สถานการณ์การกระจายและการใช้ยาสามัญประจำบ้าน ในชุมชน ณ อำเภอแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

สุธิดา บุญยศ
รุ่งทิวา หมื่นปา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจการจำหน่ายยาสามัญประจำบ้านในร้านชำและการใช้ยาสามัญประจำบ้านของประชาชนในอำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ตัวอย่างคือร้านชำ 78 ร้านที่เลือกมาแบบเจาะจง และประชาชนในชุมชน 313 คนที่เลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การเก็บข้อมูลดำเนินการระหว่างเดือน ธันวาคม 2561 ถึงเดือนมกราคม 2562 ด้วยแบบสำรวจรายการยา แบบสอบถามผู้ประกอบการร้านชำ และแบบสัมภาษณ์การใช้ยาสามัญประจำบ้านของประชาชน ผลการวิจัย:  ร้านชำทั้งหมด 78 ร้านมีการจำหน่ายยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน 76 ร้าน (ร้อยละ 97.4) และจำหน่ายยาสามัญประจำบ้าน 51ร้าน (ร้อยละ 65.4) ร้านชำทั้งหมดมียาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน 9 กลุ่มจากทั้งหมด 16 กลุ่ม (ร้อยละ 56.2) และมียาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ 9 กลุ่มจากทั้งหมด 22 กลุ่ม (ร้อยละ 40.1) นั่นคือไม่ครบทุกกลุ่มยาตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน พ.ศ.2542 และ ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ พ.ศ.2556 กลุ่มยาที่พบว่ามีการจำหน่ายมากที่สุด คือ กลุ่มยาแก้ปวดลดไข้ (ยาพาราเซตามอลชนิดเม็ดและชนิดน้ำ)  รองลงมาคือยาแก้ไอขับเสมหะ (ยาแก้ไอน้ำดำ) และยาแก้ไอขับเสมหะแผนโบราณ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า ยาสามัญประจำบ้านมีข้อดีคือ รูปแบบมีความสะดวก ใช้ง่าย บรรเทาอาการเบื้องต้นได้ดี ปลอดภัย และขายได้โดยไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย การจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านไม่มีผลกระทบต่อลูกค้า ผลกำไร หรือรายได้ สำหรับการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันพบว่า ประชาชนรู้จักยาเม็ดพาราเซตามอลร้อยละ 65.0 และเคยใช้ยาสามัญประจำบ้านร้อยละ 76.8 เหตุผลที่ใช้ คือ เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ ร้อยละ 45.7 สะดวกและหาซื้อง่ายร้อยละ 22.4  สรุป: ร้านชำในชุมชนยังมีการจำหน่ายยาสามัญประจำบ้านน้อย แต่มักขายยาตามที่ลูกค้าต้องการ ผู้ประกอบการร้านชำและประชาชนเห็นว่า ยาสามัญประจำบ้านมีความสะดวกใช้ง่ายและขายได้โดยไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย แต่หน่วยงานรัฐควรให้คำแนะนำผู้ขายและรณรงค์ความรู้ประชาชนให้มีความเข้าใจประเภทยาที่จำหน่ายได้ถูกต้องตามกฎหมายโดยชุมชนมีส่วนร่วม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

National Statistical Office. The 2015 survey on health and welfare. Bangkok: Ministry of Information and Communication Technology; 2016.

Wibulpholprasert S, Chokwiwat W, Tantiwet S. Thai drug system. Nonthaburi: Health Policy Develop ment Office International; 2002.

Suchonwanich N. Thai-drug-system: Presentation documents for the Thailand Pharmaceutical System Report Workshop (No.3) [online]. 2020 [cited Apr 24, 2020]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/bit stream/ handle/11228/5101/Thai-drug-system-ne tnapis-suchonwanich-2.pdf?sequence=1&isAllowed =y.

Drug Act, B.E. 2510. Royal Gazette No. 84, Part 101 special (Oct 20, 1967).

Booddawong B, Kiatying-Angsulee N, Wanleepong K, Boonmanus L, Kadsomboon O, Dokbua J, et al. Source and distribution of unlawful medicines in 8 provinces of Thailand to inform the public policy change. Isan Journal of Pharmaceutical Science 2016:11(supplement):260-8.

Yang CC, Green AN, Norton SA. Fixed drug eruption associated with sulfonamides sold in Latino grocery stores-Greater Washington DC Area, 2012–2013. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2013; 62: 914–6.

Boonyoung U, Muenpa R. Prevalence of and factors affecting inappropriate sale of drugs in grocery stores within Phitsanulok Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 106-18.

Vaknin S, Abadi-Korek I, Marom E, Shemer J, Luxenburg O. The over the counter drugs reform in Israel--two years later. Harefuah 2011;150: 4-70.

Douangsavanh K, Kanjanarach T, Jaisaard R, Chanaboon S. Availability of drugs for household use in drug stores in Vientiane Capital, Lao People’s Democratic Republic: A pilot survey. Isan Journal of Pharmaceutical Science 2018:14:107-15.

Rutjanathamrong P. Household medicine: Drug Act B.E.1997 [online]. 2018 [cited Nov 2, 2018]. Available from rparun.blogspot.com/search/label/

Public Health Ministerial Declaration in 1999 on household remedies. Royal Gazette No. 116, Part 38D special (May 13, 1999).

Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Son; 1977.