ผลของโปรแกรมให้ความรู้และสร้างแรงจูงใจโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อการปรับปรุงมาตรฐาน การดำเนินงานของคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการด้านความงามในจังหวัดอุดรธานี : การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของโปรแกรมให้ความรู้และสร้างแรงจูงใจโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อการปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินงานของคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการด้านความงาม ในจังหวัดอุดรธานี วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม กลุ่มควบคุมจำนวน 24 แห่งได้รับการตรวจมาตรฐานตามปกติของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี กลุ่มทดลองจำนวน 23 แห่งได้รับการตรวจมาตรฐานร่วมกับโปรแกรมให้ความรู้และสร้างแรงจูงใจตามทฤษฏีการกระทำที่มีเหตุผลโดยปรับทัศนคติด้านบวก โน้มน้าวให้เกิดการคล้อยตาม และลดอุปสรรคในการปฎิบัติตามกฏหมาย การให้การแทรกแซงทำ 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ ผลลัพธ์ในการศึกษา คือ คะแนนการผ่านเกณฑ์มาตรฐานสถานพยาบาลที่ประเมินหลังการแทรกแซงครั้งแรก 1 เดือน ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีคะแนนมาตรฐานการดำเนินงานโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 96.32 ± 3.42 คะแนนในช่วงก่อนการตรวจเยื่ยม เป็น 99.30 ± 1.24 คะแนนในช่วงหลังการตรวจเยื่ยม (P <0.001) รวมถึงมีคะแนนมาตรฐานการดำเนินงานรายด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การตรวจสอบสถานที่ การแสดงข้อมูลแก่ผู้รับบริการ ชนิดและจำนวนเครื่องมือที่จำเป็น ยาและเวชภัณฑ์ในสถานพยาบาล และชุดช่วยชีวิตฉุกเฉินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเปรียบเทียบคะแนนที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแทรกแซงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า คะแนนมาตรฐานการดำเนินงานโดยรวมในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมเฉลี่ย 7.64 ± 3.89 คะแนน (95% CI: 5.30-9.98) กลุ่มทดลองมีคะแนนรายด้านสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านต่อไปนี้ การตรวจสอบสถานที่ การแสดงข้อมูลแก่ผู้รับบริการ ชนิดและจำนวนเครื่องมือที่จำเป็น ยาและเวชภัณฑ์ในสถานพยาบาล และชุดช่วยชีวิตฉุกเฉิน สรุป: การใช้โปรแกรมให้ความรู้และสร้างแรงจูงใจร่วมกับการตรวจมาตรฐานโดยพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถช่วยเพิ่มมาตรฐานการดำเนินงานคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการด้านความงามในจังหวัดอุดรธานีได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Labhanan A. A study of the situation of violation of the law on medical facilities of private clinics in Udon Thani province [online]. 2021 [cited Aug 23,2021].Available from: udo.moph.go.th/the post/ upload/exIg2JT90qvgLqW9YwztR5tKQe/VVkGoz8Al1Y8KHfoOjBkVmopRL.pdf
Sanatorium Act B.E. 2541. Royal Gazettle No.115, Part 15A (Mar 24, 1998).
Regulation of Medical Council. Royal Gazettle No. 123, Part 115D (Nov 1, 2006).
LaCaille L. Theory of reasoned action. In: Gellman MD, Turner JR, editors. Encyclopedia of behavio al medicine. New York: Springer; 2013. doi.org/10.10 07/978-1-4419-1005-9_1619 2013
Department of Health Service Support. Information system for the protection of consumers in the private health services [online]. 2011 [cited May 27 , 2021]. Available from: oss.hss.moph.go.th/rptlcs/ lcs0213
Chaotrakarn B. A study of the results of the standard examination of a medical facilities in the category of non-accepting patients return among the medical clinic with beauty services in the Bangkok area of the fiscal year 2019 [online]. 2019 [cited May 30, 2021].Available from: mrd- hss.mo ph.go.th/mrd1_hss/?p=2771
Department of Health Service Support. A standard medical examination record form that does not accept patients overnight [online]. 2011 [cited Nov 10, 2021]. Available from: mrd-hss.moph.go.th/mrd 1_hss/?p=4276