การพัฒนาระบบการตรวจสอบยาฉุกเฉินเพื่อความพร้อมใช้และลดการสูญเสียมูลค่าจากยาหมดอายุ

Main Article Content

ปฐมา เทพชัยศรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบการตรวจสอบยาฉุกเฉินและศึกษามูลค่ายาฉุกเฉินที่ประหยัดได้จากการใช้ระบบดังกล่าวในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล วิธีการ: ผู้วิจัยศึกษากระบวนการทำงาน และบันทึกปัญหาจากการใช้ยาในกล่องยาฉุกเฉินจากหน่วยต่าง ๆ หลังจากนั้น ผู้วิจัยวิเคราะห์ปัญหาและออกแบบระบบการบริหารยาฉุกเฉินในโรงพยาบาลใหม่ร่วมกับเภสัชกรผู้ปฏิบัติงาน แพทย์ และพยาบาลที่เกี่ยวข้อง หลังจากใช้ระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดกระบวนการ เช่น การนำกล่องยาฉุกเฉินมาเปลี่ยนตามกำหนด การพบยาฉุกเฉินหมดอายุในกล่อง และปัญหาอื่น ๆ เป็นต้น และตัวชี้วัดผลลัพธ์ ได้แก่ จำนวนครั้งของการพบรายการยาหมดอายุเมื่อเปิดใช้ และมูลค่าที่ประหยัดได้จากการลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากยาหมดอายุ การคำนวณราคายาที่ประหยัดได้ทำโดยเปรียบเทียบมูลค่ายาที่หมดอายุในช่วงก่อนและหลังจากการปรับเปลี่ยนระบบฯ การศึกษาดำเนินการระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2562 -  30 เมษายน 2564 (2 ปี 2 เดือน)  ผลการวิจัย: หลังจากการปรับเปลี่ยนระบบการตรวจสอบยาในกล่องยาฉุกเฉิน ไม่พบยาหมดอายุเมื่อเปิดกล่องใช้ สามารถลดปริมาณยาและปรับเปลี่ยนยาที่ไม่จำเป็นออก และสามารถลดการสูญเสียมูลค่าของยาฉุกเฉินก่อนที่จะหมดอายุได้ 24,057 บาทในช่วงเวลาที่ศึกษา สรุป: หลังจากได้มีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการยาฉุกเฉิน พบว่าสามารถป้องกันปัญหาการพบยาหมดอายุ และลดการสูญเสียมูลค่ายาจากยาหมดอายุในกล่องยาฉุกเฉินได้ ซึ่งทำให้หน่วยงานประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถการบริหารยาฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Law Insider. Emergency drugs definition [online]. 2013 [cited July 1, 2021]. Available from: www.lawin sider.com/dictionary/emergency-drugs

Institute for Safe Medication Practices. List of high alert medications in acute care settings [online]. 2018 [cited Apr 1, 2021]. Available from: www.ismp .org/tools/highalertmedications.pdf

Bussieres JF, Scharr K, Marquis C, Saindon S, Toledano B, Diliddo L, et al. Reevaluation of emergency drug management in a tertiary care mother-child hospital. Hosp Pharm 2009; 44: 584-593.

Soontornpas R, Anutarachatchawarn S. Guideline for management of emergency & urgency medication [online]. 2013 [cited Mar 1, 2021]. Available from: 202.28.95.4/pharmacy/index.php?f= detail_rule&id=5

Kanomturos P. Management of the stock medication system in emergency cart by using emergency kit [online]. 2016 [cited Mar 1, 2021]. Available from: ok m.nu.ac.th/km/?p=462

Nontsiri C. Emergency cart: easy check and uses [online]. 2016. [cited Mar 20, 2021]. Available from: www.sirindhornhosp.go.th/userfile/file/ha/5913.pdf

Pharmacy Division of Health Promoting Hospital Region 3 of Nakhon Sawan. Improvement of emer- gency kit [online]. 2018 [cited Mar 1, 2021]. Available from: km.hpc3.org/?wpfb_dl=219

Titayarak P. Fast & forward new emergency boxes [online]. 2017 [cited Mar 20, 2021]. Available from: 203.131.209.219/km/admin/new/180919_092038.pdf

Ruamsook S. Pharmacy Division of Vajira Hospital. Handbook of preparing and dispensing of emer- gency box for In-patient Department [online]. 2019 [cited Mar 1, 2021]. Available from: www.nmu.ac.th/ th/wp-content/uploads/2019/03/คู่มือปฏิบัติงาน-E-box-สุพรรณษา-ร่วมสุข.pdf

Boonpat R, Leepraphaiwong R, Punyanirun S, Issaragrisil C, Tantanawuttiwat K. The develop-ment of compounding sterile preparations management of ear eye nose throat pharmacy at Siriraj Hospital. Siriraj Med Bull 2020; 13: 85-95.