การวิเคราะห์ข้อกำหนดท้องถิ่นที่ออกตามกฎหมายสาธารณสุขเพื่อ ควบคุมความปลอดภัยด้านอาหารในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ข้อกำหนดของท้องถิ่นในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนที่ออกเพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร และเพื่อเสนอข้อกำหนดและแนวทางร่วมในการดำเนินงานความปลอดภัยด้านอาหารระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หน่วยงานด้านสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในอำเภอป่าซาง วิธีการ: ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยของ อปท. 8 แห่งในอำเภอป่าซาง และนำมาเปรียบเทียบกับสารบัญญัติที่สำคัญของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และฉบับเพิ่มเติม การศึกษายังได้สัมภาษณ์เชิงลึกในผู้กำกับดูแลกฎหมายของ อปท. 18 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบถึงการดำเนินการตามกฎหมายของ อปท. และการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายในอำเภอป่าซาง เพื่อหาข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยของอำเภอป่าซาง ผลการศึกษา: ข้อกำหนด เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีใน อปท. ทั้ง 8 แห่ง ข้อกำหนดเรื่องตลาดและข้อกำหนดเรื่องสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหารมีใน อปท. 5 แห่ง และเรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะมีใน อปท. 1 แห่ง ในการวิเคราะห์สารบัญญัติที่สำคัญ พบว่า ข้อกำหนดของ อปท. เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพใน อปท. เพียง 2 แห่งมีความสอดคล้องกับกฎหมายหลักและมีการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นปัจจุบัน ส่วนเรื่องตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร และการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะของทุก อปท มีความสอดคล้องกับกฎหมายหลัก จากการสัมภาษณ์ผู้กำกับดูแลกฎหมายพบว่า ข้อกำหนดท้องถิ่นจะออกเมื่อมีปัญหาในท้องถิ่น ขนาดของปัญหาที่มากและรุนแรง และสภาพของกฎหมายหลักที่กำหนดให้ออกข้อกำหนดเป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้นให้มีข้อกำหนดท้องถิ่น อปท. ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพตามกรอบภารกิจร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อปท. ทุกแห่ง ทราบว่า เรื่องอาหารปลอดภัย เป็นปัญหาสุขภาพในพื้นที่ แต่ยังไม่เห็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมชัดเจน สรุป: อปท. ในอำเภอป่าซางทุกแห่ง ควรออกข้อกำหนดของท้องถิ่นในเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและเรื่องสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร ส่วนในเรื่องตลาด และการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะนั้น การออกข้อกำหนดควรขึ้นกับสภาพปัญหาของพื้นที่ นอกจากนี้ ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง อปท. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเรื่องความรู้ด้านกฎหมายสาธารณสุข ความรู้เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหาแนวทางในการบูรณาการการดำเนินงานความปลอดภัยด้านอาหารในอำเภอป่าซาง
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Public Health Law Administration Center, Department of Health, Ministry of Public Health. Guidelines for the implementation of Public Health Act, B.E. 2535. Bangkok: Kaew Chao Chom Media and Publication Center, Suan Sunandha Rajabhat University; 2019.
Public Health Act, B.E. 2535. Royal Gazette No.109, Part 38 (April 5, 1992).
Food Bureau, Food and Drug Administration. Food Act B.E. 2522 with ministerial regulations and declarations of the Public Health Law (revised edition B.E. 2562) [online]. 2019 [cited Apr 1, 2020]. Available from: www.fda.moph.go.th/sites/food/law 1/food_law.pdf
Public and Consumer Affairs Division. Food and Drug Administration. LAOs join hands together to ensure safety of health products [online]. 2012 [cited Apr 1, 2020]. Available from: www.fda.moph.go.th/sites/ kbs/SitePages/Power.aspx
Wimuutikosol N, Buthong P, Leesupphalert P, Cha wancunagorn S, Praisuwan T, Thongbai U. A study evaluated decentralization to local governments of the Food and Drug Administration. Thai Food and Drug Journal 2019; 27: 70-84.
Public Health Law Administration Center, Department of Health, Ministry of Public Health. Handbook of Public Health Act B.E. 2535 and its amendments [online]. 2018 [cited Apr 1, 2018]. Available from: la w .anamai.moph.go.th/main.php?filename=1LBook
Machareonsup W, Poolsawad A, Aussawapronwiput W, Ritthaisong S. The success of law enforcement: a study of issuing licensing operation for food establishments in outstanding municipalities, Health Services District Area 5, Suphanburi Province. Public Health Policy & Health Laws Journal. 2016; 2: 209-24.
Office of Consumer Protection Board. Memorandum of Cooperation Agreement on Consumer Protection between the Consumer Protection Board and the Municipal League of Thailand [online]. 2017 [cited Mar 21, 2017]. Available from: www.ocpb.go.th/mo re_news.php?cid=317.
Municipal Law of Tambol Pasang B.E. 2559 on business activities considered hazardous to health (Mar 10, 2016).
Municipal Law of Tambol Pasang B.E. 2554 on marketplaces for food (Mar 1, 2011).
Municipal Law of Tambol Pasang B.E. 2554 on establishments for food distribution and storages (Mar 3, 2011).
Municipal Law of Tambol Marang B.E. 2548 on business activities considered hazardous to health (Dec 20, 2005).
Municipal Law of Tambol Marang B.E. 2548 on marketplaces for food (Dec 20, 2005).
Municipal Law of Tambol Marang B.E. 2548 on establishments for food distribution and storages (Dec 20, 2005).
Municipal Law of Tambol Muangnoi B.E. 2543 on business activities considered hazardous to health (Apr 12, 2000).
Municipal Law of Tambol Muangnoi B.E. 2543 on marketplaces for food (Apr 12, 2000).
Municipal Law of Tambol Muangnoi B.E. 2543 on establishments for food distribution and storages (April 12, 2000).
Municipal Law of Tambol Makok B.E. 2556 and its amendment on B.E. 2558 on business activities considered hazardous to health (Mar 19, 2015).
Municipal Law of Tambol Makok B.E. 2557 on food selling in public places (Aug 7, 2014).
Ordinance of Tambol Nakormchedi B.E. 2557 and its amendment on B.E. 2559 on business activities considered hazardous to health. Royal Gazette No.134, Special Part 24 D (Jan 20, 2017).
Ordinance of Tambol Nakormchedi B.E. 2559 on marketplaces for Food. Royal Gazette No.133, Special Part 301 D (Sep 9, 2016).
Ordinance of Tambol Nakormchedi B.E. 2559 on establishments for food distribution and storages. Royal Gazette No.133, Special Part 201D (Sep 9, 2016).
Ordinance of Tambol Tatum B.E. 2560 on business activities considered hazardous to health. Royal Gazette No.135, Special Part 308 (Dec 4, 2018).
Ordinance of Tambol Tatum B.E. 2547 on market places for food (Jun 2, 2004).
Ordinance of Tambol Tatum B.E. 2541 on establi shments for food distribution and storages (May 29, 1998).
Ordinance of Tambol Banreun B.E. 2560 on business activities considered hazardous to health. Royal Gazette No.135, Special Part 292D (Nov 20, 2017).