ผลกระทบของการบังคับใช้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ต่อการจัดซื้อยา: กรณีศึกษาโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง

Main Article Content

วรรษมน ขวัญพรหม
กุลจิรา อุดมอักษร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามผลกระทบของพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 (พรบ. จัดซื้อจัดจ้างฯ) ต่อการจัดซื้อยาในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลองที่ใช้วิธีวิเคราะห์ถดถอยแบบแบ่งช่วง เพื่อประเมินผลกระทบของ พรบ. จัดซื้อจัดจ้างฯ ต่อมูลค่าการจัดซื้อยาต่อเดือน มูลค่าจัดซื้อยาเฉลี่ยต่อรายผู้ป่วยต่อเดือน ระยะเวลาในการดำเนินการจัดซื้อยา และการเกิดยาขาดคราว การศึกษาใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลการให้บริการของโรงพยาบาลและโปรแกรมบริหารยาและเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลในช่วงระยะเวลา 22 เดือน การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างก่อน (ตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2560) และหลังการบังคับใช้ พรบ. จัดซื้อจัดจ้างฯ (ตั้งแต่พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ถึง กันยายน พ.ศ.2561) ผลการวิจัย: มูลค่าจัดซื้อยารวมทั้งปีลดลงจาก 473.5 ล้านบาทเป็น 454.5 ล้านบาทหลังการบังคับใช้ พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ โดยราคาจัดซื้อยาที่ลดลงทำให้ประหยัดได้ 76.8 ล้านบาท แต่ปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้นทำให้เพิ่มมูลค่าการจัดซื้อ 57.7 ล้านบาท มูลค่าการจัดซื้อรวมทั้งปีของยาในบัญชียาหลักเพิ่มขึ้นจาก 328.5 ล้านบาทเป็น 334.5 ล้านบาทหลังการบังคับใช้พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ ในขณะที่มูลค่าจัดซื้อรวมทั้งปีของยานอกบัญชียาหลักลดลงจาก 145 ล้านบาทเป็น 120 ล้านบาทหลังการบังคับใช้พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ ก่อนบังคับใช้ พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ มูลค่าจัดซื้อยารวมต่อเดือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 1.37 ล้านบาทต่อเดือน [95% CI: -0.95 ถึง 3.69] หลังบังคับใช้ พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ มูลค่าจัดซื้อยารวมต่อเดือนลดลงทันที 7.27 ล้านบาท และมีแนวโน้มของมูลค่าจัดซื้อยารวมต่อเดือนลดลง 1.66 ล้านบาทต่อเดือน [95% CI: -4.94 ถึง 1.62] อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงระดับและแนวโน้มของมูลค่าจัดซื้อยาต่อเดือนในภาพรวมไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ หลังบังคับใช้ พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ โรงพยาบาลใช้ระยะเวลาในการสั่งซื้อยาในภาพรวมเพิ่มขึ้น 2.19 วันต่อคำสั่งซื้อ และเกิดยาขาดคราวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.09 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การบังคับใช้ พรบ. จัดซื้อจัดจ้างฯ ร่วมกับมาตรการบรรเทาผลกระทบต่าง ๆ ต่อการจัดซื้อยา ที่ออกมาอย่างทันท่วงทีโดยกรมบัญชีกลาง ส่งผลกระทบทางบวกต่อโรงพยาบาล ทำให้มูลค่าการจัดซื้อยาต่อเดือน และมูลค่ายาเฉลี่ยต่อรายผู้ป่วยต่อเดือนลดลง เนื่องจากอิทธิพลของราคายาที่จัดซื้อลดลง อย่างไรก็ตามการบังคับใช้ พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ มีผลเพิ่มระยะเวลาการจัดซื้อยาและการเกิดยาขาดคราวมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Office of the National Economic and Social Develop- ment Council. The proportion of health expenses to household expenses [online]. 2017 [cited Oct 15, 2018]. Available from: hfocus.org/content/ 2017/07/ 14205.

Kessomboon N, Sakulbumrungsil R, Kanchanaphi boon I, Udomaksorn S, Jitraknatee A. National drug account. Nonthaburi: Research and Systems Deve- lopment for National Drug Account; 2012.

Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Criteria for implementation of measures to increase the efficiency of purchasing pharmaceu- ticals and non-pharmaceutical products from the Ministry of Public Health. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2016.

Committee of Procurement, Comptroller General’s Department. Guidelines for procuring by electronic market and electronic bidding. Bangkok: Comp- troller; 2015.

Regulations of the Office of the Prime Minister on Procurement B.E. 2535. Royal Gazette No. 109, Part 7 (Jan 31, 1992).

Government Procurement and Supplies Management Act B.E. 2560. Royal Gazette No. 134, Part 24A (Feb 24, 2017).

Regulation of the Ministry of Finance on Procurement and Management Act B.E. 2560. Royal Gazette No. 134, Part 210 (Aug 23, 2017).

Regulation of Ministry of Finance on Prescribing budget limit for procurement by specific methods, the budget limit for procurement without written agreement and budget limit for procurement in the appointment of supply inspectors B.E. 2560. Royal Gazette No.134 Part 86A (Aug 23, 2017).

Official letter of Committee for Resolving Problems on Public Procurement and Procurement Adminis- tration, Comptroller General’s Department. Guide lines for purchasing essential drugs, non-drug medical supplies, and for purchasing drugs or non-drug medical supplies in the innovation list. (Mar 12, 2019).