การนำระบบลีนมาประยุกต์ใช้ในงานบริการผู้ป่วยนอกของศูนย์บริการสาธารณสุข 68 สะพานสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการจัดการด้วยระบบลีนในงานบริการผู้ป่วยนอกต่อการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการ การลดอุบัติการณ์ความเสี่ยงของงานเวชระเบียนและงานเภสัชกรรม การลดระยะเวลารอคอยของผู้รับบริการ และการเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการต่อการให้บริการงานบริการผู้ป่วยนอก วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบบันทึกและแบบสอบถาม และ 2) เครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ เครื่องมือของระบบลีนซึ่งใช้ปรับปรุงขั้นตอนของงานบริการ การศึกษาเก็บข้อมูลในผู้รับบริการจำนวน 2 ครั้ง และในผู้ให้บริการจำนวน 4 ครั้ง หลักการของระบบลีนเป็นการจัดการกระบวนการทำงานในทุกขั้นตอนเพื่อที่จะขจัดความสูญเปล่าเพื่อให้มีการทำงานลดลงแต่สามารถเพิ่มผลงาน สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ผลการวิจัย: การนำระบบลีนมาประยุกต์ใช้ทำให้ลดขั้นตอนที่ไม่เกิดคุณค่า คือ ขั้นตอนที่ผู้ป่วยนั่งรอการบริการนอกอาคารและการที่เจ้าหน้าที่แจกบัตรคิว ทำให้ระยะเวลาในการรับบริการเฉลี่ยลดลงจาก 65 นาที 10 วินาที เป็น 57 นาที 24 วินาที คือ ลดลง 7 นาที 46 วินาที อุบัติการณ์ความเสี่ยงด้านการค้นและเก็บเวชระเบียนในงานเวชระเบียนลดลง คือ พบความเสี่ยงในเดือนธันวาคม 2559 มกราคม 2560 และกุมภาพันธ์ 2560 เท่ากับ 13, 8 และ 4 ครั้ง ตามลำดับ อัตราความคลาดเคลื่อนทางยาด้านการจัดเตรียมยาในงานเภสัชกรรมลดลงในเดือน ธันวาคม 2559 มกราคม 2560 และกุมภาพันธ์ 2560 คือ ร้อยละ 1.33, 0.95 และ 0.75 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการก่อนและหลังการนำระบบลีนมาใช้ พบว่ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: ระบบลีนเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้โดยการระบุคุณค่าในหน่วยงานและเขียนแผนผังทำให้ลดขั้นตอนที่ไม่เกิดคุณค่า คือ การที่ผู้ป่วยนั่งรอนอกอาคารและการที่เจ้าหน้าที่แจกบัตรคิว ทำให้เกิดความพึงพอใจในผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Komanasin K. Lean: the way to create value for excellent organizations. Bangkok: Amarin Printing & Publishing; 2007.
3. Liker JK. The Toyota way. New York: CWL; 2004.
4. Womack JP, Jones DT, Roos D, Carpenter DS. The machine that changed the world. New York: Rawson Associates Scribner; 1990.
5. Macharoenrungreuang P. The result of the project to improve the quality of Lean management. Bangkok: n.p.; 2012.
6. Aekakul T. Research methods in behavioral sciences and social sciences. Ubon ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University; 2000.
7. Kim CS, Hayman JA, Billi JE, Lash K, Lawrence TS. The application of lean thinking to the care of patients with bone and brain metastasis with radiation
therapy. J Oncol pract. 2007; 4: 189-193.
8. Pohchailert O. Effect of lean system on service quality [minor thesis]. Bangkok: Thammasat University; 2011.