให้ความรู้สาธารณะ การควบคุมและบังคับใช้กฎหมายยา ความรู้ด้านการใช้ยาสมเหตุผลของผู้ป่วย/ประชาชน สถานบริการภาครัฐที่ตอบสนองความต้องการ และความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้เกิดความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมใช้ยาสมเหตุผลในระดับบุคคลและชุมชนต่อไป</p> จีริสุดา คำสีเขียว, ศักดิ์สิทธิ์ ศรีภา, สัมมนา มูลสาร, แคลร์ แอนเดอร์สัน, เกศสุภา พลพงษ์, รุจาภา โสมาบุตร, จันทร์จรีย์ ดอกบัว, ธีราพร สุภาพันธุ์ (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262341 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262379 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนาและประเมินกลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ระดับโรงพยาบาลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> งานวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ใช้หลักวงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) จำนวน 2 รอบในการพัฒนา 2 กลไก ได้แก่ 1) การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในโรงพยาบาล โดยสนทนากลุ่มในแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล การประเมินผลลัพธ์ทำโดยการค้นหาผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และจำนวนการรายงานเหตุการณ์ที่ได้ส่งต่อข้อมูลไปยังชุมชน และ 2) การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในชุมชน โดยสนทนากลุ่มระหว่างเภสัชกร เจ้าหน้าที่กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม ตัวแทน อสม. และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เพื่อร่วมกันออกแบบแนวปฏิบัติระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในชุมชนซึ่งเชื่อมโยงกับโรงพยาบาล โดยคัดเลือก อสม. จำนวน 30 คนเพื่อพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และให้ทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าระวังฯ ในชุมชน ผลลัพธ์ของกลไกการเฝ้าระวังฯ ประเมินจากจำนวนการเฝ้าระวังยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน การค้นหาอาการไม่พึงประสงค์จากยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยใช้ตัวส่งสัญญาณ จำนวนข้อมูลที่ได้รับส่งต่อจากโรงพยาบาล ร่วมกับการประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของ อสม. ระหว่างก่อน-หลังการนำกลไกการเฝ้าระวังฯ มาใช้ <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>กลไกการเฝ้าระวังฯ เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องระดับโรงพยาบาลและชุมชน การพัฒนากลไกทำโดยคัดเลือกกลุ่มอาการไม่พึงประสงค์ที่ควรเฝ้าระวังจากสารสเตียรอยด์ ยากลุ่ม NSAIDs สารไซบูทรามีน และซิลเดนาฟิล เพื่อพัฒนาเครื่องมือตรวจจับอันตรายจากผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ และกำหนดช่องทางส่งข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน ผ่านแกนนำ อสม. โดยใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ อสม. มีคะแนนความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลภายหลังการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt; 0.001) จาก 37.09 ±12.93 เป็น 40.76 ±13.70 (คะแนนเต็ม 52 คะแนน) ผลของกลไกการเฝ้าระวังฯ ทำให้เกิดการส่งต่อประเด็นปัญหาด้วยกระบวนการส่งข้อมูลที่เหมาะกับผู้ปฏิบัติงาน <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนากลไกเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยสหสาขาวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชนร่วมกับการพัฒนาศักยภาพ อสม. ส่งผลให้เกิดแนวปฏิบัติการค้นหาปัญหา และสามารถส่งต่อข้อมูลการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และป้องกันอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเสี่ยงได้</p> กันยารัตน์ พรหมคำแดง, หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262379 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมเชิงรุกแก่ผู้ป่วยวัณโรคประเภท ผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262469 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมเชิงรุกแก่ผู้ป่วยวัณโรคในด้านการค้นพบและแก้ไขปัญหาการใช้ยาและในด้านผลลัพธ์ของการรักษาเปรียบเทียบกับการบริบาลทางเภสัชกรรมตามปกติ <strong>วิธีการ:</strong> การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ทำในกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ป่วยในที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคจำนวน 31 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 15 คนและกลุ่มควบคุม 16 คน ในกลุ่มควบคุม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนโดยผู้ป่วยได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมแบบปกติ ในกลุ่มศึกษา ทำการศึกษาไปข้างหน้า ผู้ป่วยได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมเชิงรุกโดยการค้นหาและแก้ไขปัญหาการใช้ยาในช่วงที่ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล หลังออกจากโรงพยาบาลมีการโทรศัพท์ติดตามผู้ป่วยที่บ้านในวันที่ 3, 7, 14, 21, 28, 35, 42, 49, 56 หรือ 60 และเมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัดต่อเนื่องจนสิ้นสุดการรักษาในระยะเข้มข้น การศึกษาวัดผลลัพธ์ของการรักษาที่ 2 เดือนและ 6 เดือน <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ในกลุ่มศึกษาค้นพบปัญหาจากการใช้ยามากกว่ากลุ่มควบคุม (P=0.013) สามารถจัดการปัญหาได้ร้อยละ 100.0 และมีความทันเวลาในการแก้ไขปัญหาร้อยละ 