การจำลองผลกระทบทางการเงินจากการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย ค่ายากรณีบริการผู้ป่วยนอกในสามระบบหลักประกันสุขภาพหลัก : กรณีโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวชแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ชฎีนาฏ ใหม่วัด
กุลจิรา อุดมอักษร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อจำลองผลกระทบทางการเงินในมุมมองของผู้ให้บริการและผู้จ่ายเงินในระบบหากนำวิธีการทางเลือกการเบิกจ่ายค่ายาตามรายการ (fee for service) ที่มีการพัฒนาขึ้นมาปรับใช้ วิธีการ: การวิจัยเป็นการศึกษาแบบพรรณนาและจำลองสถานการณ์โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิของปริมาณและมูลค่าการใช้ยาย้อนหลังในการบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวชแห่งหนึ่งในปีงบประมาณ 2557 รูปแบบการเบิกจ่ายที่จำลองในการศึกษานี้ มี 2 รูปแบบ คือ หลักเกณฑ์ราคาเบิกจ่ายค่ายาของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (RP2) และข้อเสนอหลักเกณฑ์ราคาเบิกจ่ายค่ายาซึ่งพัฒนาโดยสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (RP-3) ผลการศึกษา: การเบิกจ่ายค่ายาเฉลี่ยต่อการมารับบริการในกลุ่มโรคเดียวกันของสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (CSMBS) มีมูลค่าสูงที่สุดในทุกกลุ่มโรคเมื่อเทียบกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) และสิทธิประกันสังคม(SSS) โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มของมูลค่ายาเฉลี่ยต่อการมารับบริการหนึ่งครั้งในภาพรวม (CSMBS: 4,359.36 บาทต่อการมารับบริการหนึ่งครั้งt, UC: 243.24 บาทต่อการมารับบริการหนึ่งครั้ง, SSS: 472.63 บาทต่อการมารับบริการหนึ่งครั้ง) แสดงถึงแบบแผนการสั่งใช้ยาที่มีความแตกต่างกันตามสิทธิการรักษาพยาบาลแม้ในการรักษาโรคเดียวกัน ผลการวิเคราะห์ผลกระทบทางการเงินต่อผู้ให้บริการหากมีการเปลี่ยนรูปแบบการเบิกจ่ายค่ายา พบว่า การเบิกจ่ายทั้ง 2 รูปแบบที่จำลองในการศึกษา ทำให้โรงพยาบาลขาดทุนกำไร คือมีส่วนต่างระหว่างรายได้ค่ายากับต้นทุนลดน้อยลงแต่ไม่ต่ำกว่าทุนค่ายา ในส่วนผลกระทบต่อผู้จ่ายเงินในระบบพบว่า รูปแบบการเบิกจ่าย RP-2 และ RP-3 สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้เฉพาะในสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและสิทธิประกันสังคมเท่านั้น แต่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่งผลตรงกันข้าม คือจะทำให้ผู้จ่ายเงินในระบบต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับรูปแบบการเบิกจ่ายในปัจจุบันที่กำหนดเพดานค่ายาในการมารับบริการในแต่ละครั้ง (700 บาท/ครั้ง) ยาที่สั่งใช้ในผู้ป่วย UC ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงราคาถูก รูปแบบการเบิกจ่ายที่จำลองในการศึกษาจะให้ส่วนเพิ่มสำหรับยาราคาถูกในสัดส่วนที่สูงกว่ายาราคาแพง จึงอาจเป็นเหตุให้ไม่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้กรณีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า สรุป: รูปแบบการเบิกจ่ายค่ายาทางเลือกที่นำมาศึกษาสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาลงเมื่อเทียบกับระบบปัจจุบันสำหรับการเบิกจ่ายค่ายากรณีผู้ป่วยนอกในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลและระบบประกันสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Limwattananon C, Limwattananon S, Pannarunothai S, Tangcharoensathien V. Analysis of practice variation due to payment methods across health insurance schemes. Nonthaburi: International Health Policy Program, Ministry of Public Health; 2009.

2. Lomtong C. Guidelines limiting costs in Civil Servant Medical Benefit Scheme (CSMBS). Thailand Develop ment Research Institute (TDRI). TDRI report issue 99; 2014.

3. Limwattananon S,Limwattananon C, Pannarunothai S. Cost and utilization of drugs prescribed for hospital-visited patients: impacts of universal health care coverage policy. Research Report for the Health System Research Institute. Nonthaburi; 2004.

4. Sakulbumrungsil R, et al. Setting reimbursement prices for pharmaceuticals: Cases of outpatient referral, disability, accident, and emergency for Bangkok-region National Health Security Office. National Health Security Office (NHSO) Region 13. Bangkok; 2013.

5. The Health Insurance System Research Office. The proposed pharmaceutical reimbursement model being developed for those under the Civil Servant Medical Benefit Scheme. The Health Insurance System Research Office (HISRO); 2014.