คุณสมบัติของน้ำเกลือสวนล้างจมูกแบบเตรียมเอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบคุณสมบัติของน้ำเกลือสวนล้างจมูกแบบเตรียมเอง วิธีการ: เตรียมน้ำเกลือสวนล้างจมูกแบบเตรียมเองด้วยการผสมเกลือชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เกลือปรุงทิพย์ เกลือเทสโก้ เกลือบิ๊กซี เกลือทิพย์ และเกลือทางเภสัชกรรมในน้ำชนิดต่าง ๆ ได้แก่ น้ำรีเวิร์สออสโมซีส น้ำดื่มบรรจุขวดสำเร็จรูป (น้ำดื่ม) และน้ำประปาต้ม ให้ได้ความเข้มข้นของเกลือร้อยละ 0.9 และ 1.8 คุณสมบัติของน้ำเกลือสวนล้างจมูกแบบเตรียมเองที่ประเมินในการวิจัย ได้แก่ ความใสและสี กลิ่น ความเป็นกรด-ด่าง (pH) และความปราศจากเชื้อ โดยประเมินหลังเตรียมทันทีและหลังตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน ผลการวิจัย: น้ำเกลือสวนล้างจมูกแบบเตรียมเองทุกตำรับมีลักษณะใส ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น pH ของน้ำเกลือหลังเตรียมทันทีแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เป็นด่างอ่อน (pH = 7.02-8.12) เมื่อเตรียมโดยใช้น้ำดื่มหรือน้ำประปาต้ม และกลุ่มที่เป็นกรดอ่อน (pH = 6.09-6.70) เมื่อเตรียมโดยใช้น้ำรีเวิร์สออสโมซีส ผลการทดสอบความปราศจากเชื้อพบว่า น้ำเกลือที่เตรียมจากเกลือแกงปรุงทิพย์และเกลือทางเภสัชกรรมผสมกับน้ำดื่มสามารถเก็บได้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 และ 7 วันตามลำดับโดยไม่มีเชื้อขึ้น สรุป: น้ำเกลือสวนล้างจมูกแบบเตรียมเองทุกตำรับมีลักษณะใส ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น ส่วน pH และความปราศจากเชื้อของน้ำเกลือแต่ละตำรับแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำและเกลือที่ใช้เตรียม น้ำเกลือที่เตรียมโดยผสมเกลือทางเภสัชกรรมหรือเกลือแกงปรุงทิพย์ในน้ำดื่ม สำหรับเตรียมแล้วใช้ทันทีใน 1 วันมีคุณสมบัติเป็นที่ยอมรับได้เมื่อตรวจในห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาด้านความปลอดภัยและประสิทธิผลของน้ำเกลือดังกล่าวในผู้ป่วยต่อไป
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Rabago D, Zgierska A. Saline nasal irrigation for upper respiratory conditions. Am Fam Physician 2009; 80:1117–9.
3. Piromchai P, Kasemsiri P, Laohasiriwong S, Thanaviratananich S. Chronic rhinosinusitis and emerging treatment options. Int J Gen Med 2013; 6 : 453–64.
4. Hermelingmeier KE, Rainer K, Weber RK, Martin Hellmich M, Christine P. Heubach CP, et al. Nasal irrigation as an adjunctive treatment in allergic rhinitis: A systematic review and meta-analysis. Am J Rhinol Allergy 2012;26:119–25.
5. Achilles N, Mösges R. Nasal saline irrigations for the symptoms of acute and chronic rhinosinusitis. Curr Allergy Asthma Rep 2013;13:229-35.
6. Garrett H, Matthew WR. The effect of saline solutions on nasal patency and mucociliary clearance in rhinosinusitis patients. Otolaryngol Head Neck Surg 2007;135:815-21.
7. Bounmany K, Mai HN, Matthew WR. Effects of buffered saline solution on nasal mucociliary clearance and nasal airway patency. Otolaryngol Head Neck Surg 2004;131:679-82.
8. David S, Haim B, Pintov S, Nuri S, Gila S, Haggot H. Treatment with hypertonic saline versus normal saline nasal wash of pediatric chronic sinusitis. J Allergy Clin Immunol 1998;101:602-05.
9. Suslu N, Bajin MD, Suslu AE, Ogretmenoglu O. Effects of buffered 2.3%, buffered 0.9%, and nonbuffered 0.9% irrigation solutions on nasal mucosa after septoplasty. Eur Arch Otorhinolaryn- gol 2009;226:685-9.
10. Satdhabudha A, Poachanukoon O. Efficacy of buffered hypertonic saline nasal irrigation in children with symptomatic allergic rhinitis. Int J Pediatr Otorhinolaryngol 2012;76:583-8.
11. Chusakul S, Warathanasin S, Suksang-panya N, Phannaso C, Ruxrungtham S, Snidvongs K, et al. Comparison of buffered and non-buffered nasal saline irrigations in treating allergic rhinitis. Laryngoscope 2013;123:53-6.
12. Arsanasen P. Recommendation of nasal irrigation [online]. 2000. [Cited May 10, 2017]. Available from: www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail .asp?id=283.
13. 2014 U.S. Pharmacopoeia-National Formulary [USP 37/NF 32]. Rockville, Md: United States Pharmacopeial Convention, Inc; 2014. Sodium chloride irrigation; p.4709-10.
14. 2015 U.S. Pharmacopoeia-National Formulary [USP 38/NF 33]. Rockville, Md: United States Pharmacopeial Convention, Inc; 2014. Sterility test; p.125-6.
15. Reddi BAJ. Why is saline so acidic (and does it really matter?). Int J Med Sci 2013;10:747-50.
16. Meksawasdichai C, Ruengorn C. Quality of drinking water in sealed containers in Saraburi Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8:139-48.
17. Rabaco D, Zgierska A, Mundt M, Barrett B, Bobula J and Maberry R. Efficacy of daily hypertonic saline nasal irrigation among patients with sinusitis: A randomized controlled trial. J Fam Pract 2002; 51: 1049-55.