ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับ INR และประสิทธิผลของการให้กล่องยาต่อ ความร่วมมือในการใช้ยาและการควบคุมระดับ INR ในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน

Main Article Content

ศุภปริญญ์ แสงสุวรรณ
สัจจาภรณ์ ทองใบ
ปิยะภรณ์ กางกั้น
ศศิภา อภิสกุลโรจน์
กฤษณี สระมุณี
วิระพล ภิมาลย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมค่าความแข็งตัวของเลือด (INR) ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน รวมทั้งศึกษาผลของการให้กล่องยาต่อความร่วมมือในการใช้ยาและการควบคุมค่า INR วิธีการ: งานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาภาคตัดขวางโดยเก็บข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับ INR ระยะที่ 2 เป็นการศึกษากึ่งทดลอง ซึ่งแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มทดลองได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการให้กล่องยาเพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมตามปกติ ความร่วมมือในการใช้ยาวัดโดยการนับเม็ดยา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ณ คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สว่างแดนดิน ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 ผลการวิจัย: การวิเคราะห์ข้อมูลในผู้ป่วยจำนวน 159 รายด้วย logistic regression พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับ INR ที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีคู่สมรส (OR=5.33; P=0.023) การศึกษาที่น้อยกว่ากว่ามัธยมศึกษา (OR=0.23; P=0.041) และการเป็นผู้ป่วยรายเก่า (OR=5.31; P=0.027) ในการศึกษากึ่งทดลองผู้ป่วย 63 รายถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มทดลอง 27 ราย และกลุ่มควบคุม 36 ราย ก่อนได้รับกล่องยาจำนวนผู้ที่ควบคุมระดับ INR ได้ตามเป้าหมายในกลุ่มควบคุมดีกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.031) หลังจากได้รับกล่องยา พบว่า จำนวนผู้ป่วยที่ควบคุมระดับ INR ได้ตามเป้าหมายของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (P=0.272) เมื่อเริ่มต้นการศึกษากลุ่มทดลองมีความร่วมมือการใช้ยาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.002) เมื่อสิ้นสุดการศึกษาความร่วมมือในการใช้ยาของสองกลุ่มไม่แตกต่างกันในทางสถิติ (P=0.812) สรุป: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับ INR ที่ดีกว่าได้แก่ สถานภาพมีคู่สมรสคล้ายกับ ระดับการศึกษาที่สูงกว่ามัธยมศึกษา และการเป็นผู้ป่วยรายเก่า ส่วนกล่องยาสามารถส่งผลช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุมระดับ INR และเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟารินได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Ansell J, Hirsh J, Hylek E, Jacobson A, Crowther M, Palareti G. Pharmacology and management of the vitamin K antagonists. The eighth ACCP Guidelines on Antithrombotic and Thrombolytic Therapy. Chest 2008; 133: 160s-98s.

2. Gotsman I, Ezra O, Hirsh Raccah B, Admon D, Lotan C, Dekeyser Ganz F. Patient-specific tailored intervention improves INR time in therapeutic range and INR variability in heart failure patients. Am J Med 2017;130:982-9.

3. Hirst J, Fuster V, Ansell J, Halperin JL. American Heart Association/American College of Cardiology Foundation guide to warfarin. Circulation 2003; 107: 1692-711.

4. Holbrook A, Schulman S, Witt DM. Vandvik PO, Fish J, Kovacs MJ, et al. Evidence-based management of anticoagulant therapy: Antithrombotic therapy and prevention of thrombosis, 9th ed: American College of Chest Physicians Evidence-Based Clinical Practice Guidelines. Chest 2012;141:e152S–84S.

5. Lip GYH, Al-Saady N, Jin J, Sun M, Melino M, Winters SM, et al. Anticoaguation control in warfarin-treated patients undergoing cardioversion of atrial fibrillation. Am J Cardiol 2017;120:792-6.

6. Wittkowsky AK, Devine EB. Frequency and causes of over anticoagulation and under anticoagulation in patients treated with warfarin. Pharmacotherapy 2004; 24:1311-6.

7. Katemateegaroon D, Jarernsiripornkul N. Warfarin-related problems: implementation of anticoagulation clinic. Srinagarind Medical Journal 2002; 17 : 281-8.

8. Chaiklang W. Drug therapy problems in outpatients using warfarin at Lumphun Hospital [Independent study]. Chiang Mai. Chiang Mai University; 2014

9. Locke C, Ravnan SL, Patel R, Uchizono JA. Reduction in warfarin adverse events requiring patient hospitalization after implementation of a pharmacist-managed anticoagulation service. Phar macotherapy. 2005;25:685-9.

10. Stephen E, Andrea B, Loewenstein G, Colleen M, Jaskowiak J, Jalpa A, Laskin M, Volpp K. Randomized trial of lottery-based incentives to improve warfarin adherence. Am Heart J 2012; 164: 268–74.

11. Saokaew S, Permsuwan U, Chaiyakunapruk N, Nathisuwan S, Sukonthasarn A. Effectiveness of pharmacist-participated warfarin therapy manage- ment: a systematic review and meta-analysis. J Thromb Haemost 2010;8:2418-27.

12. Unsakon S, Dechworawathin P, Kaewma R, Rattanajun S. Innovation: box for you. warfarin clinic. Akat Amnuai Hospital. 2012.

13. Chow SC, Shao J, Wang H. Sample size calculation in clinical research. New York: Chapman&Hall; 2008.

14. Smith DE, Xuereb CB, Pattison HM, Lip GY, Lane DA. Trial of an educational intervention on patients'
knowledge of atrial fibrillation and anticoagulant therapy, INR control, and outcome of treatment with warfarin (TREAT). BMC Cardiovasc Disord 2010; 10: 21. doi: 10.1186/1471-2261-10-21.

15. Tongsiri S, Cairns J. Estimating population-based values for EQ-5D health states in Thailand. Value in Health 2011; 14 : 1142-5

16. Sompet N, Ruengorn C, Permsuwan U. The effects of telephone reminder on antihypertensive medica- tion adherence. Songklanagarind Medical Journal 2007; 25 : 89-97.

17. Golicki D, Niewada M, Hout BV, Janssen MF. Pickard S. Interim EQ-5D-5L value set for Poland: First crosswalk value set in Central and Eastern Europe. Value in Health Regional Issues 2014; 4:19-23.

18. Nimworapan M. Factors affecting anticoagulation control in outpatients treated with warfarin at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital [master thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2008.

19. Buatum D, Kreungkrai R, Larpmark U. Factors affected INR controlled in outpatient treated with warfarin at Suppasittiprasong hospital [independent study]. Ubonrachathani: Ubonrachathani University; 2013.

20. Muenpa R. Effect of Warfarin after heart valve surgery in Lampang hospital, Thailand. Journal of Health Science 2015; 24 : 1146-55.

21. Davis NJ, Billett HH, Cohen HW, Arnsten JH. Impact of adherence, knowledge, and quality of life on anticoagulation control. Ann Pharmacother 2005; 39: 632-6

22. Yamthong N. Development of a medication-reminder box among persons with schizophrenia, Thapkhlo hospital, Phichit province [master thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2012