การพัฒนาโปรแกรมจัดการข้อมูลการเติมยาเตรียมเฉพาะรายให้กับผู้ป่วยเด็ก ที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

Main Article Content

ศวัส ขำประเสริฐ
พิมพ์พิสุทธิ์ ธุระ
ศักดิ์กรินทร์ ปินตาอ้าย
จิรัฐิ์ติกาล เรือนใจแก่น
ธนพงศ์ ชัยณกุล
นพดล ชลอธรรม
นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินความสามารถของเภสัชกรในการใช้ (usability test) โปรแกรมจัดการข้อมูลการเติมยาเตรียมเฉพาะรายให้กับผู้ป่วยเด็กที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ วิธีการ: ศึกษาขั้นตอนและโปรแกรมคอมพิวเตอร์เดิมจัดการข้อมูลการเติมยาเตรียมเฉพาะรายให้กับผู้ป่วยเด็กที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยสังเกตกระบวนการทำงานและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากเภสัชกรผู้ปฏิบัติงาน พัฒนาโปรแกรมเพิ่มเติมชุดคำสั่งปฏิบัติการตามคุณสมบัติที่เภสัชกรต้องการ และให้เภสัชกรทดสอบการใช้จริงจากข้อกำหนดสำคัญในการปฏิบัติงาน แล้ววัดผลจากความสำเร็จตามเป้าหมาย เวลาที่ทำกิจกรรม จำนวนขั้นตอนทั้งหมดทำ การทำผิดขั้นตอน และความพึงพอใจในการใช้งาน ผลการวิจัย: การพัฒนาโปรแกรมด้วย Visual fox pro เพื่อให้ไม่เปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ป่วยเดิมในระบบและเภสัชกรคุ้นเคยระบบปฏิบัติการเดิมให้เรียนรู้การใช้งานง่าย แต่ลดขั้นตอนงานซ้ำซ้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลและการติดตามผู้ป่วยรับยา ผลประเมินความสามารถของในการใช้งานโปรแกรมรวมถึงประเมินความพึงพอใจของเภสัชกรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับผิดชอบงานเติมยาเตรียมสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายใน จำนวน 4 คน พบว่าทุกคนปฏิบัติงานที่กำหนด 3 ข้อ ด้วยโปรแกรมสำเร็จ ขั้นตอนที่ใช้เวลามากและยังพบความผิดพลาดในการปฏิบัติงานมากที่สุดในงานข้อที่ 1 เนื่องจากเป็นการใช้งานครั้งแรกแม้จะมีคู่มือให้ศึกษาล่วงหน้าแล้วก็ตาม ผลการประเมินการความพึงพอใจด้วยค่ามาตรฐานของ The system usability scale (SUS) อยู่ในระดับเกรด A และ B สรุป: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาโปรแกรมเพื่อจัดการข้อมูล เมื่อผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา สอบถามความต้องการ และทดสอบการใช้งานกับเภสัชกรแล้วสามารถนำไปใช้จริงในงานประจำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ โปรแกรมสามารถทำให้ผู้ทดสอบทุกคนบรรลุวัตถุประสงค์ของการใช้งานได้โดยสมบูรณ์  และในด้านประสิทธิผลสามารถทำงานได้สำเร็จอย่างรวดเร็ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Adusumilli P, Adepu R. Drug related problems: an overview of various classification systems. Asian J Pharm Clin Res. 2014; 7: 7-10.

Hanrinth R. Classification for drug related problems. Thai Journal of Pharmacy Practice 2009; 1: 84-96.

Becker M, Maiman L. Strategies for enhancing patient compliance. J Community Health. 1980; 6: 113-35.

McCaslin J. Nine tips for improving medication adherence [online]. 2016; [cited Sep 2, 2019]. Available from: www.amerisourcebergen.com/insig hts/pharmacies/nine-tips-for-medication-adherence ?fbclid=IwAR2C9TM4PWW4LCvcXsJK3iiiGn-U3e8YlDsGcPKoD2o1wPyzdk-r1bXci0g

Andersson K, Melander A, Svensson C, Lind O, Nilsson J. Repeat prescriptions: refill adherence in relation to patient and prescriber characteristics, reimbursement level and type of medication. Eur J Public Health. 2005; 15: 621-6.

Healthcare Accreditation Institute. Hospital and healthcare standards. 4th ed. Nonthaburi: D One Book publication; 2018.

Urién A, Guillén V, Beltrán D, Pinzotas C, Pérez E, Arocena M, et al. Telephonic back-up improves antibiotic compliance in acute tonsillitis/pharyngitis. Int J Antimicrob Agents. 2004; 23: 138-43.

Steiner J, Prochazka A. The assessment of refill compliance using pharmacy records: Methods, validity, and applications. J Clin Epidemiol. 1997; 50: 105-16.

Morningstar B, Sketris I, Kephart G, Sclar D. Variation in pharmacy prescription refill adherence measures by type of oral antihyperglycaemic drug therapy in seniors in Nova Scotia, Canada. J Clin Pharm Ther. 2002; 27: 213-20.

Burnier M, Schneider M, Chioléro A, Stubi C, Brunner H. Electronic compliance monitoring in resistant hypertension: the basis for rational therapeutic decisions. J Hypertension. 2001; 19: 335-41.

Lewis JR. Sample sizes for usability studies: additional considerations. Hum Factors. 1994; 36: 368-78.

Mol M, Schaik A, Dozeman W, Ruwaard J, Vis C, Ebert D, et al. Dimensionality of the system usability scale among professionals using internet-based interventions for depression: a confirmatory factor analysis. BMC Psychiatry. 2020; 20: 218. doi: 10.1186/s12888-020-02627-8.

Yen P, Bakken S. Review of health information technology usability study methodologies. J Am Med Inform Assoc. 2012; 19: 413–22.