การจัดการปัญหาเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาของตำบลดอนกลอย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วาณี ธนสีลังกูล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ณ ตำบลดอนกลอย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี วิธีการ: ผู้วิจัยรวบรวมปัญหาเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ในพื้นที่วิจัยจากรายงานผลการคุ้มครองผู้บริโภคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ดอนกลอยในปีงบประมาณ 2559 และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ หลังจากนั้นดำเนินการจัดการปัญหาในชุมชนโดยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1) ระยะเตรียมพื้นที่ โดยจัดอบรมและประชุมสมาชิกในชุมชนเพื่อระดมความคิดในการจัดการปัญหาฯ ผู้เข้าอบรมและประชุมประกอบด้วยผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ตัวแทนร้านชำ และตัวแทนประชาชนในชุมชน มาตรการที่ร่วมกันกำหนดเพื่อลดปัญหาฯ คือ การจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหานี้ของตำบล โดยมี อสม. เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับพี่เลี้ยง คือ เจ้าหน้าที่รพ.สต. ดอนกลอย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้เข้าอบรม 60 คนก่อนและหลังการอบรมในเรื่องความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องสำอางทาสิว ทาฝ้า หน้าขาว 2) ระยะดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านเครื่องสำอาง กิจกรรมในขั้นนี้เป็นการตรวจสถานที่จำหน่ายเครื่องสำอาง การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง วิธีการเลือกซื้อเครื่องสำอางที่ปลอดภัยในการใช้ และการแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับเครื่องสำอางอันตรายในชุมชน รวมถึงการแจ้งบทลงโทษทางกฎหมายแก่ผู้ประกอบการ และ3) ระยะประเมินผลทำโดยประเมินศักยภาพศูนย์แจ้งเตือนภัยฯ ผลการวิจัย: การจัดการปัญหาฯ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนทำโดยการระบุความเสี่ยงโดยกระตุ้นให้ชุมชนรับรู้ปัญหา ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา เลือกมาตรการลดความเสี่ยง และสื่อสารความเสี่ยง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือทุกภาคส่วนในการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลของการจัดการปัญหาฯ ความรู้เกี่ยวกับเครื่องสำอางทาสิว ทาฝ้า และหน้าขาวของตัวอย่างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการอบรม การประเมินศักยภาพศูนย์แจ้งเตือนภัยฯ พบว่าอยู่ในความเข้มแข็ง ระดับ 4 โดยจัดเป็นชุมชนกำลังพัฒนา สรุป: การจัดการปัญหาฯ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน ผ่านการให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง การเปิดเวทีให้คนในชุมชนเข้าใจปัญหา ค้นหาแนวทางแก้ปัญหา เลือกกิจกรรม และดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ถึงแม้การดำเนินการของศูนย์แจ้งเตือนภัยฯ ยังจัดอยู่ในระดับชุมชนกำลังพัฒนา แต่ตัวแทนในชุมชนมีความยินดีและสมัครใจในการร่วมกันดำเนินการต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Sukchareonchaikit P, Lorjitumnuay S, Umrumpai Y. The use of cosmetics for freckles as facial whitening among teenagers: the case of Banpong District, Ratchaburi Province. Thai Pharmaceutical and Health Sciences Journal 2010; 5:114-20.

2. Public Health Ministerial Declaration in 2016 on the name of the substances prohibited as ingredients in cosmetics. Royal Gazette No. 133, Part 114D special (May 17, 2016).

3. Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University. Dangers of prohibited substances in cosmetics [online]. 2015 [cited Feb 3, 2017] Available from: med.mahidol.ac.th/ramapharmacy/th/knowledge/ general/04072016-2055-th

4. Cosmetic Act B.E. 2558 [online]. 2015 [cited Feb 27, 2017]. Available from: library2.parliament.go.th/giventa ke/content_nla2557/law86-080958-5.pdf

5. Rural and Local Consumer Health Products Promotion Division. Reporting system for the performance on health consumer protection in the regions [online]. 2016 [cited Feb 27, 2017]. Available from: kbs.fda.moph.go.th /kbs_webform_59/backend/control_page.php.

6. Food and Drug Administration. Situation of safety of food and health products at the marketplaces within health service area 7 and 8. Nonthaburi: Food and Drug Administration; 2016.

7. Thongchai U. Summary report on the activities of Dongloy Consumer Protection. Udonthani; 2016.

8. Saenpakdee P. Mind map & AIC for participatory planning [online]. 2016 [cited Feb 27, 2017]. Available from: www.prachasan.com/mindmapknowledge/aic.html

9. Division of Consumer Protection, Regional Medical Sciences Center 8 Udonthani, Department of Medial Sciences. Manual on plan for quality development of network of medical sciences in community for consumer protection in fiscal year of 2016; 2016.

10. Ungchusak K. Risk management: case study on “pickled bamboo” [unpublished lecture notes]. Expertise in risk management in consumer protection, The College of Pharmaceutical and Health Consumer Protection of Thailand; lecture given Oct 9, 2017.

11. Khoonhong K, Charoenpan C, Turnbull N. The development of community empowerment model in cosmetics consumer protection in the area of Samet Sub-District, Meung District, Buriram province. Thaksin University Journal 2015;18: 57-65.

12. Chuapun W. Summary of the Cosmetic Act B.E.2558. FDA Journal. 2015; 22: 81-4.

13. Ruenruay S. Development of consumer protection network on cosmetics in community: a case study of Tambon Ban Rai, Amphoe Ban Rai, Uthai Thani. [master thesis]. Nakornpratom: Silpakorn University; 2012.