บทบาทของทีมสหสาขาวิชาชีพในการจัดการยากลุ่มที่ต้องระมัดระวังสูง และการพัฒนาเอกสารให้คำแนะนำแบบรูปภาพสำหรับยากลุ่มเมทิลแซนทีน

Main Article Content

ทิพย์สุดา เปรมภูติ
พักตร์วิภา สุวรรณพรหม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาบทบาทของทีมสหสาขาวิชาชีพในการจัดการยากลุ่มที่ต้องระมัดระวังสูงโดยมีผู้ป่วยเป็นส่วนร่วม และเพื่อสร้างเอกสารรูปภาพเพื่อช่วยเตือนอาการข้างเคียงจากยากลุ่มเมทิลแซนทีน วิธีการวิจัย: ในขั้นตอนแรก ผู้วิจัยจัดการสนทนากลุ่มกับทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อปรับปรุงบทบาทและหาแนวทางในการจัดการยากลุ่มที่ต้องระมัดระวังสูง ในระยะที่สองเป็นการสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบคิดดัง ๆ (think-aloud interview) ในผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสันทราย จำนวน 30 คน เพื่อพัฒนารูปภาพเพื่อเตือนผู้ป่วยและญาติในเรื่องอาการข้างเคียงจากยากลุ่มเมทิลแซนทีน ผลการวิจัย: ทีมสหสาขาวิชาชีพทราบบทบาทและหน้าที่ของตนเองต่อการจัดการยากลุ่มที่ต้องระมัดระวังสูงแต่ยังไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดอย่างเข้มงวด บทบาทเภสัชกรยังไม่ชัดเจน คู่มือยาที่ต้องระมัดระวังสูงที่จัดทำขึ้นไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง และยาที่ต้องระมัดระวังสูงมีหลากหลายจนทำให้เกิดความสับสน ทีมสหสาขาวิชาชีพเห็นความสำคัญของการให้ผู้ป่วยและญาติช่วยสังเกตอาการอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยาเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยากลุ่มนี้ โดยเริ่มจากยากลุ่มเมทิลแซนทีน และใช้เอกสารรูปภาพเพื่อให้ข้อมูลอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ กระหายน้ำ และใจสั่น เมื่อนำรูปต้นแบบอาการเหล่านี้ไปสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างครบ 3 รอบแล้ว พบว่า รูปที่พัฒนาจนกลุ่มตัวอย่างตอบถูกอย่างน้อยร้อยละ 90 ได้แก่ รูปอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร และปวดศีรษะ สรุป: ความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วย และญาติมีความจำเป็นต่อการบริหารจัดการยากลุ่มที่ต้องระมัดระวังสูง การสร้างเอกสารให้คำแนะนำแบบรูปภาพต้องผ่านการทดสอบหลายรอบเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนและเข้าใจตรงกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. มังกร ประพันธ์วัฒนะ. การจัดการยาที่ต้องระวังเป็นพิเศษ.ใน: ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล, สุวัฒนา จุฬาวัฒนพล, บรรณาธิการ. คู่มือการใช้ยาสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย); 2549. หน้า 293-308.

2. ศุภนิตย์ อินทารักษ์. ความร่วมมือของเภสัชกรและทีมสหวิชาชีพในการจัดการระบบการติดตามการให้ยาที่ต้องระมัดระวังสูงของแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

3. Mansoor L, Dowse R. Written medicines information for South African HIV/AIDS patients: does it enhance understanding of co-trimoxazole therapy? Health Educ Res. 2007;22:37-48.

4. Kitching JB. Patient information leaflets-the state of the art. J R Soc Med. 1990;83:298-300.

5. นรรัตน์ สมเพชร, ชิดชนก เรือนก้อน, อัญชลี เพิ่มสุวรรณ. ผลการเตือนทางโทรศัพท์ต่อความร่วมมือในการใช้ยาลดความดันโลหิตของผู้ป่วยนอก. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2007; 25: 89-97.

6. Dowse R, Ramela T, Browne SH. An illustrated leaflet containing antiretroviral information targeted for low-literate readers: development and evaluation. Patient Educ Couns. 2011;85:508-15.

7. Betty M, Dowse R. Development of written information for antiretroviral therapy: comprehend-sion in a Tanzanian population. Int J Clin Pract. 2007; 29:173-82.

8. Smith KM, Riche DM, Henyan NN, editors.Clinical drug data. New York: McGraw-Hill ; 2010.

9. วิศิษฐ์ วังวิญญู. สุนทรียสนทนา. กรุงเทพฯ: สวนมีเงินมา; 2552.

10. ชุติมา สืบวงค์ลี, ศิริเดช สุชีวะ, สุวิมลว่องวานิช. การพัฒนาเครื่องมือประเมินพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรทางการพยาบาลโดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงปัญญา. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2011;7:127-42.

11. MansoorL, Dowse R. Design and evaluation of a new pharmaceutical pictogram sequence ot convey medicine usage. Ergonomic SA. 2004; 16: 29-41.

12. American National Standard Institute. Accredited standard on safety colors, signs, symbols, labels, and tags. Washington DC: National Electrical Manufacturers Association; 1991. 1–5.

13. ฝ่ายข้อมูลสารสนเทศ โรงพยาบาลสันทราย. รายงานอัตราการใช้ยาของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสันทราย ปี พ.ศ. 2554. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสันทราย; 2554.

14. Graham S, Clopp PM, Kostek EN. Implementation of a high-alert medication program. Perm J. 2008; 12:15-22.

15. Schmitt MR, Miller MJ, Harrison DL, Farmer KC, Allison JJ, Cobaugh DJ, et al. Communicating non-steroidal anti-inflammatory drug risks: verbal counseling, written medicine information, and patients' risk awareness. Patient Educ Couns. 2011;83:391-97.