การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยบริการของโรงพยาบาลเกาะลันตาโดยวิธีวิเคราะห์ต้นทุนแบบอิงกิจกรรม

Main Article Content

วันชัย อินทอง
กุลจิรา อุดมอักษร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการโดยวิธีอิงกิจกรรมของโรงพยาบาลเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาที่ใช้ข้อมูลการให้บริการย้อนหลังในปีงบประมาณ 2560 (1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560) โดยดำเนินงานวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์และระบุกิจกรรมจากบริการของโรงพยาบาล 2) การระบุชนิดของต้นทุนตามกิจกรรม และ 3) การคำนวณต้นทุนบริการและต้นทุนต่อหน่วยบริการ ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกการเก็บข้อมูลบริการและกิจกรรม บัญชีค่าแรง บัญชีภาระงาน/เวลา บัญชีวัสดุ ทะเบียนครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้าง บันทึกค่าเสื่อมราคา และค่าสาธารณูปโภค ผลการวิจัย: บริการหลักที่มีต้นทุนต่อหน่วยบริการสูงสุดคือ บริการผู้ป่วยใน (2,176 บาท/วันนอน) รองลงมา คือ บริการผู้ป่วยนอก (ในเวลาราชการ (717 บาท/ครั้ง) นอกเวลาราชการ (704 บาท/ครั้ง)) และบริการส่งเสริมและป้องกัน (257 บาท/ครั้ง) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยบริการกับรายได้ พบว่า บริการส่วนใหญ่มีต้นทุนสูงกว่ารายได้ มีเพียง 3 บริการที่มีต้นทุนต่ำกว่ารายได้ ได้แก่ บริการแพทย์แผนไทย บริการกายภาพบำบัดและฟื้นฟู และบริการคลินิกทันตกรรม การจำแนกต้นทุนตามประเภทพบว่า ต้นทุนค่าแรงมีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 64.10 ของต้นทุนทั้งหมด) รองลงมาคือ ต้นทุนวัสดุ (ร้อยละ 23.05) และ ต้นทุนปันส่วน (ร้อยละ 12.85) ตามลำดับ กิจกรรมที่มีสัดส่วนสูงสุดของการให้บริการส่วนใหญ่ คือ กิจกรรมบริการเภสัชกรรม โดยมีค่ายาเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ และบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยมีค่าวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นต้นทุนส่วนใหญ่ สรุป: โรงพยาบาลควรกำหนดนโยบายด้านการเงินการคลัง ดังนี้ 1) การลดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ต้นทุนค่าแรง โดยพิจารณาเวรนอกเวลาราชการให้เหมาะสม ควบคุมต้นทุนค่าวัสดุ ใช้ยาและวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างสมเหตุผล 2) การเพิ่มรายได้ โดยเพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย ทันตกรรม และกายภาพบำบัดและฟื้นฟูในผู้รับบริการสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ ผู้ที่ชำระเงินเอง และผู้มีสิทธิประกันสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Soonthorntham S, Jongudomsuk P, Euasiriwann B, Srithamrongsawat S, Thamachat-ari J, Nipaphon S et al. Thai health insurance system. Bangkok: National Health Security Office; 2012.

Tanmanthong S. 30 baht universal health care program for treatment of all diseases 2002-2009. Bangkok: Thammasat University; 2010. Report no 806.

Tangcharoensathien W, Jongudomsuk P, Sritham rongsawat S, Phitayarangsarit S, Sumalee H, Prakongsai P,et al. Thailand’s universal coverage scheme: achievements and challenges an indepen- dent assessment of the first 10 years (2001-2010) synthesis report. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2012.

Tangcharoensathien W, Wasit J, Nikom K, Patchara narumon W, Prakongsai P. Financing mechanism for universal coverage. Intellectual power: Towards the development of universal health insurance; 19-20 February 2004; The Royal River Hotel. Bangkok: Health Systems Research Institute; 2004.

Sangsuphan K. Cooperation of the Ministry of Public Health and NHSO in revised budget rules for 2015 [online]. 2015 [cited May 11, 2017]. Available from: thaipublica.org/2015/02/kanit/.

Ariyasiwattana C. Recommendations for solving problems and restructuring the Ministry of Public Health and NHSO [online]. 2017 [cited: May 11, 2017]. Available from: www.thaitrl.org/index.php? option=com_content&task=view&id=1490&Itemid=56/.

Woradilok P. Effect of enforcing the National Health Security 2002, a case study of the "30 baht treatment program for all diseases". Bangkok: College of Justice Office of the Courts of Justice; 2004.

Health Insurance Group. Financial crisis report 4th quarter 2011-2017 [online]. 2017 [cited Aug 23, 2019]. Available from: hfo60.cfo.in.th/default.aspx.

Thianjaruwatana W, Sakunphanich T, Phongphatha rachai D, ChiangchaiSakulthai K. A guidebook on the cost of health services under the Ministry of Public Health. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2011.

Government Accounting Division. Standards Guide lines for calculating product cost of service fiscal year 2014. Bangkok: The Comptroller General's Department; 2014.

Thongsukhong A. Accounting method in production system: allocation of production expenses and systems: activity based cost [online]. 2017 [cited Jun 13, 2017]. Available from: home.kku.ac.th/anu ton/cost%20accounting/cost%20allocation%20and%20ABC.htm.

Methakanon T. Activity-based costing of the pharma cy dispensing service in the outpatient unit in Ladyao hospital, Nakhonsawan province Thailand [dissertation] Bangkok: Mahidol University; 2014.

Chiangchaisakulthai K, Kiewcharoen O, Wongyai T, Sornsilp D, Saengvanich U. Hospital costing study in the hospitals under Ministry of Public Health, 2010-2011. Journal of Health Science 2013; 22: 1061-68.

Wongsin U, Wansri M, Thamwanna P, Phongphat tharachai D, Chiangchaisakulthai K, Sakulphanich T. Unit cost per capita of services provided at contracting unit for primary care (CUP) network. Journal of Health Systems Research 2016; 1: 307-20.

Siton K, Tridech P, Thasiri S. Analysis of activity-based costing per unit for treatment of diabetes patients Bangyai Hospital Nonthaburi province, fiscal year 2012. Region 4 Medical Journal, 2013; 3: 219-26.

Saybuathong T. Unit Cost analysis of Puainoi Hospital, Khon Kaen Province. Journal of the DPC 7 Khon Kaen 2011; 1: 17-25.

Piladee T, Chetchakunthot P, Ibsirimimetee P. The analysis cost of patient ‘s treatment per right per cost of patient’s treatment Non communicable Case study the Prathongkham his majesty the king’s 80th hospital in Nakhonratchasima province. Journal of Nakhonratchasima College, 2018; 12: 192-204.

Kongthaweelert O. Fiscal year 2014 dental service cost of Rajanukul Institute. Journal of Public Health Research System 2016; 1: 35-42.

Chuasamut P, Klootphermphoonwiwat C, Ngamkeat paisan S. A study of cost of universal coverage scheme in Chonpratan Primary Care Unit, Nonthaburi. Economics and Public Policy Journal, 2011; 2: 61-72.

Riewpaibun A, Khiewcharoen O, Cardungnoen P, Singwiratham N, Wongphan T, Techachahakij W. Cost analysis of health promotion and disease prevention services. Bangkok: Faculty of Pharmacy, Mahidol University; 2018.