ผลลัพธ์ของโครงการเครือข่ายเภสัชกรประจำครอบครัวร่วม ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

Main Article Content

สุณี เลิศสินอุดม
นิรัชรา ถวิลการ
ณัฏฐธิดา หาญสุริย์
อัจฉรา นาสถิตย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโครงการเครือข่ายเภสัชกรประจำครอบครัวร่วมให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อการจัดการปัญหาการใช้ยาและความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้บริการของเภสัชกรร้านยา วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลการจัดการปัญหาการใช้ยาจากโครงการเติมยา (pharmacy refill clinic) และการจัดการด้านยาหรือ medication therapy management (MTM) ที่ดำเนินการในร้านยาทั้งหมด  20 แห่งในจังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่ธันวาคม 2557 ถึง มีนาคม 2558 การศึกษายังใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างทางโทรศัพท์เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย ผลการวิจัย: ผู้รับบริการ MTM 46 รายมีอายุเฉลี่ย 57.83±11.65 ปี พบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาทั้งหมด 54 ปัญหา เภสัชกรจัดการแก้ปัญหาได้เองร้อยละ 75.93 และจัดการปัญหาโดยการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ร้อยละ 11.11  จากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ 26 ราย พบว่า ความพึงพอใจในด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านการให้บริการของเภสัชกร ด้านประโยชน์ที่ผู้เข้ารับบริการได้รับ และความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 4.58 , 4.59, 4.66 และ 4.77 คะแนนตามลำดับจากคะแนนเต็ม 5 คะแนน  ผู้ป่วยในโครงการเติมยา 19 รายมีอายุเฉลี่ย 5.62±2.43 ปี พบปัญหาเกี่ยวกับยาทั้งหมด 19 ปัญหา เภสัชกรสามารถจัดการแก้ปัญหาได้เองร้อยละ 84.21 ความพึงพอใจในด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านการให้บริการของเภสัชกร ด้านประโยชน์ที่ผู้เข้ารับบริการได้รับ และความพึงพอใจในภาพรวม เท่ากับ 4.83, 4.74, 4.78 และ 4.67 คะแนนตามลำดับจากคะแนนเต็ม 5 คะแนน สรุป: เภสัชกรประจำครอบครัวสามารถค้นหาและจัดการปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาได้ ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ มากถึงมากที่สุด จึงควรมีการนำโครงการเภสัชกรประจำครอบครัวไปพัฒนารูปแบบการให้บริการของเภสัชกรร้านยาให้เชื่อมต่อกับระบบสาธารณสุขของประเทศไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Public Health Statistics A.D.2013. Strategy and Planning Division. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand; 2013.

2. Sriratanaban J, Potisat S, Aungsuroch Y, Tadadej C. Tomornsak S. Hospital quality indicators. 2nd ed. Nonthaburi: Desire; 2000.

3. Prayoonhong T, Doasodsai P. Work study and work design of an outpatient dispensing service at Phimai Hospital, Nakornratchasima. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2008; 4: 24-35

4. Raengjuy J. Improvement of outpatient pharmacy service at Krathumbaen hospital [master thesis]. Nakhonpatom: Silpakorn University. 2012.

5. Areewong K. Development of outpatient pharmacy services with LEAN [online]. [cited Nov 7, 2017]. Available from: www.med.nu.ac.th./fom/th/nuhoffice/ file _document/163.

6. Loh BC, Wah KF, Teo CA, Khairuddin NM, Fairuz FB, Liew JE. Impact of value added services on patient waiting time at the ambulatory pharmacy Queen Elizabeth Hospital. Pharm Pract 2017; 15: 846.

7. Alhamad Z. Reasons for missing appointments in general clinics of primary health care center in Riyadh Military Hospital, Saudi Arabia. Int J Med Sci Public Health 2013; 2: 258-67.

8. Kessomboon N. The proposal for community pharmacy accreditation program and universal health coverage. Bangkok: Health Insurance System Research Office; 2009.

9. Silcock J, Raynor DKT, Petty D. The organization and development of primary care pharmacy in the United Kingdom. Health Policy 67; 2004:207-14.

10. Conte RR. Training and activities of pharmacist prescribers in a California pilot project. Am J Hosp Pharm. 1986; 43:375-80.

11. Community Pharmacy Association (Thailand). Medication Therapy Management (MTM). CPA Journal 2008; 7:10-1.

12. Ningsanon T, Doungngern T, Chaijamorn W, Montakantikul P. Essential tools for pharmaceutical care. Bangkok: Prachachon; 2015.

13. Chalongsuk R, Lochid-arnnuay S. Client satisfac- tion in pharmacy under the Thai universal coverage scheme: A case study at the community Pharmacy of Sawang Dan Din crown prince hospital. Journal of Health Research. 2006; 20: 41-58.