การพัฒนาสัญลักษณ์แนะนำการตักบาตรที่เหมาะสมสำหรับพระสงฆ์ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาสัญลักษณ์แนะนำการตักบาตรที่เหมาะสมสำหรับพระสงฆ์ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (symbols for appropriate almsgiving in the monks with chronic non-communicable diseases: SAAM-NCD) และศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานีต่อสัญลักษณ์ดังกล่าว วิธีการ: การศึกษาประกอบด้วยการจัดสนทนากลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อ SAAM-NCD ตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 436 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 49.39±16.08 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 64.68 และประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 48.39 ตัวอย่างเห็นด้วยกับการพัฒนา SAAM-NCD (คะแนนเฉลี่ย=4.03±0.86 จากคะแนนเต็ม 5) สัญลักษณ์ส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์เป็นรูปแบบที่ทำให้ตัวอย่างรับรู้ว่าควรลดอาหารหวาน มัน หรือเค็มในการตักบาตรมากที่สุด (ร้อยละ 84.86) สัญลักษณ์ทำให้ตัวอย่างคำนึงถึงสุขภาพของพระสงฆ์มากขึ้น และเปลี่ยนชนิดอาหารตักบาตรให้เหมาะกับสุขภาพของพระสงฆ์ ร้อยละ 52.29 และ 40.37 ตามลำดับ ปัจจัยด้านระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการพัฒนาสัญลักษณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.001, < 0.001, < 0.001 ตามลำดับ) สรุป: สัญลักษณ์ส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ เป็นสัญลักษณ์ที่มีความเหมาะสมเพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถเลือกอาหารตักบาตรที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพระสงฆ์
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Dhanasombatnandh L. Behavior of almsgiving and food offering for monks’ health [master thesis]. Bang kok: Chulalongkorn university; 2013.
Rerkluenrit J, Ngensod M, Wihok K. Factors predicting health-promoting behaviors among buddhist monks in Nakhonnayok province. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2010; 5: 333-43.
Srivanichakorn S. Morbidity and mortality situation of non-communicable diseases (diabetes type 2 and cardiovascular diseases) in thailand during 2010-2014. Disease Control Journal 2017;43: 379-90.
Suddhivajano S. The health behavior of monks in phangkhon district, Sakon nakhon province [master thesis]. bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University; 2013.
Sararuk M, Sangwalee W, kampangsree W. Prevalence and factors associated with chronic illness of monks in amphoe Warinchamrab,Ubon Ratchatani province. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchatani University 2017; 19: 37-48.
Supankool P. Factors predicting glycemic control behaviors among monks with type 2 diabetes in the upper northern region. EAU Heritage Journal Science and Technology 2014; 8: 259-69.
Department of Medical Services. Chronic non-commu nicable diseases in monks [online]. 2017 [cited Oct 31, 2018]. Available from: www.dms.moph.go.th/d msweb/prnews/prnews20112017101111.pdf.
Department of Religious . The tripitaka. 2nd ed. Bang kok: Agriculture Co-operative of Thailand; 2007.
Srimanee S. Factors related to nutrition consumption behaviors of monks and foodstuff dedication behavi- ors to the buddhist monks of people in Pasi charoen district Bangkok. Journal of Nursing, Siam University 2018; 19: 22-38.
Apakaro P. Monk's Health statistics 2017. Nontha buri: OS Printing House; 2017.
Upara R, Chatchawarat T. Chronic disease: impact on thai monk health and health promotion. Nursing Public Health and Education Journal 2016; 17: 17-23.
Sapphakong S, Pojanaprasert N. The impact of sim plified nutrition label (healthier choice) on consump tion: evidence from fruit juice beverages. In: Bunchua K, editor. Graduate School Mini-Confe rence; 2018 Nov 30; Suan Sunandha Rajabhat University. Bangkok: Graduate School; 2018. p. 1138-45.
Bunnag A, Sangperm P, Jungsomjatepaisal W, et al. The effect of school lunch program on nutritional status of overweight adolescents in public schools. Journal of Nursing Science 2013; 31:67-76.
Putthivichaidit B, Paresua N. Effect of a program promoting nutrition label reading on knowledge, attitude and behavior of nutrition label reading of students grade 5-6.Ramathibodi Nursing Journal 2013; 18: 298- 310.
Panya R, Chowwanapoonpohn H. Effect of provision of nutrition label education on knowledge, behavior and attitude among high school students, Phayao Province. Naresuan Phayao Journal 2014;7: 261-74.
Siljaru T. Research and data analysis manual with the program SPSS. Bangkok: Vinterprint; 2010.
Beger Company. Meaning and power of each color [online]. 2019 [cited Jul 20, 2019]. Available from: www.beger.co.th/ Meaning and power of each color
Broihier K. Guiding Stars takes the guesswork out of nutritious shopping [online]. 2019 [cited Jul 24, 2019]. Available from: guidingstars.com/what-is-gui ding-stars/
Teerathammo P. A study athaborikhan in theravad ha buddhism. Phimontham Institute Journal 2015;2: 27-34.