ปัจจัยที่กำหนดการใช้ยารักษาตนเองด้วยยาปฏิชีวนะที่แพทย์ไม่ได้สั่งจ่าย: การศึกษาเชิงคุณภาพเบื้องต้นในนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชาวกัมพูชาโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน

Main Article Content

ฮุยคิม อึง
ทิพาพร กาญจนราช

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจพฤติกรรมของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชาวกัมพูชาที่เกี่ยวกับการใช้ยารักษาตนเอง ด้วยยาปฏิชีวนะที่แพทย์ไม่ได้สั่งจ่าย และเพื่อนำทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (theory of planned behavior: TPB) มาใช้เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนด เช่น ทัศนคติต่อการใช้ยาปฏิชีวนะที่แพทย์ไม่ได้สั่งจ่าย การรับรู้ถึงบรรทัดฐานของการใช้ยารักษาตนเองด้วยยาปฏิชีวนะ และการรับรู้ถึงการความยากของการใช้ยารักษาตนเองโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ถึงชั้นปีที่ 5 จำนวน 20 คนจากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกัมพูชา ได้รับการสัมภาษณ์ทางออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมการวิจัย 16 คนใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับการใช้ยารักษาตนเองอาการที่รักษาตนเองด้วยยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เจ็บคอ (n=6) ท้องเสีย (n=5) ไอ (n=3) ไข้หวัด (n=6) แผลติดเชื้อ (n=2) และสิวรุนแรง (n=2) แหล่งที่มาของยาปฏิชีวนะที่พบบ่อย คือ ร้านขายยาและยาที่มีอยู่ที่บ้าน ผู้เข้าร่วมการวิจัยส่วนใหญ่ระบุว่า การใช้ยาปฏิชีวนะนั้นมีประโยชน์เพราะช่วยประหยัดเวลาและเงิน และช่วยให้อาการหายได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม มีผู้เข้าร่วมการวิจัยเพียงไม่กี่รายที่เห็นว่า การใช้ยาปฏิชีวนะอาจทำให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะ สมาชิกในครอบครัวและเพื่อนสนิทเป็นกลุ่มอ้างอิงหลักในการการใช้ยารักษาตนเองกลุ่มอ้างอิงส่วนใหญ่ใช้ยารักษาตนเองด้วยยาปฏิชีวนะและแนะนำให้ผู้ให้ข้อมูลทำเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ไม่รู้สึกกดดันว่าต้องทำตามคำแนะนำของกลุ่มอ้างอิง ผู้ให้ข้อมูลมั่นใจว่า ตนเองสามารถควบคุมตนเองโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะรักษาตนเองด้วยหากรู้สึกว่าทำเช่นี้จะให้ผลดีกว่า ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ทำให้ตั้งสมมติฐานว่า ในนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชาวกัมพูชา ทัศนคติเชิงบวกของพวกเขาต่อการใช้ยาปฏิชีวนะ สำหรับการใช้ยารักษาตนเองอาจทำให้พวกเขารักษาตนเองด้วยยาปฏิชีวนะ บรรทัดฐานที่รับรู้อาจไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมการวิจัย ขณะที่การรับรู้ถึงความง่ายของพฤติกรรมอาจสนับสนุนให้ผู้ร่วมการวิจัยรักษาตัวเองโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ สรุป: การศึกษาครั้งต่อไปควรเป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้จากการศึกษานี้ นอกจากนี้ ผลการศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้ทำให้พบประเด็นที่เป็นประโยชน์ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแบบวัดเพื่อประเมินตัวแปรใน TPB สำหรับใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณครั้งต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Al Essa M, Alshehri A, Alzahrani M, Bustami R, Adnan S, Alkeraidees A, et al. Practices, awareness and attitudes toward self-medication of analgesics among health sciences students in Riyadh, Saudi Arabia. Saudi Pharm J 2019; 27: 235-9.

Zafar SN, Syed R, Waqar S, Zubairi AJ, Vaqar T, Shaikh M, et al. Self-medication amongst university students of Karachi: Prevalence, knowledge and attitudes. J Pak Med Assoc 2008; 58: 214-7.

Jairoun A, Hassan N, Ali A, Jairoun O, Shahwan M, Hassali M. University student’s knowledge, attitudes , and practice regarding antibiotic use and asso- ciated factors: a cross-sectional study in the United Arab Emirate. Int J Gen Med 2019; 12: 235-46.