84.9 มากกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 84.8, P=0.001 และร้อยละ 30.4, P &lt; 0.05 ตามลำดับ) กลุ่มศึกษามาพบแพทย์ตามนัดหมายมากกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 100.0 และ 81.6 ตามลำดับ, P =0.012) ค่าเฉลี่ยของร้อยละของความร่วมมือในการใช้ยาในกลุ่มศึกษาเท่ากับ 96.46 ± 4.09 กลุ่มศึกษาร้อยละ 66.7 และ 86.7 บรรลุเป้าหมายของการรักษาเมื่อสิ้นสุดการรักษาระยะเข้มข้นและเมื่อสิ้นสุดการรักษา 6 เดือน ตามลำดับ มากกว่ากลุ่มควบคุมที่พบร้อยละ 43.8 (P = 0.285) และ 68.8 (P = 0.394) ตามลำดับ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การบริบาลทางเภสัชกรรมเชิงรุกให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการบริบาลทางเภสัชกรรมแบบปกติในด้านการค้นพบและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา และยังมีแนวโน้มที่ผลลัพธ์ของการรักษาจะดีกว่าแม้จะไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การนำการบริบาลทางเภสัชกรรมเชิงรุกไปใช้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคจึงน่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย</p> หทัยกาญจน์ ก๋ำนารายณ์ (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262469 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การทำนายภาวะเลือดเป็นกรดจากแลคติกที่สัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มิน ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262541 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> พัฒนาแบบจำลองการทำนายภาวะเลือดเป็นกรดจากแลคติกที่สัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มิน (metformin-associated lactic acidosis: MALA) และเปรียบเทียบผลการทำนายภาวะ MALA จากแบบจำลองด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องแต่ละประเภท <strong>วิธีการ: </strong>การศึกษาเก็บข้อมูลแบบย้อนหลังจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยเบาหวานอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ได้รับยาเมทฟอร์มินของโรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่าง มกราคม 2560 ถึง ธันวาคม 2564 ปัจจัยที่นำมาสร้างแบบจำลองคือ ค่าดัชนีมวลกาย ขนาดยาเมทฟอร์มินที่ได้รับต่อวัน โรคอ้วน การได้ NSAIDs ใน 6 เดือน การได้รับยากลุ่ม thiazides การได้รับยากลุ่ม beta blockers การได้รับยากลุ่ม statins ระดับการทำงานของไต ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน การศึกษาใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องชนิดมีผู้สอนแบบแบ่งแยกประเภท เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องที่ใช้ได้แก่ Logistic Regression (LR), Multi-layer Perceptron (MLP), Support Vector Machine (SVM) และ Random Forest (RF) <strong>ผลการวิจัย: </strong>ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยาเมทฟอร์มิน 8,505 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยเบาหวานปกติ 8,387 ราย และผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะ MALA 118 ราย แบบจำลองจากเทคนิค RF และ MLP มีความถูกต้องมากกว่า LR อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อทดสอบพบแบบจำลองจาก RF ให้ค่า sensitivity 93.30%, specificity 93.57%, accuracy 95.26%, และ AUROC 0.992 <strong>สรุป: </strong>แบบจำลองการทำนายภาวะ MALA ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องโดยเทคนิค RF ให้แบบจำลองที่มีประสิทธิภาพสูงสุด</p> ศุภกร อึ้งโชคอำนวย, นัทที พรประภา, ลาวัลย์ ศรัทธาพุทธ (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262541 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความถูกต้องของข้อมูลทะเบียนมะเร็งไทยเมื่อใช้การเชื่อมโยงข้อมูลแบบความน่าจะเป็น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262697 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อสร้างและทดสอบโมเดลการเชื่อมโยงข้อมูลในทะเบียนมะเร็งไทยและข้อมูลจากฐานข้อมูลโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งด้วยหลักความน่าจะเป็น และเพื่อทดสอบความถูกต้องของข้อมูลทะเบียนมะเร็งไทยจากการใช้วิธีการดังกล่าว <strong>วิธีการ</strong>: การศึกษาเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองแหล่งโดยใช้หมายเลขอ้างอิงที่เข้ารหัสใหม่ ด้วยการเชื่อมโยงแบบกำหนดตายตัวแบบหนึ่งต่อหนึ่ง และการเชื่อมโยงแบบความน่าจะเป็นจำนวน 17 โมเดล แต่ละโมเดลประกอบด้วยตัวแปรที่เป็นตัวระบุ (identifier) และไม่ใช่ตัวระบุ (non-identifiers) ได้แก่ หมายเลขประจำตัวอ้างอิง หมายเลขโรงพยาบาลอ้างอิง ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ที่ติดต่อได้ วันที่เกิด วันที่เสียชีวิต รหัสจังหวัดที่อยู่ตามทะเบียนบ้านออกโดยกรมการปกครอง เพศ และรหัสการวินิจฉัยโรค โดยเลือกมาจำนวน 3-8 ตัวแปรเพื่อสร้างแต่ละโมเดล พร้อมกำหนดค่าคะแนนจุดตัดคะแนนที่เหมาะสม <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ฐานข้อมูลทั้งสองมีผู้ป่วยจำนวน 7,243 รายที่ตรงกัน คิดเป็นร้อยละ 89.72 จากผู้ป่วยในฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็งไทยทั้งหมด 8,073 คน หรือร้อยละ 36.72 ของผู้ป่วยจากฐานข้อมูลทั้งสองรวม 19,725 ราย ทุกโมเดลของการเชื่อมโยงแบบความน่าจะเป็นให้ค่าพยากรณ์ผลบวกร้อยละ 99.83-99.94 ค่าพยากรณ์ผลลบร้อยละ 97.04-99.98 ค่าความไวร้อยละ 94.74-99.97 และค่าความจำเพาะร้อยละ 99.90-99.97 <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การเชื่อมโยงข้อมูลมะเร็งจากสองฐานข้อมูลโดยใช้การเชื่อมโยงแบบความน่าจะเป็นทำให้พบผู้ป่วยที่ตรงกันมากขึ้น จึงเหมาะสมกับการใช้ในงานใด ๆ หรืองานวิจัยที่ข้อมูลมีการปกปิดตัวตนและการรักษาความลับมีความสำคัญ อย่างไรก็ตามความถูกต้องของโมเดลที่ใช้การเชื่อมโยงข้อมูลแบบความน่าจะเป็นนั้นขึ้นอยู่กับการเลือกตัวแปรที่ใช้ในโมเดลเป็นหลัก ดังนั้นนักวิจัยควรพิจารณาเลือกตัวแปรที่ใช้ในสมการทำนายอย่างรอบคอบ</p> วรรณพร วัฒนวงษ์, แสวง วัชระธนกิจ (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262697 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยที่ใช้น้ำมันกัญชาเพื่อ รักษาอาการนอนไม่หลับที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262720 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยที่ใช้น้ำมันกัญชาเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> รูปแบบวิจัยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วย 279 คนที่ใช้น้ำมันกัญชาเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทยฯ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การศึกษาวัดคุณภาพการนอนหลับโดยใช้แบบวัด Pittsburgh Sleep Quality Index ฉบับภาษาไทย ปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและความเครียดที่วัดด้วยแบบประเมินความเครียดสวนปรุง <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ตัวอย่างร้อยละ 53.0 มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ร้อยละ 47.0 มีคุณภาพการนอนหลับดี ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P &lt;0.05 คือ ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า (OR=1.93, 95%CI=1.19-3.12 เมื่อเทียบกับการศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาตรี) อาชีพลูกจ้าง/รับจ้าง ผู้ประกอบการ ค้าขาย และแม่บ้าน/พ่อบ้าน/ผู้เกษียณจากงาน (OR=4.64, 95%CI=1.58-13.61; OR=4.67, 95%CI=1.21-18.04; OR=7.40, 95%CI=2.34-23.38; OR=3.70, 95%CI=1.17-11.74 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับข้าราชการ/ผู้ที่ทำงานในรัฐวิสาหกิจ) ผู้ที่ระบุเวลาทำงานแน่นอนไม่ได้และผู้ที่ทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงในหนึ่งวัน (OR=3.16, 95%CI=1.47-6.77; OR=2.99, 95%CI=1.45-6.14 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับผู้ที่ทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ชั่วโมงในหนึ่งวัน ผู้ที่มีโรคประจำตัว (OR=2.50, 95%CI=1.54-4.07) ผู้ที่มียาอื่นที่ใช้ประจำ (OR=2.27, 95%CI=1.39-3.72) ผู้ที่ใช้ยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงและเสริมการนอนหลับ (OR=11.47, 95%CI=1.47-89.47) ผู้ที่มีความเครียดปานกลางและสูง (OR=2.16, 95%CI=1.30-3.58 เมื่อเทียบกับผู้ที่มีความเครียดน้อย) และระยะเวลาในการใช้น้ำมันกัญชานาน 366-730 วันและมากกว่าหรือเท่ากับ 731 วัน (OR=1.85, 95%CI=1.14-3.10; OR=3.64, 95%CI=1.59-8.29 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับผู้ที่ใช้น้ำมันกัญชาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 365 วัน) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> โรงพยาบาลสามารถนำปัจจัยที่พบว่ามีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยที่ใช้น้ำมันกัญชามาดูแลผู้ป่วยที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย</p> จินต์จุฑา แสงกะหนึก, ณัฏฐิญา ค้าผล (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262720 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการดำเนินงานของเครือข่ายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาการใช้ยาปฏิชีวนะและยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์อย่างสมเหตุผล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262932 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อสร้างเครือข่ายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (rational drug use community: RDU community) เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในตำบลไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research: PAR) <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษาใช้ PAR ในการสร้างเครือข่าย RDU community ซึ่งมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การสังเกต การสะท้อนความคิด การวางแผน การลงมือปฏิบัติ และการแลกเปลี่ยน การศึกษาประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ในตัวอย่างประชาชนในตำบลไทรน้อย 133 คน โดยใช้แบบสอบถามวัดความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) ก่อนและหลังการดำเนินงานของเครือข่ายฯ เป็นเวลา 8 เดือน ระหว่าง มีนาคม – ตุลาคม 2565 <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> การจัดตั้งเครือข่าย RDU community เป็นไปตามแนวคิดของชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะและ NSAIDs โดยให้สมาชิกที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 40 คนดำเนินการให้ความรู้แก่กลุ่มตัวอย่าง 133 ราย หลังเสร็จสิ้นโครงการพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลเพิ่มขึ้น จาก 5.68 ±2.05 เป็น 8.95 ±1.34 (คะแนนเต็ม 10: P&lt;0.001) ค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับยา NSAIDs เพิ่มขึ้นจาก 5.27 ±2.49 เป็น 9.02 ±1.24 (คะแนนเต็ม 10: P&lt;0.001) การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและยา NSAIDs หลังอบรมในแต่ละข้อคำถามเมื่อเทียบกับก่อนอบรม พบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หลังการอบรม คำถามแต่ละข้อมีผู้ตอบถูกมากกว่าร้อยละ 70 ทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลดีขึ้น โดยจำนวนตัวอย่างที่เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการใช้ยาสมเหตุผลมีจำนวนเพิ่มขึ้นหลังการอบรม <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> เครือข่าย RDU community ที่จัดตั้งโดยสมาชิกในชุมชนและมี อสม. เป็นแกนนำสามารถเสริมสร้างความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลให้แก่กลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอย่างยั่งยืน</p> เกศินี นันทมานพ, ดารณี เชี่ยวชาญธนกิจ (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262932 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประเมินข้อความทวิตเตอร์ที่เกี่ยวกับทัศนคติด้านสุขภาพในสถานการณ์แพร่ระบาด ของโควิด-19 เพื่อวิเคราะห์ความรู้สึกโดยใช้อัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่องแบบมีผู้สอน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262974 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อหาโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องแบบมีผู้สอนในการทำนายข้อความจากทวิตเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19 ด้านประสิทธิภาพ อาการไม่พึงประสงค์ และความรู้สึกต่อวัคซีนแต่ละชนิดที่มีในประเทศไทย <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> ผู้วิจัยรวบรวมข้อความเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ที่มีการติดกำกับจำนวน 1,843 ข้อความ โดยแบ่งเป็นชุดข้อมูลเรียนรู้ร้อยละ 90 และชุดข้อมูลทดสอบร้อยละ 10 ผู้วิจัยลบคำหรือสัญลักษณ์ที่ไม่ต้องการออก และตัดคำในข้อความ ศึกษาการสร้างคุณลักษณะของเอกสารและเลือกคุณลักษณะด้วยวิธีเคที่ดีที่สุด การพัฒนาโมเดลการเรียนรู้ใช้โปรแกรมภาษาไพทอน (python) โดยใช้อัลกอริทึมซับพอร์ตเวกเตอร์แมกชีน ร่วมกับวิธี One-vs-Rest ในการจำแนกข้อความแบบหลายเลเบล และร่วมกับวิธี One-vs-One ในการจำแนกข้อความแบบหลายคลาส การศึกษาใช้ชุดเรียนรู้พัฒนาโมเดลด้วยวิธีการตรวจสอบไขว้ 10 ครั้ง และประเมินประสิทธิภาพด้วยค่าคะแนนไมโครเอฟวัน (micro-F1 score) แล้วปรับค่าพารามิเตอร์ของโมเดลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ จากนั้นนำโมเดลที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดมาทำนายชุดข้อมูลที่ไม่ได้ติดกำกับข้อความ <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> โมเดลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการจำแนกข้อความหลายเลเบล ได้แก่ ชนิดของวัคซีน ประสิทธิภาพ และอาการไม่พึงประสงค์ของวัคซีน ด้วยชุดเรียนรู้มีคะแนน micro-F1 ร้อยละ 91.31 และชุดทดสอบได้ค่าคะแนน micro-F1 ร้อยละ 90.80 โมเดลที่ดีที่สุดสำหรับการจำแนกข้อความแบบหลายคลาส อันได้แก่ ความรู้สึก ด้วยชุดเรียนรู้ได้ค่าคะแนน micro-F1 ร้อยละ 82.20 และชุดทดสอบได้ค่าคะแนน micro-F1 ร้อยละ 81.11 เมื่อนำโมเดลมาวิเคราะห์ข้อความที่ไม่ได้ติดกำกับข้อความจำนวน 8,070 ข้อความ พบว่าโมเดลสามารถจำแนกเนื้อหาที่เกี่ยวกับชนิดของวัคซีน มีการจำแนกข้อความที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน 5,643 ข้อความ และข้อความเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ของวัคซีน 3,255 ข้อความ โดยเป็นข้อความเชิงบวก 3,229 ข้อความ ข้อความเชิงลบ 2,228 ข้อความ และข้อความเป็นกลาง 2,613 ข้อความ <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การจำแนกประเภทข้อความที่เกี่ยวกับวัคซีนโควิดด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายทางด้านสาธารณสุข</p> เทวัญ เทียนวรรณ, วีรยุทธ์ เลิศนที (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/262974 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณภาพการจัดการข้อมูลยาของโรงพยาบาลภายในจังหวัดนราธิวาส : กรณีศึกษาตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263141 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> วิเคราะห์หาสาเหตุของความไม่สอดคล้องกันของข้อมูลตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลที่รายงานจากระบบสารสนเทศของกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center: HDC) และจากระบบรายงานเฉพาะกิจที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ และพัฒนาแนวทางการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบให้เป็นที่ยอมรับร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล<strong> วิธีการ</strong><strong>:</strong> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการหาสาเหตุของความไม่สอดคล้องกันของค่าตัวชี้วัดโดยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ การศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดและผู้ดูแลระบบสารสนเทศ ระยะที่ 2 เป็นการสังเคราะห์แนวทางการจัดการข้อมูลอย่างยั่งยืนโดยการประชุมกลุ่มร่วมกับผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดและผู้ดูแลระบบสารสนเทศ และระยะที่ 3 คือการทดสอบประสิทธิผลเบื้องต้นของแนวทางที่พัฒนาขึ้น โดยนำแนวทางการจัดการข้อมูลที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการจริงในโรงพยาบาลที่สมัครใจ <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ความไม่สอดคล้องกันส่วนใหญ่ของค่าตัวชี้วัดในการศึกษา เกิดในขั้นตอนการนำเข้ามูลดิบทั้งในส่วนของการให้รหัสยาและรหัสโรค ซึ่งเมื่อนำไปประมวลผลค่าตัวชี้วัดในระบบ HDC จึงไม่ตรงกับความจริง การทำงานของระบบรายงานเฉพาะกิจได้เพิ่มขั้นตอนการทำความสะอาดข้อมูลดิบโดยผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด ด้วยการกรองข้อมูลดิบบางส่วนออกก่อนที่จะนำไปประมวลผลค่าตัวชี้วัด จึงเพิ่มสาเหตุของความไม่สอดคล้องของค่าตัวชี้วัดจากความผิดพลาดของมนุษย์ ประกอบกับชุดคำสั่งที่ใช้ประมวลผลค่าตัวชี้วัดขาดการปรับปรุงให้ทันสมัยจึงไม่สอดคล้องตามนิยามของตัวชี้วัดที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่ระบบ HDC ไม่มีการดึงข้อมูลดิบออกจากระบบมากรองออกโดยมนุษย์ และชุดคำสั่งประมวลผลตัวชี้วัดมีความถูกต้องตามนิยามของตัวชี้วัดที่เปลี่ยนแปลงไป แนวทางหลักของการจัดการข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในการวิจัยนี้ คือ การทำให้มีระบบรายงานเพียงระบบเดียว คือระบบ HDC โดยพัฒนาแนวทางจัดการข้อมูลดิบต้นทางให้มีคุณภาพสูงขึ้น จากการทดสอบแนวทางการจัดการข้อมูลที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้ข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบ HDC มีปริมาณ และคุณภาพสูงขึ้น โดยความผิดพลาดในการให้รหัสยาลดลงเหลือ 0 ความผิดพลาดจากการให้รหัส ICD-10 ลดลง ระยะเวลาในการตรวจสอบเวชระเบียนลดลงจาก 7 วัน เหลือ 4-5 วัน ความล่าช้าของการส่งข้อมูลลดลงจาก 21-30 วันเหลือ 5-7 วัน <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> สาเหตุหลักของความไม่สอดคล้องกันของค่าตัวชี้วัดในการศึกษา เกิดขึ้นในขั้นตอนการนำเข้าข้อมูลดิบเข้าสู่ฐานข้อมูลของโรงพยาบาล ทำให้เกิดระบบการรายงานคู่ขนานที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดข้อมูลด้วยการกรองข้อมูลดิบบางส่วนออกก่อนที่จะประมวลผลค่าตัวชี้วัด ซึ่งเป็นการเพิ่มความผิดพลาดจากมนุษย์ และเป็นการทำงานที่เป็นภาระและซ้ำซ้อน การพัฒนาแนวทางการจัดการคุณภาพข้อมูลดิบต้นน้ำอย่างเป็นระบบเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีระบบรายงานเพียงระบบเดียว ถือเป็นการจัดการปัญหาที่มีประสิทธิผล</p> จิรานุวัฒน์ ศิริภิบาล, กุลจิรา อุดมอักษร (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263141 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลลัพธ์การรักษาของยา sacubitril/valsartan ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มีการบีบตัวของ หัวใจห้องล่างซ้ายลดลง: ประสบการณ์ในสถานพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263492 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลลัพธ์การรักษาของยา sacubitril/valsartan ในผู้ป่วยชาวไทยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง (heart failure with reduced ejection fraction; HFrEF) ต่อการการนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลว และการเปลี่ยนแปลงของค่า <em>left ventricular ejection fraction</em> (LVEF) โดยเปรียบเทียบกับผู้ป่วย HFrEF ที่ไม่ได้รับยา sacubitril/valsartan <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบ retrospective study เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วย HFrEF ที่ได้รับยา sacubitril/valsartan ร่วมกับยารักษาตามมาตรฐาน (กลุ่มศึกษา) 111 ราย และกลุ่มผู้ป่วย HFrEF ที่ได้รับยารักษาตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียว (กลุ่มควบคุม) 129 ราย การศึกษาเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ติดตามต่อเนื่องนาน 12 เดือน ณ สถาบันโรคทรวงอก ผลลัพธ์หลัก คือ การนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลว <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> เมื่อติดตามผู้ป่วยไปเป็นระยะเวลา 12 เดือน พบผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาจำนวน 10 ราย (ร้อยละ 9) เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (44 รายหรือร้อยละ 34.1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (hazard ratio; HR 0.20; 95% CI 0.10-0.41; P &lt;0.001) เมื่อรักษาไปนาน 12 เดือน กลุ่มศึกษามีร้อยละการเปลี่ยนแปลงค่า LVEF เพิ่มขึ้นจากค่าเริ่มต้นด้วยค่ามัธยฐาน 11 และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (interquartile range: IQR) 18.0 ในขณะที่กลุ่มที่ควบคุมมีค่าเท่ากับ 4 (13.6) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt;0.001) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วย HFrEF ที่ได้รับยา sacubitril/valsartan สามารถลดอัตราการเข้านอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้มากกว่า และมีร้อยละการเพิ่มขึ้นของค่า LVEF ที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยา sacubitril/valsartan อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ภมรวดี ศรีประทุม, ปิยรัตน์ พิมพ์สี, นัทที พรประภา (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263492 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยจากการใช้ยา dabigatran ในผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปีที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด atrial fibrillation ในสถานการณ์จริงจากพหุสถาบันในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263545 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของยา dabigatran ระหว่างผู้ป่วยสูงอายุ (อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี) และผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปีที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation (AF) และศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันและภาวะเลือดออกในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับยา dabigatran <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษานี้มีรูปแบบเก็บข้อมูลแบบย้อนหลังในสถานการณ์จริงในผู้ป่วยที่ได้รับยา dabigatran ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF ที่ไม่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจในสถานพยาบาล 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและโรงพยาบาลตากสิน ตัวอย่างทั้งหมด 484 ราย ประกอบด้วยผู้ป่วยสูงอายุ 413 ราย (ร้อยละ 85.33) และผู้ป่วยอายุน้อย 71 ราย (ร้อยละ 14.77) มัธยฐานของระยะเวลาในการติดตามข้อมูลผู้ป่วย คือ 1.88 ปี (พิสัยระหว่างควอไทล์ คือ 0.75-2.00) <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับยา dabigatran เกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันมากกว่าผู้ป่วยอายุน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 3.97 และ 0 ตามลำดับ, P &lt;0.001) ผู้ป่วยสูงอายุเกิดภาวะเลือดออกมากกว่าผู้ป่วยอายุน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 18.36 และ 8.29 ตามลำดับ, P = 0.041) โดยเกิดมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งภาวะเลือดออกรุนแรง ภาวะเลือดออกไม่รุนแรง และภาวะเลือดออกบริเวณทางเดินอาหาร (P = 0.035, P = 0.015 และ P &lt;0.001) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงแบบหลายตัวแปรร่วมพบว่า การมีประวัติโรคหลอดเลือดสมองหรือลิ่มเลือดอุดตันเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันซ้ำในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับยา dabigatran [odds ratio (OR) = 11.00, 95% CI 2.09-58.02, P 0.005] ส่วนการมีประวัติภาวะเลือดออกเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะเลือดออกในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับยา dabigatran (OR = 3.46, 95% CI 2.00-6.00, P &lt;0.001) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยสูงอายุที่ได้ยา dabigatran เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอุดตันจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF ควรได้รับการติดตามการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันและภาวะเลือดออก โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุที่มีประวัติการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและการเกิดภาวะเลือดออกมาก่อน</p> อธิติยา ทรัพย์สอน, พรวลัย บุญเมือง, ศันสนีย์ แสงวณิช, นริศา รื่นเริงบุญ, จุฑาทิพย์ สุพรรณกลาง (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263545 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะกระดูกบางในทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1500 กรัม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263578 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะกระดูกบางในทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การวิจัยส่วนที่เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาสืบค้นจำนวนประชากรทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1500 กรัมทั้งหมด และที่ได้รับการวินิจฉัยพบภาวะกระดูกบางที่เข้ารับการรักษา ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เพื่อคำนวณหาความชุก จากนั้นศึกษาในรูปแบบ retrospective unmatched case-control study โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในของทารกที่ผ่านเกณฑ์การวิจัยซึ่งถูกสุ่มตัวอย่างมาแบบเป็นระบบ ตัวอย่างถูกแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่พบภาวะกระดูกบาง 220 รายและกลุ่มศึกษาที่พบภาวะกระดูกบางที่มีรหัส ICD-10 คือ E83.3 ในเวชระเบียนจำนวน 55 ราย <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>การศึกษาพบภาวะกระดูกบางในทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยกว่า 1500 กรัม จำนวน 130 ราย จาก 654 ราย (ร้อยละ 19.88) เมื่อวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุลอจิสติก พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะกระดูกบาง 7 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะทารกตัวเล็ก (OR 8.26; 95%CI 2.66 – 25.64) โรคปอดเรื้อรัง (OR 4.94; 95%CI 2.13 – 11.44) ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น (OR 4.82; 95%CI 1.74 – 13.34) ภาวะน้ำดีคั่ง (OR 3.49; 95%CI 1.37 – 8.89) การได้รับอินซูลิน (OR 14.36; 95%CI 1.93 – 106.76) ทารกเริ่มได้รับฟอสฟอรัสเมื่ออายุมากกว่า 2 วัน (3 วัน, OR 3.13; 95%CI 1.11 – 8.78; ≥ 4 วัน, OR 7.05; 95%CI 2.21 – 22.45) และระยะเวลาได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำนานกว่า 28 วัน (OR 6.19; 95%CI 2.63 – 14.53) <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>ภาวะกระดูกบางยังพบได้บ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1500 กรัม บุคลากรทางการแพทย์ควรเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนในทารกที่มีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะกระดูกบาง ได้แก่ ภาวะทารกตัวเล็ก โรคปอดเรื้อรัง ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น ภาวะน้ำดีคั่ง การได้รับอินซูลิน ทารกเริ่มได้รับฟอสฟอรัสเมื่ออายุมากกว่า 2 วัน และระยะเวลาได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำนานกว่า 28 วัน อย่างใกล้ชิด และให้โภชนบำบัดแก่ทารกอย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น</p> ปิยรัฐ ขจรไตรเดช, เปรมศักดิ์ เหล่าอยู่คง, ทิพวรรณ ศิริเฑียรทอง (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263578 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะเภสัชกรด้านการบริหารจัดการระบบยากับการปฏิบัติงานของเภสัชกรของประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263680 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความสอดคล้องของสมรรถนะเภสัชกรด้านการบริหารจัดการระบบยา กับการปฏิบัติงานของเภสัชกรของประเทศไทย <strong>วิธีการ:</strong> งานวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ใช้แบบสอบถามออนไลน์สอบถามความคิดเห็นของเภสัชกรต่อสมรรถนะด้านการบริหารจัดการระบบยาที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญทางเภสัชกรรม 21 ท่าน โดยวิธีเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุงจำนวน 2 รอบ สมรรถนะฯ ดังกล่าวประกอบด้วยสมรรถนะ 3 ด้าน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการทั่วไปจำนวน 5 สมรรถนะและสมรรถนะเชิงพฤติกรรม 28 ข้อ 2) การบริหารระบบยาจำนวน 3 สมรรถนะและสมรรถนะเชิงพฤติกรรม 13 ข้อ และ 3) การนำและการอภิบาลจำนวน 5 สมรรถนะและสมรรถนะเชิงพฤติกรรม 17 ข้อ สมรรถนะแต่ละข้อประกอบด้วยสมรรถนะเชิงพฤติกรรมระดับต้นและระดับสูง คำถามประเมินความสอดคล้องของสมรรถนะเชิงพฤติกรรมจำนวน 58 ข้อ กับการปฏิบัติงานของเภสัชกร เป็นคำถามมาตราส่วนประมาณค่าแบบ Likert 4 ระดับ (มากที่สุด ถึง น้อยที่สุด) <strong>ผลการวิจัย:</strong> เภสัชกรตอบแบบสอบถามทั้งหมด 386 ราย ประกอบด้วยเภสัชกรโรงพยาบาล 254 ราย (ร้อยละ 65.80) เภสัชกรการตลาด 71 ราย (ร้อยละ 19.17) เภสัชกรชุมชน 33 ราย (ร้อยละ 8.55) เภสัชกรในงานคุ้มครองผู้บริโภค 21 ราย (ร้อยละ 5.44) และเภสัชกรฝ่ายผลิต 7 ราย (ร้อยละ 1.81) สมรรถนะเชิงพฤติกรรม 51 ข้อ (ร้อยละ 87.93) มีความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานของเภสัชกร สมรรถนะเชิงพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานมีจำนวน 7 ข้อ ได้แก่ สมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารจัดการการเงินการคลัง, การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการนำนโยบายสุขภาพของประเทศไปสู่การปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างที่ประเมินว่าไม่สอดคล้องมีแนวโน้มที่จะเป็นเภสัชกรปฏิบัติงานที่ไม่มีตำแหน่งบริหารและกลุ่มที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตยา <strong>สรุปผล</strong>: สมรรถนะเชิงพฤติกรรมด้านการบริหารจัดการระบบยาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานของเภสัชกรในประเทศไทย สามารถนำไปพัฒนากำลังคนเภสัชกร</p> จีรติการณ์ พิทาคำ, พักตร์วิภา สุวรรณพรหม, ศิริตรี สุทธจิตต์ (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263680 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การรับรู้ พฤติกรรม และเหตุปัจจัยอันนำไปสู่การใช้ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเมทาโดนระยะยาว ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263814 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาการรับรู้ พฤติกรรม และเหตุปัจจัยอันนำไปสู่การใช้ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines, BZDs) ในผู้ที่ได้รับยาเมทาโดนระยะยาว ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ <strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การศึกษาเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูล 13 รายที่รักษาด้วยยาเมทาโดนที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ โดยเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่ได้รับยาเมทาโดนระยะยาวร่วมกับ BZDs อย่างน้อย 1 รายการ หรือมีพฤติกรรมร้องขอ BZDs จากบุคลากรทางการแพทย์ และยังเลือกโดยวิธีการบอกต่อเพื่อค้นหาผู้ที่ได้รับ BZDs จากแหล่งภายนอก <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> การรับรู้ต่อ BZDs ของผู้ใช้ยานี้แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้ยา ผู้ที่ใช้เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยรับรู้ว่า BZDs คือ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด และยารักษาอาการวิตกกังวล โดยใช้ด้วยวิธีรับประทานเป็นหลัก ในขณะที่ผู้ที่ใช้เพื่อความสนุกสนานและเคลิ้มสุขในรูปแบบสารเสพติด รับรู้ว่าเป็นยาเมาหรือยากดประสาท และใช้ยาด้วยวิธีอมหรือผสมกับยาเมทาโดนเพื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย ปัจจัยที่นำไปสู่การใช้ยา คือ ปัญหาสุขภาพทางใจและกาย ปัญหาทางด้านครอบครัวที่ขาดความเข้าใจในกระบวนการรักษาด้วยยาเมทาโดน การคบเพื่อนที่ชักนำกันไปใช้ยา อาชีพที่ทำให้เกิดความเครียด การอาศัยในชุมชนเมืองที่สามารถเข้าถึงยาได้ง่าย การจำกัดปริมาณการจ่ายยาจากโรงพยาบาลรัฐ และกฎหมายในการควบคุม BZDs <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>ผู้ใช้ยาเมทาโดนมีมุมมองการรับรู้เกี่ยวกับ BZDs แตกต่างกัน เมื่อไม่ได้รับการรักษาอาการเจ็บป่วยในรูปแบบที่ตนเองต้องการจากโรงพยาบาล จึงมีการค้นหาวิธีเยียวยาตนเองจากแหล่งอื่น ไม่เพียงแต่รักษาอาการเจ็บป่วยทางกาย บุคลากรทางการแพทย์ควรทำความเข้าใจมุมมองของผู้ใช้ยาเมทาโดนมากขึ้น รวมไปถึงค้นหาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องอันนำไปสู่การใช้ยา</p> นันท์นภัส รังสิเวโรจน์, พักตร์วิภา สุวรรณพรหม, ศิริตรี สุทธจิตต์ (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263814 