ผลของโปรแกรมการเลิกบุหรี่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ ในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของโปรแกรมเลิกบุหรี่ของพระสงฆ์ในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เข้ามามีส่วนร่วม วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบทดลองที่มีตัวอย่างสองและมีการวัดผลก่อน-หลัง อสม. ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการอบรมจากเภสัชกรในด้านความรู้เกี่ยวกับการช่วยเลิกบุหรี่และขั้นตอนการดำเนินงานก่อนจะลงปฏิบัติงานจริง กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จำนวน 66 รูปใน 8 ตำบล ผู้วิจัยสุ่มแยกตำบลเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แต่ละกลุ่มมีพระสงฆ์ 33 รูป กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมโดยได้รับการติดตามโดย อสม. ทุกสัปดาห์ ระยะเวลาในการศึกษา คือ 12 สัปดาห์ การศึกษาเก็บข้อมูลปริมาณการสูบบุหรี่ประจำวัน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และความรุนแรงของการเสพติดนิโคตินโดยใช้ Fagerstrom Test For Nicotine Dependence ผลการวิจัย: เมื่อประเมินจากการเลิกสูบบุหรี่ได้ตลอด 7 วัน พบว่า กลุ่มทดลองสามารถเลิกบุหรี่ได้มากกว่ากลุ่มควบคุมในสัปดาห์ที่ 4 (6 รูปหรือร้อยละ 18.2 และ 1 รูปหรือร้อยละ 3.0 ตามลำดับ, P=0.105) และในสัปดาห์ที่ 12 (เลิกได้ 21 รูปหรือร้อยละ 63.6 และ 7 รูปหรือร้อยละ 21.2 ตามลำดับ, P=0.001) ทั้งนี้ ไม่มีพระสงฆ์ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองที่สามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 4 และ 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองคะแนนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม 8.85±2.01 (P<0.001) โดยลดลงจาก 25.52±4.47 เหลือ12.97±7.62 (P<0.001) และ 26.58±4.64 เหลือ 21.82±8.73 (P=0.002) ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตามลำดับ ระดับการติดนิโคตินในกลุ่มทดลองมีคะแนนลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม เท่ากับ 2.61±0.61 คะแนน ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ระดับการติดนิโคตินลดลงจาก 4.61±1.66 เหลือ1.36±2.19 คะแนน (P<0.001) และจาก 5.06±1.83 เหลือ 3.97±2.73 คะแนน (P=0.003) ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตามลำดับ สรุป: โปรแกรมการเลิกบุหรี่ทำให้พระสงฆ์มีระดับการติดนิโคตินและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่ลดลงทั้งในกลุ่มที่มีและไม่มี อสม. มีส่วนร่วมในการติดตามดูแลพระสงฆ์ อย่างไรก็ตาม ผลการเลิกบุหรี่สำเร็จที่ 12 สัปดาห์ ในกลุ่มที่ อสม. มีส่วนร่วมสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มี อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรสนับสนุนโปรแกรมเลิกบุหรี่ในพระสงฆ์ และสนับสนุน อสม. ให้มีส่วนร่วมในโปรแกรมเลิกบุหรี่ด้วย
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Pitayarangsarit S, Iamanun P, Punkrajung P and Sommit K. Summary of Thai tobacco smoking situation in 2012. Bangkok: Charoendeemunkong Publishers; 2012.
3. National Statistical Office. The smoking and drinking behavior survey 2014. Bangkok: Text and Journal Publication Publishers; 2014.
4. Thai Health Promotion Foundation. Diseases caused by cigarettes [online]. 2011 [cited Jul 20, 2015]. Available from: www.thaihealth.or.th/Content/ 20828โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่.html
5. Smoking Cessation Call Center. Smoking Cessation guideline. Bangkok: Pre-wan Publishers; 2010.
6. Champat C. Factors related to smoking of buddhist monks in Meuang district, Surat Thani province. The 9th Hatyai National and International Conference; 2018 Jul 20; Songkla: Hatyai University; 2018. p. 814-22.
7. Charoenca N, Kungskulniti N, Kengkanphanit T, Kusolvisitkul W, Pichainarong N, Kerdmongkol P, et al. Smoking prevalence among monks in Thailand. Bangkok: Mahidol University; 2004.
8. Bussaratid S, Siripaiboonkij A. Study of smoking cessation rate at smoking cessation clinic, Siriraj Hospital, Thailand. Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2012; 57: 305-12.
9. Vathesatogkit K. How can village health volunteers help people quit smoking? Bangkok: Action on Smoking and Health Foundation; 2012.
10. Rungruanghiranya S. Smoking disease therapy for patients who wanted to quit smoking. In: Rungruanghiranya S, Suntorntham S, editors. Guideline for evidence-based treatment of tobacco in Thailand. Bangkok; 2012. p. 28-57.
11. Benjanakaskul P. Effectiveness of Vernonia Cinerea for smoking cessation [dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2006.
12. Nammuang S. Factors relating to cigarette smoking behavior of sick monks and novices utilizing health services in the Priest Hospital [dissertation]. Bangkok: Kasetsart University; 2003.
13. Phongsri P. Creating and developing research instrument. 4th ed. Bangkok: Dansutta Publishing; 2014.
14. Leegchur N, Thananithisak C. Effectiveness of pharmacist-based smoking cessation program in the conscripts at the Wing 5 Air Base. Isan J of Pharmaceutical Sciences 2018; 14: 21-34.
15. Thripopskul W, Sittipunt C. Efficacy of Vernonia Cinerea for smoking cessation in Thai active smokers. Bangkok: Tobacco Control Research and Thai Health Promotion Foundation; 2011.
16. Kootanavanichpong N, Poomriew R, Leyatikul P, Petliap W. Cigarette smoking situation among monks, novices, nuns and followers and effects of program for development of temple smoke-free area Nakhorn Ratchasima Province, Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health 2014;37:94-107.
17. Luksamijarulkul S, Luengektin P, Wongvijitsuk S. The evaluation of smoking cessation project of personnel in Huachiew Chalermprakiet University. APHEIT Journal (Science and Technology) 2015; 4: 46-57.
18. Imnamkhao S. Behavioral patterns of smokers at the smoking cessation clinic in Mahasarakham. Journal of Nursing Division 2012; 39: 7-20.
19. Ditsarintripada P. The effectiveness of a smoking cessation program among workers in textile industry, Nakorn Pathom Province [dissertation]. Bangkok: Mahidol University; 2010.
20. Khasemophas D, Cheewapat P. the effectiveness of a counseling program for smoke-free families. Kuakarun Journal of Nursing 2012; 19: 103-17.
21. Phumsawat W, Suthisisang C, Suksomboon N, Montakantikul P, Choosangthong P, Korsanan S, et al. Clinical practice guideline in smoking cessation. Nonthaburi: Department of Medical Services; 2003.
22. Thumwong N. Developing role of community health volunteer for mental health disorders screening in Thakuntho Hospital Thakuntho District, Kalasin. Research and Development Health System Journal 2009; 2: 51-65.
23. Kleebpratoom P. Effect of the smoking cessation program for quit smoking behavior among smokers at Bangkaew Subdistrict, Muang Angthong District, Angthong Province [dissertation]. Bangkok: Mahidol University; 2016.
24. Tetjativaddhana P, Kitreerawutiwong N. Perform- ance assessment of village health volunteer working in district health network, Pompiram district, Phitsa nulok province. Journal of Public Health Nursing 2014; 28: 6-28.