ความชุกของการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านชำในจังหวัดพิษณุโลกและปัจจัยที่มีผล

Main Article Content

อัปสร บุญยัง
รุ่งทิวา หมื่นปา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์และหาปัจจัยที่มีผลในการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมในร้านขายของชำภายในจังหวัดพิษณุโลก วิธีการ: การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลจากร้านขายของชำ 332 ร้าน ที่เลือกมาแบบตามสะดวกจากจำนวนร้านทั้งหมดในจังหวัดพิษณุโลก 4,227 ร้าน ผู้สำรวจการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสม คือ เภสัชกรและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคของสาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอที่ผ่านการอบรมชี้แจงถึงวิธีการและเครื่องมือเก็บข้อมูล ผลการวิจัย: ร้านขายของชำในจังหวัดพิษณุโลกร้อยละ 47.9  จำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสม ร้านชำจำหน่ายยาซึ่ง “ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านและไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ” ยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาที่มีสเตียรอยด์ ร้อยละ 82.4 , 62.3, 9.4 และ 3.8 ตามลำดับ การศึกษานี้ไม่พบการจำหน่ายยาที่ไม่มีเลขทะเบียนตำรับยา  ยาซึ่งไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านและไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ ที่พบมากที่สุด คือ ยาเม็ด paracetamol (ขนาดบรรจุมากกว่า 10 เม็ด) รองลงมาคือ diclofenac และ piroxicam ยาปฏิชีวนะที่พบมากสุด คือ ยาเม็ด tetracycline รองลงมา คือ ยา penicillins และยา amoxycillin ยาที่มีการผสมสารสเตียรอยด์ที่พบส่วนใหญ่เป็นยาทาภายนอก ยาชุดส่วนใหญ่ที่พบมีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อย รองลงมาคือแก้หวัด และแก้แพ้/แก้คัน แหล่งที่มาของยาในร้านขายของชำที่พบมากที่สุด คือ ร้านขายยาแผนปัจจุบัน รองลงมาคือ ร้านขายส่ง ร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ และร้านขายของชำแห่งอื่น  แรงจูงใจในการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมที่ตัวอย่างตอบมากที่สุด คือ ความต้องการของคนในชุมชน/มีการร้องขอให้นำมาจำหน่าย รองลงมาคือ ความต้องการผลกำไร และการได้รับคำแนะนำจากร้านขายยา ร้านชำที่เป็นทั้งร้านขายปลีกและส่ง จำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมมากกว่าร้านประเภทอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.041) ร้านขายของชำที่ไม่เคยผ่านการอบรมหรือได้รับคำแนะนำจากบุคลากรสาธารณสุขในเรื่องกฎหมายที่ห้ามจำหน่ายยาในร้านขายของชำ มีการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมมากกว่าร้านประเภทอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) ความต้องการของคนในชุมชน ความต้องการผลกำไร การได้รับคำแนะนำจากคนรู้จัก การได้รับคำแนะนำจากร้านขายยา เพิ่มโอกาสการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) สรุป: ร้านขายของชำในจังหวัดพิษณุโลกเกือบครึ่งหนึ่งมีการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยาและปัญหาเชื้อดื้อยา ดังนั้นทุกภาคส่วนควรร่วมกันแก้ไขปัญหานี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. World Health Organization. Promoting rational use of medicines: core components. Geneva, 2002: 1-6.

2. Menanan S.The Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP) [online]. 2013 [cited Dec 12, 2016]. Available from: www 2.p h.mahidol.ac.th/research/thai/Training/ResearchCa re&Talk/3-2556/Introduction_to_0HITAP_Apr_2513 .pdf

3. Chuengsatiansup K, Sringern-Yuang L, Paunil W. drug and community: cultural dimension. Bangkok: Deewon Printing; 2007.

4. Booddawong B, Kiatying-Angsulee N, Wanleepong K, Boonmanus L, Kadsomboon O, Dokbua J et al. Source and distribution of unlawful medicines in 8 provinces of Thailand to inform the public policy change. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2016; 11 (Supplement): 260-8.

5. Wibulpholprasert S. Thailand health profile 2005-2007. Bangkok: Strategy and Planning Division Ministry of Public Health; 2007.

6. Sringern-Yuang L, Hongvivatana T, Pradubmook P. Village drug provision profile in community. Health System Research Journal. 1994; 2: 182-91.

7. Drug Act, B.E. 2510. Royal Gazette No. 84, Part101 special (Oct 20, 1967).

8. Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley &Sons; 1977.

9. Maluangnon K, Korsangruang S, Chairob A, Nopsri T, Jirasakpisarn Y. The survey of ya-chud in Pathumthani province. Huachiew Chalermprakiet University Journal 2014; 17: 1-14.

10. Pentongdee K. Interventions for inappropriate drugs in communities: case studies of Yasothorn. In: Sirisinsuk Y, editors. Report on situation on drug system in 2011. Bangkok: Usa printing; 2011. p. 64-5.

11. Wirirat P, Panyasit U. Factors affecting polyphar- macy and steroid selling in the groceries in Kokkrue subdistrict. Journal of Sirindhorn College of Public Health Khon Kaen Province 1992; 4: 1-9.

12. Poophalee T, Arpasrithongsakul S, Yingyoud W, Saengsuwan T, Ammart L. Groceries development model with community involvement in Phon Sung subdistrict, Sakon Nakhon. Food and Drug Administration Journal 2014; 21: 57-63.

13. Arundorn D, Saelim S, Vitchayavoranan S, Klaysatit A, Dej-adisai S. Study on adulteration of steroids, prednisolone and dexamethasone in traditional Thai medicines in Hat-yai, Songkhla. Thaksin University Journal 2010; 13: 20-30.

14. Booddawong B, Yoongthong W. Community empowerment in the management of the problems on inappropriate drugs and health products: case study of Nonkhun district, Sisaket Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 2: 331-43.