ประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาทาพระเส้นในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิเปรียบเทียบกับยาครีมทาแก้ปวด : การศึกษาเปิดเผยแบบสุ่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยาทาพระเส้นในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิเปรียบเทียบกับยาครีมทาแก้ปวด วิธีการ: การศึกษาเป็นการวิจัยเปิดเผยแบบสุ่ม การศึกษาแบ่งอาสาสมัคร 60 คนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาทาพระเส้น ครั้งละ 6 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง จำนวน 31 คน และกลุ่มที่ได้รับยาครีมทาแก้ปวด ครั้งละ 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง จำนวน 29 คน ระยะเวลาติดตามอาการ คือ 14 วัน ประสิทธิผลของการรักษาประเมินจากระดับความปวดของข้อเข่าโดยใช้ visual analog scale (VAS) ระยะเวลาในการเดิน 100 เมตร และ WOMAC index score ความปลอดภัยของการรักษาประเมินจากการตรวจร่างกาย ค่าทางห้องปฏิบัติการการทำงานของไตและตับ ผลการวิจัย: ยาทาพระเส้นมีประสิทธิผลในการลดอาการปวดของข้อเสื่อมภายใน 14 วัน แต่อาการปวดของผู้ป่วยกลุ่ม YTS ที่วัดโดย VAS และ WOMAC index score ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการใช้ยาครีมทาแก้ปวด (P<0.05) อย่างไรก็ตาม อาสาสมัครที่ใช้ยาทาพระเส้นมีระยะเวลาในการเดิน 100 เมตรและการประเมินอาการโดยรวมดีกว่าผู้ป่วยที่ใช้ยาครีมทาแก้ปวด (P=0.027 และ <0.01 ตามลำดับ) ความปลอดภัยของยาทาพระเส้นและยาครีมทาแก้ปวดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: ยาทาพระเส้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
U.S. Department of Health and Human Services, National Institute on Aging, National Institutes of Health, & World Health Organization (WHO). Global health and aging (NIH Publication No. 11-7737) [online]. 2011 [cited on Oct 15, 2019]. Available from: www.who.int/ageing/publications/global_health .pdf
Miller ME, Rejeski WJ, Messier SP, and Loesser RF. Modifiers of change in physical functioning in older adults with knee pain: the Observational Arthritis Study in Seniors (OASIS). Arthritis Rheum 2001; 45: 331-9.
Picheansoonthon C, Chawalit M, Jirawong W. The explanation of Tamra-Phra-O-Sot-Phra-Narai. Bang kok: Amarin Printing; 2001.
Bang JS, Oh DH, Choi HM, Sur BJ, Lim SJ, Kim JY, et al. Anti-inflammatory and anti-arthritic effects of piperine in human interleukin 1beta-stimulated fibroblast-like synoviocytes and in rat arthritis models. Arthritis Res Ther 2009; 11: R49.
Meghwal M, Goswami TK. Piper nigrum and pipe rine: an update. Phytother Res 2013; 27: 1121-30.
Acharya SD, Ullal SD, Padiyar S, Rao YD, Upadh yaya K, Pillai D, et al. Analgesic effect of extracts of Alpinia galanga rhizome in mice. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao 2011; 9: 100-4.
Anuthakoengkun A and Itharat A. Inhibitory effect on nitric oxide production and free radical scavenging activity of Thai medicinal plants in osteoarthritic knee treatment. J Med Assoc Thai 2014; 97 Suppl 8:S116-24
Wansi JD, Wandji J, Sewald N, Nahar L, Martin C, Sarker SD. Phytochemistry and pharmacology of the genus Drypetes: A review. J Ethnopharmacol 2016; 190: 328-53.
Pinsornsak P, Kanokkangsadal P, Itharat A. The clinical efficacy and safety of the sahastara remedy versus diclofenac in the treatment of osteoarthritis of the knee: a double-blind, randomized, and controlled trial. Evid Based Complement Alternat Med 2015; 2015:103046. doi: 10.1155/2015/103046
Ying X, Chen X, Cheng S, Shen Y, Peng L, Xu HZ. Piperine inhibits IL-beta induced expression of inflammatory mediators in human osteoarthritis chondrocyte. Int Immunopharmacol 2013; 17: 293-9.
Kim HG, Han EH, Jang WS, Choi JH, Khanal T, Park BK, et al. Piperine inhibits PMA-induced cyclooxygenase-2 expression through downregula ting NF-kappaB, C/EBP and AP-1 signaling path ways in murine macrophages. Food Chem Toxicol 2012; 50: 2342-8.
Jung YC, Kim ME, Yoon JH, Park PR, Youn HY, Lee HW, et al. Anti-inflammatory effects of galangin on lipopolysaccharide-activated macrophages via ERK and NF-kappaB pathway regulation. Immuno phar macol Immunotoxicol 2014; 36: 426-32.
Garcia-Villar R, Leng-Peschlow E, Ruckebusch Y. Effect of anthraquinone derivatives on canine and rat intestinal motility. J Pharm Pharmacol 1980; 32: 323-9.
El-Say KM, Abd-allah Fl, Lila AE, Hassan Ael-S, Kassem AE. Diacerein niosomal gel for topical delivery: development, in vitro and in vivo assessment. J Liposome Res 2016; 26: 57-68.
McAlindon TE, Bannuru RR, Sullivan MC, Arden NK, Berenbaum F, Bierma-Zeinstra SM, et al. OARSI Guidelines for the non-surgical manage ment of knee osteoarthritis. Osteoarthritis Cartilage 2014; 22: 363-88.