Widayati A, Suryawati S, de Crespigny C, Hiller JE. Self-medication with antibiotics in Yogyakarta City Indonesia: a cross-sectional population-based survey. BMC Res Notes 2011; 4: 491. doi: 10.1186/ 1756-0500-4-491.

Al-Azzam SI, AI-Husein BA, Alzoubi F, Masadeh MM, Al-Horani Ma. Self-medication with antibiotics in Jordanian population. Int J Occup Med Environ Health 2007; 20: 373-80.

Sihavong A, Lundborg CS, Syhakhang L, Akkha vong K, Tomson G, Wahlstrom R. Antimicrobial self- medication for reproductive tract infections in two provinces in Lao People’s Democratic Republic. Sex Transm Infect 2006; 82: 182-6

Llor C, Bjerrum L. Antimicrobial resistance: risk associated with antibiotic overuse and initiatives to reduce the problem. Ther Adv Drug Saf 2014; 5: 229-41.

Klemenc-Ketis Z, Hladnik Z, Kersnik J. Self-medica tion among health care and non-healthcare students at University of Ljubljana, Slovenia. Med Princ Pract 2010; 19: 395-401.

Virmani S, Nandigam M, Kapoor B, Makhija P, Nair S. Antibiotic use among health science students in an Indian university: A cross sectional study. Clin Epidemiology Glob Health 2017; 5: 176-9.

Karen G, Barbara K, Rimer, Viswanath K. Health behavior and health education: Theory, research, and practice. 4th ed. San Francisco: Jossey-Bass; 2008

Wang L, Wang L. Using theory of planned behavior to predict the physical activity of children: Probing gender differences. BioMed Res Int 2015; 2015: 536904.

Hayden J. Introduction to health behavior theory. 2nd ed. Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning; 2013.

Chhorvoin O, Frances D, Erika V, James CM, Mary-Louise M. Pervasive antibiotic misuse in the Cambodian community: antibiotic-seeking behaviour with unrestricted access. Antimicrob Resist Infect Control 2017; 6: 30. doi: 10.1186/s13756-017-0187-y.

Thomas ANR, Sidonn K, Thyl M, Nicola T, Joanne L, Sreng B, et al. Antimicrobial resistance in Cambodia: a review. Int J Infect Dis 2019; 85: 98-107.

Sovanthida S, Sonia R, Sothavireak B, Sophea C, Socheata P, Chantra P, et al. Invisible medicine sellers and their use of antibiotics: a qualitative study in Cambodia. BMJ Glob Health 2019; 4: e001787. doi: 10.1136/bmjgh-2019-001787.

Pineles LL, Parente R. Using the theory of planned behavior to predict self-medication with over-the-counter analgesics. J Health Psychol 2013; 8: 1540-9.

Karimy M, Rezaee-Momtaz M, Tavousi M, Monta zeri A, Araban M. Risk factors associated with self-medication among women in Iran. BMC Public Health 2019; 19: 1033. doi: 10.1186/s12889-019-730 2-3.

Silva da MGC, Soares MC, Muccillo-Baisch AL. Self-medication in university students from the city of Rio Grande, Brazil. BMC Public Health 2012; 12: 339. doi: 10.1186/1471-2458-12-339.

Widayati A, Suryawati S, de Crespigny C, Hiller JE. Beliefs about the use of non-prescribed antibiotics among people in Yogyakarta city, Indonesia: a qualitative study based on the theory of planned behavior. Asia Pac J Public Health 2015; 27: 402-13.

Niwandinda F, Lukyamuzi EJ, Ainebyona C, Sse bunya VN, Murungi G, Atukunda EC. Patterns and practices of self-medication among students enrolled at Mbarara University of Science and Techonology in Uganda. Integr Pharm Res Pract 2020; 9: 41-8.

Elmahi OKO, Musa RAE, Shareef AAH, Omer MEA, Elmahi MAM, Mohamed RIH, et al. Perception and practice of self-medication with antibiotics among medical students in Sudanese Universities: a Cross-sectional study [online]. 2021 [cited Feb 9, 2021]. Available from: assets.researchsquare.com/fil es/rs-260575/v1/c23664be-aa65-4851-95cb-de4cce59a744.pdf.

DeVellis RF. Scale development theory and applications. 4th ed. Los Angeles: SAGE. 2017