โอกาสและความท้าทายในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560: กรณีศึกษาจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

กิตติศักดิ์ ไท้ทอง
นุศราพร เกษสมบูรณ์
สรีรโรจน์ สุกมลสันต์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อการศึกษาแนวทางการจัดซื้อยา โอกาส และความท้าทายในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ในหน่วยบริการของรัฐในจังหวัดสกลนคร วิธีการศึกษา: การศึกษานี้วิเคราะห์นโยบายโดยการวิจัยเอกสารที่รวบรวมจากแหล่งข้อมูลสาธารณะ พระราชบัญญัติ กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการซื้อยาของหน่วยบริการของรัฐ ทำโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในการจัดซื้อยา และการสนทนากลุ่มในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในการให้บริการด้านยา กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการขายยาให้กับหน่วยบริการของรัฐ กลุ่มผู้รับบริการที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มภาคประชาชนของจังหวัดสกลนคร หลังจากนั้นนำไปสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโนบายตามกรอบแนวคิดตัวแบบความคาดหวังของผู้รับประโยชน์จากการจัดซื้อยาของภาครัฐในด้านความโปร่งใส ความสามารถทางเทคนิค เทคโนโลยีสารสนเทศ และภาวการณ์นำ ผลการศึกษา: การดำเนินการจัดซื้อยาในช่วงเปลี่ยนผ่านมีความไม่พร้อมด้านบุคลากร ระบบสารสนเทศ และการตีความข้อกฎหมาย ข้อมูลการจัดซื้ออยู่ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement: e-GP) ทางเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลางสามารถตรวจสอบได้โดยภาคประชาชน การจัดซื้อยาตามระเบียบใหม่มีข้อดีหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดซื้อตามระเบียบเดิม แต่ด้วยความเร่งรีบในการบังคับใช้จึงมีความไม่ชัดเจนในการตีความกฎระเบียบ ในด้านสารสนเทศพบว่า ระบบe-GP ยังไม่พร้อมและมีความไม่เสถียร  ในด้านภาวการณ์นำ กรมบัญชีกลางได้ประเมินการบังคับใช้ข้อกฎหมาย เมื่อพบว่ามีความไม่ชัดเจนในการปฏิบัติ จึงได้มีข้อสั่งการที่มีการตีความอย่างชัดเจน และผ่อนปรนเงื่อนเวลาการบันทึกข้อมูลการจัดซื้อยาในระบบ การวิจัยมีข้อเสนอแก่กรมบัญชีกลางว่า ต้องพัฒนาระบบe-GP ให้มีความเสถียรมากขึ้นตลอดจนเพิ่มช่องทางการบันทึกข้อมูลที่หลากหลายนอกจากทางเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลางช่องทางเดียว กระทรวงสาธารณสุขต้องประกาศนโยบายการจัดซื้อยาตามขั้นของกฎหมายใหม่อย่างเร่งด่วนเพื่อให้การจัดซื้อยาของทุกหน่วยบริการมีแนวทางเดียวกัน และควรผลักดันให้มีระเบียบปฏิบัติในการจัดซื้อที่มีความเฉพาะกับยามากขึ้น ภาครัฐควรกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรในสายงานบริหารเวชภัณฑ์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ กระทรวงสาธารณสุขต้องประกาศนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อยาด้วยการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตหรือจังหวัดด้วยวิธีการคัดเลือกในกรณียาที่มีผู้ขายหรือผู้ผลิตหลายราย และวิธีเฉพาะเจาะจงในกรณีที่มีผู้ขายหรือผู้ผลิตน้อยราย การพิจารณาคัดเลือกยาควรคำนึงถึงราคาร่วมกับเกณฑ์อื่นเพื่อให้เกิดการเข้าถึงยาที่มีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกันในราคาที่เหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างหน่วยบริการ เกิดความโปร่งใส และตรวจสอบได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย สรุป: การศึกษาพบความท้าทายในการจัดซื้อยาตามกฎหมายใหม่ และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปเจตนารมย์ของกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. World Health Organization. Management of health centre level: training manual [online]. 2004 [cited Oct 15, 2017]. Available from: apps.who.int.medicin edocs/pdf/s7919e/s7919e.pdf

2. The Pharmacy Council of Thailand. Declaration of patient's rights [online]. 2014 [cited Oct 15, 2017]. Available from: www.pharmacycouncil.org/index.ph p?option=content_detail&view=detail&itemid=648&catid=1.

3. Waleekhachonloet O, Rattanachotphanit T, Silkavut P, Chaijit T, Chadsom K, Limwattananon C. A review of drug pricing control system in Thailand [online]. 2012 [cited Oct 15, 2017]. Available from kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3.

4. Bureau of Health Administration Office. Rules of the Ministry of Public Health for operation according to the measures to increase efficiency in the procure ment of drugs and non-drug medical supplies [on line]. 2015 [cited Oct 14, 2017]. Available from: ph db.moph.go.th/phdb2017/people.php?&p=1&type=3&t=3&id=24&n_id=29280&sec=2.

5. Prachachart Business. The Comptroller General's Department anticipated the Government Procure ment and Supplies Management Act approved by the National Legislative Assembly in May 2559 with increased criminal penalty to deter corruption. [on line]. 2016 [cited Oct 17, 2017]. Available from: www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1455604256

6. National News Bureau of Thailand. The Comptroller General's Department clarified the purpose of the Law on procurement and purchasing to the public hospitals [online]. 2017 [cited Oct 17, 2017]. Available from: thainews.prd.go.th/website_th/news/ print_news/TNSOC6008190010007.

7. Tongard C. Documentary research [online]. 2011 [cited Oct 17, 2017]. Available from: www.gotoknow .org/posts/423582.

8. Singh PV, Tatambhotla A, Kalvakuntla R, Chokshi M. Understanding public drug procurement in India: A comparative qualitative study of five Indian states. BMJ Open 2013 5; 3: pii: e001987.

9. Regulations of the Office of the Prime Minister on Procurement B.E. 2535. Royal Gazette No.109, Part 7 (Jan 31, 1992).

10. Government Procurement and Supplies Manage ment Act B.E. 2560. Royal Gazette No.134, Part 24A (Feb 24, 2017).

11. Rules of Ministry of Finance on Prescribing budget limit for procurement by specific methods, the budget limit for procurement without written agreement and budget limit for procurement in the appointment of supply inspectors B.E. 2560. Royal Gazette No.134 Part 86A (Aug 23, 2017).

12. Regulations of the Ministry of Finance on the Government Procurement and Supplies Management Act B.E. 2560. Royal Gazette No.134, Part 210D special (Aug 23, 2017).

13. Management Sciences for Health. 2012. MDS-3: Managing access to medicines and health techno logies. Arlington, VA: Management Sciences for Health.

14. Boonyoung U. Operational Efficiency of group procurement of drugs at the regional level: A Case study in the 2nd Regional Health. Buddhachinaraj Medical Journal 2014; 31: 278-87.