การใช้ยาโคลิสตินร่วมกับยาปฏิชีวนะอื่นสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบดื้อยาหลายขนาน

Main Article Content

ธีระพงษ์ ศรีศิลป์
ธัญญกาญจน์ วงศ์คำเครือ
ธนัญญา นำภา
พีรยา ศรีผ่อง
ศิริณย์ พงศ์จิรวัฒนา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาโคลิสตินร่วมกับยาปฏิชีวนะอื่นในผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน วิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบติดตามไปข้างหน้าครั้งนี้ทำในผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ได้รับยา colistin ร่วมกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่น และมีผลเพาะเชื้อพบแบคทีเรียแกรมลบดื้อยาหลายขนาน ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาสารคาม ผู้วิจัยประเมินประสิทธิผลของยาจากอัตราการตายจากทุกสาเหตุและระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล และประเมินความปลอดภัยจากอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา (adverse drug reaction: ADR) ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 69 คน เป็นเพศชาย 43 คน (ร้อยละ 62.3) อายุเฉลี่ย 60.16+17.02 ปี โดย 51 คนมีโรคร่วม (ร้อยละ 73.9) เป็นโรคเบาหวานมากที่สุด (ร้อยละ 37.2) คะแนนความรุนแรง APACHE II เฉลี่ย 12.00±5.49 คะแนน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวน 62 คน (ร้อยละ 89.9) โรคติดเชื้อที่พบมากที่สุดคือปอดอักเสบ (ร้อยละ 66.7) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ติดเชื้อดื้อยาหนึ่งใน 3 ชนิดได้แก่ Acinetobacter baumannii, Pseudomonas aeruginosa และ Klebsiella pneumoniae (ร้อยละ 65.2, 20.3 และ 7.2 ตามลำดับ) มีผู้ป่วยเสียชีวิต 23 คน (ร้อยละ 33.3) ระยะเวลาการรักษาเฉลี่ย 37.52+45.48 วัน ยาที่ใช้ร่วมกับ colistin มากที่สุดคือ meropenem รองลงมาคือ  cefoperazone/sulbactam (ร้อยละ 58.0 และ 21.7  ตามลำดับ) ผู้ที่ได้ยา meropenem หรือ cefoperazone/sulbactam ร่วมด้วย มีการตายร้อยละ 35.0 และ 33.3 ตามลำดับ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอัตราการตายในผู้ป่วยที่ได้รับยาแต่ละชนิด (P=0.526) การศึกษาพบ ADR ในผู้ป่วย 14 คน (ร้อยละ 20.3)  โดยเกิดพิษต่อไต 13 คน และแพ้ยา 1 คน และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอัตราการเกิด ADR ในผู้ป่วยที่ได้รับยาแต่ละชนิด (P=0.064) สรุป: ยาที่ผู้ป่วยได้รับร่วมกับ colistin มากที่สุด คือ meropenem และ cefoperazone/sulbactam การศึกษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับอัตราการตายและการเกิด ADR ทั้งนี้ ADR ที่เกิดมากที่สุดคือพิษต่อไตซึ่งคล้ายกับที่พบในการศึกษาส่วนใหญ่ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Pumart P, Phodha T, Thamlikitkul V, Riewpaiboon A, Prakongsai P, Limwattananon S. Health and economic impacts of antimicrobial resistance in Thailand. J Health Serv Res Policy 2012; 6:352–60.

National Antimicrobial Resistance Surveillance Center, Thailand. Antibiograms [online]. 2019 [cited Mar 29, 2019]. Available from: narst.dmsc.moph. go.th/

Magiorakos AP, Srinivasan A, Carey RB, Carmeli Y, Falagas ME, Giske CG, et al. Multidrug-resistant, extensively drug-resistant and pandrug-resistant bacteria: an international expert proposal for interim standard definitions for acquired resistance. Clin Microbiol Infect. 2012; 18:268-81

Pongpech P, Amornnopparattanakul S, Panapakdee S, Fungwithaya S, Nannha P, Dhiraputra C, et al. Antibacterial activity of carbapenem-based combina tions against multidrug-resistant Acinetobacter baumannii. J Med Assoc Thai 2010;93:161-71.

Zusman O, Altunin S, Koppel F, Dishon Benattar Y, Gedik H, Paul M. Polymyxin monotherapy or in combination against carbapenem-resistant bacteria: systematic review and meta-analysis. J Antimicrob Chemother 2017; 72: 29-39

Batirel A, Balkan II, Karabay O, Agalar C, Akalin S, Alici O, et al. Comparison of colistin-carbapenem, colistin-sulbactam, and colistin plus other antibacterial agents for the treatment of extremely drug-resistant Acinetobacter baumannii bloodstream infections. Eur J Clin Microbiol Infect Dis 2014; 33: 1311-22

Balkan II, Aygün G, Aydın S, Mutcalı SI, Kara Z, Kuşkucu M, et al. Blood stream infections due to OXA-48-like carbapenemase-producing Enterobacte riaceae: treatment and survival. Int J Infect Dis 2014; 26:51-6

Tsuji BT, Pogue JM, Zavascki AP, Paul M, Daikos GL, Forrest A, et al. International consensus guidelines for the optimal use of the polymyxins: Endorsed by the American College of Clinical Pharmacy (ACCP), European Society of Clinical Microbiology and Infectious Diseases (ESCMID), Infectious Diseases Society of America (IDSA), International Society for Anti-infective Pharmacology (ISAP), Society of Critical Care Medicine (SCCM), and Society of Infectious Diseases Pharmacists (SIDP). Pharmacotherapy 2019; 39:10-39.

Kara I, Yildirim F, Bilaloglu B, Karamanlioglu D, Kayacan E, DizbayI M, et al. Comparison of the efficacy of colistin monotherapy and colistin combination therapies in the treatment of nosoco mial pneumonia and ventilator-associated pneumo nia caused by Acinetobacter baumannii. South Afr J Crit Care 2015; 3: 51-8.

Anusornsangiam W, Somsak N, Rahong W, Chaiya song S, Chaiyasong C. Incidence of adverse effect by colistin used in hospital. J Sci Technol MSU 2017; 36: 589-96

Florescu DF, Qiu F, McCartan MA, Mindru C, Fey PD, Kalil AC. What is the efficacy and safety of colistin for the treatment of ventilator-associated pneumonia? A systematic review and meta-regression. Clin Infect Dis 2012; 54: 670-80