การทดสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของ THLA-W+ และความแตกฉานด้านสุขภาพของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1. เพื่อทดสอบความตรงและความเที่ยงของแบบวัดความแตกฉานด้านสุขภาพชนิดรายการคำที่มีคำถามทดสอบความเข้าใจฉบับภาษาไทย (Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension: THLA-W+) 2. เพื่อหาเกณฑ์คะแนนเพื่อใช้แปลผลระดับความแตกฉานทางสุขภาพ (health literacy: HL) ที่วัดโดย THLA-W+ และ 3. เพื่อประเมินหาร้อยละของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกที่รับบริการจากโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มี HL ไม่เพียงพอ วิธีการ: การทดสอบความตรงและความเที่ยงของแบบวัด THLA-W+ ทำในตัวอย่าง 1,003 รายจากโรงพยาบาลรัฐ 2 แห่ง การศึกษาทดสอบความตรงโดยการเปรียบเทียบคะแนน THLA-W+ ของตัวอย่างที่ระดับการศึกษาแตกต่างกัน และการหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจาก THLA-W+ กับความเข้าใจในฉลากยาและบัตรนัด คำถามบางข้อจากแบบวัดทักษะที่บ่งบอกความแตกฉานทางสุขภาพสำหรับคนไทย (THLA-S) และแบบวัดความแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับชาวไทยชนิดอิงฉลากโภชนาการ (THLA-N8) การศึกษาใช้การวิเคราะห์โค้ง ROC (receiver operating characteristics) ในการเกณฑ์แปลผลคะแนน โดยมีตัวแปรมาตรฐานคือคะแนนความเข้าใจในฉลากยาและบัตรนัด คะแนนรวมของความเข้าใจในฉลากยาและบัตรนัดกับความสามารถในการตอบคำถามจากแบบวัด THLA-S และคะแนน THLA-N8 เป็นตัวเปรียบเทียบ การศึกษาส่วนที่ 2 ประเมินหาร้อยละของผู้รับบริการที่มี HLไม่เพียงพอ ทดสอบในตัวอย่าง 1,102 ราย ที่รับบริการจากโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนครศรีธรรมราช 23 แห่ง ผลการวิจัย: การคำนวณคะแนนของแบบวัด THLA-W+ มี 3 รูปแบบ คือ 1) ให้คะแนนเมื่ออ่านคำถูกต้อง (reading test: THLA-W+R) 2) ให้คะแนนเมื่อเลือกตัวเลือกถูกต้อง (comprehension test: : THLA-W+RC) 3) ให้คะแนนเมื่ออ่านและเลือกตัวเลือกถูกต้อง (reading and comprehension test: THLA-W+RC) THLA-W+ มีความเที่ยง 0.90, 0.89 และ 0.91 ตามลำดับ แบบวัดมีความตรงโดยผู้ที่มีระดับการศึกษาที่สูงกว่ามีคะแนน THLA-W+ มากกว่าทั้ง 3 รูปแบบการคำนวณ (P<0.001) THLA-W+ มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับตัวชี้วัด HL 3 ตัวที่ใช้ (r= 0.30-0.55) การวิเคราะห์โค้ง ROC พบว่า THLA-W+C และ THLA-W+RC มีพื้นที่ใต้โค้งอยู่ระหว่าง 0.70-0.79 จุดตัดคะแนนของ THLA-W+R, THLA-W+C และ THLA-W+RC คือ 46, 39 และ 37 คะแนนตามลำดับ ความไวเท่ากับร้อยละ 66.06-66.81, 69.84-72.15 และ 66.30-68.39 ตามลำดับ ส่วนความจำเพาะ คือ 57.23-73.91, 56.31-70.11 และ 62.46-77.72 ตามลำดับ ผู้รับบริการในโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนครศรีธรรมราชมี HL ไม่เพียงพอร้อยละ 46.5 เมื่อประเมินด้วย THLA-W+C สรุป: แบบวัด THLA-W+ มีความตรง ความเที่ยง ความไว และความจำเพาะอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกที่รับบริการจากโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนครศรีธรรมราชร้อยละ 46.5 มี HL ไม่เพียงพอ
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Sørensen K, Van den Broucke S, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, Brand H. Health literacy and public health: a systematic review and integra tion of definitions and models. BMC Public Health 2012; 12:80. doi: 10.1186/1471-2458-12-80.