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ของภูมิทัศน์บริการและคุณภาพของการบริการต่อความจงรักภักดีของผู้รับบริการในร้านยาเดี่ยวที่ผ่านการตรวจประเมินตามหลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263890 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิทัศน์บริการและคุณภาพของการบริการต่อความจงรักภักดีของผู้รับบริการในร้านยาเดี่ยวที่ผ่านการประเมินตามหลักวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม (Good Pharmacy Practice: GPP) <strong>วิธีการ:</strong> การวิจัยนี้เป็นการสำรวจเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ผู้ตอบแบบสำรวจ คือ ผู้รับบริการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มารับบริการหรือซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านยาเดี่ยวที่ผ่านการประเมินตาม GPP ซึ่งคัดเลือกมาจำนวน 8 แห่งในกรุงเทพมหานครเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม 2564 ตัวอย่างตอบแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองหลังจากรับบริการ แบบสอบถามประเมินระดับความคิดเห็นต่อภูมิทัศน์บริการ คุณภาพของการบริการของร้านยาที่ผ่านการประเมินตาม GPP และความจงรักภักดีที่ประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ พฤติกรรมการบอกต่อ ความตั้งใจที่จะซื้อ และความอ่อนไหวต่อราคา <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>ผู้ตอบแบบสอบถามมีทั้งหมด 384 คน ร้อยละ 91.14 ของผู้ตอบเป็นผู้รับบริการประจำ ผู้ตอบแบบสอบถามประเมินประสบการณ์ของตนกับร้านยาโดยมีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นต่อภูมิทัศน์บริการและคุณภาพของการบริการที่ 4.23±0.52 และ 4.34±0.54 ตามลำดับ (จากคะแนนเต็ม 5) ภูมิทัศน์บริการโดยรวมและคุณภาพของการบริการโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีในพฤติกรรมการบอกต่อ ความตั้งใจที่จะซื้อ และความอ่อนไหวต่อราคาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt; 0.05) ภูมิทัศน์บริการโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกที่อ่อนแต่มีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการบอกต่อ (r = 0.33) และความตั้งใจที่จะซื้อ (r = 0.26) และมีความสัมพันธ์กับความอ่อนไหวต่อราคาในระดับความสัมพันธ์ที่ต่ำกว่า (r = 0.10) นอกจากนี้ คุณภาพของการบริการโดยรวมมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบอกต่อ และความตั้งใจที่จะซื้อในระดับปานกลาง (r = 0.53 และ 0.47 ตามลำดับ) และพบความสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำต่อความอ่อนไหวต่อราคา (r = 0.31) <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> คุณภาพของการบริการและภูมิทัศน์บริการเป็นปัจจัยที่อาจใช้ขับเคลื่อนให้เกิดความจงรักภักดีของผู้รับบริการในร้านยาเดี่ยวที่ผ่านการประเมินตาม GPP ในแง่ของพฤติกรรมการบอกต่อ ความตั้งใจที่จะซื้อ และความอ่อนไหวต่อราคา</p> สุชัญญา ดีเย๊าะ, สินีนาฏ กริชชาญชัย (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/263890 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขตเพื่อวิเคราะห์ อันตรกิริยาระหว่างกัญชาต่อยาที่ใช้ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264616 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อรวบรวมและประมวลผลการศึกษารวมถึงการรายงานถึงอุบัติการณ์เกี่ยวกับผลของอันตรกิริยาจากการใช้พืชกัญชาและสารสกัดที่ได้จากกัญชาต่อกลุ่มยารักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง <strong>วิธีการ</strong><strong>: </strong>การวิจัยทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขต โดยระบุคำสืบค้นและรูปแบบการสืบค้นอย่างเป็นแบบแผนเพื่อรวบรวมบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องในมนุษย์ การศึกษาสืบค้นบทความวิชาการในฐานข้อมูล PubMed และ Embase ที่ตีพิมพ์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2555 จนถึง 30 พฤศจิกายน 2565 การสืบค้นทำโดยผู้วิจัย 2 คนแบบเป็นอิสระต่อกัน <strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>บทความวิชาการจำนวน 15 บทความถูกคัดเลือกเข้าสู่การวิเคราะห์ ผลอันตรกิริยาจากกัญชาส่วนใหญ่เป็นไปตามลักษณะทางเภสัชจลนศาสตร์ของสารสำคัญจากพืชกัญชา โดยผลการรบกวนในขั้นตอนการแปรสภาพยาเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงของคู่ยาที่มีการใช้ร่วมกับพืชกัญชาหรือสารจากกัญชา <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การใช้กัญชาร่วมกับยารักษาโรคหลาย ๆ กลุ่ม จำเป็นต้องมีการใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะกลุ่มยาที่มีวิถีการแปรสภาพเดียวกับสารจากกัญชา เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงทางเภสัชจลนศาสตร์ของคู่ยาที่ใช้ร่วมกันจนนำไปสู่ความล้มเหลวทางการรักษาได้ ดังนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อการแพทย์จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้หากมีมาตรการและแนวปฏิบัติที่เหมาะสม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารให้ความรู้แก่ภาคประชาชน รวมถึงผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนเพื่อปรับมุมมองทางความคิดให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและเป็นไปในทางที่ถูกต้อง</p> วริทธิ์ เรืองเลิศบุญ, สุพัตรา ลิ่มสุวรรณโชติ, สุชารัศมิ์ ตั้งสุขฤทัย, วันดี อุดมอักษร (ผู้แต่ง) Copyright (c) 2023 วารสารเภสัชกรรมไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/264616 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700