การออกแบบระบบการจัดการยาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยการวิเคราะห์หาสาเหตุราก
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจำนวนรายการยาเหลือใช้ ปริมาณยาเหลือใช้ มูลค่ายาเหลือใช้ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนรายการยาเหลือใช้ 2) วิเคราะห์หาสาเหตุรากของปัญหายาเหลือใช้ 3) ออกแบบระบบในการจัดการยาเหลือใช้โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ วิธีการ: ใช้หลักการของกระบวนการวิเคราะห์หาสาเหตุรากในการออกแบบงานวิจัย ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาจำนวนรายการยาเหลือใช้ ปริมาณยาเหลือใช้ และมูลค่ายาเหลือใช้ของผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 403 ราย ระยะที่ 2 การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 19 คนแรกที่มีจำนวนรายการยาเหลือใช้สูงสุด และสัมภาษณ์บุคลากรทางการแพทย์ประกอบด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 1 คน แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป 1 คน เภสัชกร 4 คน และพยาบาลวิชาชีพ 4 คน และระยะที่ 3 นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษาระยะที่ 1 กับ 2 แก่ที่ประชุมทีมบุคลากรทางการแพทย์โดยวิเคราะห์ปัญหายาเหลือใช้ด้วยกระบวนการวิเคราะห์หาสาเหตุราก ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่ได้รับการสำรวจปริมาณยาเหลือใช้เป็นเพศหญิงร้อยละ 73.40 มูลค่ายาเหลือใช้รวม 64,119.56 บาท หรือเฉลี่ย 159.11 บาทต่อราย ยาเหลือใช้ที่มีปริมาณสูงสุด คือ metformin 500 mg, aspirin 81 mg, glipizide 5 mg, enalapril 5 mg และ simvastatin 20 mg ตามลำดับ metformin 500 mg เป็นยาเหลือใช้ที่มีมูลค่าสูงสุด รองลงมา คือ mixtard 70/30 (vial), hydralazine 25 mg, losartan 50 mg และ simvastatin 20 mg ตามลำดับ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมียาเหลือใช้มากกว่า 4 รายการ ได้แก่ อายุที่มากกว่า 60 ปี (ORadj 0.58 , 95%CI 0.36-0.95) และรายได้ 1,000-5,000 บาทต่อเดือน (ORadj 0.52 , 95%CI 0.32-0.85) สาเหตุของการมียาเหลือใช้ประกอบด้วยปัจจัยด้านผู้ป่วย (ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้เรื่องโรคและยา และพฤติกรรมการใช้ยา) ปัจจัยด้านระบบการให้บริการ และปัจจัยอื่น ๆ (เช่น การขาดผู้ดูแล การมีส่วนร่วมของชุมชน) ทีมบุคลากรทางการแพทย์จึงได้ปรับการทำงานทั้งในบทบาทของแพทย์ พยาบาล และเภสัชกรในการแก้ปัญหายาเหลือใช้ และจัดให้มีการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวาน สรุป: การทำงานร่วมกันของทีมบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนความร่วมมือของผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัวและชุมชน จะช่วยพัฒนาระบบการจัดการยาเหลือใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Champoonot P, Suwannaprom P, Chowwanapoonpohn H. Leftover drugs and drug behavior of people in Chiang Mai province. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal. 2011;6:105-11.
3. Pisutthikosan C. Prevalence and factors related to leftover medicine in patients with type 2 diabetes mellitus at Prachasamosorn community medicine unit, Khonkaen province [master thesis]. Khonkaen: Khonkaen University; 2014.
4. Nimsai W. Amount, price and causes of diabetic drugs returned by diabetic patients at Bangkhla Hospital, Chachoengsao Provice. Journal of Phrapokklao Nursing College 2009;21:23-31.
5. Mackridge AJ. Medicines non-use in primary care [dissertation]. Birmingham: University of Aston; 2005.
6. Jaroenpan J, Tansakul C. Health behavior. 6th ed. Mahasa- rakham: Klungnanwitthaya; 2007.
7. Becker MH. The health belief model and sick role behavior. Health Educ Monogr 1974;2:409-19.
8. Sota J. Applications of concepts and theories to develop health behavior. Khonkaen: Khonkaen university; 2014.
9. The National Patient Safety Agency, National Health Services. Root cause analysis toolkit [online]. 2009 [cited May 5, 2017]. Available from: www.npsa.nhs.uk/health/re sources/root_cause_analysis.
10. Kittboonyakun P. Improving the management of chronic pain: using root cause analysis to inform a strategy for pharmaceutical care [dissertation]. Aberdeen: University of Aberdeen; 2010.
11. Cochran WG, Cox GM. Experimental designs. 2nd ed. New York: John Wiley and Sons; 1957.
12. Braund R, Gn G, Matthews R. Investigating unused medications in New Zealand. Pharm World Sci. 2009; 31: 664-9.
13. Kengganpanich T, Leerapan P, Kengganpanich M, Nunthasen K, Lattanand K. Factors related to herbal consumption for controlling blood sugar of patients with type 2 diabetes mellitus. Journal of Boromarajonani College of Nursing 2015; 31:13-25.
14. Suwannaprom P, Niamhun N, Champoonot P, Phosupa C, Chowwanapoonpohn H, Supakul S, et al. Items and value of household leftover medicine for chronic conditions at Sansai-Luang sub-district, Sansai district, Chiang Mai province. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal. 2012;7:22-8.
15. Chaiyakunapruk N, Nimpitakpong P, Jeanpeerapong N, Dilokthornsakul P. A study of the size and impact of drug possession exceeding necessary policy recommendations and solutions. Phitsanulok: Naresuan University; 2012.
16. Sirithanawutichai T, Wongsauwasup A, Nopthuan W, Krueanak T. The effectiveness of village health volunteers in Muang district, Mahasarakham province making visits to the homes of diabetes mellitus patients. Journal of Science and Technology Mahasarakham University. 2013;29:439-45.
17. Tunpichart S. Effectiveness of pharmacist home health care for type 2 diabetes in Bangkok metropolitan: A community base study [dissertation]. Chulalongkorn: University of Chulalongkorn; 2011.
18. World Health Organization. Guidelines for medicine dona- tions [online]. 2011 [cited Jun 7, 2017]. Available from: apps.who.int/iris/bitstream/10665/44647/1/9789241501989_eng.pdf.