Berkman ND, Sheridan SL, Donahue KE, Halpern DJ, Viera A, Crotty K, et al. Health literacy interven tions and outcomes: an updated systematic review . Evid Rep Technol Assess 2011; 199:1-941.
Sørensen K, Pelikan JM, Röthlin F, Ganahl K, Slonska Z, Doyle G, et al. Health literacy in Europe: comparative result of the European health literacy survey (HLS-EU). Eur J Public Health 2015 ; 1053-58.
Paasche-Orlow MK, Parker RM, Gazmararian JA, Nielsen-Bohlman LT, Rudd RR. The prevalence of limited health literacy. J Gen Intern Med 2005, 20:175–84.
Nguyen TH, Paasche-Orlow MK, Kim MT, Han HR, Chan KS. Modern measurement approach to health literacy scale development and refinement: over view, current use, and next step. J Health Commun 2015; 20: S112-5.
Baker DW, Williams MV, Parker RM, Gazmararian JA, Nurss J. Development of a brief test to measure functional health literacy. Patient Educ Couns 1999; 38: 33-42.
Nomsiri A, Srisiri S, Virutsetazin K, Malarat A. Development of sexual health literacy indicators for early adolescent. Thammasat Medical Journal 2015; 5: 609-21.
Jindawong B. Development of health literacy screening tools for patients at Srinagarind Hospital , Khon Kaen, Thailand [master thesis].Khon Khaen : Khon Khaen University; 2013.
Phantong W. Development of the Thai Health Literacy Assessment using Word List (THLA-W) [minor thesis]. Songkhla: Prince of Songkla Univer sity; 2016.
Janchooto P. Development of the Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension (THLA-W+): Testing in Sadao Hospital [minor Thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2017.
Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension: Testing in Muslim Patients [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2019.
Hayibueraheng H. Development of the Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension (THLA -W+): Testing in Community [master Thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2019.
Pitakwong T. Psychometric properties and cut-offs of the Thai Health Literacy Assessment Instrument: Nutrition [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2019.
Faul GF, Erdfelder E, Buchner A and Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1: tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods 2009; 41: 1149-60.
Warotamakul P. Development of a measure of health literacy skills for Thai based on the approach of the Health Literacy Skill Instrument [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2019.
Na Pattalung P. Development of a Health Literacy Screener for Thais Based on the Approach of the Newest Vital Sign [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2018.
Cochrane WG, Sampling techniques. 3rd 3d. New York: John Wiley & Sons; 1977
Ministry of Public Health. Outpatient service utilization rate in 23 hospitals in Nakhon Si Thammarat Provinces [online]. 2016 [cited Nov 12, 2017]. Available from: hdcservice.moph.go.th/hdc /reports /report.php?source=pformated/format1.ph p&cat_id=9d8c311d6336373d40437c4423508cad&id=4b35d96e225bf34a16774b13705250f4.
Swets JA. Measuring the accuracy of diagnostic systems. Science 1988; 240: 1285-93.
Jaeschke R, Guyatt GH, Sackett DL. Users’ guides to the medical literature. III. How to use an article about a diagnostic test. B. What are the results and will they help me in caring for my patients? The Evidence-Based Medicine Working Group. JAMA 1994; 271:703–7.
Cutilli CC. Health literacy in geriatric patients: An integrative review of the literature. Orthop Nurs 2007; 26: 43-8.
Wongsatapornpat W. Health literacy survey in Thais residing in the Lower South [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2019.