ผลกระทบจากนโยบายน้ำดื่มประชารัฐในจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

เกษรา เวทยานนท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์กฎระเบียบเกี่ยวกับการผลิตน้ำดื่ม การดำเนินการตามนโยบายน้ำดื่มประชารัฐ และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายอันเนื่องมาจากผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว  วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยทบทวนข้อกฎหมายเกี่ยวกับการผลิตน้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญ ตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องของภาครัฐและเอกชนที่เผยแพร่ทางสื่ออินเทอร์เน็ต จากนั้นวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสัมภาษณ์ผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายน้ำดื่มประชารัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ไม่ใช่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกลุ่มผู้ผลิตน้ำดื่มประชารัฐ หลังจากนั้นสรุปผลเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพน้ำดื่มประชารัฐ ผลการศึกษา: นโยบายน้ำดื่มประชารัฐเป็นการดำเนินงานตามโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ จังหวัดกาญจนบุรีมีการดำเนินโครงการน้ำดื่มประชารัฐ จำนวน 245 กองทุน จากการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานที่ผลิตน้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 แต่ไม่ได้อยู่ในคณะทำงานดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐจังหวัด จึงไม่สามารถให้ข้อมูลแก่ผู้ผลิตในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายน้ำดื่มประชารัฐพบว่า หน่วยงานภาครัฐที่ไม่ใช่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขจัดสรรงบประมาณโดยเร่งรีบ โดยไม่ทราบกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท กลุ่มผู้ผลิตไม่ทราบข้อกฎหมายจึงไม่ได้ขออนุญาตผลิตและขาดการเตรียมงบประมาณสำหรับบำรุงรักษา สรุป: การดำเนินการตามนโยบายน้ำดื่มประชารัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยมีมาตรการ ดังนี้ มาตรการเร่งด่วน คือ เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดให้สั่งการให้หน่วยงานที่กำกับดูแลโครงการน้ำดื่มประชารัฐแจ้งผู้ผลิตให้ขออนุญาตตามกฎหมายเช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่น มาตรการระยะกลาง คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดควรออกคำสั่งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการบูรณาการร่วมกันแก้ไขปัญหา ส่วนมาตรการระยะยาว คือ ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติโครงการควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำดื่มประชารัฐ ร่วมให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับระเบียบและขั้นตอนการขออนุญาตก่อนตัดสินใจดำเนินโครงการ  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. National Health Assembly. Meeting minutes of the 9th National Health Assembly, 2016: Agenda 2.2 a safe drinking water for public [online] 2016. [cited Mar 20, 2017]. Available from: https://www.samat cha.org/sites/default/files/141159%20Water%20draft%20Main_WP.pdf

2. National Village and Urban Community Fund Office. Manual for implementing program for strengthening foundation economy of according to the approach of civil state (for village and Urban community fund) [online] 2016. [cited Mar 20, 2017]. Available from: http://www.villagefund.or.th/index.aspx?pageid=469&parent=433&directory=2394&pagename=content

3. Working Committee on on Pracharath Program Implementation in Kanchanaburi. List of Pracharath drinking water project in Kanchanaburi in 2016. Kanchanaburi; Kanchanaburi Community Develop- ment Office; 2016.

4. Kanchanaburi Public Health Office. Result on the inspection of quality of drinking water in sealed containers (in laboratory) in 2016. Kanchanaburi; Kanchanaburi Public Health Office; 2016.

5. Kanchanaburi Public Health Office. Result on the inspection of quality of drinking water from automatic water dispensers in 2016. Kanchanaburi; Kanchanaburi Public Health Office; 2016.

6. Mookajornpan D. Risks ought to be informed in purchasing drinking water from automatic water dispensers part 2 [online] 2008. [cited June 20, 2017]. Available from: www.tpa.or.th/publisher/pdf FileDownloadS/p85-87.pdf.

7. Notification of Ministry of Public Health No. 362 in 2013 on drinking water from automatic water dispenser. Royal Gazette No. 130, Part 136D (Oct 16, 2013).

8. Notification of the Committee on Labeling No. 31 in 2010 on mandating automatic water dispensers as a labeling controlled product. Royal Gazette No. 127, Part 140 (Dec 8, 2010).

9. Notification of Ministry of Public Health in 2015 on activities detrimental to health. Royal Gazette No. 132, Part 165D (Jul 17, 2015).

10. Public Health Board. Recommendations of Public Health Board on the control of activities detrimental to health [online] 2016. [cited Mar 20, 2017]. Available from: laws.anamai.moph.go.th/download/ laws/update คำแนะนำ ประกาศกิจการ 2558.pdf.

11. Official letter from Local Government Department มท. 0891/1340 dated July 15, 20 on recommend- dations of the Public Health Board.

12. Official letter from Local Government Department มท. 0891.3/ว643 dated Mar 24, 2016 on survey of drinking water dispenser.

13. Sangklai L, Pooksun K, Jamsri P, trisanit K, Jittiyasara K. Risk assessment of drinking water dispenser in central region of Thailand and the support for setting the quality control standards. Journal of Department of Medical Sciences 2558; 57: 22-36.

14. Food Bureau. Food Act B.E.2522, ministerial regulations and notification of Ministry of Public Health (Revised edition in 2015). Nothaburi: Food and Drug Administration;
2015.

15. Meksawasdichai C, Ruengorn C. Quality of drinking water in sealed containers in saraburi province and recommendations for improvement. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016: 8: 139-48.