การบูรณาการบทบาทของเภสัชกรด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในระบบสุขภาพชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการบูรณาการบทบาทของเภสัชกรด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในระบบสุขภาพชุมชน วิธีการ: การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเภสัชกรและผู้เกี่ยวข้องในระบบสุขภาพชุมชน การสังเกตกระบวนการทำงานของเภสัชกร และการวิจัยเอกสารรวบรวมผลงานของเภสัชกร การวิจัยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2558 ถึง กรกฎาคม 2559 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความและให้ความหมายข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย: การบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคในระบบสุขภาพชุมชนไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะประเด็นทางกฎหมาย ที่เน้นการควบคุมหรือกำกับตัวผลิตภัณฑ์ให้มีความปลอดภัยเท่านั้น แต่เป็นการก้าวออกจากบริบทของกฎหมายไปหาประชาชนในฐานะผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการบริโภค มิติของปัญหาจึงเชื่อมโยงอยู่กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของคนในชุมชน กระบวนการแก้ไขปัญหาจึงเป็นการออกแบบร่วมกับชุมชนภายใต้บริบทของชุมชน โดยการค้นหาและพัฒนาศักยภาพของชุมชน บนพื้นฐานความรู้ของชุมชนร่วมกับฐานความรู้ทางวิชาการของเภสัชกรแบบผสมผสาน ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ที่ทำให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การเฝ้าระวังปัญหาจนเป็นวิถีปกติของชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สรุป:การเปิดบทบาทด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในบริบทชุมชนของเภสัชกรต้องอาศัยการบูรณาการความรู้ ทักษะ และความชำนาญในหลายสาขาเข้าด้วยกัน ทั้งความรู้ทางเภสัชศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ฯลฯ ที่ต้องได้รับการพัฒนาและฝึกฝน อีกทั้งต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงานของเภสัชกรให้ก้าวข้ามฐานคติทางความคิดแบบวิทยาศาสตร์ไปสู่แนวคิดแบบองค์รวมที่ไม่มุ่งเน้นตนเองเป็นศูนย์กลางของความรู้ แต่เป็นการน้อมตัวเองลงไปหาความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนและบูรณาการเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นความรู้ที่เป็นแบบแผนปฏิบัติของชุมชน การให้คุณค่าและความหมายต่อตนเองและงานที่ประโยชน์สุขของสาธารณะ การมองคนอื่นอย่างเท่าเทียม การเห็นตนเองและคนอื่นเป็นมนุษย์ที่มีความสุขทุกข์ร่วมกันในสังคม เป็นการยกระดับการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของเภสัชกรให้มีคุณค่าและความหมายต่อเพื่อนมนุษย์ เพื่อเยียวยาสังคมตามแนวทางของระบบสุขภาพชุมชนอย่างแท้จริง
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. National Health Committee Declaration No. 126 in 2009 on charter of national health system. Royal Gazette No.126, Special 175D special (Dec 2, 2009)
3. Srivanichakorn S. Community health: the turning point of health service system quality. In: Atikamanon S, editor. Conceptual framework of primary care service and practice in community health. Nonthaburi: Office of Community Based Health Care Research and Development; 2007. p.2-20.
4. Kimchai K. 30 years of primary health care. Proceedings of summary of primary health care practice and orientation to primary health care development in the 4th decade in Northeast Thailand conference; 2008 Sep 17-19; Udon Thani, Thailand. 2009. p. 1-25.
5. Chuengsatiansup K. Primary health care primary care and community health: lesson learned challenge and new context of public sector health. Proceeding of community health and primary care expo; 2009 Feb 18-20; Nonthaburi, Thailand. 2009. p. 1-24.
6. Srivanichakorn S, Atikamanon S, Chalordech B, Surakitkoson T, Sukpordee N. Primary care services; services that closed to heart and home. Nonthaburi: Health Care Reform Office; 2002.
7. Kodner D. All Together Now: A Conceptual Exploration of Integrated Care. Healthc Q. 2009;13(special issue): 6-15.
8. Wasi P. New concepts of management in community health system development. In: Srivanichakorn S, Pratum-nan S, editors. Proceeding of community health&primary care expo; new management new possibility; 2011; Oct 12-14; Nonthaburi, Thailand. Nonthaburi: Sahamitr printing and publishing; 2011. p. 8-24.
9. Office of the Civil Service Commission. Standard for job specification [online]. 2000 [cited Aug 31, 2017]. Available from: www.ocsc.go.th/job/specification/ officer
10. Jaisa-ard R, Kanjanarach T. Needs for competency improvement in pharmacy service at primary care level. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2014;10: 69-79.
11. Chirunthorn R, Singpaiboonporn N, Lohanavakul P, Treratthanapaiboon P. Factors affecting the role performance of pharmacists in primary care units (PCU): a case study in the upper southern region of Thailand. Songklanagarind Medical Journal. 2006; 24: 504-16.
12. Photisita C. Science and art of quality research. Bangkok: Amarin Printing&Publishing; 2001.
13. Yod-Damnern-Attig B, Tangchonlatip K. Analytic of qualitative data: data management interpret and search of meaning. Nakon-pratom: Institute for Popu lation and Social Research, Mahidol University; 1999.
14. Shaw S, Rosen R, Rumbold B. An overview of integrated care in the NHS: What is integrated care? London: Nuffield Trust; 2011.
15. Valentijn PP, Schepman SM, Opheij W, Bruijnzeels MA. Understanding integrated care: a comprehensive conceptual framework based on the integrative functions of primary care. Int J Integr Care 2013;13:1-12.
16. Health Administration Division, Ministry of Public Health. Service plan. Proceedings of seminar for provincial service plan development; 2012 Feb 29; Bangkok, Thailand. 2012. p. 1-4.
17. Yodpetch S. Integration of elder long term care system. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation; 2009.
18. Tepsongkroh P, Tepsongkroh J, Saksoong A, Siripaisan S, Promkaew P, Natee W. Community capital based knowledge management for sustainable development of quality of life in Songkhla Lake Basin watershed area. Journal of Community Development and Life Quality. 2013;1: 217-31.
19. Wasi P. Community health system development; community well-being the base of all well-beings. Bangkok: National Health Security Office; 2006.
20. Panich W. Knowledge management in community health system development. In: Srivanichakorn S, Pratum-nan S, editors. Proceeding of community health&primary care expo; new management new possibility; 2011; Oct 12-14; Nonthaburi, Thailand. Nonthaburi: Sahamitr Printing and Publishing; 2011. p. 68-73.
21. Thongtavee C. Paradigm: meaning structure and shifting [online]. 2004 [cited Aug 31, 2017]. Available from: v1.midnightuniv.org/midnight2545/document9773.html.
22. Chuengsatiansup K. To new imagination to the heart of health system. In: Atikamanon S, editor. Conceptual framework of primary care service and practice in community health: Office of Community Based Health Care Research and Development;2007.
23. Wangwinyoo N. Health paradigm and deep ecology. Health systems research institute Bangkok; 2003.
24. Kania J, Kramer M. Collective impact. Stanford Social Innovation Review. 2011;9: 35-41.