การประเมินอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ และไส้ตรงระยะลุกลาม ณ โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

นุชจริน ยินดี
อรอนงค์ วลีขจรเลิศ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะลุกลาม วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาที่เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนร่วมกับสัมภาษณ์ข้อมูลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในช่วงมีนาคม 2560 ถึงสิงหาคม 2560  กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยชาวไทยอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ที่มารับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยผู้ป่วยทราบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็ง ไม่มีปัญหาการรับรู้และการสื่อสาร และยินดีเข้าร่วมการศึกษา การเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตใช้เครื่องมือ EQ-5D-5L (The European Quality of Life Measure-5 Domain) ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 65 ราย อายุเฉลี่ย 59.3±12.2 ปี เป็นผู้ป่วยที่ยังไม่มีการดำเนินไปของโรค (progression free) 51 ราย สูตรเคมีบำบัดที่มีการสั่งใช้บ่อยคือ FOLFIRI 16 ราย, FOLFOX4 14 ราย, mFOLFOX6 12 ราย  และเป็นผู้ป่วยที่มีการดำเนินไปของโรค (progression) 14 ราย โดย 11 รายได้รับเคมีบำบัด และ 3 รายได้รับการรักษาแบบประคับประคอง การประเมินมิติสุขภาพทั้ง 5 ด้านโดย EQ-5D-5L พบว่า ผู้ป่วยที่ยังไม่มีการดำเนินไปของโรคที่ได้รับยาเคมีบำบัดทุกสูตร และผู้ป่วยที่มีการดำเนินไปของโรคที่ได้รับยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่ตอบว่าไม่มีปัญหาถึงมีปัญหาเล็กน้อยในการทำกิจกรรมที่ถามในแบบสอบถาม EQ-5D-5L  ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีการดำเนินไปของโรคที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองมีปัญหาอย่างมากถึงมากที่สุดในทุกมิติ สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่มีการดำเนินไปของโรคพบว่า ค่ามัธยฐานของค่าอรรถประโยชน์ในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดสูตร FOLFIRI, mFOLFOX6, FOLFOX4, เท่ากับ 0.88, 0.86, 0.79 คะแนน ตามลำดับ  สำหรับผู้ป่วยที่มีการดำเนินไปของโรค พบว่า ค่ามัธยฐานของค่าอรรถประโยชน์ในผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดเท่ากับ 0.87 ในขณะที่ค่ามัธยฐานของค่าอรรถประโยชน์ในผู้ที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองเท่ากับ  -0.28 คะแนน สรุป: ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะลุกลามที่ยังไม่มีการดำเนินไปของโรค คุณภาพชีวิตในแง่ของอรรถประโยชน์ในผู้ที่ได้รับสูตรยา FOLFIRI, mFOLFOX6, FOLFOX4 อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน (0.79-0.88) ในผู้ป่วยที่มีการดำเนินไปของโรค พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองมีคะแนนอรรถประโยชน์ต่ำมากเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด ข้อมูลค่าอรรถประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในแบบจำลองการประเมินความคุ้มค่าของทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะลุกลามในอนาคตได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. World Cancer Research Fund International. Colo- rectal cancer statistics [online]. 2015 [cited Dec 16, 2017] Available from: www.wcrf.org/int/cancer-facts-figures/data-specific-cancers/colorectal-cancer-statis tics.

2. National Cancer Institute. Hospital based cancer registry 2015. Bangkok: Pornsup Printing; 2017.

3. Surin Hospital Cancer Center. Surin hospital cancer statistic 2017. Surin: Rungthanakiat Publishing; 2017 .

4. Khuhaprema T, Srivatanakul P. Colon and rectum cancer in Thailand: an overview. Jpn J Clin Oncol 2008; 38: 237–43.

5. Guyatt GH, Ferrans CE, Halyard MY, Revicki DA, Symonds TL, Varricchio CG, et al. Exploration of the value of health-related quality-of-life information from clinical research and into clinical practice. Mayo Clin Proc 2007;82:1229-39

6. Sakthong P, Sonsa-Ardjit N, Sukarnjanaset P, Mun pan W. Psychometric properties of the EQ-5D-5L in Thai patients with chronic diseases. Qual Life Res 2015; 24: 3015-22.

7. EuroQol group. EQ-5D-5L questionnaire self-complete version on paper version 1.0 [online] 2014 [Dec 16, 2017]; Available from: www.euroqol. org/eq-5d-products/eq-5d-5l.html

8. Pattanaphesaj C, Thawoncharoensap M. EQ-5D-5L Thai version policy brief [online]. 2015 [cited [Dec, 2017]. Available from: www.hitap.net/documents/24 389

9. DeCosse J, Cennerazzo W. Quality-of-life manage ment of patients with colorectal cancer. CA Cancer J Clin 1997;47: 198-206.

10. Ness RM, Holmes AM, Klein R, Dittus R. Utility valuation for outcome states of colorectal cancer. Am J Gastroenterol 1999; 94:1650-7.

11. Ramsey SD, Andersen MR, Etzioni R, Moinpour CM, et al. Quality of life in survivors of colorectal carcinoma. Cancer 1999; 88:1294-303.

12. Djalalov S , Rabeneck L, Tomlinson G, Bremner KE, Hilsden R, Hoch JS. A review and meta-analysis of colorectal cancer utilities. Med Decis Making 2014; 34: 809–18.

13. Riesco-Martínez MC, Berry SR, Ko YJ, Mittmann N, Cost-effectiveness analysis of different sequences of the use of epidermal growth factor receptor Inhibitors for wild-type KRAS unresectable metas- tatic colorectal cancer. J. Oncol. Pract 2016; 12: e710–e23.

14. Stein D, Joulain F, Naoshy S, et al. Assessing health-state utility values in patients with metastatic colorectal cancer: a utility study in the United Kingdom and the Netherlands. Int J Colorectal Dis 2014; 29:1203-10.