ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์และแผ่นพับภาษาปกาเกอะญอต่อ ความรู้และการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยปกาเกอะญอ

Main Article Content

ณัฐพร ศศิฉาย
สุระรอง ชินวงศ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์และแผ่นพับภาษาปกาเกอะญอต่อความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการบริโภคเกลือ ความร่วมมือในการใช้ยา และการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วย
ปกาเกอะญอ วิธีการ: รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองที่ศึกษาไปข้างหน้าแบบกลุ่มเดียว โดยมีการวัดผลก่อนและหลังในกลุ่มตัวอย่างโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 146 คน ที่โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา
ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2560 กลุ่มตัวอย่างพบเภสัชกรทั้งหมด 3 ครั้งและได้รับสื่อ
วีดิทัศน์และแผ่นพับภาษาปกาเกอะญอ 3 ครั้ง การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคเกลือและปริมาณเกลือที่เติมในน้ำชาด้วยเครื่องชั่งวิเคราะห์ 4 ตำแหน่ง ความร่วมมือในการใช้ยาประเมินจากการนับเม็ดยาที่เหลือและการมาพบแพทย์ตามวันนัด การศึกษาติดตามระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยในทุกครั้งที่มารับบริการ ผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยเพิ่มจาก 11.26+3.54 (คะแนนเต็ม 17 คะแนน) ในช่วงก่อนให้ความรู้เป็น 14.75+2.34 และ 16.02+1.32 หลังการให้ความรู้ครั้งที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ปริมาณเฉลี่ยของเกลือที่ใส่ในน้ำชาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) จาก 1,740.3+3,279.3 มิลลิกรัมต่อวันในช่วงก่อนการให้ความรู้ครั้งแรกลดลงเป็น 636.8+1,142.6 มิลลิกรัมต่อวัน และ 415.4+871.7 มิลลิกรัมต่อวัน ความร่วมมือในการใช้ยาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อประเมินด้วยการนับเม็ดยาคงเหลือ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสโตลิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) จาก 136.6+16.4 มิลลิเมตรปรอท เป็น 130.0+13.1 มิลลิเมตรปรอท และ 126.7+12.7 มิลลิเมตรปรอทตามลำดับ และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตไดแอสโตลิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.005) จาก 81.2+11.4 มิลลิเมตรปรอท เป็น 78.6+10.6 มิลลิเมตรปรอท และ 78.9+9.8 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ สรุป: การใช้สื่อวีดิทัศน์และแผ่นพับภาษาปกาเกอะญอในผู้ป่วยปกาเกอะญอที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถเพิ่มความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการบริโภคเกลือที่เหมาะสม ความร่วมมือในการใช้ยา และการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเป้าหมายได้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

WHO. A global brief on hypertension, silent killer, global public health crisis. Geneva: World Health Organization; 2013.

Levy D, Larson MG, Vasan RS, Kannel WB, Ho KKL. The progression from hypertension to conges tive heart failure. JAMA. 1996; 275: 1557-62.

Rahman ARA, Wang JG, Kwong GMY, Morales DD, Sritara P, Sukmawan R. Perception of hypertension management by patients and doctors in Asia: potential to improve blood pressure control. Asia Pac Fam Med. 2015; 14: 1-11.

Limrangsan S, Suwannaprom P. Explanatory model of hypertension and antihypertensives use among patients at Hangdong hospital, Chiangmai Province. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2013; 8: 66-77.

Aung MN, Lorga T, Srikrajang J, Promtingkran N, Kreuangchai S, Tonpanya W, et al. Assessing awareness and knowledge of hypertension in an at-risk population in the Karen ethnic rural commu- nity, Thasongyang, Thailand. Int J Gen Med 2012; 5: 553-61.

Woolf KJ, Bisognano JD. Nondrug interventions for treatment of hypertension. J Clin Hypertens. 2011;

: 829-35.

Matsumura K, Arima H, Tominaga M, Ohtsubo T, Sasaguri T, Fujii K, et al. Impact of antihyperten sive medication adherence on blood pressure control in hypertension: the COMFORT study. Q J Med. 2013; 106: 909-14.

Zarei AR, Jahanpour F, Alhani F, Razazan N, Ostovar A. The impact of multimedia education on knowledge and self-efficacy among parents of children with asthma: A randomized clinical trial. J Caring Sci 2014; 3: 185-92.

Bosworth HB, Granger BB, Mendys P, Brindis R, Burkholder R, Czajkowski SM, et al. Medication adherence: A call for action. Am Heart J. 2011; 162: 412-24.

Lapirattanakul W. Public relations. 11thed. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2006.

Boonchuguang S, Juthasantikul W, Chantarokorn A, Wasinwong W. Effect of using video guided about deep-breathing exercise for patient prepara tion before receiving general anesthesia. Srinaga rind Medical Journal 2012; 27: 139-46.

Krissanakamon W. The effect of self-efficacy promoting program using video media in Northern Thai dialect on postoperative behaviors in elderly patients receiving prostatectomy [master thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2004.

Chansawang W. Public relations in public health. Bangkok: Parbpim; 1990.

Ester AG, Enriqueta PR, Valeria PH, Josep MB. Knowledge and adherence to antihypertensive therapy in primary care: results of a randomized trial. Gac Sanit. 2011; 25: 62-7.

Huss K, Salerno M, Huss RW. Computer-assisted reinforcement of instruction: effects on adherence in adult atopic asthmatics. Res Nurs Health. 1991; 14: 259-67.

Kummak P, Kummak S, Kagmmunee M. Factors related to self-care behaviors among patients with hypertension. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2015; 2: 74-91.

Sringernyuang L, Wongjinda T, Apichanakulchai. Salt consumption in Thai population: qualitative study [online]. 2015 [cited oct 14, 2015]. Available from: thaincd.com/document/file/download/paper-manual/download1no167.pdf

Promthet S, Saranrittichai K, Kamsa-ard S, Sena rak P, Vatanasapt P, Wiangnon S, et al. Situation analysis of risk factors related to non-communica- ble diseases in Khon Kaen province, Thailand. Asian Pac J Cancer Prev. 2011; 12: 1337-40.

Chaiyakod M, Kunsongkiet W, Masingboon K. Effect of the supportive-educative nursing program on self-care knowledge, eslf-care behavior and clinical outcomes of hypertensive patients at risk of renal complications. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2017; 12: 193-201.

Rujiwatthanakorn D, Panpakdee O, Malathum P, Tanomsup S. Effectiveness of a self-management program for Thais with essential hypertension. Pacific Rim Int Nurs Res. 2011; 15: 97-110.