การวิเคราะห์ความคล้ายคลึงของลักษณะทางกายภาพของ ยาเม็ดและยาแคปซูลที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Main Article Content

จินตนา นภาพร
ธีราพร สุภาพันธุ์
พีรวัฒน์ จินาทองไทย
ศักดิ์สิทธิ์ ศรีภา
จิรวัฒน์ คำนึก
ชนาวัฒน์ ค้าแก้ว
ธนากร จึงสุวดี
ชลลัดดา พิชญาจิตติพงษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อการวิเคราะห์ความคล้ายคลึงของลักษณะทางกายภาพของยาเม็ดและยาแคปซูลที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาในประเทศไทย วิธีการ: งานวิจัยนี้วิเคราะห์ความคล้ายคลึงของลักษณะทางกายภาพของยาเม็ดและแคปซูลสำหรับมนุษย์และสัตว์ในกลุ่มยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษที่มีการขึ้นทะเบียนตำรับกับกองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยวิเคราะห์จากรายการยาที่มีรูปเม็ดยาแสดงที่มีจำนวน 2,837 รายการในฐานข้อมูลการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาเม็ดและแคปซูลในประเทศไทยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การศึกษาวิเคราะห์ความเหมือนของสี ขนาด และรูปร่างของยาเม็ดและแคปซูล ผลการวิจัย: ลักษณะเม็ดยาที่มีความคล้ายคลึงที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ยาเม็ดสีขาวขนาดเล็กรูปร่างกลม (457 รายการ) ยาเม็ดสีขาวขนาดกลางรูปร่างกลม (253 รายการ) และยาเม็ดสีเหลืองขนาดเล็กรูปร่างกลม (178 รายการ) ตามลำดับ สรุป:  การศึกษานี้พบความคล้ายคลึงของลักษณะทางกายภาพของยาเม็ดและยาแคปซูลเม็ดยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการแสดงถึงสภาพปัญหายาคู่เหมือนที่ส่งผลให้เกิดความสับสนในการใช้ยาและความคลาดเคลื่อนทางยาได้ จึงควรมีการพัฒนามาตรการป้องกันเชิงระบบเพื่อลดปัญหายาคู่เหมือนในอนาคตต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Wongboonnak P. Look-alike sound-alike drugs situa- tion in Thailand. HCU Journal of Health Science 2018; 22: 205-16.

Institute for Safe Medication Practices (ISMP). ISMP list of confused drug names [online]. 2019 [cited Oct 11, 2022]. Available from: www.ismp.org/recommen dations/confused-drug-names-list.

Cohen MR, Smetzer JL. ISMP medication error report analysis. Hosp Pharm 2018; 53: 217-9.

Bryan R, Aronson JK, ten Hacken P, Williams A, Jordan S. Patient safety in medication nomenclature: orthographic and semantic properties of international nonproprietary names. PLOS ONE 2015; 10: e0145 431.

World Health Organization. WHO launches 'Nine patient safety solutions' [online]. 2007 [cited Aug 12, 2022]. Available from: www.who.int/news/item/02-05-2007-who-launches-nine-patient-safety-solutions.

Healthcare Accreditation Institution. 2P safety: Patient and personnel safety [online]. 2019 [cited Aug 12, 2022]. Available from: hacc.kku.ac.th/haccu pload_news/pdftitle/Tue24545uFpjMOP.pdf.

Limpanyalert P. 2P safety patient and personnel safety [online]. 2017 [cited Jan 2, 2022]. Available from: hacc.kku.ac.th/haccupload_news/pdftitle/Tue2 4545uFpjMOP.pdf.

Chumchit C, Amrumpai Y, Treesak C. Recognition on medication safety and look-alike/sound-alike medica tion problems in Thai public hospitals. Silpakorn University Science and Technology Journal 2015; 9: 40-51.

Chanakit T, Napaporn J, Chiempattanakajohn T, Sangkhawan S, Wichakot S. The survey of look alike /sound alike (LASA) drugs available in hospitals in Thailand. Afr J Pharm Pharmacol 2013; 7: 227-39.

Government of Canada. Guidance document for industry - review of drug brand names [online]. 2014 [cited Aug 6, 2022]. Available from: www.canada.ca /en/health-canada/services/drugs-health-products/re ports-publications/medeffect-canada/guidance-docu ment-industry-review-drug-brand-names.html.

Wongboonnak P. Resolving the problems on look-alike sound-alike drugs at the system level. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 251-8.

Kleinheksel AJ, Rockich-Winston N, Tawfik H, Wyatt TR. Demystifying content analysis. Am J Pharm Educ 2020; 84: 7113.

Suriwan T. The survey of behaviors and factors related to look-alike sound-alike medicine preparing of pharmacy staff at Nakhon Pathom hospital. Jour- nal of Public Health and Innovation 2022; 2: 1-15.

Dhanasettakorn M, Bunchuailua W. Provision of drug information for patients of non-overnight sanatoriums in Chonburi. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 15-26.