ความชุกของการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายของคลินิกเวชกรรม ที่ให้บริการด้านความงามในอาเภอเมืองของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคใต้

Main Article Content

จุฬาลักษ์ พชรทิพย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายของคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการด้านความงาม ในเขตอำเภอเมืองของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคใต้ วิธีการ: ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากโฆษณาทางสื่อออนไลน์ทุกชิ้นในช่วงระยะเวลา 3 เดือน (สิงหาคม–ตุลาคม พ.ศ. 2559) ของคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการด้านความงามทุกแห่ง (10 แห่ง) ในพื้นที่ของการวิจัย โดยไม่รวมถึงคลินิกเฉพาะทางด้านตจวิทยาและศัลยกรรมตกแต่ง การสำรวจทาง youtube, facebook, twitter, instagram และเว็บไซต์ของคลินิก พบว่า คลินิกฯ ทุกแห่ง ใช้ facebook เป็นช่องทางในการโฆษณา และโฆษณาที่ปรากฏทาง facebook จะถูกนำไปโฆษณาในช่องทางอื่นด้วย การวิจัยครั้งนี้จึงเลือกโฆษณาที่ลงใน facebook มาตรวจสอบประเด็นที่ฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2546) ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ประกาศแพทยสภา ที่ 50/2549 เรื่อง คำที่ห้ามใช้ในการโฆษณา และมติที่ประชุมคณะกรรมการสถานพยาบาลเรื่องการโฆษณาสถานพยาบาล  ผลการวิจัย: คลินิกทุกแห่งมีโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โฆษณาของคลินิกใน facebook จำนวนทั้งหมด 275 ชิ้น ฝ่าฝืนกฎหมายจำนวน 223 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 81.09 โดยแบ่งเป็นการฝ่าฝืนประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโฆษณาสถานพยาบาล จำนวน 157 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 70.40 โดยฝ่าฝืนประกาศฯ ข้อ 4.1 มากที่สุด (ใช้ข้อความอันเป็นเท็จ บอกความจริงเพียงบางส่วน ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นจริง) โฆษณาฝ่าฝืนประกาศแพทยสภาเรื่อง คำที่ห้ามใช้ในการโฆษณา ข้อ 1 (คำว่า “เพียง”)  และข้อ 9  (คำว่า “ฟรี”) มากที่สุด จำนวนอย่างละ 39 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 17.48 โฆษณาฝ่าฝืนมติที่ประชุมคณะกรรมการสถานพยาบาล โดยเฉพาะมติเรื่องการโฆษณา botox มากที่สุดจำนวน 76 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 34.08 สรุป: โฆษณาทางสื่อออนไลน์ของคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการด้านความงามในงานวิจัยนี้ ฝ่าฝืนกฎหมายมากที่สุดในประเด็นการใช้ข้อความอันเป็นเท็จ บอกความจริงเพียงบางส่วน และทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นจริง ผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้ลักษณะข้อความที่พบเพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติโฆษณาสถานพยาบาลในพื้นที่ และเสนอแนะต่อกรมสนับสนุนบริการสุขภาพให้จัดทำคู่มือสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ในประเด็นดังกล่าวเพื่อลดปัญหาการใช้ดุลยพินิจที่แตกต่างกัน และเป็นประโยชน์สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ที่กำหนดให้การโฆษณาสถานพยาบาลต้องได้รับอนุมัติจากผู้อนุญาตก่อน  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Bureau of Information, Ministry of Public Health. Director-general of the Department of Health Service Support warns importing ‘Korean doctors’ is illegal [online]. 2016 [cited October 5, 2016]. Available form: pr.moph.go.th/iprg/include/admin_ho tnew/show_hotnew.php?idHot_new=86503.

2. Muangkham P. Relationship between social network media exposure and attitude towards facial cosme tic surgery among working women. [independent study]. Bangkok: Thammasat University; 2015.

3. Youngsabuy P. The influence of online media on surgery intention among women in Bangkok. [master thesis]. Bangkok: National Institute of Development Administration; 2015.

4. Boonyasuruk S. Video content marketing and consumers’ decision on plastic surgery. [indepen dent study]. Bangkok: Bangkok University; 2016.

5. Manageronline. The esthetic medical clinics are warned not to advertise exaggerated statements, intensive inspection will start in March [online]. 2011 [cited April 15, 2018]. Available form: www.thaihealth.or.th/Content/4649-เตือนคลินิกเสริมความงามอย่าโฆษณาเกินจริง%20ตรวจเข้มมีนานี้.html.

6. Sanatorium Act B.E. 2541. Royal Gazette No. 115, Part 15A (Mar 24, 1998).

7. Public Health Ministerial Declaration No. 11 in 2003 on rules, procedures and conditions for advertising of sanatoriums. Royal Gazette No. 120, Part 77D special (Jul 16, 2003).

8. Announcement of Statement of the Medical Council of Thailand No. 50/2549 on words prohibited in advertising.