คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ชลาลัย ดวงเกตุ
อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตดังกล่าว วิธีการ: การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจภาคตัดขวางในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 228 รายที่เลือกมาโดยการสุ่มอย่างง่าย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิต 9-THAI และเครื่องมือวัดความผาสุกทางจิตวิญญาณด้วย Spiritual Well-being Scale for Thai Buddhist Adults with Chronic Illness ผลการวิจัย: ผู้ป่วยมีค่ามัธยฐาน (พิสัยควอไทล์) ของคุณภาพชีวิตด้านกาย เท่ากับ 36.22 (20.51) คุณภาพชีวิตด้านใจ เท่ากับ 33.97 (22.80) (ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตทั้งสองด้าน เท่ากับ 50 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10  คะแนน) ความผาสุกทางจิตวิญญาณด้านความหวังและการมีสิ่งยึดเหนี่ยว ด้านการเข้าใจตนเองและธรรมชาติของชีวิต และด้านความสงบสุข เท่ากับ 3.80 (0.80), 3.50 (1.00) และ 3.50 (1.00) ตามลำดับ (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) คุณภาพชีวิตด้านกายสัมพันธ์กับปัจจัยเพศ คุณภาพชีวิตด้านใจสัมพันธ์กับปัจจัยเพศ อายุ การไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และการเป็นคนเคร่งศาสนา ความผาสุกทางจิตวิญญาณสัมพันธ์กับปัจจัยอายุ การเล่นโยคะ การนั่งสมาธิ การได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากบุคคลรอบข้าง ความเชื่อว่าการทำบุญทำความดีจะทำให้สุขภาพดีขึ้น ความเชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นเรื่องของเวรกรรมหรือผีทำ การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนทางศาสนา ความเชื่อส่วนบุคคลที่มั่นคง และระดับความเชื่อทางจิตวิญญาณ สรุป: ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ศึกษามีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง มีความผาสุกทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก คุณภาพชีวิตและความผาสุกทางจิตวิญญาณมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับปัจจัยคุณลักษณะบุคคล ความเชื่อ ศาสนา และการสนับสนุนจากผู้อื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. Thailand WHO statistical profile [online]. 2015 [cited April 14, 2015], Available from: www.who.int/gho/mortality_burden_disease/en

Diabetes Association of Thailand, Endocrine Society of Thailand, Department of Medical Services, National Health Security Office. Clinical practice guideline for diabetes. Bangkok: Aroonkarnpim; 2014.

Sulmasy DP. A biopsychosocial-spiritual model for the care of patients at the end of life. Gerontologist. 2002; 42: 24-33.

Singh DKM, Ajinkya S. Spirituality and religion in modern medicine. Indian J Psychol Med. 2012; 34: 399-402.

Somkamlang P. Spiritual well-being characters of Florence Nightingale: interpretive biographical method [dissertation]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2009.

Dyson J, Cobb M, Forman D. The meaning of spirituality: a literature review. J Adv Nurs. 1997; 26: 1183-8.

Parsian N, Dunning T. Spirituality and coping in young adults with diabetes: a cross-sectional study. Eur Diabetes Nurs 2009; 6: 100-4.

Lundberg PC, Thrakul S. Diabetes type 2 self-management among Thai Muslim women. J Nurs Healthc Chronic Illn 2011; 3: 52-60.

Lundberg PC, Thrakul S. Type 2 diabetes: how do Thai Buddhist people with diabetes practice self-management?. J Adv Nurs 2011; 68: 550-8.

Lundberg PC, Thrakul S. Religion and self-management of Thai buddhist and muslim women with type 2 diabetes. J Clin Nurs 2013; 22: 1907-16.

Jafari N, Farajzadegan Z, Majlesi M, Jafari N. Spiritual well-being and quality of life of Iranian adults with type 2 diabetes. Evid Based Complement Alternat Med. 2014; 1: 1-8.

Tan H, Wutthilert C, & O’Connor M. Spirituality and quality of life in older people with chronic illness in Thailand. Prog Palliat Care. 2011; 19: 177-84.

Urooj UN, Shafi H. Association between spiritual well-being and depression among adults with Type 2 diabetes. Indian Journal of Health & Wellbeing. 2014; 5: 969-72.

Kantamoon N. Spiritual well-being of the elderly with lung cancer [dissertation]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2003.

Pariyutsarakan P. The model of cultural combi nation of basic beliefs among Buddhism, Brahmanism and spirit towards stability of the Isan community [dissertation]. Mahasarakham: Mahasa rakham University; 2008.

Cheawchanwattana A. The psychometric property of a new generic health status measure: the 9-item Thai Health Status Assessment Instrument (9-Thai) [dissertation]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2007.

Zareipour M, Khazir Z, Valizadeh R, Mahmoodi H, Ghojogh MG. The Association between spiritual health and blood sugar control in elderly patients with type 2 diabetes. Elderly Health Journal. 2016; 2: 67-72.

Sithipan W. Factors predicting the spiritual state of the HIV infected person [dissertation]. Nakhon Pathom: Mahidol University; 2009.

Tantitrakul W. Factors related to spiritual well-being of terminal cancer patients [dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2009.