ความเข้าใจข้อความบนฉลากยาตามโครงการโรงพยาบาลส่งเสริม การใช้ยาอย่างสมเหตุผลของผู้ป่วยนอก: กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ชฎาพร รามการุณ
สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเข้าใจของผู้ป่วยนอกต่อข้อความบนฉลากยาตามโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบฉลากยากับความเข้าใจข้อความบนฉลากยา วิธีการ: ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยหรือผู้มารับยาที่แผนกจ่ายยาผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล 8 แห่งในจังหวัดเพชรบุรี 400 คน การวิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีคำถามวัดความเข้าใจฉลากยาไอบูโพรเฟนชนิดเม็ดของแต่ละโรงพยาบาล ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในแต่ละโรงพยาบาลมีความเข้าใจข้อความบนฉลากยาแตกต่างกัน ตัวอย่างทั้งหมดเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับจำนวนเม็ดในการรับประทานยาต่อครั้ง กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 70 เข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับชื่อสามัญทางยาภาษาไทย ความแรงยา ข้อบ่งใช้ยา และเวลาในการรับประทานยา ส่วนคำเตือนมีเพียงร้อยละ 23.5 เท่านั้นที่มีความเข้าใจ รูปแบบฉลากยาที่มีคำว่า “ชื่อสามัญ” นำหน้าชื่อสามัญทางยาภาษาไทยและรูปแบบฉลากยาที่แสดงชื่อสามัญทางยาภาษาไทยหลังวิธีใช้ยามีความสัมพันธ์กับความเข้าใจชื่อสามัญทางยาภาษาไทยที่เพิ่มขึ้น (P=0.001, 0.023) การระบุความแรงยาในหน่วยภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับความเข้าใจความแรงยาที่เพิ่มขึ้น (P=0.003) ขนาดตัวอักษรวิธีใช้ยาขนาดใหญ่และการไม่ใช้ข้อความ “เมื่อมีอาการ” มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจเวลาในการรับประทานยาที่เพิ่มขึ้น (P= 0.028, 0.004) การแสดงคำเตือนหลังข้อบ่งใช้ยาหรือหลังชื่อสามัญทางยาภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับความเข้าใจคำเตือนที่เพิ่มขึ้น (P<0.001 และ <0.001 ตามลำดับ) สรุป: รูปแบบฉลากยาที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจมากที่สุด ได้แก่ ฉลากยาที่มีคำว่า “ชื่อสามัญ” นำหน้าชื่อสามัญทางยาภาษาไทย ระบุความแรงยาในหน่วยภาษาไทยคำเต็ม ระบุอย่างชัดเจนว่าควรใช้ยาเมื่อมีอาการใดสำหรับยาที่ใช้เมื่อมีอาการ ระบุวิธีใช้ยาด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ และแสดงคำเตือนหรือข้อแนะนำหลังข้อบ่งใช้ยาหรือชื่อสามัญทางยาภาษาไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. Optimization of medicines regulatory authority web sites. WHO Drug Inf 2010; 24: 91-7.

Food and Drug Administration. The national medicine policy and the national drug system development strategic plan [online]. 2021 [cited Jun 6, 2021]. Available from: ndi.fda.moph.go.th/uploads/policy_fil e//20210330101713.pdf.

Sub-committee on Rational Drug Use Promotion. Rational drug use hospital manual. Bangkok: Agricultural Cooperatives of Thailand Printing; 2015.

Sub-committee on Rational Drug Use Promotion. Suggestions on improving medicine labels and the preparation of supplementary labels to promote reasonable use of drugs. Bangkok: Wanida Karn pim; 2015.

Tabloka J, Thumwongsa W, Fungarom W. Cognitive survey and patient satisfaction per special instructions on medication [dissertation]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2013.

Faculty of Medicine Siriraj Hospital Knowledge Management, Mahidol University. The needs of people on medication labels of Siriraj hospital [online]. 2015 [cited Nov 10, 2020]. Available from: www2.si.mahidol.ac.th/km/cop/clinical/rdu/5876/.

Srisuphan Y. Smart label: easy to read medicine labels [research project]. Amnat Charoen: Senang khanikhom Hospital; 2016.

Jampasa N, Muenpa R, Chanadee S. Understanding and satisfaction in drug labeling according to rational drug use hospital project of non-communicable disease patients. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2017; 13: 724-34.

Wisetsing C. Comparison of the understanding on conventional labels and rational use of drug labels of patients with NCDs at Lampang hospital. Journal of Health Science 2019; 28: 1058-65.

Treethanapan T, Buthong P, editors. Development of a service system for rational drug use and prevention and control of antimicrobial resistance. Provincial Inspection; 2018 Aug 7-8; Phetchaburi, Thailand. Bangkok: Food and Drug Administration, Inspection Division; 2018.

Pearson PD, Johnson DD. Teaching reading com prehension. New York: Holt, Rinehart and Winston; 1978.

Harris LA, Smith CB. Reading instruction: Diagnostic teaching in the classroom. 3rd ed. New York: Holt, Rinehart and Winston; 1980.

Bond GL, Tinker MA. Reading difficulties: Their diag nosis and correction. 4th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1979.

Laopaiboonkun S, Chuaikan W, Niloh N, Taluengjit N, Meesin N, Phetdee N. Knowledge on the information appeared on medication labels among clients of the outpatient pharmacy services of Thasala hospital. Thai Journal of Pharmacy Practice 2022; 14: 403-14.

Wongwatroj A, Lueangchiranothai P, Kanidpanya charoen M. Results of adding drug name and action in Thai language on medicine labels towards medication recognition and compliance among diabetic patients. Lampang Medical Journal 2014; 35: 20-8.

Sangsrikam J, Lerkiatbundit S, Saengcharoen W. Assessment of patient’s understanding and medication adherence for labels according to rational drug use hospital project. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences 2020; 15: 129-44.

Sangrudsamee J. Evaluation of extended medica- tion labels by health professionals. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 318-30.