การประกาศผลวิเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วย ยา อาหาร และเครื่องสำอางเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

Main Article Content

กิตติศักดิ์ ไท้ทอง
วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อกำหนดและเปรียบเทียบกระบวนการประกาศผลวิเคราะห์ตามกฎหมายยา อาหาร และเครื่องสำอาง วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้มี 3 ส่วน คือ 1) การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวกับกฎหมาย หลักเกณฑ์การพิจารณา และวิธีปฏิบัติในการประกาศผลวิเคราะห์ยา อาหาร และเครื่องสำอาง (drugs, food and cosmetics: DFC) 2) การสำรวจประสบการณ์ในการประกาศผลวิเคราะห์ DFC ของสำนักงานสาธารณสุขใน 76 จังหวัดระหว่างปี 2555 – 2561 โดยใช้แบบสอบถาม และ 3) การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มในหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุข 19 จังหวัดที่มีประสบการณ์ในการประกาศผลวิเคราะห์ DFC ตลอดจนเจ้าหน้าที่กลุ่มงานกฎหมายอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่รับผิดชอบในการประกาศผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ  เพื่อสรุปถึงหลักเกณฑ์ แนวทาง หรือวิธีปฏิบัติในการประกาศผลวิเคราะห์ DFC ผลการศึกษา: การประกาศผลวิเคราะห์ DFC ไม่มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง กฎหมายว่าด้วย DFC กำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาประกาศผลวิเคราะห์และมีขั้นตอนในการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ตามกฏหมายสามารถประกาศผลวิเคราะห์อาหารได้ในระดับจังหวัด แต่กรณีของยาและเครื่องสำอางยังไม่ได้มอบอำนาจให้กับระดับจังหวัดจังหวัด จากการสำรวจการประกาศผลวิเคราะห์ DFC ของสำนักงานสาธารณสุข 76 จังหวัด พบว่ามี 58 จังหวัดที่ไม่เคยประกาศผลวิเคราะห์ (คิดเป็นร้อยละ 76.31) สาเหตุที่ไม่ได้ประกาศผลการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพเนื่องจาก ไม่มีผลการวิเคราะห์ที่จำเป็นต้องประกาศ (ร้อยละ 36.84) รองลงมาได้แก่ ผู้บังคับบัญชาไม่เลือกใช้วิธีนี้ (ร้อยละ 27.63) และไม่มั่นใจข้อกฎหมายว่าทำได้หรือไม่ (ร้อยละ 23.68) จังหวัดที่เคยประกาศผลการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งหมด 19 จังหวัด (ร้อยละ 25.0) ได้เสนอให้ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลงนามในการประกาศผลวิเคราะห์อาหาร สรุป:  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ควรทบทวนการมอบอำนาจการประกาศผลวิเคราะห์ของเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยเพื่อให้มีความคล่องตัวและทันเหตุการณ์ นอกจากนี้ ควรใช้ประโยชน์จากระบบการแจ้งเตือนภัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อการประกาศผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยให้ทันเหตุการณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kasikorn Research Center. Keep an eye on health product trend and create business opportunities [online]. 2017 [cited Jun 27, 2018]. Available from: www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Pages/Heathy-Prod uct_Healthy-Trend.aspx.

Chalongsuk R. Concept of health consumer protec tion. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences 2017 ; 12: 77-89

Suteerawui P. Circumstances on the problems related to consumer protection in health products [online]. 2010 [cited Nov 27, 2018]. Available from: consumersouth.org/paper/1021.

Suksriwong C, Sermsinsiri V, Junto S, Kerdpeam W, Tanapal S. Literature review and consumer protec tion situation in the health system [online]. 2012 [cited Jun 27, 2018]. Available from: kb.hsri.or.th/ds pace/handle/11228/3659?locale-attribute=th.

Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560. Royal Gazette No.134, Part 40A (Apr 6, 2017).

Consumer Protection Act, B.E. 2522. Royal Gazette No.115, Part 15A (Mar 24,1998).

Administrative Procedure Act, B.E. 2539. Royal Gazette No.113, Part 60A (Nov 14, 1996).

Office of the Council of State. Administrative order [online]. 2017 [cited Jun 22, 2018]. Available from: web.krisdika.go.th/data/activity/act79.htm

Drug Act, B.E. 2510. Royal Gazette No. 84, Part101 special (Oct 20, 1967).

Food Act, B.E. 2522. Royal Gazette No. 96, Part79 special (May 13, 1979).

Cosmetic Act B.E. 2558. Royal Gazette No. 132, Part 86A (Sep 8, 2015).

Ministerial Regulations for Organizational Division of Food and Drug Administration, Ministry of Public Health B.E.2552. Royal Gazette No.126, Part 98A page 106-15 (Dec 28, 2009).

Ministerial Regulations for Organizational Division of Department of Medical Science, Ministry of Public Health B.E.2552. Royal Gazette No.126, Part 98A, page 70-9 (Dec 28, 2009).

European Commission. The rapid alert system for food and feed annual report [online]. 2015 [cited Jun 16, 2018]. Available from: ec.europa.eu /food /sites/food/files/safety/docs/rasff_annual_report_2015.pdf.

Nakhawatchana M. Analysis of competent officials’ roles under the laws on the responsibility of department of consumer protection and public health pharmacy, Udon Thani provincial public health office. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 237-48.

Uppatham J. Study of the legal matter on adminis- trative procedures for legal enforcement in health consumer protection. Research and Development Health System Journal 2019; 12: 49-64.