ปัญหาด้านยาของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการจัดการปัญหาโดยเภสัชกร

Main Article Content

พิจักษณา มณีพันธุ์
กรกมล รุกขพันธ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความถี่ ประเภท ความรุนแรงและสาเหตุของปัญหาที่เกี่ยวกับยา (drug related problems: DRPs) ตลอดจนวิธีการแก้ไข การยอมรับการแก้ไข และผลการแก้ไข DRPs บนหอผู้ป่วยในโดยเภสัชกร  วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจำนวน 282 รายที่รักษาตัวในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยตรวจสอบประวัติการรักษา รายการยาเดิมที่ผู้ป่วยได้รับ รายการยาที่ได้ในแต่ละวัน และยังเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแล พร้อมทั้งค้นหาและจัดการ DRPs ตามแบบประเมินของ Pharmaceutical Care Network Europe (PCNE) Version 8.02 การแบ่งระดับความรุนแรงของ DRPs ใช้เกณฑ์ตาม NCC MERP Index การศึกษาวัดความพึงพอใจของผู้ป่วยและบุคคลากรทางการแพทย์โดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัย: ตัวอย่างอายุเฉลี่ย 39.2 ± 27.7 ปี วันนอนเฉลี่ย 4.4 ± 4.2 วัน ผู้ป่วยร้อยละ 19.5 มี DRPs รวม 72 ครั้ง เฉลี่ย 1.3±0.6 ปัญหาต่อราย DRPs ร้อยละ 78.0 เป็นเรื่องประสิทธิภาพการรักษา ร้อยละ 33.3 ของ DRPs มีความรุนแรงอยู่ในระดับ D คือ เหตุการณ์ปัญหาเกิดขึ้นกับผู้ป่วยแล้วต้องให้การดูแลเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ร้อยละ 40 ของสาเหตุของ DRPs เกิดจากตัวผู้ป่วยเอง การแก้ไข DRPs ร้อยละ 36.8 เป็นการแก้ไขผ่านผู้สั่งใช้ยา การจัดการปัญหาของเภสัชกรร้อยละ 97.2 ได้รับการยอมรับจากบุคคลการทางการแพทย์ ผู้ป่วย และผู้ดูแล ร้อยละ 84.7 ของการแก้ปัญหาทำได้สำเร็จ บุคคลากรทางการแพทย์ร้อยละ 90.9 พึงพอใจต่อการจัดการ DRPs สรุป: DRPs บนหอผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่ค่อนข้างรุนแรง การจัดการกับปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรได้รับการยอมรับอย่างดีและสามารถแก้ไขปัญหาด้านยาบนหอผู้ป่วยได้มาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Hanrinth R. Classification for drug related problems. Thai Journal of Pharmacy Practice 2009; 1:84–96.

2. Vo TH. Evaluation of the potential impact of pharma cist interventions development and validation of the CLEO multidimensional tool [master thesis]. Grenoble : Grenoble-Alpes University; 2015.

3. Nielsen TR, Andersen SE, Rasmussen M, Honoré PH. Clinical pharmacist service in acute ward. Int J Clin Pharm 2013; 1137–51.

4.Nibal A, Anfal E, Fatih MV, Mesut S. Drug related problems identified by clinical pharmacist at the internal medicine ward in Turkey. Int J Clin Pharm 2018; 40: 360–7.

5. Ernst FR, Grizzle AJ. Drug-related morbidity and mortality: updating the cost-of-illness model. J Am Pharm Assoc 2001; 41: 192–9.

6. Sawasdeephanich J. Primary pharmaceutical care services among patients with chronic kidney disease Kantharawichai hospital, Mahasarakham province. Research and Development Health System Journal 2008; 1: 57–63.

7. Nuntasaen T, Soontornpas R, Mootsikapun P, Soon tornpas C. Root cause analysis of related problems in drug use of patients with HIV Infection: A case study at Srinagarind hospital. Srinagarind Medical Journal 2015; 30: 221–8.

8. Chanatepaporn P, Soontornpas C. Pharmacist roles in patients with acute coronary syndrome in medical wards at Srinagarind hospital. Isan Journal of Pharma ceutical sciences 2006; 2: 54–65.

9. Boonpratueng W. Development of pharmaceutical care service at medical ward of King Chulalongkorn Memorial hospital [master thesis]. Bangkok: Chula longkorn University; 2001.

10. Kulprom W. Inpatient pharmaceutical care at Chattu rus community hospital [master thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 1999.

11. Chanatepaporn P. Assessments of pharmaceutical care in female-medical ward in university hospital. Srinagarind Medical Journal 2006; 21: 282–8.

12. Folli HL, Poole RL, Benitz WE, Russo JC. Medication error prevention by clinical pharmacists in two children’s hospitals. Pediatrics 1987; 79: 718–22.

13. Iafrate RP. Documenting medication errors averted by pharmacists. Am J Hosp Pharm 1986;43: 1672-3.

14. Mueller BA, Abel SR. Impact of college of pharmacy-based educational services within the hospital. DICP 1990; 24: 422–5.

15. Western Australian Clinical Pharmacists Group. Recording clinical pharmacist interventions: is there a better way? Austr J Hosp Pharm.1991; 21: 158–62.

16. Eadon H. Assessing the quality of ward pharmacists’ interventions. Int J Pharm Pract 1992; 1: 145–7.

17. Pharmaceutical Care Network Europe Foundation. PCNE classification for drug related problems V 8.02 [online]. 2017.[cited Jul 31, 2017]. Available from: www.pcne.org/upload/files/230_PCNE_classification_V8-02.pdf.

18.Cochran WG. Sampling techniques.2nd ed., New York: John Wiley and Sons; 1963.

19. Hartwig SC, Denger SD, Schneider PJ. Severity-indexed, incident report-based medication error reporting program. Am J Hosp Pharm 1991; 48: 2611 –6.