สถานการณ์เกี่ยวกับสถานที่ผลิตเครื่องสำอางในจังหวัดเพชรบูรณ์และการพัฒนาคุณภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ของสถานที่ผลิตเครื่องสำอางในจังหวัดเพชรบูรณ์และการพัฒนาคุณภาพของสถานที่ดังกล่าว วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบนำร่อง การศึกษาสำรวจสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง จำนวน 42 แห่ง โดยใช้แบบตรวจสอบสถานที่ผลิตเครื่องสำอางตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่มีข้อกำหนด 56 ข้อ ในจำนวนนี้เป็นข้อบกพร่องวิกฤต 10 ข้อ หลังจากนั้น ผู้วิจัยนำคะแนนจากการประเมินมาจัดกลุ่มสถานที่ผลิตฯ เป็น 4 กลุ่ม คือ A-D เรียงตามความบกพร่องจากน้อยไปมาก จากนั้นเลือกสถานที่ผลิตฯ ในกลุ่ม D ที่พบข้อบกพร่องวิกฤตมาพัฒนาคุณภาพ และตรวจซ้ำภายใน 2 เดือน ผลการวิจัย: การศึกษาพบสถานที่ผลิตฯ ที่ไม่มีการดำเนินการตามที่จดแจ้ง ไม่มีตัวตน ร้าง ไม่มีผู้พักอาศัย หรือปิดกิจการ จำนวน 25 แห่ง (ร้อยละ 59.52) และพบสถานที่ผลิตฯ ตรงตามที่จดแจ้งจำนวน 17 แห่ง (ร้อยละ 40.48) สถานที่ผลิตเข้าเกณฑ์ 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม B จำนวน 9 แห่ง (ร้อยละ 59.94) และกลุ่ม D จำนวน 8 แห่ง (ร้อยละ 47.06) ข้อบกพร่องวิกฤตที่พบในสถานที่ผลิตเครื่องสำอางได้แก่ หมวดการควบคุมคุณภาพในข้อการบันทึกการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์รอการบรรจุ (ร้อยละ 41.18) หมวดเอกสารการผลิตในข้อการจัดทำสูตรแม่บททุกสูตรตำรับ (ร้อยละ 23.53) และในข้อการจัดทำบันทึกการผลิตให้สอดคล้องสูตรแม่บท (ร้อยละ 17.65) และหมวดการดำเนินการผลิตในข้อการปฏิบัติตามขั้นตอนในสูตรแม่บทวัตถุดิบมีป้ายแสดงชื่อวัตถุดิบ วันผลิตหมดอายุ (ร้อยละ 11.76) การศึกษาในขั้นตอนการพัฒนาสถานที่ผลิต ผู้วิจัยเลือกสถานที่ 2 แห่งเพื่ออบรมการจัดทำเอกสารบันทึกการผลิต สูตรแม่บท และเอกสารที่พบในข้อบกพร่อง หลังจากนั้นทำการประเมินสถานที่ฯ รอบที่ 2 พบว่า สถานที่ผลิตฯ ทั้งสองมีคะแนนการประเมินเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 33.92 และ 28.57 และไม่พบข้อบกพร่องวิกฤตที่เป็น 0 คะแนน สรุป: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควรลดขั้นตอนในการเพิกถอนสถานที่ผลิตฯ ที่ไม่มีตัวตนเพื่อลดภาระเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด นอกจากนี้ ควรมีแบบประเมินเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้สามารถพัฒนาตามศักยภาพของผู้ผลิตเครื่องสำอางรายย่อย และควรมีการจัดทำ application ในการค้นหาสถานที่ผลิตฯ ที่ผ่านการตรวจประเมินเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและแม่นยำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Cosmetics Act. B.E. 2558. Royal Gazette No.132, Part 86A (Sep 8, 2015)
Food and Drug Administration. Manual for manufacturers of cosmetics and hazardous substances. Nontaburi: Ministry of Public Health; 2020.
Niampoka R, Saokaew S. The study of the situation of cosmetic production sites and the potential of cosmetic manufacturers in Thailand, 2018. Thai Food and Drug Journal 2019; 26: 54-67.
Juntarawongpaisarn K, Ruengorn C. Situation of cosmetic notification on e-submission and monitoring of Thai Food and Drug Administration, fiscal year 2016-2019. Thai Food and Drug Journal 2021; 28: 60-71.
Notification of Ministry of Public Health. Rules, procedures and conditions in production or imports of cosmetics product B.E. 2561. Royal Gazette No. 135, Part 117D special (May 23, 2018).
Food and Drug Administration. Manual on guidelines for inspection according to Rules, procedures and conditions in production or imports of cosmetics product B.E. 2561. Nonthaburi; Ministry of Public Health; 2020.
Sakarin W, Songsri A, Jangjai D. Improvement of cosmetics manufacturing facilities in Songkhla province. Songkhla: Songkhla Provincial Public Health Office; 2019.
Didbanjong P, Pongpathanawut S. Exploring the potential of the cosmetics manufacturers in accordance with the ASEAN Guidelines for Good Manufacturing Practice (ASEAN GMP): Bangkok Case Study. Thai Food and Drug Journal 2017; 24: 52-60.