ปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้รับเลขสารบบอาหารของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน ในจังหวัดกาญจนบุรี: งานวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง

Main Article Content

ศศิกานต์ กลึงโรจน์พงษ์
น้ำฝน ศรีบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้รับเลขสารบบอาหารของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี วิธีการ: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีประชากรของการศึกษา คือ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มจำนวน 566 แห่งที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามชนิดตอบเอง โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้ประชากร ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีเลขสารบบอาหารได้มาจากผู้ตอบแบบสอบถามและตรวจสอบโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ปัจจัยที่ศึกษาได้แก่ข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคล สถานประกอบการ ผลิตภัณฑ์ ความคิดเห็น และความรู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างตอบกลับร้อยละ 24.38 สถานประกอบการร้อยละ 16.7 ได้รับเลขสารบบอาหารในทุกผลิตภัณฑ์ สถานประกอบการร้อยละ 9.4 ได้รับเลขสารบบสำหรับอาหารบางผลิตภัณฑ์ และสถานประกอบการร้อยละ 73.9 ยังไม่ได้รับเลขสารบบอาหาร ปัจจัยที่ส่งผลกับการได้รับเลขสารบบอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานที่ผลิตผ่านหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (P < 0.001) ประเภทอาหาร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ (P=0.014) และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (P=0.014) สรุป: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีในการผลิตอาหาร ร่วมกับการให้บริการเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนจัดตั้งสถานประกอบการต้นแบบเป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีเลขสารบบอาหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Order of Kanchanaburi province No. 2659/2019 Notification on appointment of monitoring, supporting and evaluating group members for the OTOP inno-life tourism-based communities in Kanchanaburi province. Kanchanaburi: Community Development Office; 2019. (Nov 30,2019)

Provincial Community Development Office. Guide lines and criteria for selecting OTOP product champion 2019 (OTOP Product Champion: OPC). Bangkok; 2019.

Community Development Department. OTOP product record form 2019. Bangkok: BTS press; 2015

National Statistical Office. Public opinion survey on community and local products (OTOP) 2013. Bangkok: National Statistical Office; 2013.

Atthirawong W. Factors affecting consumer purchase decisions on otop products in bangkok metropolitan area. Thai Journal of Science and Technology. 2007; 15: 88-99.

Regulation of the Food and Drug Administration on procedures of food serial numbers B.E. 2562. Royal Gazette No.136, Special Part 243D (Nov 30, 2019).

Public Health Ministerial Declaration No.420 in 2020 on production processes, production equipment, and storage of food products. Royal Gazette No.138 , Special Part 31D (Feb 9, 2020).

Community Development Department, Ministry of Interior Provincial Community Development Office. Entrepreneur data 2014-2019 (on Oct 1, 2019) [online]. 2019 [cited Nov 6, 2020]. Available from: cep.cdd.go.th/services/otop2562.

Chiarakul T. The problems and the adaptation of OTOP to AEC. Huachiew Chalermprakiet University Executive Journal. 2014; 34: 177-91.

Boonchan A, Ratiolan S, Parinyasiri T. developing ready-to-eat food manufacturers’ readiness to follow good manufacturing practice regulations in Samut Sakhon. Electronic journal of Open Distance Innovative Learning 2016; 6: 91-113.

Meerattanawat J. Factors related to registration for general food product according to primary GMP of one tambon one product traders in the eastern provinces of Thailand. [dissertation]. Nakhon Pathom: Faculty of Pharmacy, Silpakorn University; 2015.

Provincial Community Development Office of Kanchanaburi. Product registration 2014-2020. Kanchanaburi; Provincial Community Development Office of Kanchanaburi; 2020.

Yotongyos M, Swasdison P. Determining the sample size for social science research [online]. 2017 [cited Nov 6, 2021]. Available from: www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf

Amonsamanlak S, Tongyonk L, Kitisopee T. Study on problems related to the registration of dietary supplements from Thai hearbs. FDA Journal 2011; 18: 21-8.