การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลยาฉีดที่มีความเสี่ยงสูงของพยาบาลวิชาชีพด้วยคิวอาร์โค้ด

Main Article Content

ปภาดา งามกิจปราโมทย์
ชญาดา กาญจนนันทวงศ์
วุฒิพงษ์ ทาเปี้ย
ตรีนุช เปี่ยมปรีชา
สุชาติ เปี่ยมปรีชา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลการเข้าถึงข้อมูลยาฉีดที่มีความเสี่ยงสูง (Injectable High Alert Drugs; IHADs) สำหรับพยาบาลวิชาชีพผ่านทางคิวอาร์โค้ด (QR code) วิธีการ: ผู้วิจัยพัฒนาการเข้าถึงข้อมูล IHADs ด้วย QR code ที่สร้างผ่านเว็บไซต์ th.qr-code-generator.com ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่าย หลังจากนั้นปรับขนาด QR code ให้เหมาะสม ซึ่งสามารถสแกนได้สำเร็จโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายเภสัชกรรมทุกครั้งที่ทดสอบ การประเมินผลการนำ QR code ไปใช้ทำ โดยเปรียบเทียบระยะเวลาในการเข้าถึงข้อมูล IHADs ผ่านการสแกน QR code กับการเปิดคู่มือยา HADs ของพยาบาลวิชาชีพ และการให้ผู้ใช้ตอบประเมินความพึงพอใจต่อ QR code ผลการวิจัย: การศึกษาทำให้ได้ QR code ของ IHADs ทั้งหมดของโรงพยาบาลรวม 20 รายการ QR code มีขนาดเท่ากับ 1.5x1.5 ซม.2 เนื้อหาที่แสดงประกอบด้วย 8 หัวข้อ คือ ชื่อยา ความแรง รูปแบบยา ตัวทำละลาย/เจือจาง การบริหารยา ความไม่เข้ากัน การเก็บรักษา และการติดตาม พยาบาลวิชาชีพทุกคน (40 คน) สามารถสแกน QR code สำเร็จโดยใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 2.89±1.15 วินาที ส่วนการเปิดคู่มือยา HADs ใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 7.13±2.27 วินาที ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ความพึงพอใจต่อ QR code ในแต่ละประเด็นที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 4 (จากคะแนนเต็ม 5) ความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.37±0.11 (จากคะแนนเต็ม 5) สรุป: QR code ที่พัฒนาขึ้นช่วยเข้าถึงข้อมูล IHADs ได้เร็วกว่าการเปิดคู่มือและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Cousins DH, Gerrett D, Warner B. A review of medication incidents reported to the national reporting and learning system in England and Wales over 6 years (2005-2010). Br J Clin Pharmacol. 2012;74(4):597-604.
2. Rattanarojsakul P, Thawesaengskulthai N. A medication safety model: a case study in Thai hospital. Glob J Health Sci. 2013;5(5):89–101.
3. Joint Commission International. International patient safety goals [online]. 2017 [cited Jan 15, 2019]. Available from: https://www.jointcommissioninternational.org/ improve/international-patient-safety-goals/.
4. The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). Patient safety goals : SIMPLE [online]. 2008 [cited Jan 15, 2019]. Available from: https://www.ha.or.th/ Backend/fileupload/Quality%20Tools/Attach/Patient%20Safety%20Goals%20%20SIMPLE%202008.pdf.
5. Orprayoon S, Fuangchan A. Development of drug labels for people with visual loss. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2017;9:237-50.
6. Wongthongchai J. Perception factors affecting acceptance of 2-dimensions barcode of generation y users [dissertation]. Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology; 2012.
7. Van der Heijden H. User acceptance of hedonic information systems. MIS Quartery. 2004;28(4):695-704.